ชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ สู่ความอยู่เย็นเป็นสุข

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ(สปรส.)จัดเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2548  ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยได้กำหนดประเด็นหลักคือ “ความอยู่เย็นเป็นสุข” เพื่อสร้างกระบวนการให้ผู้คนจากทุกฝ่ายในสังคมเข้ามาร่วมคิด…

สันสกฤต  มุนีโมไนย   รายงาน

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ(สปรส.)จัดเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2548  ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยได้กำหนดประเด็นหลักคือ ความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อสร้างกระบวนการให้ผู้คนจากทุกฝ่ายในสังคมเข้ามาร่วมคิด แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เพื่อช่วยกันพัฒนานโยบายสาธารณะ ขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข   โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ โดยมีห้องย่อยแสดงนิทรรศการของโครงการและมีเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานของบางจังหวัดในโครงการ   สรุปสาระสำคัญดังนี้

นางบุษบงก์  ชาวกัณหา ผู้ประสานงานโครงการฯ จ.ปราจีนบุรี  : ที่ปราจีนปรากฏว่ามิติทางด้านนโยบายหลายเรื่องส่งผลกระทบถึงเรื่องของสุขภาพสูงมากในเรื่องของผลกระทบต่อสุขภาพในวิถีชีวิตของคนปราจีนจะหนีไม่พ้นเรื่องของการทำมาหากิน เป็นเพราะว่าที่ปราจีนอาชีพหลักของเราคือเรื่องเกษตรกรรมก็จะทำนาเป็นส่วนใหญ่อาชีพเสริมคือเลี้ยงปลาตามลุ่มแม่น้ำบ้าง แม่น้ำปราจีนบุรีเป็นหัวใจของเกษตรกรรม


         โครงการชีวิตสาธารณะว่าจะสิ้นสุดในปีที่3 เราคิดว่าเราจะมีสภาหรือนโยบายของสมัชชาลุ่มน้ำปราจีนบุรี ซึ่งมีท้องถิ่น 4 ตำบลของตำบลท่างาม  ตำบลท่างามตั้งอยู่ในพื้นที่กลางน้ำของลุ่มน้ำปราจีนบุรี  ซึ่งมีปัญหาการแย่งน้ำรุนแรงมาก เพราะว่าการใช้ระบบประปาที่เป็นอยู่มอบอำนาจให้กับท้องถิ่น  ให้กับผู้ดูแลสายน้ำทิ้งวัฒนธรรมเดิมไปและปล่อยให้อำนาจของรัฐนั้นมาจัดการ โดยมีชลประธานจังหวัดเป็นผู้ดูแล เวลาจะปิดเปิดน้ำจัดสรรน้ำชลประธานต้องอนุมัติมาก่อน  คิดว่าในการจบปี3ของชีวิตสาธารณะเราน่าจะมีกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่จังหวัดปราจีนบุรีที่ใช้ข้อมูลในการพูดคุยกันในการจัดสรร  การลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร  และมุ่งเน้นปักธงไปที่ว่า  ทำอย่างไรให้คุณภาพน้ำและฐานทรัพยากรเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

อ. ขวัญสรวง  อติโพธิ  สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม          :   สิ่งที่จะยกขึ้นมาในวันนี้  ในโอกาสนี้จะยกเรื่องความเคลื่อนไหวให้ลำปางและตรัง  ทำยังไงที่เราต้องทอนตัวลงและอยู่ร่วมกันเป็นช่องเล็กช่องน้อยมีสีสัน มีอัตลักษณ์ความความมุ่งหวังของเรา ผลที่เราเริ่มก่อนก็คือการไปอยู่กลับความหลังควรจะสร้างยังไง  ความรัก  ความผูกพัน ให้เกิดสติปัญญาความรู้ท้องถิ่นก่อนที่จะเข้าไปพบสภาพปัจจุบันและอนาคต  เพราะฉะนั้นในตรังและลำปางจะต้องใช้เวลาตรงนี้มาก  เขาทำอะไร   เมื่อไหร่  อย่างไร  วันเวลาผ่านไปมีความหลังฝังใจอยู่    เพราะฉะนั้นความหลังสร้างความสัมพันธ์ เป็นมรดกวัฒนธรรมอยู่ในนั้นด้วย  งานของเรามุ่งอนาคตให้คนแก่ซาบซึ้งกับอดีตก็คงไม่ทันต้องมุ่งไปสู่คนรุ่นถัดไปและเยาวชนคือ ทำยังไงชีวิตเหล่านี้จะไม่ผ่านไป ทำอย่างไรจะเกิดชีวิตประจำวัน และผู้คน เกิดสถานที่  เกิดครูศิลปะ  เกิดเด็กชอบดนตรีชอบวาดภาพและเกิดเป็นกิจวัตร  เราต้องสร้างคนและความร่วมมือไปพร้อมๆกันด้วย  เรียกว่าแผนที่มรดกวัฒนธรรมทางชุมชน  เมืองทุกเมืองเขาจะร่วมกันบันทึกว่าบ้านเมืองนี้ทั้งมุมมอง  สถาปัตยกรรม  สถานที่ต่างๆ ความหมายทางประวัติศาสตร์ ตรังคือทับเที่ยง เป็นเมืองทับเที่ยงแต่เดิม และสร้างแผนที่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม แบ่งโซนพื้นที่ เริ่มออกแบบและบันทึกคุณค่าต่างๆ และก็เป็นการจัดการขึ้นมา แต่เป็นการทำเพียงคนที่รักไม่กี่คน จะทำอย่างไรให้สาธารณะเข้าใจและมีส่วนร่วม  เป็นการร่วมมือกับทางเทศบาลมี 2 ทีม 

โดยทีมที่ 1 ซึ่งสืบค้นกายภาพ  ทีมที่ 2 สืบค้นทางประวัติศาสตร์      เรื่องที่ว่างกลางเมืองตรัง คือเริ่มถามผู้คนมาช่วยกันว่าจะเริ่มกิจกรรมอะไรดี  ออกมาเป็นกิจกรรมศิลปะ  แล้วก็เริ่มสืบหาประวัติต้องคนทำและสุดท้ายเริ่มเอาเด็กมาร่วมลองชิมกิจกรรม  ภาษาปักษ์ใต้ เรียกว่า ลองแล  ต่อมาจึงเจรจากับนายกเทศมนตรี และรองผู้ว่าฯ  ที่ตรังปรากฏว่าสำเร็จ  ก็เป็นลองแล ลองชิม กิจกรรม ตอนนี้กำลังจะก่อสร้างลานสาธารณะ ในปีที่ 3 จะเป็นเรื่องซอฟแวร์  จึงเป็นเรื่องของชาวบ้านมาใช้และทำกันเอง และกำลังบริจาคม้าหินบริจาคศาลา ให้คนตรังมีส่วนร่วมบริจาค

สุดท้ายซึ่งเป็นเป้าของการสร้างชีวิตหมู่เหล่า มีตั้งแต่ใกล้ชาน ชุมชนเมืองจนถึงตลาดโลก ต้องให้คนมาพบปะกัน      ส่วนที่ลำปางเขาลึกทางความหลัง วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ อันนี้ถ้าเกิดโอกาสขึ้นมากลางเมืองเขามีที่ว่างเกิดขึ้นมาศาลากลางย้ายออกไป ก็เกิดการคุยกันว่าจะใช้อย่างไรสุดท้ายก็ลองดูที่ว่าง ๆ ก็มีชีวิตขึ้นมาได้ มีลักษณะใหม่ ๆ มีการกินขันโตกหมู่กลางสนาม ค่ำคืนก็ซึมซับกับบรรพบุรุษ สืบความหลัง ปีที่ 3 เขากำลังจับมือกับนายก อบจ. ถามว่า 3 ปีทันไหมที่จะทำให้คนลำปางช่วยกันระดมสมอง กับความรู้ที่จะใส่พิพิธภัณฑ์  ใน 3 ปี จะมีการสร้างซอฟแวร์ และเนื้อหา พลิกเปลือกให้เป็นที่ดลใจ เขาเรียกว่า หอศิลป์ และหวังว่าคนลำปางจะมาร่วมกัน เพื่อที่จะก้าวต่อไปในอนาคต

 

            น.ส.พักตร์วิไล สหุนาฬุ ผู้ประสานงานโครงการฯจ.สุรินทร์ : วันนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมหนึ่งที่เป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ในการสร้างพื้นที่ทางสังคม  การขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะ เป็นการนำยุทธศาสตร์คู่ขนานกับทางนโยบายจังหวัดที่มีการส่งเสริมเรื่องเกษตรอินทรีย์  จึงนำแนวคิดในการจัดการตลาดนัดสีเขียวที่เราต้องการสร้างที่สาธารณะขึ้นในสังคมเมือง บริหารการคิดการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนในสังคมเมืองสร้างการมีส่วนร่วม  และต้องการให้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่แสดงความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นวัฒนธรรมชุมชน

 

          วัตถุประสงค์ของตลาดนัดสีเขียว  คือการส่งเสริมระบบการตลาด  ผู้ผลิต  ผู้บริโภค  สามารถเข้าได้โดยตรง มีความเป็นธรรมและปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการขยายแนวคิดประสบการณ์การพัฒนาชนบท การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนว่าสุรินทร์บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สาธารณะและผลักดันคนในองค์กรเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  องค์กรเอกชน  หน่วยงานรัฐ  นักวิชาการ          ผู้ผลิตที่เข้ามาทำกิจกรรมตลาดนัดสีเขียวมีข้อตกลงร่วมกันว่าคุณภาพของผลผลิตต้องผ่านการตรวจสอบจากกลุ่มองค์กรและปลอดสารพิษ มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค  ผลผลิตที่นำมาต้องเกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อการผลิตเท่านั้น ผู้ค้าที่เป็นเกษตรกรต้องเปิดเผยกระบวนการผลิตทุกอย่างให้ผู้บริโภคได้รู้ เกษตรกรที่มาอยู่ร่วมกิจกรรมมีรายได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 300-700 บาท   

         
 
เราใช้คำว่าตลาดนัดสีเขียว เพราะว่าสื่อถึงเรื่องที่ดีกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว   มิติของความสำเร็จที่เราทำมา2ปี มีปัจจัยที่เกื้อหนุนได้คือเราจะสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ว่าเป็นโครงการนำร่องเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกหรือแม้แต่มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาก็มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องว่าด้วยเครือข่ายของภาคประชาชน

 

ส่วนปัจจัยภายนอกที่ช่วยสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จได้คือ ผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง  การที่เทศบาลช่วยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ และการเข้าร่วมของหน่วยงานภาครัฐ หรือว่ากลุ่มเกษตรจังหวัด พัฒนาชุมชนโรงพยาบาล เด็ก/เยาวชน

 

หลังจากนั้นไปกิจกรรมในปีที่ 3  ในแนวทั้งโครงการตลาดนัดสีเขียว อีก 1 ปี ที่เหลือของชีวิตสาธารณะเราจะมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้จากรูปแบบเราจะแปรรูป การสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมความสำเร็จในการที่เราทำอยู่ 3 เรื่อง 1. ตลาดนัดสีเขียว 2. วิทยุชุมชน 3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  เวทีที่เราจะสรุปภาพใหญ่ของปีที่ 3  

 

นางเพลินใจ เลิศลักขณวงศ์ ผู้ประสานงานโครงการฯ จ.ตาก : สำหรับในเรื่องของชีวิตสาธารณะที่จังหวัดตาก  เราได้ทำในหลายๆ เรื่อง สิทธิของคนไทยผลัดถิ่น  เรื่องของแคดเมียมในพื้นที่ปนเปื้อนทั้งหลาย และอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดน มันเป็นการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกที่มีต่อเมืองนั่นเอง จุดตรงนี้เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย ถ้าหากว่าเราไม่รู้อะไรเลยเราก็รับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ทัน คณะทำงานจึงต้องออกแบบการทำงาน  เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่การสร้างการมีส่วนร่วม เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องอะไร    เรื่องแรกเราแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของโลกต่อนโยบายของประเทศ  เรื่องที่สองคือเรื่องของศักยภาพของท้องถิ่น และเรื่องที่สามการเตรียมคนเตรียมข้อมูลในการที่จะกำหนดอนาคตของตนเองของคนท้องถิ่น    

  

จังหวัดตากประกาศให้ 3 อำเภอชายแดน คือ  แม่ระมาด  พบพระ แม่สอด 10จุดของการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เขตนิคมอุตสาหกรรมที่ลงไป เรื่องของการค้าขายระหว่างชายแดน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่พิเศษสุด ๆ เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ถูกกำหนดในเรื่องต่างๆ  สภาพัฒน์ฯมีกลไกการจัดการ และร่วมกับนักธุรกิจนักการเมืองในท้องถิ่น กรอบแนวคิดที่จะวางไว้คือ ถ้าพูดถึงเขตเศรษฐกิจต้องมีนิคมอุตสาหกรรมเข้าไป  เรื่องการค้าและการท่องเที่ยว   การพัฒนาการเกษตร การบริการการจัดแรงงานต่างด้าวเอาแรงงานมาใช้ได้มีสิทธิพิเศษ           เน้นองค์ประกอบหลักโครงการสร้างพื้นฐาน  ดึงดูดนโยบายการลงทุน คนที่เข้าไปในเมืองนั้นไม่ว่าจากไหน จากต่างประเทศมาก็ส่งเสริมการลงทุน  กลไกการจัดการจะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งหมดไม่มีเรื่องการสร้างคนเลย จากข้อมูลสิ่งที่มากระแทกตัวตนของเรา คนจังหวัดตากอยู่กันอย่างไรกับเรื่องนี้  ตรงนี้พลเมืองอาสาของจังหวัดตากขึ้นมาทำงานโครงการชีวิตสาธารณะเป็นกลุ่มที่มีความลงตัว มีทั้งราชการ นักธุรกิจ ประชาชน เป็นภาคพลเมือง จึงเป็นจุดรวมของการที่ให้กลุ่มนี้ได้คุยกัน คิดว่าจะทำอย่างไรเมื่อสิ่งเหล่านี้จะกระทบตัวเอง

 

พัฒนาการและประเด็นของแม่สอดหรือจังหวัดตาก ประเด็นที่ห่วงใยมากที่สุด คือ ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่มาสร้างทุกข์ให้กับเมือง  กระบวนการทำงานของพวกเรา เริ่มต้นจากการทำงานที่เชื่อมอยู่กับคณะกรรมการจังหวัดและกำหนดบทบาทกันจัดเวที  มีขั้นมีตอนมีการกำหนด  เราได้ประเด็นร่วม คือความรู้ของคนท้องถิ่นไม่พอ รู้แค่คนบางกลุ่ม ทำอย่างไรให้เชื่อมโยงกันได้ เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรและสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน มองให้เห็นร่วมกันว่าความเป็นเมืองที่มีขอบเขตชัดเจน และเกิด พรบ.ฉนับใหม่เกิดขึ้นในเมืองนี้ 

 

ตอนนี้เรากำลังทำงานอยู่คือการสร้างกระบวนการการจัดการความรู้เปิดเวทีขยายวงกว้างให้ขึ้นไป และจะต่อแผนปฏิบัติการร่วมกันกับภาครัฐ  กำหนดในพื้นที่เป้าหมายคือ 8 อำเภอ 20 ตำบล ของเทศบาล ที่เข้าถึงตรงนี้ และพื้นที่เป้าหมายของการทำงาน โครงการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมที่เราได้เสนอขึ้นจากผลการจัดเวทีทั้งหมด เสนอผ่านสภาพัฒน์และอนุมัติโครงการมาให้ เพื่อการจัดการกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และมีงบดำเนินการในปีที่ 3และ 4 ทั้งหมดอยู่ 8 ล้านบาท   นี่คือโครงการทั้งหมด  สุดท้ายเป็นโครงการกำหนดภาพอนาคตเมือง แม่สอด พบพระ โดยกระบวนการประชาธิปไตยอย่างมีวิจารณญาณ  คนแม่สอดหรือคนพบพระจะเลือกอย่างไรในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ใช่รัฐมากำหนดเองทั้งหมด

 

ตอนนี้เราทำศูนย์ประสานงานในเรื่องการจัดการความรู้  สื่อสารสาธารณะ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง ประเมินสภาพการณ์ในพื้นที่กำหนดภาพอนาคต และการเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน เราหวังว่าการค้นหาอดีตปัจจุบันอนาคตที่เรารู้ตัวเองในอนาคต จะทำให้เกิดการเรียนรู้ไปถึงการจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วม  คือการกำหนดวิถีชีวิตของเรา การค้าชายแดนการท่องเที่ยว  การเกษตร  อุตสาหกรรม และแรงงานต่างด้าว และขอเพิ่มคำว่าสังคม ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมเข้าไป คือแนวคิดที่ค่อนข้างชัดของพวกเรา ข้อสุดท้ายคือ เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ   

 

นพ.ดำรง บุญยืน ประธานกรรมการประเมินผล สสส.ให้ข้อสังเกตต่อโครงการฯว่า :  ในงานที่เราลงทุนลงแรงทำไปที่ตรัง ลำปาง สุรินทร์ เป็นงานซึ่งพอจะมองเห็นความสำเร็จ แต่มีความสำเร็จที่มองเห็นได้ ให้ทำต่อไปและสร้างความสำเร็จไปโดยขึ้นมาจากการใช้พื้นที่สาธารณะ หรือกิจกรรมสาธารณะ แต่ที่จะขอพูด คือกรณีของแม่สอด กับกรณีปราจีน เป็นเรื่องที่เรามองว่าถ้าไม่ยกระดับให้ขึ้นมาเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องระดับยุทธศาสตร์ความสำเร็จมองไม่เห็นเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  การขาดความรู้มีมาก แล้วงานที่ต้องใช้ความคิดก็ต้องใช้กำลังคน ซึ่งมีความรู้ ถ้าไม่มีกำลังคนทั้งในแง่ความรู้และจำนวนและในแง่ของการที่จะดำเนินเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องใหญ่ในเชิงยุทธศาสตร์  จะประชุมสมัชชากี่สมัยก็ไม่มีอะไรน่าจะไปไกล

 

เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ต้องคิดคือจะเอาคนที่ไหนที่มากพอ และมีการเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้และฝึกฝนจนเป็นคนที่มีความถนัดในการทำงาน ที่บอกว่าคิดกันเอง ทำกันเองเป็นหลัก เทศบาลช่วยเหลือสนับสนุนบ้าง คำว่าบ้างอาจจะเป็นช่วงต้น ๆ  แต่ว่าในบางเรื่องบางกรณีเทศบาลจะช่วยเหลือสนับสนุน ผมคิดว่าคงไม่ขัดข้อง ในบางเรื่องที่เทศบาลจะช่วยเหลือสนับสนุน แต่ว่าในขั้นเริ่มต้นช่วยเหลือบ้าง อันนี้คือหลัก แต่ว่าก่อนที่คนจะคิดเอง และทำกันเองเป็นหลัก ต้องมีคนทำให้เกิดคนที่เข้ามารวมกันคิดเอง และทำกันเอง  ถ้ามีคนตรงนี้เข้าไปทำจะเกิดจุดนั้นขึ้นมา พูดที่แม่สอด และปราจีนบุรีแสดงว่าต้องมีคนเข้าไปทำมันถึงมีการคิดและมีการทำกันเองเป็นหลัก ต้องมีคนตรงนี้เข้าไป คนตรงนี้ที่เข้าไปต้องคิดว่าเราจะสร้างคนพวกนี้ขึ้นมาอย่างไร  แล้วเขาจะยังชีพอย่างไร ถ้าเราจะเดินเส้นทางการมีส่วนร่วม คนที่จะเข้าไปทำงานให้คนมีส่วนร่วมจะต้องสร้างขึ้นมา และจะต้องให้เขายังชีพอยู่ได้ในอนาคต 

 

ขณะนี้เรายังไม่รู้ว่าเราจะสร้างคนที่ทำงานให้คิดเองทำเองเป็นหลัก  ให้รัฐบาลมาช่วยเหลือสนับสนุนบ้าง ใครจะเป็นคนฝึก ใครจะเป็นคนทำให้เขามีอาชีพและทำให้เขายั่งยืนมีความก้าวหน้าในอาชีพ ตรงนี้ใครจะจ้าง ใครจะเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้  ย้อนกลับมาว่าในการทำงาน 2 ปีของโครงการนี้ สสส. มันเป็นน้ำมันเครื่อง มันไม่สมควรที่จะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเป็นเครื่องยนต์ตัวจริง  ถ้าไปทำใน 35 เมืองที่ทำกันอยู่นี้ ความจริง 35 จุดต่าง ๆ ในเมืองเหล่านี้ เป็นแค่ทิศทางทำ 2 ปีแล้วเหลืออีก 1 ปี ต้องมองว่าเครื่องกับน้ำมัน เชื้อเพลิงตัวจริง เจ้าภาพคือใคร  ถ้าคนสร้างคนไม่รู้ว่าใคร คนพวกนี้ทำงานให้เขายังชีพได้ ให้เขามีอาชีพ นี่คือความพ่ายแพ้ของยุทธศาสตร์ภาคประชาชน ยุทธศาสตร์ของฝ่ายทุนนิยมที่เขามีอาชีพมีรายได้อยู่ มีหลักสูตรและมีโครงการรองรับและเขาต้องทำ อย่าได้ลืม 2 จุดนี้ว่าจะสร้างคนขึ้นมาอย่างไรให้เพียงพอที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมคิดกันเองทำกันเองเป็นหลัก  ใครจะเป็นคนจ้าง ใครจะเป็นคนจัด

 

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ผอ.โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ : 3ปีมานี้เราจะเห็นรูปธรรมการทำงานร่วมกัน กลุ่มคนที่เป็นกลุ่มพลเมืองอาสาอย่างพวกเรากับองค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรระดับภูมิภาคมากขึ้นเรื่อย ๆ  ในช่วงปีที่ 3 เราวางเอาไว้อยู่แล้วว่าจะเป็นจังหวะที่จะต้องมีการจัดตั้งตนเอง การจัดตั้งตนเองและจัดตั้งองค์กร หมายความว่าเราต้องมั่นใจว่า ในปีที่ 3 เป็นปีที่เราคิดว่าเป็นการจัดตั้งตนเองของแต่ละจังหวัดของกลุ่มคน ขณะนี้ในแต่ละจังหวัดจะมีทุนที่เรียกว่า ทุนเครือข่ายโดยส่วนใหญ่แล้วผมว่าประมาณ 80% ของ 35 จังหวัด มีความพร้อมในเชิงเครือข่ายค่อนข้างสูง เท่าที่ผมไปสัมผัสมา ทุนเรื่องคนมีความพร้อมมีทั้งปริมาณและคุณภาพค่อนข้างดี ทุนเรื่ององค์ความรู้และศูนย์เรียนรู้ต่างๆ  

 

ตัวองค์ความรู้ที่ถอดออกมาเป็นสื่อใน 35 จังหวัดมีหลากหลาย    จังหวัดในโครงการชีวิตสาธารณะเรามีทักษะการบริหารจัดการองค์กรในลักษณะองค์กรชั่วคราว เรากำลังเตรียมตัวในการตั้งองค์กรแบบถาวร บริหารองค์กรแบบถาวร จุดที่สำคัญอันหนึ่งคือการบริหารเงินทุนแบบกองทุนถาวร เป็นประเด็นที่เราจะต้องยกระดับโหนดหรือว่าหน่วยจัดการของเราใน แต่ละจังหวัด 35 จังหวัดปรับตัวขึ้นมาเองในการบริหารเงินทุนแบบถาวร และทำงานในเชิงวิชาการ

 

ขณะเดียวกันประเด็นที่สำคัญ  การบริหารคนในเครือข่ายแบบมืออาชีพและองค์กรถาวรตรงนี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่พวกเรากำลังเรียนรู้กันใน 35 จังหวัดเราค่อนข้างเชื่อมั่นว่าผ่านปีที่ 3 การตัดสายสะดือคงเสร็จสิ้นเรียบร้อยและคิดว่าสามารถขับเคลื่อนไปได้ เราตระหนักตลอดเวลาว่าโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะฯ เป็นโครงการชั่วคราว 3 ปี และจะต้องเป็นเครื่องมือของแต่ละจังหวัด ของกลุ่มคนในจังหวัดใช้ในการสถาปนาตัวเองขึ้นมา จัดองค์กรของตัวเองขึ้นมาเพื่อทำงานต่อเนื่องในระยะยาว  และก็ไม่ได้คิดว่ากองทุน สสส. จะเป็นแหล่งเดียว ผมเห็นความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ทางกลุ่มคนที่ทำงานวิจัยชีวิตสาธารณะกับเทศบาลเมืองค่อนข้างแน่นแฟ้นมาก            

 

30 จังหวัดที่ขับเคลื่อนไม่ใช่เอาประเด็นของเมืองเท่านั้น    ทุกจังหวัดจะมีคนในเครือข่ายของเราเข้าไปนั่งในกลไก นโยบาย และยุทธศาสตร์ของจังหวัด และทำให้สามารถเชื่อมโยงเอาทรัพยากรต่าง ๆ จากทั้งท้องถิ่นและจากทั้งภูมิภาคเข้ามาขับเคลื่อนได้มาก ผมคิดว่าไม่ต่ำกว่า 20 เท่าของเงินที่เอามาใช้ใน สสส.

 

ต่อไปจากนี้หลังจากจบโครงการชีวิตสาธารณะฯ คนทำงานภาคประชาสังคมใน 35 จังหวัด จะจัดตั้งองค์กรของตนเพื่อทำงานต่อไปได้มากน้อยเพียงใด นี่คือเรื่องที่เราต้องจับตามองกันต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่ม

Be the first to comment on "ชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ สู่ความอยู่เย็นเป็นสุข"

Leave a comment

Your email address will not be published.