การพบปะพูดคุยกันในแวดวงคนทำงาน วิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ 8 จังหวัดภาคอีสาน ดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้ชื่อ “อีสานโสเหล่” ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งกะมัง
อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ…
ทีมภาคอีสาน
|
||||
การพบปะพูดคุยกันในแวดวงคนทำงาน วิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ 8 จังหวัดภาคอีสาน ดำเนินมาเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้ชื่อ “อีสานโสเหล่” ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งกะมัง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีเจนารมณ์ที่จะเป็นการริเริ่มให้เกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ การช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ตลอดจนถึงขั้นการทำงานร่วมกันในประเด็นเนื้อหาที่มีความสนใจตรงกัน ในระดับภูมิภาค ต่อเนื่องจาก อีสานโสเหล่ ครั้งที่ 1 ได้มีการเลือกประเด็นสำคัญที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนของภาคอีสาน 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นเกษตรอินทรีย์ ประเด็นการจัดการทรัพยากร และ ประเด็นสื่อท้องถิ่น ซึ่ง อีสานโสเหล่ 2 ได้หยิบยกเอาประเด็น เกษตรอินทรีย์ ขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา เนื่องจากเป็นประเด็นที่เป็นจุดร่วมของการทำงานพัฒนาภาคอีสาน มีรูปธรรมของการทำงานที่ชัดเจนที่สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันได้ |
||||
ทำงานประเด็นเกษตรอินทรีย์ของ 8 จังหวัดในโครงการ HPL เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ ความเคลื่อนไหวของทุกจังหวัดร่วมกัน อันจะนำไปสู่การช่วยกันคิด หาทางสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ในแง่ความเข้มข้นเชิงเนื้อหานั้น แต่ละจังหวัดที่มาร่วมงานมีตัวแทนของผู้ที่เคลื่อนไหวงานด้านเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดตนเองมาด้วย ทำให้การแลกเปลี่ยนลงลึกในเนื้อหาของพื้นที่ได้ค่อนข้างมาก 3) การหาแนวทางการทำงานร่วมในระดับภาค จากการร่วมกันวิเคราะห์แนวโน้ม ทิศทางการเคลื่อนงานเกษตรอินทรีย์ ทั้งในภาพรวมและระดับพื้นที่ จึงนำมากำหนดเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาค เพื่อให้ส่งผลต่อการยกระดับการทำงานระดับพื้นที่ พร้อมกันกับการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายประเด็นเกษตรอินทรีย์ ในระดับภูมิภาคจนถึงระดับประเทศ |
||||
เนื้อหาการสนทนา การเสนอความรู้ ประสบการณ์ในประเด็นเกษตรอินทรีย์ โดยคุณอุบล อยู่หว้า ซึ่งเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้ – ระบบการบริโภคของโลกทำให้เกิดการขนส่งที่เกินความจำเป็น – การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันไปถึงขั้น “แรงจูงใจ” ไม่ถึงขั้น “แรงบันดาลใจ” – การมอง และทำเกษตรอินทรีย์ในเชิงเดี่ยว มองการตลาดส่งออก ทำให้ไปไม่ถึง “ความยั่งยืน” และการพึ่งตนเอง – เรื่องมาตรฐานรับรองคุณภาพผลผลิต ในปัจจุบันผลผลิตเกษตรที่ส่งออกจะต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน มกท. ซึ่งได้รับการยอมรับจากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (IFORM) ว่ากันสำหรับภาครัฐเองก็มีความพยายามที่จะพัฒนากฎหมายการรับรองมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตร ขึ้นโดยกระทรวงเกษตรฯ – การพัฒนาเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องมองให้ครบทั้งระบบ ทั้งการผลิตและการขาย |
||||
|
||||
1) แต่ละจังหวัดทำข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ ส่งให้ ดร.รังสรรค์ สิงหเลิศ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2548 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดย ดร.รังสรรค์ สิงหเลิศ จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดขึ้น website พร้อมทั้ง update ข้อมูลเป็นระยะ 3) วางแนวทางการทำงานของตัวเองในจังหวัด 4) แนวทางการทำงานร่วมกันระดับภาค
สำหรับเวทีอีสานโสเหล่ครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่จังหวัดเลย ประมาณวันที่ 6 – 8 พ.ค.48 ในประเด็นเรื่อง “สื่อท้องถิ่น” ซึ่งจะมีการลงรายละเอียดและหารือร่วมกันอีกครั้งในเวทีอบรมอาจารย์ชัยวัฒน์ที่จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 3 – 6 มีนาคม 48 |
Be the first to comment on "ความเคลื่อนไหวภาคอีสาน อีสานโสเหล่ 2"