คลีนิค…มิติใหม่ รับรักษางานประชาสังคม (แต่ไม่รักษาโรคคน)

…“หากขาดตัวชี้วัด เราจะเสียพลังงานในการทำงานมาก โดยเสียเวลาในการวิเคราะห์ความจริงมาก นานกว่าจะสร้างสรรค์อย่างอื่นได้ ทางการแพทย์หากไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องก็คงรักษายาก”…

เรื่อง/ภาพ/เรียบเรียง    : กองบรรณาธิการ

                             : 29 เม.ย. 48

ทีมงานประเมินผลภายในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ คณะสังคม ศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย และคณะ เปิดคลีนิคให้คำปรึกษาทางวิชาการ ข้อเสนอแนะต่างๆ ในการเคลื่อนงานประชาสังคม  การทำงานเพื่อมุ่งสร้างการเอาธุระร่วมกับสังคมของผู้คนต่างๆ กับทีมงานกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง ในเวที การประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ตัวชี้วัด และการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง วันที่ 9-10 เมษายน 2548 โรงแรมเนเชอรัลปาร์ค รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของฝ่ายติดตามประเมินผลภายในจังหวัดในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนโครงการฯ

 

ภายในงานนี้มีผู้เข้าร่วมจาก 12 จังหวัด ประมาณ 50 คน ประกอบด้วยทีมกรุงเทพฯ สมุทรปรา การ นครปฐม ลพบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก สระบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และนครสวรรค์ จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือ ที่ขอมาร่วมในเวทีครั้งนี้เพราะคราวที่แล้วติดภาระกิจ ครั้งนี้จึงอุ่นหนาฝาคั่งกว่าเวทีที่จัดขึ้นในภาคเหนือและภาคใต้

การประชุมเริ่มต้นขึ้นด้วยการให้ข้อคิดต่อการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และการเรียนรู้ปรับตัวสู่หน่วยจัดการความรู้ของภาคประชาสังคม โดย รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย  ที่ระบุว่า หากขาดตัวชี้วัด เราจะเสียพลังงานในการทำงานมาก โดยเสียเวลาในการวิเคราะห์ความจริงมาก นานกว่าจะสร้างสรรค์อย่างอื่นได้ ทางการแพทย์หากไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องก็คงรักษายาก ซึ่งตัวชี้วัดที่เน้นในโครงการฯ นั้นมี 2 เรื่อง คือ คุณภาพการจัดการ ด้านประสิทธิภาพ ด้านกระบวนการ ด้านการเรียนรู้ และคุณภาพผลงาน ตามวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน กิจกรรม

 

          ต่อจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาของการประชุมปฎิบัติการ โดยตลอดทั้ง 2 วัน มีทั้งกิจกรรมการนำเสนอกรอบแนวคิดทางวิชาการด้านการประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูล และปฎิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลตามตัวชี้วัด แบ่งกลุ่มย่อยเป็นรายจังหวัด จับกลุ่มข้ามจังหวัด และสรุปทิศทางการดำเนินงานในระยะต่อไป

        ซึ่งไฮไลท์ของงานนี้ อยู่ตรงที่มีการเปิดคลีนิคให้คำปรึกษา (คลีนิคโรคสังคม ไม่รับจัดการกับคนเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไป แต่จะรับรักษาการเคลื่อนงานประชาสังคม อันนี้เป็นคำที่ผู้เขียนนึกขึ้นเอง) กับจังหวัดที่ประสงค์จะเข้ารับคำแนะนำจากทีมประเมินผลภายในฯ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี มี อ.ปุสตี มอนซอน คอยให้คำปรึกษา จังหวัดนครนายก อ.ศุภวรรณ พลายน้อย ประกบ อ.ประภาพรรณ อุ่นอบ ควบ 2 จังหวัดได้แก่ ปราจีนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดตราด อ.เนาวรัตน์ พลายน้อย ให้ คำปรึกษา โดยมีจังหวัดที่ขอร่วมสังเกตการณ์ ก็มีกรุงเทพฯ นครปฐม กาญจนบุรี และสมุทรปราการ แทรกอยู่ตามกลุ่มต่างๆ บรรยากาศก็เป็นกันเอง อบอุ่น มีการซักถามแลกเปลี่ยน จนเวลาหมดลงไปอย่างรวดเร็ว บางกลุ่ม บางคน ก็ติดลม จับคู่ จับกลุ่ม หามุมนั่งโสกันต่อจนค่อนคืน ก่อนแยกย้ายกันไปนอน

 

          ผู้เขียนมีโอกาสเข้าเข้าร่วมสังเกตการณ์กับกลุ่มจังหวัดตราดที่มี อ.เนาวรัตน์ฯ คอยเสนอแนะมุมมอง และให้ข้อคิดเห็นต่างๆ โดย อ.กล่าวว่า…

 

     สิ่งที่เราอยากเห็นในการทำงานนั้น หรือ I LOVE TO SEE   ควรอาศัย

หลัก PHII นั้นก็คือ P : Participation การมีส่วนร่วม, H : Horizontal การ

ทำงานในแนวราบ, I : Interactive การมีปฏิสัมพันธ์ และ I : Integrate องค์รวม

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บูรณภาพ การมีหลักคิดในการทำงานนั้นจะ

ส่งผลให้ผลปรากฏเร็วขึ้น ทำอะไรให้เป็นขั้นเป็นตอน ความสำเร็จก็จะเกิดจาก

การทำสิ่งเล็กๆ ให้สำเร็จคามือ ถ้าคิดสิ่งใหญ่ ก็ไม่เห็นฝั่ง ไปไม่ถึง หมดแรงก่อน

การทำงานต้องมองเห็นสภาพแวดล้อมของทางที่เราเดินผ่าน ค้นหาความงาม

ดอกไม้ข้างทางไปเรื่อย เห็นบริบทข้างทาง ไม่ใช่หลับไม่สนใจเรื่องราวรอบๆ ตัว และต้องตกลงร่วมกัน ร่วมกันดู ร่วมกันทำ ร่วมกันรับชอบรับผิด ถ้าจะไปเชียงใหม่จะไปอย่างไร ถึงเวลาก็ใช้ AAR รบมาทีก็กลับมาดู หรือเล่นฟุตบอลเสร็จครึ่งแรก ก็ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมมาคุยกัน ดูกัน ทำอย่างไรให้บูรณาการ

 

 

          ภายหลังจากการประชุมถึงช่วงของการสรุปส่งท้าย ผู้คนก็แยกย้ายกลับไปทำภาระกิจของตนเองกันต่อ ผู้เขียนแอบสังเกตแววตาของผู้คนจากจังหวัดต่างๆ บ้างก็โชติช่วง บ้างก็ขุ่นมัว แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ ผมว่า…ทีมประเมินของจังหวัดคงต้องกลับไปสื่อสาร บอกเล่าให้กับคณะทำงานฯ เห็นภาพ เข้าใจ และหาข้อสรุปร่วมกันในการวิเคราะห์ตัวชี้วัด และการประยุกต์ใช้สำหรับจังหวัดของตนเอง

Be the first to comment on "คลีนิค…มิติใหม่ รับรักษางานประชาสังคม (แต่ไม่รักษาโรคคน)"

Leave a comment

Your email address will not be published.