การประเมินศักยภาพระดับบุคลากรของโครงการ/องค์การนั้น นับว่ามีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นปัจจัยนำเข้า (input)
ที่สำคัญของโครงการ/องค์กร อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่อไป นอกจากนี้การประเมินศักยภาพยังเป็นการสะท้อนผลการดำเนินงาน (output) ของโครงการ/องค์กร ว่าได้ทำให้คนทำงานได้เติบโตหรือพัฒนาขึ้นอย่างไร ซึ่งหากคนทำงานมัศักยภาพที่สูงขึ้น ย่อมมีผลดีต่อโครงการและองค์กรต่อไป
คำนำ
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การมุ่งส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมดำเนินการกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เครือข่ายพันธมิตร ผู้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้าง “สำนึกสาธารณะ” และรวมตัวกันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (civil society movement) เพื่อจัดการให้ท้องถิ่นพัฒนาไปสู่ความเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่และยั่งยืน
ชุดโครงการมีลักษณะเป็นนวัตกรรม (innovativeness) ที่มีเป้าหมาย (Purpose) ของโครงการแน่ชัด แต่มีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างในการดำเนินงาน พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตลอดเวลาดังที่เรียกกันว่าทำโครงการแบบ “learning by doing”
เพื่อให้การดำเนินโครงการในพื้นที่ที่คลอบคลุมทั้ง 35 จังหวัด และมีกลุ่มพันธมิตรเครือข่ายเข้าร่วมดำเนินงานเป็นจำนวนมาก โครงการต้องสร้างเงื่อนไขทั้งที่จำเป็น (necessary conditions) และเงื่อนไขที่พอเพียง (sufficient conditions) ในการผลักดันงานอย่างต่อเนื่องและมีพลังมากพอที่จะขยายขอบข่ายงานและเครือข่ายเพิ่มขึ้น ฝ่ายติดตามประเมินผลภายในและสังเคราะห์องค์ความรู้จึงได้จัดทำชุดเอกสารเพื่อการสนับสนุนทาง วิชาการ (technical support) ขึ้นเพื่อเผยแพร่เรียนรู้ในโครงการ นอกเหนือไปจากบทบาท หน้าที่หลักด้านการติดตามประเมินผลภายใน สังเคราะห์องค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพฝ่ายติดตามประเมินผลและสังเคราะห์องค์ความรู้ในระดับจังหวัด
นอกจากเอกสารนี้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกันในโครงการแล้ว ยังหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ดำเนินงานในลักษณะที่สอคคล้องกับโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ด้วย
ฝ่ายติดตามประเมินผลภายในและสังเคราะห์องค์ความรู้
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Be the first to comment on "กรอบแนวคิดการประเมินศักยภาพคณะทำงานในองค์กร"