“การเมืองภาคประชาชนกับการปฏิรูประบบสุขภาพ”

สังคมไทยในปัจจุบันเป็นลักษณะของการเมืองแบบตัวแทน คือ ไม่เห็นความเป็นมนุษย์ แต่เห็นคนเป็นคะแนนเสียง แนวทางที่จะทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งได้คือพลเมืองต้องสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทางการเมืองของภาคประชาชนให้ได้ และต้องเคารพความเป็นมนุษย์ระหว่างกันด้วย

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๔๗

        ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  เวทีเรียนรู้สร้างสรรค์:การเมืองภาคประชาชนกับการปฏิรูปสุขภาพ วันที่ 9 กันยายน 2547 ห้อง Meeting Room 8 ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ณ อิมแพค เมืองทองธานี  ซึ่งมี   อ.ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์  : ผู้ดำเนินรายการ  กระบวนการประชุมได้ใช้ขั้นตอนคือ  คือ วิทยากรนำเสนอท่านละ10 นาที ต่อจากนั้นก็เปิดการเสวนากลุ่มย่อยและใช้กระบวนการบันทึกในกระดาษ flip chart  โดยมีอาสาสมัครบันทึก 1 คนในทีม  / อาสาสมัครนั้นจะไม่มีการย้ายที่แต่ผู้ร่วมทีมต้องย้ายที่ และเมื่อเริ่มกลุ่มใหม่ก็จะมีการสรุปประเด็นที่พูดคุยกันจากกลุ่มเดิมให้ผู้ที่เวียนมาใหม่ได้รับทราบ  สรุปกระบวนการ  บันทึก / สรุปประเด็น  / นำเสนอ

วิทยากร ประกอบด้วย
1 อ.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
2. นพ.โกมาตร   จึงเสถียรทรัพย์
3. อ. ขวัญสรวง     อติโพธิ
4. อ. อมรา   พงศาพิชญ์
5. อ.สุริชัย    หวันแก้ว
        การเมืองภาคประชาชนจะมีคุณภาพที่แตกต่างจากการเมืองทั่วไปอย่างไร   ( คำถามที่ฉุกคิดขึ้นมาของอ.ชัยวัฒน์ )  คำตอบที่อาจารย์คิดขึ้นมาเอง คือ ทำอย่างไรให้การเมืองภาคประชาชนนั่นอยู่ขึ้นมาได้อย่างยั่งยืน  / สังคมในสภาพสังคมเครือข่ายเกิดการผันผวนอยู่ตลอดเวลา  การเมืองภาคประชาชนที่เราพูดถึงกันนี้อยากให้มองไปในมิติของสภาพสังคมในปัจจุบันด้วย

ประเด็นที่ ผู้ดำเนินรายการฝากยังวิทยากรเพื่อช่วยกันขบคิดเวทีนี้ คือ
1. พื้นที่สาธารณะ  (  Pubic space )  หรือ ปริมณฑลสาธารณะ    (  Pubic    )  ต่างกันอย่างไร
2.  ชีวิตสาธารณะ (  Pubic  life )   กับ ชีวิตประชาสังคม  ( Civic life )

อ . ไชยรัตน์  เจริญสินโอฬาร
อเมริกามีรายการหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างมาก คือ การจัดรายการสดแบบไม่มีการเตรียมตัวของผู้ร่วมรายการ มีการมานำเสนอในเวทีเลย   ทั้งนี้ผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับความคิดเรื่อง civic café ที่อ.ชัยวัฒน์ จัดขึ้นมา  อาณาบริเวณสาธารณะ  กับ  ปริมณฑลสาธารณะ ในความคิดเห็นส่วนตัวนั้นคิดว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก  เพราะน่าจะหมายถึง  สนามของความสัมพันธ์  ซึ่งภาคประชาชนนั่นคงต้องพยายามขยายพื้นที่นั้นให้มีความกว้างขึ้น
สนามของความสัมพันธ์   วิธีมองที่ควรเป็นคือ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีมองในเรื่องของอำนาจ  ต้องมองว่าอำนาจนั่นกระจายอยู่ทั่วไปในสังคม โดยเฉพาะในโลกเครือข่าย  คือ “  เครือข่ายไปถึงไหนอำนาจการควบคุมไปถึงนั่น รวมทั้งการต่อต้านก็ไปถึงด้วย “  อำนาจเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ไม่ใช่การบังคับแต่เป็นเรื่องของการสร้างพื้นที่สาธารณะ ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจแบบใหม่ในสังคม  พื้นที่สาธารณะนั้นเป็นกระบวนการ  โอกาสและจินตนาการร่วมอยู่ด้วยกัน

นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์
        ปัญหาในปัจจุบันโครงสร้างและอำนาจทำให้เราแสดงออกทางการเมืองได้น้อยลง เพราะการสอนวิชาหน้าที่พลเมืองให้นั่นไม่สำเร็จ  เพราะขาดการปฏิบัติการจริง พื้นที่ทางการเมืองในความคิดของคุณหมอ  คือ รวมทุกอย่างทั้งในอากาศด้วย เช่น เรื่องของวิทยุชุมชนเกี่ยวกับการทวงสิทธิของพื้นที่  จึงถือเสมือนว่าพื้นที่ทางอากาศก็มีความสำคัญอย่างมาก ความเคลื่อนไหวในภาคพลเมืองจะเกิดขึ้นก็คือ ต้องมีที่ทางอยู่ก่อน  .เช่น หมอพืนบ้านถ้าไม่มีการสืบทอดและถ่ายทอดในกลุ่มหมพื้นบ้านด้วย คือ สร้างจากพื้นที่และความสัมพันธ์  นโยบายของรัฐเองก็สนับสนุนในรูปของหมอพื้นบ้านด้วย  แต่รูปแบบนั่นไม่ตรงตามความต้องการ คือ พื้นที่ที่ที่สร้างให้ไม่ตรงความต้องการ

สังคมไทยในปัจจุบันเป็นลักษณะของการเมืองแบบตัวแทน คือ ไม่เห็นความเป็นมนุษย์ แต่เห็นคนเป็นคะแนนเสียง แนวทางที่จะทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งได้คือพลเมืองต้องสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทางการเมืองของภาคประชาชนให้ได้  และต้องเคารพความเป็นมนุษย์ระหว่างกันด้วย

 

อ.ขวัญสรวง   อติโพธิ
การเมืองภาคพลเมืองกับปริมณฑลสาธาณะ  เราต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่วนตัว ไม่ใช่เพื่อส่วนรวม  มีพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกัน พลเมืองต้องรณรงค์ผลักดันให้ลดขนาดอำนาจและบทบาทของรัฐ  สร้างสรรค์พื้นที่
สาธารณะและให้โอกาสคนได้ผูกพันกัน  สร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองและขยายปริมณฑลสาธารณะ

 

อ.อมรา  พงศาพิชญ์
1. สิทธิในการดื้อแพ่ง เราไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังทุกอย่าง หรือดื้อบ้างได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะดื้อเงียบหรือดื้อดัง ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวะและเวลา ถ้าเราทำงานภาคประชาชนสาธารณะต้องมีการดื้อบ้าง แต่บางครั้งเราก็ต้องอดทน และบางครั้งก็ระเบิดออกมา เมื่อถึงจุดวิกฤติที่ทนไม่ได้

2. คนทำงานด้านสังคม ไม่ควรคิดเรื่องอยากดัง เราต้องทำงานร่วมกันและไปกันข้างหน้าไม่พยายามเป็นผู้นำตลอดเพราะงานนี้เป็นงานใหญ่ เพราะเราทำงานให้ประชาชนทั่วประเทศไม่มีที่ให้ใครเพียงคนเดียว

3. อย่าหลงว่าเราเป็นเจ้าของเพราะส่งที่เราทำเราทำเพื่อสาธารณะ อย่าหลงว่าเป็นของเรา หากเราตันเราต้องให้เพื่อนขึ้นหรือไม่ได้อย่างที่เราต้องการ อย่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเราเป็นเจ้าของเราจะตัน


อ.สุริชัย หวันแก้ว

        ผมขอเล่าประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ให้ฟัง เมื่อวานเพิ่งมีการสัมมนาเรื่องการทุจริต ซึ่งพบว่า 60% มีประสบการณ์ในการทุจริต และหากนักศึกษาจะเข้าห้องน้ำต้องตามเข้าไปด้วย  ในการสัมมนามีคนบอกว่าหากจะแก้ปัญหาต้องใช้วิธีการแก้ด้วยอำนาจ เป็นการแก้ปัญหาด้วยความกลัว
อำนาจภาคประชาชนจะเหมือนกับการแก้อำนาจในเรื่องนี้หรือไม่ เหมือนกับเรื่องที่เล่าให้ฟัง  เกี่ยวกับคนที่เป็นเจ้าของเรื่องต้องเป็นชาวบ้านหรือนักศึกษา หากเขาคิดว่าเรื่องนี้ไม่ไหว เขาต้องเข้ามาแก้ด้วย จริง ๆ ต้องให้เด็กเอาหนังสือเข้าไปได้ด้วย เรายังใช้การเรียนการสอนแบบสมัยก่อนอยู่  อำนาจที่จะช่วยเราได้คือ อำนาจของการตื่นรู้ ไม่ใช่อำนาจเชิงระเบียบ

อ. ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์

การเมืองต้องรับใช้ชีวิตและรับใช้มนุษย์ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ   ซึ่งทุกเรื่องที่วิทยากรนำเสนอมาในประเด็นต่าง ๆ นั่นมันไม่ง่าย แต่อยากให้ทุกท่านได้มาร่วมกันคิดว่าจะมีประเด็นใดที่ต้องนำมาปรับแก้หรือต่อเติมได้อีก รวมทั้งมาร่วมกันคิดและค้นหาหัวใจสำคัญของการประชุมกลุ่มย่อย
1. สืบค้นคำถามที่สำคัญ ๆ ต่อการทำงาน
2. เชื่อมมุมมองและมิติที่แตกต่างกันไปเพราะมองหลาย ๆ มุมอาจจะได้เห็นมิติที่มีความหลากหลายมากขึ้น
3. ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
4. การมองลึกลงไปในส่วนของชีวิตและวัฒนธรรมการเมือง

สรุปการประชุมกลุ่มย่อย
กลุ่มที่ 1
   :   ความเห็นกับคำว่า  การเมืองภาคประชาชน คือ เห็นว่าประชาชนน่าจะต้องเป็นผู้สร้าง  โดยมีรัฐเข้ามากระตุ้นและส่งเสริม
กลุ่มที่ 2   :  ประเด็นพื้นที่สาธารณะหายไปจริง ๆ คือ กลายไปเป็นของรัฐ รวมทั้งพื้นที่ทางอากาศเองก็ยังอยู่ในช่วงของการต่อสู้ช่วงชิงคืนมา คือ คลื่นวิทยชุมชน ในมาตรา 40 แต่สิ่งที่ยังคงมอยู่บ้าง คือ สภากาแฟ ในกลุ่มภาคใต้   /  ต้องการทำพื้นที่สาธารณะขึ้นมาเองในรูปแบบที่ไม่ตายตัวเป็นสิงที่คิดขึ้นมาจากประชาชนในชุมชน
กลุ่มที่ 3   :  ประเด็นแรกที่กลุ่มคือ ประชาชนมีพลังไหม และประชาชนจะมีพลังจากอะไร  ตัวตนของเราอยู่ที่ไหน  พบว่าตัวตนของเรานั่นถูกกดทับด้วยรัฐและระบบการศึกษา ( ความรู้ ) สังคมยอมรับคนที่มีความรู้  ดังนั้นการที่จะทำค้นพบตัวตนที่แท้จริง คือ การเข้ามาเรียนรู้  (  วิทยุชุมชน ทำให้รู้เรื่องของสิทธิ / เครือข่าย )
กลุ่มที่ 4   :  จะทำอย่างไรให้มีพื้นที่สาธารณะได้เกิดขึ้น ต้องการปรับเปลี่ยนกับคำว่าชาวบ้าน มาเป็นคนบ้านนั่นบ้านนี้ เป็นต้น  ควรมีการทบทวนและพื้นที่สาธารณะและทำให้เกิดขึ้นมาได้อย่างเป็นของเขาเองควรมีการถอดชุดองค์ความรู้ขึ้นมาด้วย
อ.ชัยวัฒน์  : สรุปของกลุ่มนี้ว่าน่าจะเป็นในเรื่องของจิตวิทยา
นพ.โกมาตร : กล่าวถึง สุขภาพในความเห็นของพ่อหลวงจอนิ ( กระเหรี่ยงปกาเกญญอ )  สุขภาพคือ ความมั่นใจในความเป็นกระเหรี่ยงปกาเกญญอ
กลุ่มที่ 5   :   คิดว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกจของคนในชุมชนได่อนก็จะนำมาสู่กระบวนการมีส่วนร่วมตามมา  / ปัญหาด้านการเมืองที่จะสะท้อนไปสู่ชุมชนแตกแยก จากเรื่อง
กลุ่มที่ 6  :  การกระจายอำนาจมาสู่ประชาชนจริงหรือ ซึ่งมีการพูดคุยกันในหลาย ๆ เรื่องแต่ที่หยิบยกขึ้นมา คือ ปัญหาเรื่องการเกษตร  ที่พบว่ามีการแก้ไขจากภาครัฐไดไม่ทั่วถึง  / ประเด็นการเมือง พบว่ามีการกระจายอำนาจลงไปสู่ประชาชนและท้องถิ่นได้จริงหรือไม่

 


กลุ่มที่ 7
   :  ควรมีการทำเวทีพูดคุยกันมากขึ้น เพราะจะสามารถเชื่อมโยงไปสู่การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้มากมาย
ชุมชนต้องมีการสร้างกติกาของตนเองขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การสร้างอนาคตของชุมชน   / การสร้างพลังจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการดึงศรัทธาของตนเองขึ้นมาให้ได้  / วิทยุชุมชนจะเป็นตัวที่สามารถเชื่อมโยงได้อย่างดี และสามารถแพร่ขยายสิ่งที่ดีของชุมชนออกไปยังชุมชนอื่น ๆ ได้ด้วย  / เวลาการพูดคุยไม่ควรมากและไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่ตายตัว
กลุ่มที่ 8   :   อำนาจที่คิดว่าจะเป็นของเรากลับไปตกอยู่ที่ตัวแทน  โดยกลไกอำนาจรัฐเป็นตัวกำหนด / พื้นที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  space ไปสู่   จะเกิดขึ้นได้โดยการอาศัยสื่อ ( วิทยุชุมชน )  /  ยุทธศาสตร์ภาคประชาชน
กลุ่มที่ 9   :   พื้นที่สาธารณะจะเกิดขึ้นมาก็เมื่อสร้างคนขึ้นมาก่อน  / การเมืองภาคประชาชนจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อให้ประชาชนมีอำนาจขึ้นมาก่อน
กลุ่มที่ 10   :   การรู้จักตนเอง / สิทธิและหน้าที่ของตนเอง  ก็จะนำมาสู่การเมืองภาคประชาชนได้  และต่อไปด้วยการเชื่อมโยงจากครอบครัว สู่ชุมชน ที่สำคัญคือ ชุมชนน่าจะมีการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองของตนเองขึ้นมาให้ได้ก่อนด้วย
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ( ผู้ดำเนินการสรุปประเด็นการเสนอของกลุ่มย่อย )

อ.ไชยรัตน์  เจริญสินโอฬาร
ทุกวันนี้เรามีการเรียนรู้มากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เราขาดไปในความคิดเรื่องการเมืองภาคประชาชน คือ เรื่องหลักประกันในความมั่นคงและปลอดภัยในความคิดเรื่องการเมืองของประชาชน  เช่นตัวอย่างจากนักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ( Mr.Rukky ) ซึ่งมีการเขียนหนังสือจาบจ้วงถึงศาสนาอิสลามและจะถูกตัดสินประหารแต่รัฐบาลอังกฤษได้ให้ความคุ้มครองกับสิทธิ จะมีหลักประกันอะไรมาให้กับคนที่มีความคิดเห็นทางด้านการเมืองที่ขัดแย้ง

อ.สุริชัย  หวันแก้ว
อ.ขวัญสรวง  อติโพธิ
อ.อมรา  พงศาพิชญ์
นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์
จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เห็นว่า มีผู้เข้าร่วมเต็มห้องประชุมทำให้ทางผู้จัด ต้องจัดเตรียมเก้าอี้และโทรทัศน์วงจรปิดไว้ภายนอกห้องประชุม ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก บรรยากาศโดยรวมแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มีความสนใจ กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ทำให้เห็นว่าประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องการเมืองภาคประชาชน  และพร้อมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนและแสดงพลังในเรื่องการเมืองร่วมกัน
การทำงานที่ทำอยู่เป็นการทำงานทวนกระแสหลัก ดังนั้นจึงเป็นงานที่ยากเพราะว่าเป็นงานที่เหนื่อยยาก  ดังนั้นหากจะให้อยู่คงทนคือ ต้องทำงานในรูปเครือข่ายมาร่วมเรียนรู้ด้วยกัน  หรือมาเรียนเอากำลังใจซึ่งกันและกัน  ซึ่งเกิดแรงบันดาลที่ได้จากวันนี้น่าจะเป็นแรงการไปเชิญชวนคนให้มาร่วมกันช่วยคิด

พลังที่เราทำกันในห้องนี้จะมีความยั่งยืนเพียงใด  และเราจะคงพลังนี้ไว้ได้อย่างไร  / พลังนี้จะสร้างขึ้นมาได้เมื่อได้เมื่อมีวิกฤติหรือมีปัญหาร่วมกัน  ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้มีปัญหาแล้วจึงจะมาเกิดการรวมตัวกัน
แต่อย่างน้อยดูเหมือนว่าเราได้มี  กระบวนการสร้างจิตสำนึก  ขึ้นมาแล้ว

สะท้อนความคิดเรื่องจิตสำนึก  ซึ่งในความเห็นของอาจารย์เห็นว่า  “  แววตา  “  คือ สิ่งที่สะท้อนมาให้เห็นในการทำอะไรร่วมกัน  / การกระจายอำนาจ คือ การเพิ่มพื้นที่ทางฝั่งของภาคประชาชน ให้เข้มแข็ง / ควรผ่าด่านวัฒนธรรมให้ได้  ( การโยนเงินไปสู่ชุมชน )

สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ พบว่าการเมืองภาคพลเมืองมีพลังมากขึ้น เห็นการรวมตัวของภาคประชาชนมากขึ้น

 

สันสกฤต มุนีโมไนย : กองบรรณาธิการ

Be the first to comment on "“การเมืองภาคประชาชนกับการปฏิรูประบบสุขภาพ”"

Leave a comment

Your email address will not be published.