“ฝึกฟื้นใจเมือง”

8-9 ม.ค. 48 จ. สุราษฎร์ธานี เวทีนโยบายสาธารณะภาคประชาชนภาคใต้ “ ฝึกฟื้นใจเมือง ” Spirit of the South ) SOS ครั้งนี้เกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจของพี่น้องภาคประชาสังคมที่มีจิตใจอยากเห็นสังคมดี บนฐานแนวคิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตัวเอง…

 

การประชุมเวทีนโยบายสาธารณะ

ภาคประชาชนภาคใต้

 

ฝึกฟื้นใจเมือง

Spirit of the South : SOS
วันที่ ๘-๙ มกราคม ๒๕๔๘ ณ โรงแรมเสาวลักษณ์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี


 

เวทีนโยบายสาธารณะภาคประชาชนภาคใต้ ฝึกฟื้นใจเมือง ” Spirit of the South ) SOS ครั้งนี้เกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจของพี่น้องภาคประชาสังคมที่มีจิตใจอยากเห็นสังคมดี บนฐานแนวคิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตัวเอง มีองค์กรอาสาประสานให้เกิดเวที ดังนี้ โครงการวิจัยและพัฒนาสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ เครือข่ายพลเมืองภาคใต้ เครือข่ายองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อสุขภาวะ กป.อพช.ใต้ โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ (ดับบ้านดับเมือง) และ พอช.ภาคใต้ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พี่น้องจาก ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ประมาณ ๒๕๐ คน
พี่น้อง เดินทางทยอยมากันมาเรื่อย ๆ คนที่อยู่ใกล้มาถึงก่อน นั่งรอเพื่อนที่กำลังเดินทาง ในระหว่างการรอคนที่มาก่อนก็นั่งคุยถามสารทุกข์สุกดิบ ตามประสาคนรู้จัก และรู้ใจ บางคนดีใจออกหน้าที่ได้พบกันเพื่อนที่ไม่ได้พบกันมานาน ประเด็นการพูดคุยหนีไม่พ้นเหตุการณ์ซึนามิ ทั้ง ๖ จังหวัดภาคใต้ พยายามบอกเล่าเหตุการณ์ด้วยอารมณ์ที่แตกต่างตามสถานการณ์และความรุนแรง ถึงเวลาอาหารเที่ยงก็รวมกันไปคุยต่อที่โต๊ะอาหา

ได้เวลาเข้าห้องประชุม อารมณ์ของการพูดคุยยังไม่หยุดยั้ง ในขณะที่บางคณะก็ทยอยมาถึงเรื่อย ๆ ที่สังเกตเห็นคือ ทุกคนพยายามพูดคุยกันด้วยความ รื่นเริงเพื่อกลบเกลื่อนความเศร้าที่เกิดจากการสูญเสีย ส่วนพี่น้องที่ไม่ประสบโดยตรงก็พยายามคุยแบบให้กำลังใจอยู่ไม่หยุดหย่อน

การประชุมเริ่มอย่างเป็นทางการ เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ น.
คุณทวีศักดิ์ สุขรัตน์ กล่าวถึงความเป็นมาของการประชุมว่า

งานเวทีนโยบายสาธารณะภาคประชาชนภาคใต้ ภายใต้ชื่อว่า ฝึกฟื้นใจเมือง หรือ Spirit of the South : SOS มีความหมายบ่งบอกถึงจิตวิญญาณคนใต้ ที่รวมพลังความคิด ปัญญา และจิตนาการด้วยกัน เพื่อที่จะฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคและวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นไปให้ได้

วัตถุประสงค์หลัก คือ ๑. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้การเมืองภาคประชาชน ๒.เพื่อให้เป็นที่แสดงตัวตนของคนใต้บนพื้นฐานการกำหนดตนเอง

๓.เป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการเมืองของภาคประชาชนที่ให้ความสำคัญกับคุณค่า วัฒนธรรม ความดีและความงาม สามารถขยายผลสู่ระดับชาติ คาดหวังว่า การประชุมครั้งนี้จะสามารถสร้างรูปธรรมที่เป็นแนวการขับเคลื่อนสังคมภาคใต้ โดยคนใต้ที่สามารถกำหนดอนาคตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

 

การประชุม วันแรกเป็นการพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวจุดแข็งและต้นทุนดี ๆ ที่มีอยู่ในตัวตนของคนใต้และถิ่นฐาน โดยมีคุณเสรี จุ้ยพริก เป็นผู้สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านประเด็นคำถามหลัก คือ ๑. ในท่ามกลางวิกฤติหลายครั้งของภาคใต้ท่านยืนอยู่จุดไหนที่เป็นจุดแข็งของท่านทำให้ท่านได้รับแรงกระแทกโดยใจไม่สะเทือนและทำให้ท่านยืนหยัดอยู่ได้จนทุกวันนี้ ๒. ท่านคิดว่าต้นทุนที่สำคัญของภาคใต้มีอะไรบ้างที่ทำให้เราคนใต้ไม่สิ้นหวังเมื่อเจอวิกฤติที่ร้ายแรงแล้วเราจะฟื้นได้อีก

 


ส่วนการประชุมวันที่สอง
ก็เริ่มจากการรับฟังประสบการณ์สถานการณ์ภาพรวมของภาคใต้และทัศนะของคนใต้ผ่านสื่อวิดิทัศน์จากผู้รู้ ๓ ท่าน คือ

เปาะจิ๊ (ดือราแม ดาราแม ) ปราชญ์ชาวบ้านจากลุ่มน้ำสายบุรี อาจารย์นุกูล รัตนดากุล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมจากมอ.ปัตตานี และนพ.บัญชา พงษ์พานิช ผอ.โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้

หลังจากนั้นก็เป็นเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อจัดปรับอนาคตที่เราปรารถนาให้เป็นรูปธรรม เพื่อ ผลักดันสู่นโยบายสาธารณะ โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ จากสถาบันประชาสังคม เป็นช่วยกระตุ้น สร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการนำเสนอข้อมูล ตั้งคำถาม ชวนให้ได้คิดและแลกเปลี่ยนกันอย่างลึกซึ้ง (พูดและคิดด้วยหัวใจ) ซึ่งมีประเด็นชวนคิด ชวนคุยในกลุ่มย่อย ดังนี้
คำถามช่วงที่ ๑
มีปัญหาอะไรที่เป็นปัญหาสำคัญในจังหวัดของท่านและท้าทายความสามารถที่

 

ท่านต้องเอาชนะให้ได้

ปัญหาที่ท่านเอาชนะนี้ มันมีความหมาย

และสำคัญต่อท่านอย่างไรบ้าง

คำถามช่วงที่ ๒

ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เราอยากเอาชนะ

ร่วมกัน และเชื่อมโยงว่าปัญหาไหนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับปัญหาไหนและมีภารกิจอะไรที่ต้องร่วมกัน มีจุดคานงัดอะไรบ้าง

คำถามช่วงที่ ๓

ยุทธศาสตร์หรือวาระของภาคใต้ ที่อยาก

ทำให้เป็นจริง ภายในระยะเวลา ๒ ปี

 

 

ภาพรวมของความเห็นที่ได้จากเวที ในเรื่องจุดแข็ง คือ คนใต้ยึดมั่นในหลักศาสนา มีจิตใจที่รักคุณธรรม รักความถูกต้อง รักพวกพ้อง ตลอดจนถึงรักผู้อื่น พร้อมจะช่วยเหลือกันในยามวิกฤต เป็นนักสู้ เป็นตัวของตัวเอง มีสภากาแฟเป็นพื้นที่สาธารณะโดยธรรมชาติในเรื่องต้นทุนที่มีอยู่ คือ

มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีฐานอาชีพที่เพียงพอ และมีการรวมตัวเป็นองค์กรเครือข่ายจนเป็นที่ยอมรับทั่วไป ตลอดจนมีภูมิปัญญาและมีการถ่ายทอดสืบเนื่องเรื่อยมา

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะมีจุดแข็งและต้นทุนอยู่มาก แต่เราก็ยังมีปัญหาอยู่มากเช่นกัน ไม่ว่าในเรื่องของความแตกต่างระหว่างความรวยกับความจน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ

 

หลังจากได้เห็นพลังร่วมกันแล้ว ก็มาร่วมกันกำหนด อนาคตที่เราอยากจะเห็นร่วมกัน และดูสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี ๔๘ ๔๙ เพื่อปรับความปรารถนาให้เป็นรูปธรรม และนำสู่นโยบาย ซึ่งผลจากการร่วมคิด ร่วมคุย ผ่านการทบทวนกลั่นกรอง ทำให้เห็นร่องรอยความคิดของกลุ่มคนใต้ที่ขันอาสาตัวเองเข้ามาร่วมกำหนดอนาคต กำหนดยุทธศาสตร์หรือวาระของคนภาคใต้ ที่อยากทำให้เป็นจริงภายในระยะเวลา ๒ ปี มีสาระว่า

 

๑ ใช้การเมืองภาคพลเมือง ผลักดันประเด็นตามพื้นที่ เช่น เรื่องการบริหารจัดการองค์กรภาคประชาชน การพึ่งตนเองของเกษตรกรรม ที่ดินทำกิน

๒ พัฒนาสื่อภาคประชาชน เช่น สื่อวิทยุสมัครเล่น เสียงตามสาย สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ และ เสริมพลังสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงทุกพื้นที่

๓ พัฒนากลไกการสร้างความสมานฉันท์ ระหว่างรัฐ ชุมชน ชุมชนกับชุมชน

๔ สร้างจิตสาธารณะ ในกลุ่มเครือข่ายภาคใต้ ใช้วิกฤติเป็นพลังทางบวก และเกิดการใช้คุณค่าศาสนาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

๕ พัฒนาศักยภาพของเยาวชน เพื่อลดช่องว่างระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ สู่เครือข่ายสภาเยาวชนจังหวัด

๖ จัดการทรัพยากรโดยชุมชน ในโครงการต่างๆ ของรัฐที่ลงมากระทบกับคนใต้ และ ปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๗ สร้างสรรค์สันติสุขภาคใต้

๘ สร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงเต็มพื้นที่

๙ เกิดสถาบันการเมืองภาคพลเมืองใต้ และ กองทุนพลเมืองจังหวัด

ก่อนการปิดประชุม อาจารย์ชัยวัฒน์ ได้ สรุปและให้ข้อคิดว่า

ในการประชุมทุกครั้ง เราต้องมีสติ เพราะการมีสติจะทำให้การประชุมนั้นจะเป็นไปด้วยดี

แก่นของเราคือ การเมืองภาคประชาชน ไม่ใช่เรื่องของการแย่งชิงอำนาจ เเต่เป็นเรื่องของสันติ

สื่อภาคประชาชนเป็นส่วนสำคัญของ การดำเนินการการเมืองภาคประชาชน และควรมีการทบทวนการเมืองภาคประชาชนในการเสนอข่าว ข้อมูลที่มีความเป็นจริงมากขึ้น

เวทีวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ ที่จังหวัดพังงา ประชาชนใน ๖ จังหวัดชายฝั่งอันดามันจะได้ มีส่วนร่วมในการจัดการ ปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ขอให้พวกเราเริ่มในการดำเนินการกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเราได้เริ่มทำกันมา เพราะเราคือผู้นำความเปลี่ยนแปลง การนำภาคประชาชน เปรียบเสมือน การบินของฝูงนก ซึ่งจะเริ่มจากผู้นำฝูง นำบินก่อน คนก็เหมือนกัน ผู้ที่รู้ข้อมูลก่อน รู้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจะเป็นผู้นำ และผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงก่อนเสมอ”

 

คือโหมเรา

ภาคพลเมือง……

งานฝึกฟื้นใจเมืองครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภาคพลเมืองของประชาคมภาคใต้ ที่มีชาวภาคพลเมืองเข้าร่วมกว่า ๒๕๐ คน แม้การเตรียมการจะค่อนข้างกระชั้นชิด แต่ด้วยความมุ่งมั่นของพวกเราก็สามารถประสานจัดการจนเกิดขึ้นแล้ววันนี้ ระดมพลกันมาหลายจังหวัดครบครัน

[
ทวีวัฒน์จากชุมพรพร้อมพรรคพวกมาตั้งแต่เย็นวันที่ ๗ ไฟแรงจริง ๆ นะครับ
[ สุราษฎร์เมืองคนดี ที่ขันอาสาเป็นเจ้าภาพ มากันกว่า ๓๕ คน ทั้งคณะทำงาน อ.ปรีชา พี่ทวีศักดิ์ อ.สมชาย ครูอู๊ด อ.สอรัฐ พี่นัท และน้องจุ๊ น้องปู น้องหนุ่ย ครูจิ๊บ และที่มาเข้าร่วม รวมทั้ง น้าชาญ เครือข่ายที่ดิน นำโดยพี่สมาร์ทเครืออ่าวบ้านดอน และอีกหลายท่าน
[ มืองคอนก็มากันหลาย เช่น ผู้ใหญ่ลอ อ.บุญธรรมและกลุ่มเพื่อนศิลปินพื้นบ้าน พี่สุรพลจาก สช.
[ พี่น้องจากระนองที่เพิ่งบอบช้ำจากคลื่นยักษ์ก็มากันหลายท่านที่เห็นก็มีโกแบ็ค คุณพี่กานดา
[ พัทลุงก็มากันไม่น้อย ๒๑ คน ที่เห็นมี อ.กาจ ทะเลน้อย หมอโกศล พี่สมนึก และพี่น้องจากโคกม่วง เขาชัยสน แพรกหา
[ งขลา กำนันสัมพันธ์ และ น้าแสงจาก ระโนด แม้จะมาน้อยแต่กำนันบอกว่าสงขลามีกำนันมาก็พอแล้ว [ จาก ๓ จังหวัดชายแดนใต้ก็มากันไม่น้อย จากปัตตานีมากัน ๒๐ คน เจ๊ะปอ ละม้าย และน้องๆ คนรุ่นใหม่จากชุมชน มาด้วยใจจิงจิงนะ
[ ยะลาก็มากันหลายท่านโดยเฉพาะ น้อง ๆ เยาวชนหลายคน
[ นราธิวาส ไกลสุด มากันน้อยหน่อย ๓ คน นำโดยมีคุณพิศิษฐ์และสมาชิก
[ สตูล . ประโมทย์ จากควนกาหลง ละงู และเมืองสตูล มาร่วมกัน ๑๕ คน
[ พังงา กระบี่มากัน ๑๗ ชีวิต อ.ยุพิน ถ้ำน้ำผุด ตะกั่วทุ่ง เกาะยาวน้อย และพี่น้องจากท้ายเหมืองแม้จะเสียหายจากคลื่นยักษ์ก็ยังมีสปิริตมาร่วมด้วย

[ กระบี่ก็มีพี่น้องจากเกาะลันตามาเข้าร่วม

.............

 

จับเข่าคุย……ประสาน้องพี่

ในโอกาสนี้คณะทำงานไดพูดคุยกับนางลารียะ ดอเลาะ หรือ ยะห์ จากตะโละไกรทอง อ. ไม้แก่น จ. ปัตตานีเป็นหนึ่งความเห็นที่ขอนำมาเสนอ ณ ที่นี้

เหตุจูงใจในการมาร่วมงานนี้
จากเคยทำแผนยุทธศาสตร์ ๓ จังหวัดในการแก้ปัญหาชุมชน โดยเน้นในทุกแง่ทุกมุมของชุมชน ไม่ว่าการทำงาน เรื่องเด็กเยาวชน และเรื่องอื่น ๆ การเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้อยากมาพบเพื่อนน้องพี่ เพราะตัวเองอยากเรียนรู้จากคนอื่น

ผลที่ได้จากการมาร่วมงานนี้

 

ยะห์


คิดอย่างไรก็การทำงานทางสังคม

ยะห์ : การทำงานตรงนี้เราได้ให้เพื่อนบ้าน เราทำเราเหนื่อย เราไม่มีค่าตอบแทน เรามีใจ แต่เราก็มีความสุข ประโยชน์ได้ทั้งอำเภอไม้แก่น ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่

...........

: เวทีลักษณะนี้ทำให้ได้ความคิดหลากหลาย ได้เติมเต็มจากหลาย ๆ ท่าน เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ นึกไม่ถึงว่า การมาจากหลากที่หลายเหตุการณ์ที่สามารถรวมตัวกันเป็นหนึ่งได้ ยะห์อยากให้มีแบบนี้บ่อย ๆ จากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ พี่น้องจากภาคเหนือ อีสาน ยังให้กำลังใจมาถึง การมีน้ำใจจากทุกภาคเป็นเรื่องที่ยาก เห็นความทุกข์ร่วมกันแต่ลักษณะของปัญหาต่างกัน

เสียงสะท้อนจากทีมงาน

สนุกดี ช่วยกันขยันขันแข็ง น้องนิต

บรรยากาศมั่วมาก ๆ เสียดายจังที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการ แต่เห็นความวุ่นวายเรื่องการจัดการอยู่ เพราะมีหลายคน หลายทีม น้องจุ๊ / น้องเก๋

สังคมย่อมมีความวุ่นวาย แต่งานนี้ แฝงไว้ด้วยแง่มุมการเมือง แต่ไม่รู้ว่าเรื่องอะไรที่ต้องสร้างความเข้าใจกันแน่อุ๊ มาตุภูมิ

ชอบกินแกงร้อนกันน่ะ(ทีมงานฝึกฟื้นใจเมือง ) ไม่เชื่อหรือ ลองจับเอกสารแจกดูซิค่ะ ยังอุ่น ๆ อยู่เลย (ตีสาม ) ความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือการช่วยเหลือกันตามบทบาท/หน้าที่ทำให้เราคนใต้ได้ เจอกัน ปู

หลายครั้งมีความสำเร็จเกิดจากความวุ่นวาย น้องจี

คำคม……

มาร่วมเวทีครั้งนี้ จะกลับไปชวนชาวบ้าน ไปสร้างความรู้ร่วมกับในระดับชุมชน โดยไม่ให้ชุมชนไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง ที่สำคัญคือ ต้องการให้ชุมชนได้รู้จักคำว่า การเมืองภาคพลเมืองคืออะไร โดยไม่ให้นักการเมืองมากำหนดชุมชน เพราะส่วนหนึ่งคนในชุมชนยังไม่รู้ว่าการเมืองภาคพลเมืองคืออะไร ยังมีนักการเมืองคอยชี้นำอยู่

สุชีพ พัฒน์ทอง

แม้พายุ คลื่นยักษ์ หรืออะไรมากระแทก เราคนใต้ยังไม่สะเทือน

ลุงคลี่ ชุมแก้ว

ทุกครั้งที่เกิดวิกฤต และบอกว่าเราแก้ได้ เราแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ทั่วถึงหรือไม่ ทำไมจึงยังเกิดความจน ความรวย การใช้ทรัพยากรอย่างไม่รู้คุณค่า

. ยุพิน

.............

 

 

เบื้องหลังการถ่ายทำ……

ก่อนจะมีงานนี้เกิดขึ้น สืบเนื่องจากเวทีสาธารณะส่วนกลาง ซึ่งมีการจัดมาเป็นระยะ ๒ ปี แนวคิดในเวที โดยสมาชิกสะท้อนควรมีเวทีสาธารณะระดับท้องถิ่นเกิดขึ้น

การประชุมครั้งล่าสุดของเวทีสาธารณะส่วนกลางที่สถาบันพระปกเกล้า มีการตั้งโครงการ โดยให้มีความคิด CEO (กลุ่มจังหวัด)

ในภาคใต้มี ๕ กลุ่มจังหวัด จากการประชุมตัวแทนจังหวัดภาคใต้ มีแนวคิดจัดเวทีรวมระดับภาค จึงมีการเลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดเจ้าภาพ

ฝึกฟื้นใจเมืองการพบกันของพี่น้องชาวใต้ ๑๔ จังหวัด การก่อเกิดของงาน ประกอบไปด้วยทีมจัดการให้งานเกิดขึ้นได้และสำเร็จไปด้วยดี

หลายทีม…. หลายคน…. หลายหน่วยงาน…. หลาย ๆ ส่วน ได้ร่วมกันเพื่อจะให้พี่น้องชาวใต้เรา มีโอกาสพบเจอแลกเปลี่ยน ถึงความโชคร้าย ที่พี่น้องชาวใต้เราได้เผชิญอยู่ สุราษฎร์ธานีในฐานะเจ้าบ้าน ในการจัดงานได้ช่วยกันจัดสรรบทบาทความรับผิดชอบ ทั้งตามความถนัดและความไม่ถนัด

ทีมประชาสังคม ถือเป็นทีมก่อการใหญ่ในเรื่องของการประสาน การเตรียมการของการก่อเกิด และคงลืมไม่ได้กับความพร้อมและความร่วมมือ ร่วมใจของเพื่อนพ้องน้องพี่ ที่ได้ช่วยกันในเรื่องของการจัดการ งานบริการ และงานเอกสาร ถือเป็นหัวใจของการจัดงานทุกครั้ง


: ( พี่สุ / น้องเบส : HPL ปัตตานี

.............

ผู้ร่วมบันทึกร่องรอย

พี่มานะ / น้องนุช / น้องอรุณ / น้องดุลย์ / น้องปู : ดับบ้านดับเมือง)

Be the first to comment on "“ฝึกฟื้นใจเมือง”"

Leave a comment

Your email address will not be published.