เช้าวันที่15 เริ่มต้นขึ้น ทุกคนมาพร้อมกันเวลา 7.30 น. และเดินทางไปที่ตลาดน้ำท่าคาเพื่อที่จะศึกษาเก็บข้อมูล “วิถีชีวิตชาวน้ำที่ตลาดน้ำท่าคา” เมื่อไปถึงก็มีความรู้สึกตื่นตาตื่นใจ เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสมาเที่ยวตลาดน้ำ
“ทีมงานคนหาเรื่อง” กองบรรณาธิการ | ||||||||||||||||||
เริ่มเปิดฉากกับเวทีแรกของกิจกรรม “เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะงานการสื่อสารเพื่อสาธารณะ” หรือ “อาสาสมัครนักสื่อสาร” ในโครงการวิจัยชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ สำหรับภาคกลาง – ตะวันตก – ตะวันออก โดยเวทีแรกเริ่มเปิดฉากกันที่ บ้านสวนทิพย์ จ. สมุทรสงคราม วันที่ 14 – อาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2547 |
||||||||||||||||||
รายงานกิจกรรมครั้งนี้โดย “ทีมงานคนหาเรื่อง” กองบรรณาธิการ จากการเจอกันเป็นครั้งแรกในวันที่14 อ. เอื้อจิตก็พูดถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้อาสาสมัครผู้อาสาและสนใจในการเรียนรู้และปฏิบัติหน้าที่ “อาสาสมัครนักสื่อสาร” (volunteercommunicator) เพื่อโครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่
ต่อมาทีมประสานจังหวัดสมุทรสงครามขึ้นมานำเสนอ ภาพรวมการดำเนินโครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ ในพื้นที่ ว่ามีการจัดทำกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น เรื่องภาพเก่าเล่าเรื่อง เวทีน้ำตาล ซึ่งจะเป็นกิจกรรมหลักที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มามีส่วนร่วมกับ 2 กิจกรรมนี้ หลังจากนั้น อ.เอื้อจิตจึงให้โจทย์ว่าให้ทุกคนเก็บข้อมูลที่ตลาดน้ำท่าคา จากนั้นจึงให้กลับไปพักผ่อนตามอัธยาศัย |
||||||||||||||||||
เช้าวันที่15 เริ่มต้นขึ้น ทุกคนมาพร้อมกันเวลา 7.30 น. และเดินทางไปที่ตลาดน้ำท่าคาเพื่อที่จะศึกษาเก็บข้อมูล “วิถีชีวิตชาวน้ำที่ตลาดน้ำท่าคา” เมื่อไปถึงก็มีความรู้สึกตื่นตาตื่นใจ เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสมาเที่ยวตลาดน้ำ
|
||||||||||||||||||
|
|
|
||||||||||||||||
คุณลุงจรูญ |
……..ตลาดน้ำท่าคา |
……. | ||||||||||||||||
ก่อนที่จะไปเดินเล่นก็มารู้จักกับผู้นำชุมชนคือคุณลุงชื่อจรูญ ซึ่งมาให้ความรู้เกี่ยวกับบรรยากาศและความเป็นมาของตลาดน้ำแห่งนี้ หลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมทุกคนได้เดินดูบรรยากาศรวมถึงการเก็บข้อมูลมาทำงานที่ได้รับมอบหมาย
|
||||||||||||||||||
บรรยากาศยามเช้าตลาดน้ำท่าคา |
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
หลังจากเสร็จกิจกรรมที่ตลาดน้ำท่าคาแล้วจึงเดินทางกลับไปยังที่พักเพื่อเริ่มกระบวนการของวันนี้ |
||||||||||||||||||
จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการต่อ โดยที่ อ.เอื้อจิตให้ผู้เข้าร่วมจับคู่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าไปตลาดน้ำท่าคาแล้วได้อะไรมาบ้าง และสิ่งใดเป็นจุดสะกิดใจที่นำเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนให้เพื่อนฟัง |
||||||||||||||||||
ต่อมาจึงมีการแนะนำวิทยากรที่จะร่วมบรรยายอีก 2 ท่านก็คือ อ. โสภิต หวังวิวัฒนา ผอ.การบริหารสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ และ คุณณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสำหรับรายการโทรทัศน์ “สารคดีเชิงข่าว” เป็นผู้ที่จะมาเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการที่ได้ทำงานและร่วมบรรยายหลักการที่สำคัญสำหรับการทำงานด้านสื่อ จากนั้นอ. โสภิต ได้เริ่มบรรยาย ในเรื่องของการสร้างคุณค่าและความหมายของงานด้วยภาพ-เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการนำเทปของรายการ คนค้นฅนให้มาศึกษาเกี่ยวกับการใช้มุมกล้องในการสื่อสาร โดยไม่ต้องใช้คำพูดให้รู้สึกถึงอารมณ์นั้นได้อย่างแท้จริง | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
มาในช่วงเย็นก็ถึงทีของ ทีมงานคนหาเรื่อง ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) เป็นการบรรยายสรุปและสาธิต การสื่อสารงานในโครงการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หลังจากนั้นจึงแยกย้ายกลับไปพักผ่อน | ||||||||||||||||||
เริ่มต้นกระบวนการของวันที่16 เป็นการบรรยายและแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับวิทยากรทั้ง 3 ท่าน รวมถึงการกำหนดเป้าหมาย กรอบงานและการเตรียมเก็บข้อมูล | ||||||||||||||||||
มาในช่วงเย็นเป็นการลงพื้นที่ศึกษา “วิถีชีวิตชาวน้ำที่ตลาดน้ำอัมพวา” และเวที “ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองอัมพวา” | ||||||||||||||||||
“วิถีชีวิตชาวน้ำที่ตลาดน้ำอัมพวา” |
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
บรรยากาศทั่วไปของตลาดน้ำอัมพวามีความคึกคัก ผู้คนเดินขวักไขว่มากมาย มีสินค้าให้ทุกคนบริโภคกันหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี่ยวเรือ หอยทอด ผัก ผลไม้ ขนมไทย ฯลฯ แต่ที่เด็ดสุดคงไม่พ้นหอยทอดที่มีแม่ค้าสาวหน้าตาจิ้มลิ้มน่ารักห้อมล้อมไปด้วยผู้คนทั้งหนุ่มและแก่ที่เข้าคิวรอรับประทานหอยทอดแสนอร่อย เรื่องนี้ทางทีมงานคนหาเรื่อง ขอนั่งยัน นอนยัน ตีลังกายันว่า หอยทอดร้านนี้นอกจากจะมีแม่ค้าสวยบาดตาบาดใจแล้ว รสชาดก็ยังอร่อยถูกปากไม่แพ้กัน |
||||||||||||||||||
ตลาดน้ำอัมพวาเป็นตลาดที่มีสินค้าขายทั้งบนบกและก็ทางเรือ จากนั้นจึงเดินเล่นไปมาทั้งสองฝั่งคลองเสร็จเรียบร้อยก็ต้องเดินมาที่หน้าร้านกาแฟที่เป็นที่ตั้งของเวทีกิจกรรม “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” ซึ่งเป็นเวทีสำหรับการให้ดูภาพเก่าๆของอัมพวา ว่ามีความเป็นมาอย่างไรตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และก็มีการสัมภาษณ์ผู้เฒ่า ผู้แก่ เพื่อให้ภาพที่นำเสนอนั้นดูมีความน่าสนใจมากขึ้น หลังจากที่ดูภาพกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมทุกคนก็ต้องเดินทางกลับที่พักเพื่อที่จะต้องกลับไปทำงานให้เสร็จเพื่อที่นำเสนอในวันรุ่งขึ้น
รุ่งเช้าของวันที่ 17 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกิจกรรม งานที่ผู้เข้าร่วมทำเสร็จก็ต้องนำมาพิมพ์รวมทั้งการเลือกและแทรกภาพลงในชิ้นงาน โดยจะมี ทีมงานคนหาเรื่องคอยช่วยเหลือ เมื่อเสร็จเรียบร้อยทุกชิ้นจึงเริ่มนำเสนองานแต่ละชิ้นให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ดูผลงานว่าเป็นอย่างไรบ้าง และจะให้วิทยากรทั้ง 3 ท่านเป็นผู้วิจารณ์งานนั้นๆว่ามีจุดดี จุดด้อยตรงไหนบ้าง เพื่อแก้ไขและนำไปขึ้นเว็บไซต์ จากนั้นอ. เอื้อจิต ก็กล่าวสรุปทั้งหมดว่างานที่ผ่านมาก็ผ่านไปด้วยดีและต้องขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจกับการอบรมในครั้งนี้ ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องเดินทางกลับ “ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่มีวันเลิกรา” สุดท้ายก็มีการถ่ายรูปหมู่เก็บไว้เพื่อเป็นที่ระลึกกัน แล้วพบกันใหม่ที่เวทีหน้ากับ “กิจกรรมอาสาสมัครนักสื่อสาร” ที่นครราชสีมา วันที่ 22-24 ต.ค.นี้ ทางทีมงานคนหาเรื่องจะนำกิจกรรมที่เวทีโคราชมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันอีกครั้ง สำหรับเวทีนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ |
||||||||||||||||||
เรามีตัวอย่างผลงานของเพื่อนๆ “อาสาสมัครนักสื่อสาร” ให้ชม อ่านต่อ |
{mospagebreak}
ตลาดน้ำท่าคาในอนาคต |
|
เช้าวันที่ 15 ตุลาคม 2547 ผมได้มีโอกาสเที่ยวชมตลาดน้ำท่าคา ตามโครงการอบรมการทำสื่อ ได้พูดคุยสอบถามชาวบ้านที่มาค้า – ขาย มะพร้าว สองท่าน (คน) คือ คุณแม่ หลุย กำเนิดอุย ซึ่งมีอายุ 81 ปี แล้วทราบว่า เป็นคนพื้นที่ตำบลท่าคา อยู่หมู่ที่ 7 มีอาชีพทำสวนมะพร้าวมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว อีกท่านคือ คุณแม่กี หิรัญนุสรสุโข อายุ 74 ปี และเป็นพื้นที่ ตำบลท่าคา เช่นเดียวกันแต่อยู่คนละหมู่บ้าน | |
|
|
คุณแม่ทั้งสองเล่าให้ฟังว่า ตลาดน้ำท่าคานั้นธรรมดาจะมีขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ เป็นประจำแต่ถ้ามีนักท่องที่ยวมาในวันเสาร์ – วันอาทิตย์ ก็จะมีการจัดให้มีนัดในกรณีพิเศษ ในนัดก็จะมีการนำผลไม้ต่างๆพร้อมอาหารแห้ง อาหารสด ขนม ของกินต่างๆมาขาย แต่ที่สังเกตดูไม่มีคนหนุ่ม – สาว มาขายของในตลาดน้ำนี้เลย มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น (บรรยายภาพเพิ่ม)ทำให้อดคิดไปถึงอนาคตของตลาดน้ำแห่งนี้ไม่ได้ว่ายังจะยืนยาวไปได้อีกนานเท่าใด สอบถามคุณแม่ทั้งสองทราบว่าตลาดน้ำแห่งนี้เป็นสถานที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่เนื่องจากสถานที่เก่านั้นถนนไปไม่ถึง จึงได้ย้ายมาจัดในที่ปัจจุบันนี้ (ภาพตลาดเป็นอย่างไร)ตลาดน้ำท่าคานั้นมีกิจกรรมต่อเนื่องกันมายาวนานมีอายุเป็นร้อยๆปีมาแล้ว เมื่อก่อนตลาดน้ำนี้มิได้นำสินค้ามาค้าขายกับอย่างปัจจุบันนี้ การมาตลาดน้ำท่าคาเป็นการนำของมาเพื่อแลกเปลี่ยนกันและเน้นการมาพบปะพูดคุยกัน แต่ปัจจุบันเน้นการค้าเชิงพาณิชย์ และนับวันจำนวนผู้มาค้าขายจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เหตุเพราะคนรุ่นหลังได้ทิ้งถิ่นฐานออกไป ทำงานบริษัท หรือรับราชการเสียเป็นส่วนใหญ่ทิ้งผู้สูงอายุไว้เฝ้าถิ่นฐาน ถ้าเป็นลักษณะโดยที่หน่วยงานท้องถิ่น-ราชการไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ อีกไม่ช้าในอนาคตอาจจะมีเพียงตำนานเล่าขานให้อนุชนรุ่นหลัง (คนรุ่นหลัง /ลูกหลาน ใช้คำที่ง่ายๆ เข้าใจชัดเจนดีกว่า)ได้รับฟังถึงวิถีชีวิตคนน้ำก็เป็นได้ | |
ตัวหนังสือสีแดงคือข้อเสนอแนะจากวิทยากร |
|
สิ่งที่ต้องคิดถึง |
|
– ประเด็น แก่นความคิดต้องชัด (อยากบอกว่าหากปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป ตลาดน้ำจะยังอยู่หรือไม่)
– จะเสนอผ่านสื่ออะไร เพื่อให้เลือกรูปแบบวิธีการให้ชัด – จะเสนอผ่านมุมมองของคนที่เห็น หรือคนที่อยู่ในเรื่องก็ได้ ต้องหาเสน่ห์ให้เจอ – บรรยายให้เห็นภาพ น่าสนใจตรงไหน จุดสะกิดใจที่ใด ตรงไหนที่กระทบใจ อารมณ์และความรู้สึก บรรยากาศตลาดน้ำ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร (คิดเผื่อคนที่ไม่เคยไปทำให้เห็นภาพเหมือนที่เราเห็น มันงดงามควรรักษาต่อไป หรือเปลี่ยนไปอย่างไร) – สะท้อนความห่วงใยผ่าน 2 แม่ หรือคนที่เป็นแหล่งข้อมูลก็จะดีและมีน้ำหนักมากขึ้น เป็นห่วงและมีแผนจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ฝากเป็นประเด็นชวนคิดแก่คนฟัง |
|
{mospagebreak}
ช่องว่างระหว่างวัยที่ตลาดน้ำท่าคา | |
![]() |
![]() |
(ประวัติความเป็นมา)
ทุกๆวัน ที่ข้างขึ้นและข้างแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำและ 12 ค่ำ ที่ตลาดน้ำท่าคา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม คนในชุมชนและตำบลข้างเคียงต่างเบนหัวเรือมา ณ ตลาดน้ำแห่งนี้
ใครใคร่ ขาย ขาย ใครใคร่ซื้อ ซื้อ จะแลกเปลี่ยนก็ได้ เป็นเสรีทางการค้าที่มีมาตั้งแต่ยุค “สุโขทัย” นั้นหมายถึงว่า ตลาดการค้าเสรีของเรามี(อย่างเสรี)มาอย่างต่อเนื่อง
(บรรยายเห็นภาพให้ชัดเจนขยายสักนิด เห็นภาพใหญ่ของตลาดการค้า คึกคักอย่างไร )ภายในเรือที่พายกันมามีสินค้านานาชนิด ปลูกเอง ทำเอง ซื้อมาขายต่อก็มี(ทำให้เห็นภาพในเรือเป็นรูปธรรม) มีทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค (ทำให้เห็นภาพที่ชัดกว่านี้) มองไปให้ทั่ว…… สิ่งที่สะดุดใจผมคือ แม่ค้าส่วนมากเป็นหญิงชราและมาคนเดียว(คำที่ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น เติมรายละเอียดด้วย) ส่วนผู้ซื้อจะมากันมากกว่าหนึ่งคน หลายลำคนแก่มากับเด็กๆ ทำให้เผลอคิดไปว่าเป็นตลาดนัดผู้สูงอายุไปเลย แล้วคนหนุ่ม คนสาว วัยรุ่นหายไปไหน? ปัญหานี้กำลังเป็นเรื่องให้ขบคิดกับในชนบทของไทยทุกภูมิภาค
คุณยายส้มแกขายหมากและพลู และที่ขาดไม่ได้คือ “ยาจืด” ยาจืดบางช้างที่นี่มีชื่อเสียงมากเป็นที่นิยมของผู้เฒ่าผู้แก่มาเป็นเวลานานแล้ว “อร่อยหรือดียังไงครับ ? ยาจืด” (ผมถาม) ยายส้มตอบว่า เวลากินหมากแล้วไม่มียาจืด เหมือนกินข้าวไม่ได้ใส่น้ำปลา ยังไงยังงั้น “ขั้นตอนการทำยากหรือง่ายครับ?” โอ๊ย ! ยุ่งยาก ลำบาก วุ่นวาย หลายขั้นตอน เหมือน “คนบ้า” (อธิบายเพิ่มว่า วุ่นวายอย่างไร ยุ่งยากอย่างไร) คุณยายมา แม่ค้าขายไข่เป็ด เสริมต่อว่า ยายอายุ 70 กว่าแล้ว ใช้ยาจืดถูฟัน เวลากินหมาก ทำให้ฟันแข็งแรง ไม่ผุ ไม่โยก พร้อมกับอ้าปากให้ดู เป็นการยืนยัน อือ! ฟันเต็มปากเลย อาย! แกจัง ของผมอยู่ไม่ครบ (เสน่ห์ของถ้อยคำ) (ยาจืดมาเกี่ยวอะไรด้วยกับแก่นของเรื่องที่จะเสนอ หากจะเข้ามาควรช่วยส่งเสริมและสนับสนุนภาพของตลาดน้ำให้ชัดขึ้น ) ยิ่งสายคนยิ่งมาก แม่ค้าขายข้าวแกงบอก จะมีคนมาเที่ยวจนเที่ยงวันตลาดจึงจะวาย เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่ได้มาเห็นวิถีชีวิต ตลาดน้ำแห่งนี้ เห็นเรือจอดเที่ยบกันเป็นคู่ๆ เป็นกลุ่มๆ มีมาพูดคุยกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส คนแกมากับลูกหลาน ดีใจ สุขใจ กับภาพเหล่านี้ แต่วิถีชีวิต ณ ท่าน้ำแห่งนี้ ช่องว่างตรงกลางที่มันเว้นห่างกว้างเกินไป คนหนุ่ม คนสาว ที่จะมาเต็มตรงนี้ให้เต็ม หายไปไหน |
|
ตัวหนังสือสีเข้มคือข้อเสนอแนะจากวิทยากร |
|
วิจาร : รายงาน |
{mospagebreak}
เสนอผ่านสื่อวิทยุ พูดสลับเพลงและข่าว |
สิ่งที่ต้องคิดถึง
– ความยาวของเวลาในการนำเสนอเท่าใด -หาความต่อเนื่อง เชื่อมโยงของช่วงต่างๆในรายการให้ได้ -พูดทีละเรื่อง ทีละประเด็น อย่าหลายเรื่องในเวลาเดียวกันจะสับสน งง – เน้นผลกระทบ การกินเหล้ากับความสูญเสียที่เกิดขึ้น (อย่างไร) |
อยากจะชวนให้เลิกเหล้า เพื่อคิดถึงคนอื่นและผลดีที่จะตามมา
-เติมข้อมูล ตัวเลขอุบัติเหตุ ความสูญเสียจากเมาแล้วขับ -แปรความห่วงใย เป็นการโน้มน้าว ชวนให้เชื่อไม่ใช่สั่งสอน -หัวใจใหญ่คือ ต้องไม่ประมาท เกาะแก่นนี้เอาไว้ให้แม่น หาตัวอย่างมาเล่าให้เห็นภาพ เป็นของจริง เพื่อสนับสนุนแก่นความคิดที่เสนอ ครับถ้าจะพูดถึงชีวิตสาธารณะแล้วล่ะก็ ขอเล่าถึงเรื่องศีลธรรมบ้าง คนเราทุก(ควรเกริ่นให้เชื่อมโยงเหตุผลต่อกัน)วันนี้ลืมนึกถึงสิ่งที่ใกล้ตัว ลืมแม้นแต่ความรักความมีน้ำใจ เห็นแก่ตัวเอง ยึดถือแต่วัตถุนิยม ภาพเหตุการณ์ภาพสูญเสีย ที่เราท่านได้เห็น ได้พบเจอ ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี (อธิบายภาพตัวอย่างที่เห็นจริง เล่าให้เห็นภาพ)ก็คือภาพการขาดศีลห้าไม่มีในตัวเอง (สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย เฉพาะท่านที่ชอบสิ่งมึนเมาทั้งหลาย…..ต้องขยายความ…. คนกลุ่มที่มีรายได้ดีและชอบการสังสรรค์ มีความสุขเลี้ยงฉลอง แต่ลืมนึกถึงผลที่จะติดตามมา) ที่พูดถึงศีลข้อห้ามนี้ พอพวกท่านเหล่านี้ดื่มสิ่งมึนเมาแล้ว ชีวิตสาธารณะก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวดองกันกันก็คือ การขับรถกลับบ้านต่างจังหวัด (ขาดความเชื่อมโยง จะเลือกอะไร เลี้ยงฉลองสนุกสนาน หรือขับไปต่างจังหวัด)คำว่า ขาดความรักความเห็นแก่ตัว ท่านเหล่านี้ขอบขับรถแซง ซิ่งก็เลยทำให้เกิดอุบัติเหตุสูญเสียบุคลากรปีหนึ่งๆนั้น ทำให้บางท่านสูญเสียลูกเมีย พ่อแม่พี่น้อง ทำไมล่ะ จิตรชีวิตสาธารณะไม่มีกันบ้าง ขอฝากไว้บ้างเถิดกับสิ่งใกล้ตัว ลดละเลิกดื่มในขณะขับรถ เพื่อจะได้ไม่เห็นแก่ตัว ขอฝากศีลห้าไว้บ้างเถิด (สอน? คนมักปฏิเสธการสอนสั่ง) |
Be the first to comment on "กิจกรรม อาสาสมัครนักสื่อสาร เวทีสมุทรสงคราม"