การออมและการลงทุน

การออมและการลงทุน

BLOG TPBS/LDI ประจำวันจันทร์ที่ เมษายน ๒๕๕๕

          ในระยะนี้พวกเราต้องทำสิ่งหนึ่งที่เหมือนๆ กันคือการยื่นเสียภาษีรายได้ประจำปี อันเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีทุกคน แม้ว่าทางองค์การจะได้หักภาษีไว้ส่วนหนึ่งแล้วทุกเดือน แต่ส่วนใหญ่มักไม่พอดี บางคนต้องเสียเพิ่ม มากบ้างน้อยบ้าง ขณะที่บางคนได้คืนมาก็มี การคำนวนภาษีแต่ละปีบางครั้งก็ทำให้เราได้มีโอกาสสำรวจทบทวน ด้านรายรับรายจ่ายและสถานะทางการเงินของครอบครัวไปด้วย

          องค์กรก็เหมือนครอบครัว  ความมั่งคงทางเศรษฐกิจขององค์กรมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความมั่นคงในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาวะ ด้านสังคม ด้านการเมือง หรือด้านความรู้และเทคโนโลยี การเฝ้าระวังปัญหาความเสี่ยงและการวางแผนสร้างความมั่นคงในด้านต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นภารกิจสำคัญต่อองค์กรในระยะยาว

          เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว เวทีหารือระหว่างบอร์ดทั้งสองชุด (BOG-BOD) ได้หยิบยกเอารายงานการเงินประจำปี ๒๕๕๔ ขึ้นมาปรึกษากันว่า เงินที่ฝ่ายบริหารรายงานว่าเหลือใช้จำนวน ๔๐๘ ล้านบาทควรจะดำเนินการในแนวทางไหนจึงจะดีต่อองค์การมากที่สุด เรื่องนี้มีอยู่ว่า ปีที่แล้วเราได้อนุมัติงบประมาณไว้ทั้งสิ้น ,๙๖๔ ล้านบาท แต่ใช้ไปจริงเพียง ,๕๕๕ ล้านบาทเท่านั้น เงินที่เหลือไม่มีที่ใช้อีกแล้ว เพราะปีนี้ก็ได้อนุมัติไว้ให้แล้ว ,๗๙๙ ล้านบาทตามแผนที่ขอมา ดังนั้นหากไม่ทำอะไรกับเงินก้อนนี้ ก็คงต้องเก็บไว้เฉยๆ เป็นลักษณะของการสะสมทุน

          องค์กรของเรามีภารกิจในการบริการข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพื่อรับใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาของสาธารณะ งบประมาณที่ใช้มาจากภาษีเป็นแหล่งรายได้หลัก ซึ่งก็ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป กรอบภารกิจของเรามิได้จำกัดไว้แต่เพียงการมีทีวีช่องเดียวอย่างที่เป็นอยู่ การขยายสู่สื่ออื่นๆล้วนรออยู่เบื้องหน้า  ในขณะที่การเก็บเงินสดไว้มากๆ อาจไม่เป็นผลดีเพราะจะทำให้มีคนเขม่นและอยากได้ส่วนแบ่ง  กระทรวงการคลังอาจขอคืน  พ..บ.องค์การยังได้ระบุไว้อย่างชัดเจนอีกด้วยว่าเมื่อครบสิบปีให้มีการสำรวจและทบทวนเรื่องรายได้และเงินสะสมทั้งระบบ  ดังนั้นการมีเงินสะสมน้อยเกินไปก็ไม่มั่นคง  มีมากเกินไปก็เป็นที่ล่อตาล่อใจนักการเมือง

          ดังนั้น ที่ประชุมหารือเมื่อวันก่อน จึงมีข้อตกลงกันว่า เราจะนำเงินเหลือจ่ายที่ว่านี้มาแบ่งเป็น๓ส่วน คือ๑)ออมแบบถาวรไว้ในรูปของกองทุนที่เรียกว่า SINKING FUND เพื่อให้เป็นหลักประกันแก่องค์กร จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท  ๒) ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะสถานีภูมิภาคทั้งสามแห่งและศูนย์การเรียนรู้ จำนวน ๑๕๐ ล้านบาท  ๓) ลงทุนขยายกิจการในด้านสื่อ FUTURE MEDIA วิทยุและบริษัทร่วมทุน จำนวน ๕๐ ล้านบาท  ทั้งนี้ฝ่ายบริหารจะได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นเพื่อจัดทำรายละเอียดในสองเรื่องหลังให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนและคาดว่าจะได้ลงมือจนเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อนสิ้นปีนี้ครับ

          ในกรณีสถานีภูมิภาคนั้นไม่ใช่แค่การก่อสร้าง  เราอยากเห็นการพัฒนาโดยยกระดับศูนย์ภูมิภาคขึ้นมาเป็นหน่วยงานย่อยที่มีศักยภาพและความพร้อม ทั้งในด้านข่าว ด้านรายการ ด้านวิทยุและฟิวเจอร์มีเดีย ด้านเครือข่ายทางสังคม ด้านสภาผู้ชมผู้ฟัง ด้านอาคารสถานที่และเครื่องไม้เครื่องมือ ด้านกำลังคน รวมถึงระบบการบริหารจัดการและการกระจายอำนาจ

          ในกรณีของงานฟิวเจอร์มีเดียและวิทยุในระดับชาติหรือที่สำนักงานใหญ่ของเรานั้น อันที่จริงฝ่ายบริหารได้เคยเสนอเรื่องขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่คราวนี้เรามีกรอบงบประมาณสำหรับการลงทุนที่ชัดเจน จึงหวังว่าจะสามารถเสนอเป็นแผนงานโครงการที่เป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น  ผอ.บอกผมว่ารอถึงปลายปีจะช้าไป อยากตั้งเป้าให้เกิดภายในสามเดือนเสียด้วยซ้ำ

          อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกรณีมีเรื่องกำลังคนด้านสื่อใหม่และนักข่าวออนไลน์เป็นประเด็นร่วม  ดูเหมือนว่าเราคงต้องมีโครงการปั้นนักข่าวพันธุ์ใหม่เข้ามาเสริมทัพอีกสัก ๓๐-๔๐ คนเสียแล้วกระมัง ในเรื่องผมเคยเห็นตัวอย่างของบลูมเบอร์ก เขาใช้วิธีรับสมัครบัณฑิตหมาดๆ เพื่อคัดเลือกคนหน่วยก้านดีและผลการเรียนดี มาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมเฉพาะของเขาและได้ฝึกการทำงานด้วย ระหว่างฝึกมีค่าใช้จ่ายยังชีพให้ตามสมควร เมื่อผ่านการฝึกแล้วส่วนหนึ่งจะบรรจุเข้าทำงานทันที  ส่วนที่เหลือก็ขึ้นบัญชีไว้รอเรียกตัวเมื่อมีความต้องการกำลังคนจากสาขาต่างๆ ของเขาที่มีอยู่ทั่วโลก  รูปแบบนี้หากจะทำ คงต้องร่วมมือกันหลายสำนัก

          ฝากคณะทำงานช่วยคิดต่อทีนะครับ

 พลเดช   ปิ่นประทีป

Be the first to comment on "การออมและการลงทุน"

Leave a comment

Your email address will not be published.