ครุ่นคำนึง

เมื่อคืนนี้ได้ติดตามข่าวสถานการณ์ในทีวี เห็นภาพต่างๆของการปะทะ  และต่อมารู้ตัวเลขเบื้องต้นของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย  แม้ผมเองคาดคะเนเอาไว้นานแล้วว่าอาจจะมีเหตุการณืเช่นนี้เกิดขึ้น 

จนนำไปสู่การจัด workshops เรื่อง “พัฒนาศักยภาพสูงสุดเพื่อรับมือวิกฤตชาติ”  เมื่อเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ๒๕๕๒ ทั้ง ๔ ภาค  พอเหตูการณ์มันเกิดขึ้นจริงๆ  แม้จะเตรียมตัวเตรียมใจมาแล้ว  มันอดรู้ศึกเศร้าใจไม่ได้ที่คนไทยต้องมาฆ่ากันเองด้วยปัญหาการเมืองที่ไม่ได้นำไปสู่ทางออกใดๆ  เป็นการเมืองที่อ้างประชาธิปไตยแต่พวกกูต้องได้เป็นใหญ่

มันเป็นเรื่องความกระหายอยากได้อำนาจรัฐล้วนๆ มาอยู่ในมือแล้วคิดว่าจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคงไม่ใช่เพราะผู้ที่ไปครองงอำนาจรัฐยังมีความคิดหรือกระบวนทัศน์หรือ mental models แบบเก่า กลไกราชการและองค์กรอิสระก็ยังแบบเดิมเช่นกัน  ผมเศร้าใจกับการตายที่สูญเปล่าของพี่น้องร่วมชาติ  ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะมีตายเพิ่มถ้าไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการเมืองวันนี้และวันหน้า  บทเรียนจาก systems thinking มันบอกเราเราเรื่อง feedback loops ที่เป็นวงจรอุบาทว์ที่มีสิทธิเกิดซ้ำ  ถ้าไม่มี loops ใหม่มาจูงมันออกไป

จากการที่ไปนอนคุยอยู่บ้าน Juanita Brown มาสองสามคืน ทำให้ผมยังเชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้คือโอกาสครั้งสำคัญของการเมืองภาคประชาชน ถ้าเราลุกขึ้นมาช่วยกันคิดและช่วยกันทำอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบจริงจัง  ไม่เพียงแต่พูดอย่างมันปากในห้องประชุม  แต่พอเดินทางกลับบ้านก็ลงไปทดลองทำกับทีมงานเครือข่าย  เรียนไปจากการปฏิบัติ
การเคลื่อนไหวปลุกระดมตั้งแต่สมัยพันธมิตรและของนปช.จะตอกย้ำเรื่อง  ความยุติธรรมที่ไม่สองมาตราฐาน  ไม่มีความเหลื่อมล้ำของคนจนคนรวย  ฯลฯ ถ้าอุปมาอุปมัยก้เสมือนดินแดนใหม่  ประเทศใหม่ที่คนทุกสาขาอาชีพทุกเพศวัยมีชีวิตมีศกดิ์ศรีเท่าเทียมกัน  กลุ่มคนที่ไม่สังกัดสีใดก็ใฝ่ฝันจะอู่ในประเทศที่สงบสุขแบบนี้
แต่ทำไมเรายังเดินทางไปสู่ดินแดนใหม่ที่ใจเราปรารถนาไม่ได้?  ถ้าลองจินตนาการดูดินแดนใหม่ที่เราอยากไปนั้น  มีแม่น้ำใหญ่ขวางกั้นอยู่ทำให้เราเดินทางข้ามไม่ได้  เราก็ต้องสร้างสะพาน  สะพานก็มีหลายแบบ  เราเลือกได้แต่ต้องมีสะพานเราจึงจะไปถึงจุดหมายที่ปรารถนา  สะพานของเราคือความร่วมมือทางสังคมอย่างมีพลังนั่นเอง  เราต้องครุ่นคิดออกแบบ “สถาปัตยกรรมแห่งความร่วมมือและรับผิดชอบ”(architecture of engagement)
สะพานนี้เกิดจากสายใยสัมพันธ์ที่ตระหนักว่าเราแม้จะมีความคิดและอุดมการณทางการเมืองต่างกัน  แต่ล้วนเป็นคนไทยด้วยกันภาษาอังกฤษเรียกว่ามี sense of belonging การปะทะและบาดเจ็บล้มตาย คงจะมีคนพวกหนึ่งเศร้าใจเหมือนผม คนพวกหนึ่งคงไม่พอใจและผิดหวังที่กฏหมายไม่สามารถมีพลังทำความสงบให้เป็นจริง  คนบางพวกอาจจะรู้สึกสะใจ  สมนำหน้ารัฐบาล  แต่โดยรวมแล้วมันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตของคนไทยและชีวิตเราดีขึ้น  เราต้องเดินร่วมกันไปข้างหน้าให้ได้
การคลี่คลายสถานการณ์เผชิญหน้าให้หยุดชั่วคราวจะไม่เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืน  ถ้าไม่นำไปสู่การปฏิรูปใหญ่สังคมไทยอย่างรอบด้าน การเลือกตั้งใหม่ที่อาจจะมีในไม่กี่เดือนข้างหน้า(ถ้าทหารไม่บ้าจี้ทำรัฐประหารเสียก่อน) เราก็จะได้นักการเมืองหน้าเดิมๆ  ตัวละครเดิมๆ แต่เปลี่ยนบทเล่นใหม่
สมมุติว่าเลือกตัง้แล้วมีรัฐบาลใหม่ เช่น จตุพร นัฐวุฒิ วีระ กี้(อริสมันต์)ได้เป็นรัฐมนตรี มาดูและงานด้านสื่อ  ด้านกระทรวงยุติธรรม พัฒนาสังคม  ด้านแรงงาน คุมตำรวจ และคุมกองทัพแตงโมนายกรัฐมนตรี  อาจจะเป็น รตอ.เฉลิม หรือ พ่อใหญ่จิ๋ว  หรือใครดี? พรรคการเมืองใหม่และปชป.เป็นฝ่ายค้าน  แล้วถ้าขบวนการพันธมิตรไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่ด้วยเหตุผลใดก็ตาม  สามารถระดมพลชุมนุมใหญ่ยืดเยื้ออย่างที่เคยทำมาแล้ว  เศรษกิจไทยและความเชื่อถือของต่างประเทศจะเป็นเช่นไร  นี่ยังไม่นับความเป็นไปได้ที่จะให้ทักษิณกลับมา  และนิรโทษกรรมให้อีกละ  ประเทศไทยคงจะวุ่นวายจนกลายเป็น “รัฐล้มเหลว” (failed state) อนาคตของลูกหลานราจะเป็นอย่างไร?
ผมฝากพวกเราช่วยกันตั้งคำถามในการนำพาประเทศให้พ้นวิกฤต ไม่ใช่แค่สันติวิธีตื้นๆ ที่สร้างปัญหาเป็นดินพอกหางหมู เพราะคิดแก้ที่ระดับเหตูการณ์เฉพาะหน้าไม่ให้คนตีกันเท่านั้น แต่ทำให้พลังขับเคลื่อนต่อเนื่องได้ถึงสามปีเต็มๆ เป็นอย่างน้อยการปฏิรูปใหญ่จึงจะเป็นจริง
มีสัญญาณว่าจะมีการเจรจาระหว่างแกนนำกับตัวแทนรัฐบาล ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่  แต่เป็นการเลือกตั้งที่สร้างรัฐบาลที่ด้อยประสิทธิภาพ  เราการเมืองภาคพลเมืองจะมีบทบาทร่วมกับกลุ่มอื่นๆ  สถาบันและองค์กรอื่นๆ  สภาองค์กรชุมชน  สภาพัฒนาการเมืองและ  อบต.น้ำดี อีกทั้งแกนนำชุมชน กลุ่มนักธุรกิจ  อาจารย์ ฯลฯ ในการทำให้การเจรจายกระดับไปสู่  รัฐบาลที่มีคุณภาพ มีหลักประกันการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการส่วนกลาง  คณะกรรมการจังหวัดและเครือข่ายการปฏิรูปการเมืองขนานไปกับการเจรจา
ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่พวกเราการเมืองภาคพลเมืองควรจัดตั้งตนเองขึ้นมาเป็นพลังที่สาม  เป็นพลังที่สร้างสรรค์ไม่มีใครเป็นประธาน มีแต่ผู้ประสานหลายๆคน และทำงานเป็นเครือข่ายเรียนรู้  ทีมประสานงานที่เรียนรู้  ผมนึกถึงสมัยที่เกิด ปXป  แต่ต้องมีการปรับแประยุกต์ใหม่  ตามหลักการการสร้งเครือข่ายที่มีพลังบูรณาการ  เป็น self-organizing systems เป็น living system
ผมฝากพวกเราช่วยกันคร่นคิดและสนทนากันดู  ผมยังไม่มีข้อสรุปใดๆ  เพียงแต่มีบางคำถามและบางข้อคิดที่อยากเห็นวกเราช่วยกันเจียรนัย

ด้วยภราดรภาพและผูกพัน
ชัยวัฒน์ :
11 Apr 2010

Be the first to comment on "ครุ่นคำนึง"

Leave a comment

Your email address will not be published.