การจัดการน้ำในปราจีน ไปทางไหน

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาพื้นที่ ปราจีนที่มีปัญหาหลายด้าน ต้องทนกับน้ำหลายชนิด น้ำเน่าเสีย น้ำท่วม น้ำแล้ง  น้ำเค็ม     ชาวนาที่ทำนาปรังมีปัญหามาก มีการแย่งน้ำทำนาเป็นแสนไร่ เพราะราคาดี …

 

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสลงพื้นที่ศึกษาพื้นที่ ปราจีนที่มีปัญหาหลายด้าน ต้องทนกับน้ำหลายชนิด น้ำเน่าเสีย น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม ชาวนาที่ทำนาปรังมีปัญหามาก มีการแย่งน้ำทำนาเป็นแสนไร่ เพราะราคาดี เมื่อมีคนทำตามมาก นาปีที่อยู่ท่ามกลางนาปรังก็ทำไม่ได้ จึงต้องจำใจทำนาปรัง ผู้เลี้ยงปลากระชัง มีปัญหาเรื่องน้ำเสียทำให้ปลาตายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานับแต่ปี พ.ศ. 2538 เกิดปรากฏการณ์ปัญหาการตายของปลาทั้งแม่น้ำ ตั้งแต่อำเภอศรีมหาโพธิ ไปจนถึงอำเภอบ้านสร้าง พันธุ์ปลาประจำถิ่นเริ่มหายไป เช่น ปลาลิ้นหมา ปลาแก้มช้ำ ปลาม้า ปลาตะโกก เป็นต้น

กุ้งแม่น้ำก็ลดลงเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ. 2542 – 2547 เกิดวิกฤตปลาตายบริเวณ ต.ท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ ปี พ.ศ. 2545 – 2547 เกิดแม่น้ำเน่าเสีย บริเวณใต้ปากคลองสารภี ในเขตอำเภอบ้านสร้าง ปลาและสัตว์น้ำหลายชนิดตายรวมทั้งปลาในกระชัง

ผมจึงได้ลงพื้นที่ร่วมกับพี่ๆทีมงานในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะและกลุ่มชาวบ้าน เพื่อศึกษาสภาพทางกายภาพพื้นที่นาใน อ.ท่างาม จ.ปราจีนบุรี ในช่วงแรกมีการแบ่งกลุ่มชาวบ้านเป็นสี่กลุ่มเพื่อสำรวจพื้นที่ คือกลุ่มเลี้ยงปลากระชังและกลุ่มชาวนาโดยมีการกำหนดประเด็นงานที่ต้องทำร่วมกันดังนี้ ประเมินสภาพทางกายภาพและกำหนดพื้นที่ย่อยที่มีลักษณะเฉพาะในพื้นที่ตำบลท่างามและดูความสัมพันธ์ของพื้นที่ย่อยกับภาพรวม รูปแบบของการใช้ประโยชน์ (มีวิธีการใช้น้ำอย่างไร ช่วงไหน เวลาไหน) วิธีการจัดการของคนในชุมชน/หน่วยงานที่ดูแล

ในการลงพื้นที่ศึกษา กลุ่มของผมศึกษาในพื้นที่ทำนา ต.ท่างาม ในครั้งนี้ผมมีโอกาสได้ใช้เครื่องมือใหม่ ที่เรียกว่า GPS (Global Positioning System) คือระบบการหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม เครื่องมือที่สามารถวัดพื้นที่ว่าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกี่เมตร รวมถึงการกำหนดจุดและระยะทางจากแผนที่ของเมืองได้อย่างสะดวก ถูกต้องและแม่นยำ ทำให้ง่ายต่อการสำรวจ จะเห็นได้จากกลุ่มของผมกลับมาถึงจุดนัดพบเป็นกลุ่มแรก
 

Be the first to comment on "การจัดการน้ำในปราจีน ไปทางไหน"

Leave a comment

Your email address will not be published.