ตอนที่ 46 : “สองผู้กอบกู้รัฐนาวา”

          ช่วงต้น และ กลาง สัปดาห์รมช.พม.ยังคงอยู่ที่ OHIO กลับถึง กรุงเทพฯกลางดึกวันพฤหัสบดี ตื่นเช้าต้องไปร่วมงานรับปริญญาของ “ลูกหญิง”

ที่จุฬา,รีบไปเข้าร่วมประชุมสภาวิจัยแห่งชาติที่ทำเนียบเพื่อเสนอหน้าให้นายกฯและรองนายกฯทราบว่า “กลับมาแล้วนะครับ” ทีมงานรองนายกไพบูลย์ตัดบทความหนึ่งจาก Bangkok Post มาให้อ่าน, Section Politic, Spotlight จั่วหัวเรื่องว่า  “ Two Achievers Salvage Cabinet” เนื้อหาสาระเป็นการ การประเมินคุณค่าการทำงานของ 2รัฐมนตรี (ไพบูลย์ – พลเดช) ใน ครม.ชุดนี้ว่าเป็นเสมือน 2 ผู้มุ่งมั่นซึ่งช่วยกู้รัฐบาลเลยทีเดียว

 

 

9 ก.ค.
         การสัมมนาวิชาการ DDWII ย้ายฐานมาประชุมที่โรงแรม Marriott เพื่อรองรับผู้เข้าร่วมประชุม Public PolicyWorkshop จากมลรัฐต่างๆ ของอเมริกา มาเข้าร่วมอีก200 คน ประเด็นการประชุมวันนี้คือ “Energy Crisis” ซึ่งเวทีนี้ที่จริงแล้วก็คือ National Issue Forum ของเครือข่ายประชาสังคมของ สหรัฐอเมริกาที่มี KFและพันธมิตรเป็นแกนนำนั่นเอง
         ปีที่แล้วเขาใช้เรื่อง “Poverty” เป็นหัวข้อประชุมประจำปีของเขา ซึ่งพวกผมและกลุ่ม DDWI จาก 30 ประเทศได้เข้าร่วมด้วยเช่นกัน
         การประชุมปีนี้เริ่มโดย Dr.David Mathews กล่าวนำถึงคอนเซ็ป และทิศทางของDD จากนั้นเข้าสู่ PPW โดยฉาย VCD นำเข้าสู่ประเด็น Energy Crisis ต่อจากนั้นก็แบ่งกลุ่ม ทั้งคนต่างชาติและอเมริกัน ร่วมแชร์ไอเดีย
         ที่ USAช่วงนี้มีทั้งการเคลื่อนไหวต่อต้านการส่งทหารไปอีรักถี่มาก คะแนนนิยมของBUSH ลดต่ำลงอย่างน่าเป็นห่วง คาดว่าสถานการณ์จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางนโยบายในเร็วๆนี้
         ข่าวจากเมืองไทยโดย ดร.วณีบอกว่า กระแสต่อต้านร่าง พรความมั่นคงภายในมีมากขึ้น และนายกพูดถึงไฟใต้ว่ารัฐบาลมาถูกทางแล้วและยินดีพูดคุยกรณีจะเป็น”เขตปกครองพิเศษ”
 
10 ก.ค.
         เวทีสัมมนา DDWIIยังคงเป็นเรื่องสรุปประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเทคนิคประสบการณ์การ Naming / Framing เพื่อเคี่ยวประสบการณ์ให้ข้น
         ผมคิดเลยshot นั้นไปแล้ว เพราะตนเองคงไม่ใช่อยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติที่จะไปModerate การประชุมเอง   แต่เราอยู่ไนระดับผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ จึงมีเป้าหมายแค่ทำเข้าใจพอเพียงในเชิง “Concept” และรู้จัก เท่านั้นก็นำไปใช้งานได้แล้ว จึงนั่งอ่านเอกสารทั้งหมดอยู่ที่ห้องพักและเริ่มลงมือเขียนบทความเรื่อง “ประชาธิปไตยพลเมือง”
         ซึ่งผมถือปฏิบัติเป็นประจำสำหรับการไปร่วมประชุมวิชาการต่างประเทศ ที่ต้องทำการตกผลึกความรู้ความเข้าใจและพัฒนาความคิดในการ Apply ความรู้ใหม่กับงานที่รับผิดชอบ
         เขียนหนังสือตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 7 โมงเช้า ได้เค้าโครงเรื่องทั้งหมด ตอนรุ่งเช้ามีนัดสัมภาษณ์ ประวิทย์ จะเขียนลง Nation และต้องเดินทางกลับเมืองไทย 11.00 น.
         ผมคิดว่าเรื่อง DD นั้นเป็นประโยชน์มากสำหรับประเทศไทยซึ่งเรามีเรื่องประชาธิปไตยชุมชนและประชาสังคมเป็นฐานอยู่พอประมาณแล้ว
         แผนงานที่คิดไว้คือการนำเทคนิค Public Deliberation และทักษะว่าด้วย Naming / Framing /Issue Booking มาใช้ในประเทศไทยโดยเฉพาะในระดับเครือข่าย “ประชาคมจังหวัด” เพราะจะทำให้งานการเมืองพลเมืองมีความทรงพลังยิ่งขึ้น เชื่อว่าหากทำได้อย่างมีประสิทธิภาพพายใน 5 ปี ข้างหน้าดุลยทางประชาธิปไตยของประเทศจะเปลี่ยนไปในทางทีดีขึ้น
                      ในชั้นนี้ผมคิดว่า DDในเมืองไทยน่าจะแบ่งเป็น 3 ระดับ
          1) ในระดับชุมชนฐานราก – ควรเป็นเรื่องกระบวนการแผนแม่บทชุมชนและสภาองค์กรชุมชนเป็นหลัก โดยมี พอช. และพรบ.สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกสนับสนุน
          2) ในระดับชนชั้นกลาง ประชาคนจังหวัด – ควรเป็นเรื่อง DD อย่างเต็มรูปแบบ โดยต่อยอดโครงการวิจัยชีวิตสาธารณะและคณะทำงานยุทธศาสตร์สังคมจังหวัดของ พม. + LDI + Civic net โดยมี พรบ.ประชาสังคมเป็นเครื่องมือ ในเรื่องนี้ควรเตรียมบุคลากรและเครือข่ายเสียตั้งแต่ที่ยังเป็น รัฐมนตรีอีก 6 เดือนนี่แหละ
          3) ในระดับสูง – ควรเป็นรูปแบบ Public Policy Process ที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและ สสส.ทำอยู่ รูปแบบคล้ายกันกับ KF มากและสามารถประยุกต์เทคนิค Naming / Framing / Issue Booking มาใช้ได้
         งานนี้ มสช. น่าจะเป็นแม่งาน โดยมี พรบ.สุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช) เป็นกลไกทำงานอย่างจริงจัง
 
11 ก.ค. – 12 ก.ค.
                      8.30 น. Bangkok post และ(Nation)ประวิทย์ สัมภาษณ์ที่ Lobby โรงแรมคำถามหลักคือ
·        คิดอย่างไรที่ร่วม ครม.ที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร (คปค.)ในขณะที่เพื่อนฝูง NGO แตกเป็น 2 สาย โต้แย้งกันหนักจนถึงวันนี้
·                   กระทรวงพม.ทำอะไรที่คิดว่าคุ้มค่ากับการเป็นรัฐบาลในสถานการณ์อย่างนี้
·                   มีความเห็นต่อกรณี(ร่าง)พรบ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)อย่างไร
         ผมให้สัมภาษณ์ไปตามสบายเพราะมีจุดยืนและทิศทางที่ชัดเจนต่อทุกคำถามอยู่แล้ว มีฝรั่งช่างภาพคนหนึ่งที่มาในงาน PPW จะคอยถ่ายภาพบันทึกรายงาน แกสนใจมากกว่าประวิทย์กำลังสัมภาษณ์ VIP ใครกันน่ะ
         11.30 น. ออกเดินทางไปสนามบินDayton กลับเร็วกว่าพรรคพวก 1 วัน เป็นการเดินทางที่ยาวนานและน่าอึดอัดมาก
 
13 ก.ค.
         6.00 น. ต้องไปส่งลูกหญิงงานรับปริญญาตั้งแต่เช้า นั่งเซนต์หนังสือที่กระทรวง” 5 แฟ้ม และพลิก Clipping ข่าวย้อนหลัง 7 วัน เพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง
         9.30 น. ไปประชุมสภาการวิจัยแห่งชาติ(วช)ที่มี นายกเป็นประธาน มีกรรมการสภา 128 คน เป็นการประชุมที่ใหญ่มาก ประโยชน์ที่ได้คือได้รับรู้และสัมผัสกระบวนการทำงานของ วช.ซึ่งเคยฟังมาว่าไม่แข็งแรงนัก งานวิจัยของประเทศยังอ่อนแอมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
         11.30 น. ออกจากห้องประชุม ตามอาจารย์ไพบูลย์มาถึงที่ทำงานโดยเดินไปคุยไปเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน คุณสิน สื่อสวนได้ให้บทความ Spotlight / Bangkok post พร้อมกับพูดว่า “อ่านแล้วค่อยมีกำลังใจ” เนื้อความพูดถึง 2 รมต. ในครม. ขิงแก่ คือ ไพบูลย์ – พลเดช ว่าเป็น 2 ผู้มุ่งมั่นบรรลุภารกิจซึ่งกำลังกอบกู้รัฐบาลชุดปัจจุบัน บทความนี้ไม่รู้ว่าใครเขียน เข้าใจว่าเป็นคอลัมนิสต์ ประจำ Section ของเขาเอง บทความกล่าวว่า 2 คนนี้ทำงานมุ่งมั่นและมีความพยายามผลักดันกฎหมายทางสังคม /และมาตรการ ที่สำคัญมากมาย ต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆและยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาผลกระทบจากนโยบายประชานิยม เช่น กองทุนหมู่บ้านและโคล้านตัวอีกด้วย ที่สำคัญบทความขยังพูดถึงกรณีแฟลตดินแดงที่ไม่มีนักการเมืองคนไหนอยากไปยุ่งด้วย แต่ 2 รมต.นี้กล้าทำและใช้วิธีการมีส่วนร่วมของชาวแฟลต ซึ่งมีท่ทีาว่าจะShape up ทิศทางการแก้ปัญหาไปจากเดิม บทความนี่พาดหัวชื่อ “Two Achievers Salvage Cabinet ”  ซึ่งผมเชื่อว่าอาจารย์ผู้ใหญ่ของผมหลายท่านคงได้อ่านและอาจมีข้อแนะนำ เพราะท่านเหล่านั้นคอยเฝ้ามองและเมตตาต่อผมเป็นพิเศษอยู่ตลอดเวลา
         พบปะน้อง นักข่าวที่ทำเนียบ กรูเข้ามาหา ผมเลี่ยงไปเดินตาม อ.ไพบูลย์ บอกสั้นๆว่าเพิ่งเดินทางกลับจาก USAเมื่อตี 2 “ง่วงมาก”ซึ่งวันรุ่งขึ้น(เสาร์)ไทยโพสต์นำไปลงคอลัมน์คนสังคมว่า “หมอพลเดชง่วงนอน !! เดินหนีนักข่าว!!!” เป็นการแซวด้วยความเอ็นดูมากกว่าจะเป็นอย่างอื่น
         13.30 น. คณะจากกองทัพภาค 4 (พล.ต.อุดมชัย)และ กก.สิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ (พี่สุรสีห์) มาพบเพื่อปรึกษาเรื่อง ที่ทางเพื่อรองรับผู้ถูกจับกุมกรณีไฟใต้ 300 คน ซึ่งเขาจะขอพึงกระทรวงพม.และแรงงาน
         14.00 น. ประชุม คณะกรรมการประสานกฏหมายของรัฐบาลที่มีอ.วรากร (รมช.ศธ.)เป็นประธาน งานกม.ของรัฐบาลเริ่มจัดขบวนได้บ้างแล้ว โดยแบ่งเป็น 3 บัญชี
ก. กม.ที่ต้องส่งถึงสนช.ภายใน 30 กย.
ข. กม.ที่ต้องส่งถึง สนช.หลัง 30 กย.
ค. กม.ที่รัฐบาลผูกพันกับ สนช.ไว้
ซึ่งในส่วนของ พม.มี ก.4 ฉบับ ข.4 ฉบับ ค.3ฉบับ และคิดในใจว่าหากว่าสามารถออกกฎหมายของพม. ได้ในรัฐบาลชุดนี้ อย่างน้อย ส่วน ก.และส่วน ค.ก็ถือว่าเกินเป้าหมายแล้ว ทำให้สบายใจขึ้นเยอะ
         16.00 น. ไปถ่ายรูปครอบครัวกับลูกหญิง รับปริญญาที่จุฬาและไปทานข้าวกับวงศาคนาญาติที่ภัตราคารแห่งหนึ่งบนถนนสาธร
 
14 ก.ค.
         10.00 น. ไปเยี่ยมการทำงานของ กคช.และชาวแฟลตดินแดงกำลังที่มีการประชุมรับฟังความต้องการชาวแฟลต โดยขอใช้ห้องประชุมชั้น 5 ของ กระทรวงแรงงานเป็นที่ประชุม มีคนร่วม 127 คน จาก 2 ตึก(800ห้อง) ข้างหน้าประตูกระทรวงมี Mobมาต่อต้านอยู่ แต่บรรยากาศในห้องประชุมดีมาก ผมพูดให้กำลังใจที่ประชุมว่า
·                   มาให้กำลังใจ ดีใจที่เห็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กคช. – ชาวแฟลต
·                   มีทุกข์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
                      กคช.ทุกข์ในฐานะดูแลตึก,อาคารให้เขาและเป็น ผู้ดูความปลอดภัย
                      ชาวแฟลตก็ทุกข์ในฐานะคนอยู่อาศัยและมีความต้องการความมั่นคงในชีวิต
·                   เชื่อมั่นว่าจะหาทางออกที่ทุกคนมีความสุขร่วมกันได้แน่
         ตัดสินใจโทรนัดหมายคุณธรรมสถิตย์ ผลแก้ว นักข่าวอาวุโสของโพส์ทูเดย์เพื่อสัมภาษณ์ในวันจันทร์เรื่อง จชต.+พรบ. กอ.รมน.
 
15 ก.ค.
         12.00 น. ไปเป็นประธานถวายผ้าไตรอุปสมบทหมู่สามเณรชาวเขา ที่วัดเบญจมบพิตร เป็นงานของกรม พส. จัดทุกปี
                      บ่ายตั้งใจเขียนบทความจาก Dayton ที่ค้างไว้ให้จบ
 
 
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
15 กรกฎาคม 2550
 

 

Be the first to comment on "ตอนที่ 46 : “สองผู้กอบกู้รัฐนาวา”"

Leave a comment

Your email address will not be published.