สัปดาห์นี้คนไทยที่เป็น “คอบอล” คงแค้นสาหัสหลังจากฟุตบอลไทยถูกโกงนัดชิงชนะเลิศที่ประเทศสิงคโปร์ โดยแพ้ทีมเจ้าบ้าน 2:1 จากการจับให้ยิงจุดโทษในไม่กี่นาทีสุดท้ายทั้ง ๆ ที่ไม่ฟาล์ว และก็ไม่สามารถเอาชนะสิงคโปร์ได้เมื่อเข้ามาแข่งในประเทศไทยทั้ง ๆ ที่บุกหนักและมีโอกาสทำประตูตลอดเกมส์ เสมอกันไป 1:1 ทำให้คะแนนรวมเกมส์เย้า-เกมส์เยือน แพ้เขา 3:2 เป็นการย้ำแค้นในคืนวันอาทิตย์ที่ 4 ก.พ.50
29 ม.ค.อาจารย์ประเวศ นัดพี่ เอนก และผมไปคุยที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และทานข้าวเที่ยงด้วยกัน
เดาเอาว่าอาจารย์คงจะระแคะระคายว่า เอนกกับพลเดชมีเรื่องไม่สบายใจต่อกัน แต่เดาผิดไปถนัด อาจารย์ไม่ได้พูดเรื่องนั้นเลย
อาจารย์เรียกมาเพื่อหารือสถานการณ์บ้านเมืองว่าเป็นห่วงประเทศจะเลี่ยงไม่พ้นมิคสัญญีซึ่งเราคงทำอะไรไม่ได้มาก ป้องกันก็ไม่มีโอกาส คงต้องช่วยกันคิดถึงการผลิตหน่อแตกกออีกครั้ง หลังผ่านทุรยุคไปแล้ว ขอให้รักษากำลังที่ฐานล่างเอาไว้ให้ดี
ท่านมองว่า ความขัดแย้งในช่วงที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้ของคนชั้นสูง ทุนเก่า กับทุนใหม่ และทักษิณไม่ยอมแพ้ ประชาชนรากหญ้าก็ยังนิยมชมชอบ แม้รู้ว่าทักษิณสู้กับสถาบันกษัตริย์ ประชาชนรากหญ้าก็ยังไม่หยุดชื่นชอบทักษิณเลย
แต่ทหารคงไม่ยอมให้ใครทำลายสถาบันกษัตริย์เป็นอันขาด จึงมีแนวโน้มการลอบสังหาร การต่อสู้อาจขยายวงโดยชนชั้นกลางเผชิญหน้ากับทหาร และมีประชาชนรากหญ้าที่ชอบทักษิณมาเป็นแนวร่วม บ้านเมืองอาจเข้าสู่มิคสัญญี
อาจารย์ ยกตัวอย่างมาอธิบายว่า ประเทศที่ผ่านพ้นสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้มักต้องผ่านยุคที่ทำลายล้างกัน หรือทุรยุคมาก่อน
ยุโรปรบพุ่งกันตลอด 2,000 ปี เพิ่งจะเข้าสู่ภาวะที่ลงตัวเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรวมกันเป็น EU นี่เอง
จีนรบพุ่งกันตลอด 3,000 ปี เพิ่งจะเข้าสู่ความลงตัวหลังปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงศตวรรษหลังเช่นกัน
สหรัฐอเมริกากว่าจะเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ได้ก็ต้องผ่านสงครามกลางเมืองร่วม 100 ปี
หลังจากคุยสถานการณ์บ้านเมืองแล้ว อาจารย์ถามว่าพลเดชได้เตรียมอะไรไว้หลังจากหมดวาระที่กระทรวง พม. บ้างหรือเปล่า ผมจึงบอกไปว่า ตั้งใจจะออก พ.ร.บ.สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ และ พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแห่งชาติ เพื่อรองรับภารกิจการขับเคลื่อนการปฏิรูปสังคม หลังจากพ้นกระทรวง พม.
30 ม.ค. ระหว่าง รมว. ประชุม ครม. มีเวลาครึ่งวันเช้า ถือโอกาสดูร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับ และปรับแก้จนสมบูรณ์ พร้อมที่จะขับเคลื่อนสู่ ครม.แล้ว
– พ.ร.บ.สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ
– พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแห่งชาติ
– พ.ร.บ.องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ
ที่ประชุม ครม. เช้าวันนี้ ได้รับทราบผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ จากการเสนอของ พม. และ ครม.ได้มอบให้ พม. เป็นแกนในการขยายผลในรายละเอียดเพื่อนำเข้า ครม.เพื่อพิจารณาอีกครั้งภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า
หลังประชุม ครม. ทั้งนายกรัฐมนตรี และ รมว.พม.ต่างให้ข่าวเรื่องนี้แบบสด ๆ ร้อน ๆ จากเวที ครม. เล่นเอาผมที่อยู่นอกห้องประชุมต้องสัมภาษณ์นักข่าว 4-5 รายการเพราะนักข่าวฉบับต่าง ๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
นอกจากนั้นยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับ พม. คือ พม.ได้เสนอ ครม. อนุมัติ “ปี 2550 เป็นปีแห่งการให้และอาสาช่วยเหลือสังคม, ให้ข้าราชการไปทำงานอาสาสมัครได้ปีละ 5 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา, ปรับหลักสูตรนักเรียน-นักศึกษาให้มีหน่วยกิตสำหรับไปเป็นอาสาสมัคร, การเรียนลูกเสือ-เนตรนารี/อนุกาชาด-รักษาดินแดน, เอกชนให้ลูกจ้างไปเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม นำเครดิตมาลดหน่อยภาษีได้”
เรื่องนี้สื่อมวลชนก็สนใจกันมาก เพราะเคย “ออกแขกโหมโรง” กันมาบ้างแล้วในช่วงเดือนแรกที่เข้ามาบริหาร พม. ฟังเสียงสะท้อนจากสื่อ ได้รับการชื่นชมมาก มติชนถึงกับบอกว่า “เป็นมาตรการ/นโยบายที่หนุนเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เชี่ยวกรากได้อย่างเหมาะสมดีแท้!!”
ประชุมผู้บริหาร พม. คราวนี้เฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ลดความเป็นทางการลงได้มาก แต่ยังไม่สะเด็ดน้ำ สไตล์พี่ไพบูลย์ยังปรับไม่ทัน เรื่องปรึกษาหารือเป็นเรื่องใหญ่ๆที่มีลักษณะข้ามกรมกองทั้งสิ้น เช่น เรื่องการผลักดันขบวน (ร่าง) กฎหมาย พม. ในสถานการณ์ปัจจุบัน, Action-communication ที่จะทำให้งาน พม.เป็นข่าวด้วยตัวมันเอง และเรื่องการจัด workshop เตรียมจัดทำแผนงาน/งบประมาณ ปี 2551
31 ม.ค. ทีมเยาวชนมาเข้าพบ และนำเสนอโครงการ “18 ปี มีดี….” ซึ่งเป็นชุดโครงการที่จะส่งเสริมบทบาทเยาวชนในกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม จึงบอกให้พวกเขาเตรียมรายละเอียดเพื่อผนวกในเอกสารที่จะนำเข้าประชุม รมว. 5+3 กระทรวงในวันอังคารหน้า
1 ก.พ. workshop ทีม สสว. 12 เขต และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่จะร่วมทำวิจัย “พัฒนารูปแบบบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ระดับอำเภอ”
ได้มีโอกาส orientate ทั้ง ผอ.สสว. และหัวหน้าคณะวิจัยพร้อม ๆ กันเป็นครั้งแรก จึงร่ายยาวประกอบ power point จนกระทั่งคิดว่า Clear Concept สำคัญได้หมด ที่ประชุมพอใจกันมาก พี่เอนกไม่ได้มาบรรยายต่อจากผมตามที่แกขอเวลาเอาไว้ บอกว่าเครือข่ายน้ำท่วมดึงตัวเอาไว้ที่นครสวรรค์
โครงการวิจัย ต้องการสำรวจข้อมูล กองทุนสวัสดิการชุมชนทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกกองทุนที่มีอยู่จริงในพื้นที่อำเภอเป้าหมาย เรียกว่าทำ Census (สำมะโน) กันเลยทีเดียว
แล้วให้เชื่อมโยงด้วยเวที ถักทอเครือข่าย และตกลงกิจกรรมทำบุญ 5 ธ.ค. 2550 ร่วมกันด้วย
ให้ตระหนักว่า 12 อำเภอที่ทำโครงการคือ 12 ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social) ของขบวนขับเคลื่อนสวัสดิการสังคม และยุทธศาสตร์และสังคมจังหวัด ที่เราจะนำความรู้ บทเรียนไปสู่การประยุกต์ใช้ในพื้นอื่น ๆ ที่เหลือด้วย
โครงการนี้ไม่ใช่เรื่องเดียวกับ KM ซึ่ง ปทษ.เอนก รับผิดชอบแต่จะเสริมกัน โครงการนี้มุ่งค้นหาความจริง-ข้อมูล-ความเป็นไปได้-ประสบการณ์ แต่โครงการ KM มุ่งสร้างคนและพัฒนาทักษะกระบวนการด้าน KM ให้กับบุคลากร พม. ดังนั้นต้องไม่เอามาปะปนกันจนเสียการทั้งคู่
หลังประชุมถึงเย็น ปัญโญและพัชรามาสะท้อนความรู้สึกจากผู้ร่วมประชุมว่าเป็นการประชุมที่ได้ผลดีมาก ทีมคุณสุวินัยก็พอใจและมีกำลังใจกันมากทีเดียว
บ่ายทีม ดร.ปาริชาติ ศิวะรักษ์ จาก กพร.มาสนทนาซักถามความคิดเห็นของฝ่าย รมว. ที่มีต่อโครงการของกระทรวง พม. จึงช่วยกันชี้ว่า
– งานของกรมต่าง ๆ ดูไม่ชัดเจน โดยเฉพาะงานเด็ก-เยาวชน-สตรี มีกรมที่ดูแลคนละมิติ รวมถึง 4 กรมด้วยกัน
– งานที่จังหวัด พมจ., ศพส., สสว. ก็แยกภารกิจกันไม่ค่อยได้
– ผู้บริหารหลายกรมต้องการให้ตั้งกรมส่งเสริมเด็กและเยาวชนขึ้นมาใหม่เสียเลย
แต่เรา (ฝ่ายการเมือง) ซึ่งมีเวลา 1 ปี และมีภารกิจเฉพาะจึงไม่คิดว่าเราควรจะเป็นฝ่ายริเริ่มอะไรในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระทรวงนี้ ต้องให้ปลัดกระทรวงและอธิบดี (ฝ่ายประจำ) ริเริ่มกันเองและจะให้ฝ่ายการเมืองหนุนก็ยินดี
เย็น-ค่ำ ทีม สสว.2 และเครือข่ายพลังชุมชนพลังแผ่นดิน กทม. มาประชุมเตรียมที่จะจัดเวทีพบปะหารือระหว่าง รวม. พม. กับ ผว.กทม. ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้
ฟังเจ้าหน้าที่ของ สสว.2 และหน่วยบริหารของ พม. ในพื้นที่ กทม. แล้วก็จึงเข้าใจว่าแม้ว่ามีการกระจายภารกิจให้ท้องถิ่นแล้ว แท้ที่จริงเรา (พม.) ยังมีงานอยู่ไม่น้อยในพื้นที่ กทม. ซึ่ง กทม.เองยังมีข้อจำกัดในการทำงานอยู่มาก
2 ก.พ. เดินทางไปจังหวัดแพร่ตั้งแต่เช้า ไปบรรยายให้กับกลุ่มหมออนามัยจังหวัดแพร่ 300 คน ในเรื่อง “ยุทธศาสตร์สังคมอยู่เย็นเป็นสุข”
พบกับแฟนเก่าและลูกศิษย์ลูกหาทั้งนั้น กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในละแวกนี้ เราเคยทำงานร่วมกันมาก่อนตั้งแต่ครั้งที่ผมยังอยู่ สคต.9 พิษณุโลก
บ่าย วณีมาสมทบจากจังหวัดน่าน วณีไปงานโครงการที่จังหวัดน่านตั้งแต่เมื่อวาน บ่ายไปดูหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่โครงการ มีโอกาสพูดคุยซักถามชาวบ้านถึงเรื่องตัวชี้วัดอยู่เย็นเป็นสุข เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล เรื่องแผนแม่บทชุมชน ฯลฯ
Happy Planet Index :An index of human well-being and environmental impact.
HPL = Life Satisfaction XLife Expectancy
Ecological Footprint
· เป็น HPI ของมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economics Foundation)
· Input คือ
1. การบริโภคทรัพยากรของมนุษย์ (คำปกติ คือ 1.8 gha – global average hectra)
Outputคือ
1. ความพึงพอใจในชีวิต ที่คำนวนจากแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบตอบด้วยตัวเองทั้งคำถามเชิงจิตวิทยาและสังคมวิทยา เพื่อทำความเข้าใจกับปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุขในชีวิตคนเรา
2. อายุเฉลี่ย เป็นอายุที่ยืนยาวอันเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะเงื่อนไขในด้านวัตถุที่มีอยู่ภายในประเทศ
6 ก.พ. วันเสาร์อยู่บ้านทั้งวัน มีโอกาสได้ออกกำลังกาย ทำสวน และศึกษา/ปรับแก้ (ร่าง) พ.ร.บ. 4 ฉบับ
– พ.ร.บ.ส่งเสริมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
– พ.ร.บ.ส่งเสริมครอบครัว
– พ.ร.บ.สภาชุมชนท้องถิ่น
– พ.ร.บ.ส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา
ทำให้เตรียมแผนได้ชัดแล้วว่า ควรขับเคลื่อน พ.ร.บ.ทั้ง 7 อย่างไร
1. พ.ร.บ.ที่ต้องขับเคลื่อนเต็มรูปผ่าน ครม.
§ พ.ร.บ. สภาชุมชนท้องถิ่น ให้มีหน่วยงานนิติบุคคลใหม่
§ พ.ร.บ. ส่งเสริมคุณภาพจริยธรรมแห่งชาติ มีนิติบุคคลใหม่
§ พ.ร.บ. องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ มีนิติบุคคลใหม่
2. พ.ร.บ.ที่ต้องลดรูปลง และขับเคลื่อนผ่าน สนช.
§ พ.ร.บ. ส่งเสริมครอบครัว (ตัดกองทุน และนิติบุคคลออก)
§ พ.ร.บ. ส่งเสริมเด็กและเยาวชน
§ พ.ร.บ. ส่งเสริมประชาสังคม*
§ พ.ร.บ. สถาบันวิจัย*
*อย่างใดอย่างหนึ่งก็พอ (แทนกันได้)
§ พ.ร.บ. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแห่งชาติ ตัดนิติบุคคลและกองทุนออกสัปดาห์หน้า จะเริ่มเดินสายขับเคลื่อน พ.ร.บ.จริงจังเสียที!!
4 ก.พ. วันนี้ปิดท้ายด้วยรายการฟุตบอลชิงชนะเลิศ ASEANSOCCORChampionship ระหว่างสิงค์โปร์-ไทย
ด้วยความกดดันทั้ง 2 ทีม
ในสภาพที่ไม่ใสสะอาดนัก แข่งกันที่บ้านสิงคโปร์ ถูกโกงแพ้ 2:1
ในสภาพที่สัมพันธ์ไมตรีทางการเมือง ไทย – สิงคโปร์กำลังร้อนระอุจากพิษทักษิณและเทมาเส็ก
ในสภาพที่มาแข่งในบ้านเรา สนามศุภชลาศัย ซึ่งคนไทยเต็มสนาม ตั๋วขายหมดเกลี้ยง ต้องตั้งจอยักษ์ 4 จุดให้แฟนบอลได้ชมข้างนอกสนาม
ไทยเล่นได้ดีมาก เป็นฝ่ายรุกและมีโอกาสทำประตูได้มากกว่า ทำประตูได้ก่อนสวยงามในครึ่งแรก แต่สิงคโปร์ก็ตั้งรับและรอตีโต้กลับในที่สุดก็ทำประตูได้ในครึ่งหลัง สุดสวยเช่นกัน หมดเวลาเสมอกัน 1:1 รวมคะแนนสองแมทซ์เป็นอันว่าไทยแพ้ไป 2:3 สิงคโปร์ครองแชมป์
ASEANSoccor Championship แข่งมา 5 ครั้งไทยเป็นแชมป์ 3, สิงคโปร์ 2 คราวนี้เป็นครั้งที่ 6
คนไทยและสังคมไทยรู้จักและจดจำสิงคโปร์ ได้กว้างขวางขึ้นอีกมาก จากเกมส์ฟุตบอลวันนี้.
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
4 กุมภาพันธ์ 2550
Be the first to comment on "ตอนที่ 23: สิงคโปร์ย้ำรอยแค้น"