กิจกรรม อาสาสมัครนักสื่อสาร “ภาคใต้”

ท่ามกลางความเจริญที่กำลังย่างเข้ามาสู่ตำบลบ้านยาง  อำเภอคีรีรัฐนิคม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี   ยังมีเสียงที่ก้องกังวานอยู่ในใจของผู้เฒ่าผู้แก่  “ โอ..โอ่.. โอ้..โอ๊..”  ……  บทความ “การละเล่นที่ถูกลืม…ของตำบลบ้านยาง” คือส่วนหนึ่งของกิจกรรม อาสาสมัครนักสื่อสาร วันที่ 29-31 ต.ค. 47…..

 

กิจกรรม อาสาสมัครนักสื่อสาร “ภาคใต้”


ทีมงานคนหาเรื่อง กองบรรณาธิการ

ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จ.สุราษฏร์ธานี เมื่อวันที่ 29- 31 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา กระบวนการคนหาเรื่อง มาเขียน…ได้เริ่มต้นและเสร็จสิ้นลงด้วยความประทับใจทั้งทีมงานและผู้เข้าร่วม

ทีมงานคนหาเรื่อง ได้เก็บบทความ “การละเล่นที่ถูกลืม…ของตำบลบ้านยาง”ของเพื่อนจากกลุ่มจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเกิดจากกิจกรรมช่วง“ศึกษาสภาพพื้นที่และเก็บข้อมูลที่ ต.บ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฏร์ฯ มาให้อ่าน……เอาเรื่อง…เก็บไปคิด

 

ท่ามกลางความเจริญที่กำลังย่างเข้ามาสู่ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังมีเสียงที่ก้องกังวานอยู่ในใจของผู้เฒ่าผู้แก่ “ โอ..โอ่.. โอ้..โอ๊..”

ลิเกป่า เป็นการละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่งของจังหวัดสุราษฏร์ธานี อบต.วุฒิชัย เลิศไกร กล่าวถึงความเป็นมาว่า ลิเกป่ามีมานานกว่าหลายร้อยปีตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยยังรุ่งเรือง การแสดงลิเกป่าเป็นศิลปวัฒนธรรมซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญของแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ดี

ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นี่มีการสะท้อนชีวิตให้ได้ยินผ่านทางเสียงขับร้องตามเนื้อเรื่องของลิเกป่า อาจเป็นการกล่าวถึงเมืองเมืองหนึ่งซึ่งมีพระเอก นางเอก ชาวเมือง โจรป่า และเมื่อมีโจรป่าคนในหมู่บ้านทนดูปัญหาที่จะเกิดขึ้นไม่ได้จึงก็ต้องมีการปราบโจร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อความสงบของบ้านเมือง และสะท้อนถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน
ภาษาที่ใช้ในการขับร้องขึ้นอยู่กับภาษาของท้องถิ่น แต่ละท้องถิ่นมีวิวัฒนาการอย่างไร ตัวภาษาและเนื้อเรื่องก็จะสื่อถึงชีวิตวิวัฒนาการการเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้นเช่นกัน สมัยก่อนการละเล่นลิเกป่าของผู้เฒ่าผู้แก่เกิดขึ้นในคืนที่มีพระจันทร์สาดส่อง แสงจันทร์ทำให้เกิดการรวมตัว การสังสรรค์ของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อน แต่เมื่อมีไฟฟ้ามีตะเกียง การละเล่นจึงไม่ต้องคอยแสงจันทร์ทำให้เห็นภาพตัวละครที่แต่งตัวตามลักษณะเฉพาะของตัวละครนั้นๆโดยการใช้เปลือกไม้มาประดับประดา เพื่อให้เกิดความสวยงามหลากสีสัน

จากภาพเก่าที่ที่แต่งตัวโดยการใช้เปลือกไม้มาประดับประดาเพื่อให้เกิดความสวยงาม เปลี่ยนมาเป็นใส่เสื้อผ้าตามยุคสมัย แต่ยังคงถึงความรู้สึกที่บ่งบอกถึงบทบาทของตัวละครแต่ละตัว

ภาพที่ปรากฎอยู่นั้นตัวละครของแต่ละเรื่องจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ของบ้านเราค่อนข้างมาก อบต.วุฒิชัย เลิศไกร กล่าวถึง ”วิวัฒนาการของท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ลิเกป่าที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น แต่สิ่งที่เป็นสาเหตุของวัฒนธรรมที่เลือนหายไป คือการมิได้รับช่วงต่อของลูกหลาน ลองสังเกตุดูว่าคนที่เล่นลิเกมักจะเป็นคนรุ่นก่อน และด้วยวัฒนธรรมต่างๆเข้ามาอยู่ในชุมชนประกอบกับความยากของศิลปะวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา ทำให้ศิลปวัฒนธรรมที่ผู้เฒ่าผู้แก่สร้างขึ้นมาเลือนหายไปตามกาลเวลา ในขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็มิได้สืบทอดต่อให้เยาวชน”
ในเรื่องของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรม
ในตำบลบ้านยางกล่าวถึง การชักชวน
ได้มีกิจกรรมหลายๆอย่างรวมถึงลิเกป่า
เยาวชนที่มาช่วยประมาณ 3-4 คน ที่สนใจมาช่วย
ในตำบลบ้านยาง ทุกคน

 

พี่วิโรจน์ สุดสินทร์ เป็นสมาชิกคนหนึ่ง
เยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานเข้ามาร่วมชุมชนในตำบล
การสนใจของเยาวชนรุ่นใหม่มีน้อยเหลือเกิน
ด้วยเหตุนี้ตัวพี่วิโรจน์และสมาชิกคนอื่นๆ
รู้สึกเป็นห่วง

อบต.วุฒิชัย เลิศไกร กล่าวถึง ในเรื่องของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรมเพื่อให้คงอยู่ เป็นเรื่องที่ยังขาด สาเหตุคือส่วนใหญ่ผู้ที่รู้จะเป็นผู้สูงอายุ ในเรื่องของการมีกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิต จึงไม่มีการสืบทอดต่อเด็กรุ่นหลัง

นี่คือสิ่งที่บ่งบอกถึงการสูญสิ้นของศิลปวัฒนธรรมของผู้เฒ่าผู้แก่ที่สั่งสมมาแล้วหรือ ! วิวัฒนาการ นวัตกรรมใหม่ๆ ช่วยให้สภาพจิตใจของเราชาวไทยดีขึ้นจากเดิมแล้วหรือ!

การเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูล การเห็นใจ ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ ที่ถูกถ่ายทอดจากศิลปวัมนธรรมของแต่ละจังหวัดและแต่ละภาคของไทยเรานั้นกำลังสูญหายไปจากพื้นดินชาวไทยแล้วหรือ หรือจะรอให้ชาวต่างชาติมาถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของเรานำมาสอนให้กับลูกหลาน ณ.วันนั้นเมืองไทยจะเป็นอย่างไร……

ข้อเสนอแนะ

ชื่อเรื่อง ควรโดดเด่นและสะดุดตามากกว่านี้

เนื้อหา อ่านดูแล้วยังไม่รู้ว่าลิเกป่าคืออะไร

(เอกลักษณ์, การแต่งกาย, เนื้อหาที่เล่น)

ลักษณะสื่อ ถ้าเป็นสื่ออ่านต้องการรายละเอียดการพรรณนาที่ถ่ายทอดมากกว่านี้ เนื้อหานี้เหมาะสมกับสื่อเสียงหรือสื่อภาพเคลื่อนไหวและเสียง (ตาดู หูฟัง) มากกว่า

เป้าหมาย เป็นการสั่งสอนและเหน็บแนมกระทบกระเทียบเกินไป ต้องกำหนดให้ชัดว่าต้องการโน้มน้าว / เชิญชวนเขาให้คิดอะไร ? หรือทำอะไร ? แล้วใช้วิธีการแบบโน้มน้าวเชิญชวน

องค์ประกอบ – การแทรกภาพตรงกลางที่แยกข้อความออกทำให้เกิดความสับสนในการอ่าน

– ภาพลิเกป่าน้อยไปและภาพแหล่งข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไป

 

Be the first to comment on "กิจกรรม อาสาสมัครนักสื่อสาร “ภาคใต้”"

Leave a comment

Your email address will not be published.