ถ้าเราเชื่อ และ ศรัทธาว่า “สื่อ และ การสื่อสาร ควรเป็นไปเพื่อปรับปรุงหรือสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างมนุษยชาติ และ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต” แนวคิด เรื่องประชาสังคม ต้องเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารแบบสนทนาวิสาสะ……
ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ โครงการพัฒนาการสื่อสารฯ
การสื่อสาร เป็นหนึ่งในปฏิบัติการอันเก่าแก่ เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างข้อตกลง ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในวิถีสังคมของการต้องอยู่ร่วมกัน
เริ่มด้วย การใช้ร่างกาย เสียง จากเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ สู่ การสร้างและรักษาความเป็นชุมชน การนำเสนอสินค้า หรือ สิ่งเพื่อยังชีพ ไปจนถึงการ ตอบสนองความต้องการรับรู้สิ่งที่เป็นไปในโลก
เครื่องมือการสื่อสาร พัฒนาจากใช้อวัยวะในร่างกายโดยตรง ไปสู่ การสร้าง สิ่งถ่ายทอด ที่เริ่มจากการวาดเป็นภาพ การเขียนเป็นอักษรและเลข ไปจนถึง การสามารถทำซ้ำ ทำเหมือน เช่น การถ่ายภาพ การทำให้แพร่กระจายผ่านคลื่น เช่น วิทยุ – โทรทัศน์ ไปจนถึง การเก็บและถ่ายทอดเป็นภาพเคลื่อนไหว และ เสียง เช่นภาพยนตร์ วิดีทัศน์ วีซีดี ที่ปัจจุบัน แพร่กระจาย ถ่ายทอดได้ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เกิดการสื่อสารแบบผสมผสาน และสร้างโอกาสในการส่ง และ รับสารอย่างหลากหลาย เช่นในปัจจุบัน
การสื่อสารกับมนุษย์
มนุษย์ทำการสื่อสาร เพื่อ บอกเล่า เพื่อชี้นำ เชิญชวน หรือ ที่เรียกว่า เพื่อให้การศึกษา เพื่อสร้างความพึงพอใจ ทั้งเพื่อคนอื่น และ ตนเอง เพื่อระบายหรือ สะท้อนความรู้สึก และ อารมณ์ เพื่อขับไล่สิ่งเลวร้าย และ บูชาสิ่งที่ศรัทธา เพื่อก่อกวนศัตรู เพื่อระดมสรรพกำลัง เพื่อสยบปรปักษ์ เพื่อล่อลวง โน้มน้าว และ ชักจูง ด้วยกลวิธีต่าง ๆ ทั้ง ความเชื่อ ศาสนา การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และ การรณรงค์ทางการเมือง
ในขณะที่ประชากรยังมีจำนวนน้อย กระบวนการสื่อสารเป็นไปในระดับถิ่น ย่าน ชุมชน อย่างเชื่องช้า และโดยผู้คนทั่วไป ความชำนาญ เฉพาะของ นักสื่อสาร เริ่มจากความสามารถในการใช้ภาษา อย่างไพเราะ สละสลวย หรือ การใช้ภาษาที่สื่อสารความคิดเห็นอย่างคมคาย โน้มน้าวเชิญชวนได้ ศาสตร์ และ ศิลป์ ของการสื่อสาร จึงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมร่วมสมัย ในวิถีแห่งชุมชน
การสื่อสารมวลชน คือ การสื่อสารจากแหล่งหนึ่ง แต่กระจายไปอย่างกว้างขวางในเวลาเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกัน เป็นการสร้างโอกาสที่เหนือกว่า ของผู้มีศักยภาพในการส่งสารได้กว้างหรือแพร่กระจายกว่า เร็วกว่า ปัจจุบัน สื่อสารมวลชน เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ และ ทรงพลังของโลก แต่มีเงื่อนไขต่อผู้ต้องการเข้าร่วมในอุตสาหกรรมนี้ คือ
ความชำนาญเฉพาะ ความลับเฉพาะ ความซับซ้อนและ การไตร่ตรองอย่างมีอิสระทางความคิด .. การมีความรู้ในทางหลักวิชาการ มีทักษะ และ การตัดสินใจที่เฉียบขาด แหลมคม
ดังที่ มีผู้กล่าวว่า การนำเสนออย่างมีศิลปะ และ แยบยล คือ การพัฒนาอำนาจในการสร้างสรรค์สาร และ กลวิธีในการสื่อสาร คือ การพัฒนาอำนาจในการกำหนดการนำเสนอ
การสื่อสารกับความเป็นชุมชน และ ประชาสังคม
เป้าหมายสำคัญของการสื่อสาร คือ การสมาคมกันด้วยการสนทนา -The acme of commnication is conversation ! การสื่อสารเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระทำ หรือ ถ้าจะให้ดี คือ มุ่งสู่การมีปฏิสัมพันธ์
การสนทนา คือ รูปธรรมชัดเจน ที่สะท้อน แสดง ลักษณะเด่นในธรรมชาติของมนุษยชาติ – conversation embodies the essential nature of humankind เพราะการสนทนา หรือ การที่คนสื่อสารกันโดยผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยน เป็นการ ผูกโยงกันด้วยอัธยาศัย บนฐานวัฒนธรรมและความเอื้อเฟื้อ มากกว่า การกำหนดเป้าหมายร่วม .. ด้วยเหตุนี้ ความมุ่งหวังสู่ข้อตกลงที่ปรารถนา จะไม่มีวันเลือนหายตราบใดที่ยังคงมีการสนทนาหรือ การแลกเปลี่ยน พูดคุย แบบสนทนาที่มีวิสาสะ คือ ความเป็นกันเอง และ คุ้นเคย – the hope of agreement is never lost so long as the conversation lasts ( Rorty, R – Philosophy and the Mirror of Nature ,1979 )
ในโลกแห่งอุตสาหกรรมสื่อ ที่เป็นทรัพยากรสำคัญของอำนาจธุรกิจ และ การเมือง เช่นในปัจจุบัน ถ้าเรามีความเชื่อ และศรัทธา ว่า ประชาสังคม หรือ สังคมของประชาชน เป็นขั้วต่างของ บุคลิกรัฐ และ ทุน ที่มีลักษณะสำคัญ คือ การล่วงละเมิดอย่างเป็นระบบด้วย การบริหารแบบราชการที่ยึดหลักเหตุผลอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู กับ ระบบเศรษฐกิจแบบลัทธิการค้าที่มุ่งผลกำไรเป็นหลัก – Civil Society : exert itself against the systematic encroachment of both (over)- rationalised government bureaucracy and economic commercialism (Riessman and Banks :The Mismeasure of Civil Society,1996) การทบทวนท่าที ต่อการทำงานการสื่อสาร หรือ การทำงานกับระบบสื่อสารมวลชน น่าจะเป็นสิ่งพึงกระทำ
โดยภาพรวม กล่าวได้ว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้ง ธุรกิจข้ามชาติ หรือ แม้กระทั่งรัฐบาล ทำการคุกคามประชาชน เพราะให้ความสำคัญ หรือ ให้ความสนใจ น้อยมาก กับประชาชน ที่เป็นผู้ลงทุนให้ หรือเป็นผู้ทำให้เกิด ธุรกิจ และ รัฐบาล แต่ ทั้งธุรกิจ และ รัฐบาล กลับให้ความสำคัญกับเงิน และ โอกาส ที่เป็นฐานในการลงทุนของตน มากกว่า
ถ้าเราเชื่อ และ ศรัทธาว่า “สื่อ และ การสื่อสาร ควรเป็นไปเพื่อปรับปรุงหรือสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างมนุษยชาติ และ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต” แนวคิด เรื่องประชาสังคม ต้องเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารแบบสนทนาวิสาสะ แม้ว่า สิ่งนั้นจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับแนวทางและวิถีแห่งอำนาจของรัฐชาติ หรือ อำนาจธุรกิจ หรือ ธนกิจการเมือง แต่เราพึงทำการสร้างสื่อ และ สื่อสาร อย่างเชื่อมั่น และ ศรัทธาในรูปแบบและวิธีการของข่ายสหสัมพันธ์ที่เป็นไปโดยวิถีอย่างธรรมชาติ เชื่อมโยงและกลมกลืนกับขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างไม่ยึดติดกับกฎระเบียบ แม้ กฎหมาย
การสื่อสารเพื่อสร้างความแตกต่าง หาก ผลผลิตการสื่อสาร คือ วัฒนธรรมหนึ่งของมนุษยชาติแล้ว ลองพิจารณา การวิเคราะห์ ของ Edward Said ที่ว่า วัฒนธรรมที่สร้าง(หรือโน้มนำ สนับสนุน – ผู้นำเสนอ) โดยรัฐซึ่งมีแนวคิดการครอบครองและแสวงหาโอกาส อย่างลัทธิจักรวรรดินิยม และ ล่าอาณานิคม คือ การทำความชอบธรรมในการ ลดค่าความเป็นคน การเกลียดชังด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ และ การครอบงำทางเศรษฐกิจ และ พฤติกรรม ( Said,ER :The World ,the Text and the Critic,1991) ความแตกต่าง ที่แสวงหา เบื้องต้นที่สุด น่าจะเป็น การสื่อสารเพื่อนำเสนอด้วยเนื้อหา และ วิธีการ ที่เชื่อในคุณค่า ความงดงาม ความหลากหลาย ของ ผู้ตนในสังคม ที่มี ความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิต พฤติกรรมที่มุ่งตอบโจทย์แห่งตนและชุมชน มากว่า โจทย์ในโลกแห่งอำนาจ และ การจัดการด้วยกำลังและโอกาสที่เหนือกว่า ใช่หรือไม่ ?
ถ้า ประชาสังคม คือ “ การสร้างความเข้มแข็ง อย่างมีคุณค่า ของภาคพลเมือง ด้วย ความเชื่อและศรัทธา ในเรื่อง การระดมพลัง จาก การกระจายตัว หรือ การทำงานด้วยความเชื่อมั่นในคุณค่าที่หลากหลายของผู้คน โดยคำนึงถึง การตอบสนองความต้องการ การสร้างความยั่งยืนด้วยฐานทุนที่มี ” แล้ว ระบบประชาสังคม ก็คงไม่ต่างจากการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ท ที่มุ่งสร้างความกลมกลืน หรือ ลบเลือนเส้นแบ่งที่เข้มงวด ระหว่าง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเสียง สื่อภาพและเสียง ให้ประสานกลมกลืนกันด้วยเทคโนโลยีของระบบ ที่สามารถถ่ายทอดแหล่งข้อมูลหลากหลายรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ มีความหมาย และ ให้ความพึงพอใจ โดยคำนึงถึง ประสิทธิผล ความง่ายในการใช้ และ การลดต้นทุน
แต่ในบ้านเรา การเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ท ยังคงเป็นเรื่องที่ไม่ทั่วถึง และ เท่าเทียม หรือจะสะท้อนว่า ความเชื่อและพฤติกรรม ประชาสังคม ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่แพร่หลาย ปฏิบัติได้ และ ซึมลึกจริงในวิถีชีวิต ! ทำอย่างไร จึงจะทำให้ตัวอย่างที่เป็น เห็น และ ยอมรับได้ จะเป็นการแพร่กระจาย ความคิด ความเชื่อ และ โน้มนำสู่การปรับเปลี่ยน วิธีคิด และ พฤติกรรม ?
ประชาสังคม กับ เทคโนโลยีการสื่อสาร จุดท้าทายที่สำคัญ คือ ความแตกต่างอย่างมีความหมายเชิงคุณค่า มากกว่า ความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจ กระตุ้นการใฝ่รู้ ที่เพื่อที่สุด… ยืนยันความเชื่อมั่น และ เสริมสร้างพลังของผู้ส่งสาร ทำอย่างไร จึงจะเกิดความแตกต่างทางคุณค่า ที่ในที่สุด พลังอันเป็นผลของการสื่อสาร ตกไปอยู่ที่คนจำนวนมาก แต่มีพลังน้อย ในโลกแห่ง ธุรกิจข้ามชาติ และ ธนกิจการเมือง |
|
จะ ดำเนินการการสื่อสาร อย่างไร ? |
![]() |
ในระดับรัฐ โครงข่ายและระบบการสื่อสาร น่าจะเป็นไปเพื่อ ขยายบริการ และ สร้างความเท่าเทียมในการได้รับการบริการ และการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่นการศึกษา สุขภาพ การรักษาโรค รวมทั้ง การใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะ ของคนส่วนใหญ่ เช่น เกษตรกรรม สัตวบาล แต่ สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ นโยบาย ภาครัฐ , ทัศนคติ และ ประสิทธิภาพ ของผู้ปฏิบัติเกี่ยวข้อง ในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ กับระดับความตระหนักรู้ในบทบาท หน้าที่ และ ความจริงใจในการดำเนินการเพื่อประชาชน โดยเฉพาะเพื่อกลุ่ม ผู้ด้อย หรือ ขาดโอกาส
ในระดับชุมชน สำหรับประเทศที่(พยายาม)ยอมรับในสิทธิและเสรีภาพการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านคลื่นซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะ ได้มีการดำเนินการเรื่องสื่อชุมชน ที่ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของ และปฏิบัติการด้วยสมาชิกชุมชนในระบบอาสาสมัคร หรือ โดยกลุ่มองค์กรภาคประชาชน หรือ สถาบันทางการศึกษา แต่การจะเป็นสื่อภาคประชาชนที่แท้จริงนั้น ในพัฒนาการของหลายประเทศ ต้องมีกระบวนท่าทั้ง ท้าทาย ประนีประนอม ขณะเดียวกัน ก็ร่วมรับรู้และดำเนินงานไปกับความเป็นจริงแห่งวิถีของชุมชน สิ่งที่วัดใจสื่อชุมชน คือ ความเชื่อมั่นและศรัทธา ในสิทธิและเสรีภาพการสื่อสาร ที่สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชุมชน แต่บ่อยครั้งก็ไม่สามารถก้าวพ้น อำนาจแห่งทรัพย์สิน ชื่อเสียง โอกาส และมายาคติของสื่อ จนในที่สุดชุมชนก็ตกอยู่ในวังวนของการถูกสื่อจัดการและกระทำ เช่นเดิม ๆ |
|
การสื่อสารเพื่อประสานเชื่อมโยงชุมชน |
|
ในความหลากหลายของชุมชน ย่อมส่งผลต่อความหลากหลายของการสื่อสาร และประสิทธิภาพของการสื่อสาร มักมาจากการผสมผสาน อย่างมีเป้าหมาย และ กลวิธี ดังที่ Lewis A. Friedland (Communication Research , August 2001) ได้วิเคราะห์ลักษณะการสื่อสารในสังคมอเมริกัน และนำเสนอความคิดในตาราง ต่อไปนี้
|
|
เอกสารอ้างอิง – Frank Morgan, Civil Conversation : Communication and Civil Society ,1966 – Lewis A. Friedland , Communication Community , and Democracy : Toward a Theory of the Communicatively Integrated Comminity , Communication Research August 2001 – ASFA Communication Awards , www.asfa.asn.au |
การออกแบบการสื่อสารในงาน / โครงการที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ | |
องค์กร ASFA ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินการโครงการขององค์กรสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบการสื่อสาร ถึงกับมีการจัดให้รางวัล โครงการที่มีแผนการสื่อสารที่ดี โดยกำหนดว่า โครงการต้องมีลักษณะสำคัญ คือ
|
|
1. มีการวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อเป็นการยืนยันว่า ความต้องการ วาระโอกาส หรือ ประเด็นในการสื่อสาร ได้ถูกกำหนดอย่างชัดเจน อย่าง คำนึงถึงข้อมูลขององค์ประกอบ และ ความเป็นมาที่เกี่ยวข้อง
2. มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายต้องชัดเจน เกี่ยวโยงกับเนื้อหา ต้องวัดได้ ประเมินได้ และ ไปสู่เป้าประสงค์ได้ ทั้งนี้ เช่นกัน คือต้องกำหนดโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน
3. มีการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ หรือ มีการวิจัย ซึ่งเป็นขั้นตอนจำเป็นสำหรับการตรวจสอบยืนยัน ก่อนจะมีการระบุ หัวข้อ ประเด็น หรือวาระในการสื่อสาร รวมทั้งการกำหนดวิธีการในการได้มาซึ่งข้อมูล อย่างเหมาะสม
4. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสารด้วย เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอย่างแท้จริง 5. การกำหนดแนวทางดำเนินการที่มุ่งผลสำเร็จ โดยคำนึงถึง ประสิทธิภาพ ความสร้างสรรค์ การคุ้มทุนหรืองบประมาณ การใช้เวลา ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์อย่างเหมาะสม ฯลฯ รวมทั้งการประเมินภาวะกดดัน อันอาจจะเกิดขึ้นได้
6. การประเมิน หรือ การวัดผล ต้องมีการออกแบบที่ทำให้ทราบได้ว่า ยุทธศาสตร์การสื่อสารนั้น สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ มีความคุ้มทุนเพียงใด ดำเนินไปได้ดีอย่างไร สามารถบรรลุความคาดหวังเชิงสำเร็จ เพียงใด ฯลฯ
|
|
ใครคือผู้ทำการสื่อสารที่ดีที่สุด มีคำกล่าวว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการประชาสัมพันธ์ คือ องค์กรที่สมาชิกทุกคน มีจิตวิญญาณ และความใส่ใจในการเป็นนักประชาสัมพันธ์
เช่นเดียวกัน การสื่อสารในโครงการใด จะได้ผล คือ การที่สมาชิกผู้ร่วมโครงการ มีความผูกพัน และ ความรู้สึก ที่ต้องการจะสื่อสาร ต้องการจะเล่าและแลกเปลี่ยน ด้วยเห็นคุณค่าของตนเอง ของผู้ร่วมงาน และ ของงานที่รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งเป็นผลทำให้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง สามารถออกแบบการสื่อสารได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึง และ มีพลัง เพื่อประโยชน์ร่วมร่วมกัน |
Be the first to comment on "การสื่อสารอย่างหวังผล"