หลังจากปิดหีบประชามติรัฐธรรมนูญ การรายงานผลทางTVเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 19 ทำให้ต้องลุ้นอยู่ตลอดเวลา
จากเดิมลุ้นว่าจะมีเสียงโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญมากแค่ไหน กลายเป็นว่าจะชนะกันขาดหรือไม่ และจะมีจังหวัดใด ไม่เอารัฐธรรมนูญบ้าง สุดท้ายเมื่อผลชัดเจน มีเสียงของนักการเมืองและนักวิชาการออกมาวิเคราะห์กันไปต่างๆนานา การประชุมครม.กร่อยไปหน่อยเพราะไม่มีทั้งนายกฯและประธานคมช.เข้าร่วมเพราะไปราชการต่างประเทศทั้งคู่ หลังประชุมรมช.พม. สัมภาษณ์สื่อมวลชน ให้สติสังคมและองค์กรที่เกี่ยวข้อง 5 ฝ่าย รมว.ไพบูลย์เดินเครื่องฟังความเห็นหารือภาคีเรื่องพรบ.สภาองค์กรชุมชนอีกครั้ง โดยใช้ร่างของคุณมีชัย แต่บรรยากาศไม่ดีเช่นเคย สื่อรุมสัมภาษณ์ รมว.ไพบูลย์และแกนนำที่ร่วมประชุมโดยไม่เรียกหารมช. สื่อวันรุ่งขึ้นออกมาในโทนปะทะ คือ “ไพบูลย์ดันพรบ.พรบ.สภาองค์กรชุมชน” และ“อารีย์ค้านสุดตัว” สถานการณ์ยกใหม่ของพรบ.สภาองค์กรชุมชนคุกรุ่นอีกครั้ง ในขณะที่สถานการณ์ใหม่ทางการเมืองเรื่อเลือกตั้งกำลังจะมาถึง
19 ส.ค.
– ไปลงประชามติตั้งแต่เช้า , 4 คน พ่อ-แม่-ลูก ,คุณยายไม่ไป
– ก่อนนับคะแนนประชามติ ลุ้นอยู่ 2 เรื่อง 1)อยากเห็นประชาชนมาลงประชามติ เกิน 60 % 2)คาดว่าจะมีผู้เห็นชอบรัฐธรรมนูญ 70 %(70-30)
– สุดท้ายผลออกมาว่า 1)ผู้มาใช้สิทธิ 58% 2)รับรัฐธรรมนูญด้วยคะแนน 57:42 หรือ 14ล้าน:10ล้าน ผิดคาด!หลายฝ่ายผิดหวัง บางพวกดีใจ
20 ส.ค.
– เป็นวันหยุดชดเชยที่ครม.เห็นชอบตามที่ กกต.เสนอ ด้วยหวังจะแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุนประชาชนไปลงประชามติแต่ก็พิสูจน์แล้วว่าวิธีนี้ไม่มีผล
– สื่อมวลชนทุกแขนง,ทุกสำนักสนใจเรื่องเดียวคือผลประชามติ 57: 42 การที่อีสาน 17 จว.และเหนือ 7 จว.โหวตไม่รับรัฐธรรมนูญตามที่กลุ่มไทยรักไทยและนปก.รณรงค์ทำให้ตีความกันว่าเป็นชัยชนะของกลุ่มคนรักทักษิณที่ยังคงรักษาฐานมวลชน “ประชานิยม”ไว้ได้ในระดับพื้นที่ และพร้อมที่จะกลับเข้าสู่อำนาจ อีกครั้ง ในขณะเดียวกันมีผู้มอบว่าฝ่ายคมช.และรัฐบาลเพลี้ยงพลั้ง ไม่สามารถขจัดซึ่งอำนาจเก่าและความนิยมในตัวคุณทักษิณได้ในช่วงเวลา 1 ปี ของการบริหารประเทศ
– กลุ่ม ทรท./รักทักษิณ เหิมเกริม ประกาศกร้าวจะกลับมาเป็นรัฐบาลและจะออกกฏหมายนิรโทษกรรม 111 นักการเมืองให้ได้ การรวมตัวก่อตั้งเป็นพรรคใหม่โดยtake over พรรคพลังประชาชน(พปช)คือการประกาศเจตนารมณ์ชัดเจน และกล้าแสดงความสุดขั้วยิ่งขึ้นโดยดึงสมัคร สุนทรเวช มาเป็นหัวหน้าพรรค
– 18.00 น. ไปงานแต่งงานลูกสาว พลเอกศิริ ทิวะพันธุ์ ที่สโมสรทัพบก ถ.วิภาวดี ,วณีไปด้วย,เจอนักการเมือง และรมต.เก่าของไทยรักไทยหลายคน
21 ส.ค.
– 9.00 น. ประชุมครม.ครั้งนี้ ไม่มีนายกฯนั่งเป็นประธานเพราะไปต่างประเทศ,เช่นเดียวกับประธานคมช. จึงไม่มีประชุมนอกรอบ ,รองฯโฆษิตเป็นประธานที่ประชุมแทน มีวาระพิจารณา 16 วาระเท่านั้น การประชุมเลิก 11.30 น.
– กินก๋วยเตียวชามเดียวหลังประชุมครม.เพราะยังไม่ทันหิวเลย ออกมาที่บันไดตึกสลค. ผู้สื่อข่าวมาดักรอหาข้อมูล พวกเขาไม่ได้ข่าวอะไรจากรมต.ท่านใดเลย ผมให้สัมภาษณ์หลายประเด็น
1) ครม.ไม่ได้คุยเรื่องผลการลงประชามติในลักษณะวิเคราะห์ใคร แพ้-ชนะ แต่แลกเปลี่ยนเรื่องโปรแกรมการทำงานของ ครม.ชุดนี้ว่าการเลือกตั้งควรเป็น16หรือ23 ธ.ค และน่าจะมีรัฐบาลใหม่ราวปลาย กพ.51
2) ถูกถามว่ามีความเห็นอย่างไรต่อผลประชามติ ผมให้แง่คิดว่า
· ดีใจที่ทุกฝ่ายยอมรับผลประชามติ ไม่ตีรวน บ้านเมืองจะเดินไปสู่การเลือกตั้งได้
ผลประชามติเป็น57:42 ก็ดีเพราะเป็นตัวเลขที่ให้สติแก่ทุกฝ่าย ไม่มีใครต้องผิดหวังมาก และไม่มีใครต้องลิงโลด
3) มีความเห็นว่าประชามติ 57:42 ช่วยเตือนสติคน 5 กลุ่ม ได้แก่
· ครม.ควรได้สติว่า “ปชช.ไม่พึงพอใจผลงานรัฐบาลเท่าใดนัก”
· สสร. ควรได้สติว่า “ปชช.ยังเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่ใช่ร่างที่ดีนัก”
· นปก. ควรได้สติว่า “14ล้านที่หนุนรัฐธรรมนูญเป็นเสียงที่มีจำนวนมากมากนะ และ 10 ล้านที่ต้านรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่รักทักษิณทั้งหมดนะ!
· นักการเมือง/พรรคการเมือง ควรได้สติว่า “ถึงเวลาที่ต้องแสดงบทบาทแล้วแต่คราวนี้ เป็นการแสดงบทบาทในสภาพที่สังคมไทยแตกเป็น 2 เสี่ยง 2ขั้ว คุณจะทำการเมืองอย่างไรให้ประเทศมีความสมานฉันท์ มีความถูกต้องเป็นธรรม มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา / ประชาชน”
4) ถามว่ารัฐบาลจะมีการลงโทษผวจ.จังหวัดvote noไหม – ตอบว่าไม่น่าจะมีและไม่ควรจะมี
5) ถามว่าจะมีฉลองรัฐธรรมนูญใหม่-ตอบว่าถ้ามีก็ไม่ควรใหญ่โต ทำแบบพอประมาณหรือไม่มีดีกว่า
– 15.00 น. คณะตัวแทนสภาสมาคมคนพิการเข้าพบเพื่อหารือเรื่องการจัดการโควต้าสลาก 60,000 ฉบับ ที่กรรมาธิการสนช.จะผลักดันมาให้พม. กลุ่มนี้มีidea สร้างสรรค์ดี พวกเขาเป็นพวกที่ไม่เคยได้โควต้าแต่เป็นผู้ที่ขายสลากด้วยการขอซื้อต่อมาอีกทอดหนึ่ง พวกเขามีศักยภาพที่จะช่วยพม.ได้ และขอ 20,000ฉบับ โดยจะให้รายได้จาก 2% กระจายเป็น 3 ส่วน 0.5%ให้ พม.,0.5% ให้สภาเพื่อการจัดการ และ 1.0 %ให้เข้าแต่ละสมาคม
– 16.00 น. กลุ่มองค์กรชุมชนสายหนึ่ง มาพบเพื่อสัมภาษณ์บันทึกDVDรายการ “คุยกับหมอพลเดช เรื่องบ้านเมือง” เพื่อไปเผยแพร่ทางสื่อชุมชนในเครือข่าย
22 ส.ค.
– 8.30 น.ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง 2 ,มี2 วาระ เท่านั้น ,เจอ ดร.กิติวัฒน์ (ที่ปรึกษารองนายกฯไพบูลย์ )เข้ามาบอกว่า “คุณหมอสัมภาษณ์เจ็บ! แขวะรัฐบาลด้วย?” “แต่ว่าชัดเจนดี ให้สติทุกฝ่าย”
หลังประชุมนักข่าวดักรออีก ถามเรื่องผลการประชุมคณะกรรมการ 2 จึงต้องทำหน้าที่เป็นโฆษกคณะกรรมการไปเลย อธิบายว่าเรื่องการบูรณาการระดับจว.ตามที่เสนอ “อุตรดิตถ์Model”เป็นอย่างไร
· เป็นความริเริ่มของรองนายกฯไพบูลย์ต้องให้credit ท่าน เพราะท่านพยายามทำสิ่งที่เป็นinfrastructure ที่มีประโยชน์ในระยะยาว ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ยากและไม่ได้คะแนนนิยม
· รัฐบาล/สนช. กำลังพิจารณากม.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ที่จะให้ผวจ./จว.สามารถตั้งงบประมาณประจำปีได้ ซึ่งส่วนนี้ต่อไปจะลงมาแทนที่งบผู้ว่า CEOเดิม และงบ.สส.ที่มุ่งเป็นเครื่องมือการเมือง
· ขณะเดียวกันmodelนี้จะช่วยประสานบูรณาการโดยมี 3 loops
Loop2 เป็นขั้นการจัดสรรงบประมาณส่วนกลาง
Loop3 เป็นขั้นการปฏิบัติที่เสริมกับแผนแม่บทชุมชน
– 14.00 น. ประชุมมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์,เป็นการรายงานผลงานโครงการส่งเสริมปอเนาะเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง ,วันนี้พี่ประยุทธ(พลโทประยุทธ์ จันทร์โอชา –แม่ทัพภาค 1) ซึ่งเป็นประธานไม่มา หมอพลเดชต้องทำหน้าที่แทน โครงการฯสำเร็จแล้ว 90%ตั้งใจว่าจะเชิญประธานสานใจไทยสู่ใจใต้ (พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์) ไปวันมอบและให้กำลังใจชุมชนช่วงเดือน ต.ค.
– 18.00 น. รองนายกฯไพบูลย์ ปรึกษาเรื่อง พรบ.สภาองค์กรชุมชน ,เชิญผู้นำ 3 สมาคมอปท.มาทานข้าวเย็นและปรึกษากัน หยั่งเสียงดูแล้วมีแรงต้านมาก ผมนึกในใจว่า “มีความเชื่อ,ทฤษฏีที่ต่างกัน!อย่าไปพยายามโต้แย้งด้วยเหตุผลเลย” พรุ่งนี้ที่ประชุมจะออกมาอย่างไรคงคาดเดาได้ไม่ยาก
23 ส.ค.
– 9.30 น. ออกรายการ TV9 “ภัยรายวัน”พิธีกรคุณถวัลย์และนิรชา เนื้อหาเรื่อง พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว “โดยมีcaseจาก ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ที่ผู้หญิงถูกสามีซ้อม ลงข่าวหน้าหนึ่งและcaseตัวอย่างเหยือที่มาร่วมรายการ
– พรบ.ฉบับนี้ถือเป็นผลงานเชิงสร้างสรรค์ของ พม. อีกฉบับหนึ่ง ที่ได้รับการกล่าวขาน จากสังคม/สื่อมวลชน ประกาศออกใช้แล้วโดยพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 14 ส.ค. 50 นี่เอง
– ยังมีอีกฉบับหนึ่งที่เป็นพรบ.เชิงส่งเสริม คือ พรบ.ส่งเสริมเป็นครอบครัว พศ….ซึ่งกำลังอยู่ใน ขั้นกฤษฏีกาและจะต้องเข้าสนช.ภายใน 30 กย.นี้
– 11.00 น. เสร็จจาก TV9 รีบรุดมาร่วมประชุมเวที พรบ.องค์กรชุมชนที่รร.แอมบาสเดอร์ ที่นั่นมีรองฯไพบูลย์เป็นประธาน ,มีดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นmoderator บรรยากาศเต็มไปด้วยความตึงเครียดเพราะมีการdebateระหว่างฝ่าย อปท. ซึ่งต้านกับฝ่ายชุมชน – นักวิชาการที่เชียร์ อ.ไพบูลย์ถึงกับพูดในที่ประชุมว่า “เสียใจมาก” ที่อปท.กล่าวหาว่าพม.มีลับลมคมในและไม่น่าไว้วางใจ จึงขอให้ตัดพม.ออกจากกม.นี้ก็ได้!!.
– ผมสรุปประเด็นไว้ในใจ โดยที่ไม่ต้องการพูดในเวที แต่จะขอพูดผ่านสื่อเพื่อให้คนฟังในวงกว้างในภายหลัง
· เรื่องพรบ.สภาองค์กรชุมชนนี้ ไม่ใช่ความพยายามผลักดันของพม.แล้ว แต่เป็นเรื่องของเครือข่ายองค์กรชุมชนผู้ยกร่างฯเขาผลักดันผ่านสนช.(ภายหลังจากที่เขาพึ่งรัฐบาลไม่ได้)
· เป็นความขัดแย้งในแนวคิดแนวทางระหว่างฝ่ายปกครอง(กระทรวงมท.และอปท.)กับฝ่ายประชาชนผู้ต้องการกำหนดตนเอง/เข้มแข็งด้วยตนเองกระทรวงพม. องค์กรชุมชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และสนช. ซึ่งอยู่บนพื้นฐานทฤษฏีความเชื่อต่างกัน ….ฝ่ายแรกเชื่อว่าการมีพรบ.นี้จะทำให้เสียการปกครอง,สับสนในสายการปกครอง-บริหารท้องถิ่น-รัฐ อันจะนำมาซึ่งความแตกแยกส่วนฝ่ายหลังเชื่อว่าพรบ.นี้จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง-ท้องถิ่นมีธรรมาภิบาล,ปชช.ดูแลตนเองได้ดี ,ช่วยท้องถิ่นได้และจะนำมาซึ่งการเมืองเชิงสมานฉันท์ในระดับท้องถิ่นได้
· ความขัดแย้งในทางทฤษฏีความเชื่อไม่ใช่เรื่องแปลก…และวิธีการอธิบาย/โต้แย้ง/เอาชนะด้วยเหตุผลไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ต้องยึดหลักการใน “ความเคารพและให้ที่ยืนซึ่งกันและกัน” จะดีกว่า…..แล้วทุกฝ่ายจะมีความสุขและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ ……..แต่ละฝ่ายจะเปลี่ยนความเชื่อก็ด้วยตัวของตัวเองเท่านั้น!!.
· พม.จะไม่ทะเลาะกับใครเลย …..ไม่ปราถนาให้ใครมาทำให้ครม.เกิดความแตกแยกทั้งสิ้น……..ขอให้เป็นดุลยพินิจของครม.ทั้งคณะโดยมีนายกฯเป็นผู้นำ……ว่าท่านจะตอบสนช.กลับไปอย่างไร ……มติครม.ว่าอย่างไรพม.ก็ถือตามนั้น
· คำตอบที่ครม.จะให้แก่สนช.(ภายใน 13 กย.) มีได้ 3 ทางเท่านั้น
1) ตอบไม่เห็นด้วยในหลักการ และไม่ขอเสนอร่างฯฉบับรัฐบาลไปประกบ
2) ตอบเห็นด้วยแต่มีข้อสังเกตุ และขอเสนอให้สนช.ใช้ ร่างฯของครม.เป็นหลัก
3) ตอบเห็นด้วยในหลักการทุกอย่างและให้ใช้ร่างฯสนช.ไปเลย
· ถ้ารัฐบาลตอบ 1) …ภาพความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสนช.เกิดขึ้นทันที และสนช.สามารถออกกม.ของตนได้เลยตามกระบวนการ ซึ่งผลงานความสำเร็จ/ล้มเหลว ดี/ไม่ดี …เป็นของสนช.รับไปทั้งหมด
· ถ้ารัฐบาลตอบ 2) รัฐบาลกับสนช.ไม่มีภาพความขัดแย้ง,รัฐบาลไม่เสียฟอร์มและผลงานเกิดขึ้นเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย
· ถ้ารัฐบาลตอบ 3)ไม่มีความขัดแย้งและผลงานที่ได้เป็นของสนช. รัฐบาลเสียฟอร์มนิดหน่อย
· การจัดประชุม23 ส.ค นี้คือความพยายามที่จะชวนภาคีทุกฝ่าย ทุกขั้วมาช่วย กันคิดและหวังว่าจะเสนอให้รัฐบาลตอบตาม 2)
· พม. มีภารกิจส่งเสริมสนับสนุน ชุมชนเข้มแข็ง และท้องถิ่นเข้มแข็งอย่างแน่วแน่มั่นคง แม้ว่าจะมีความไม่เข้าใจและไม่พอใจที่เนื่องมาจากเรื่องนี้ พม.ไม่ถือจะเป็นอารมณ์ใดๆ
เรื่องชุมชนเข้มแข็งนั้น พม.ทำงานกับ องค์กรชุมชน 80,000 องค์กรทั่วประเทศซึ่งใน จำนวนนี้พอช.รับรองความเป็นองค์กรชุมชนแล้ว35,000องค์กร และองค์กร/เครือข่าย องค์กรชุมชนเหล่านี้แหละที่ต้องการพรบ.ฉบับนี้ และเขาผิดหวังที่พม.ผลักดันผ่านครม.ไปไม่สำเร็จ จนพวกเขาต้องหันไปพึ่ง สนช. ตามกติการัฐธรรมนูญ 2549 อย่างไรก็ตามพม.ยังคงต้องทำงาน/สนับสนุนพวกเขาต่อไป
ด้วยเหตุผลที่พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว พม.มีจุดยืนที่เห็นว่าพรบ.ฉบับนี้,มีประโยชน์ต่อสังคมไทยทั้งระดับชาติ-ท้องถิ่น และมั่นใจว่าจะไม่ทำให้สังคมแตกแยก แม้ช่วงแรกจะแตกตื่น-ขัดใจ-หวาดระแวง แต่เชื่อมั่นว่าในระยะยาวเครื่องมือนี้จะสร้างสังคมสมานฉันท์ได้
แต่การผลักดัน(ร่าง)พรบ.ต่อไปนี้เป็นเรื่องของภาคปชช./องค์กรชุมชนและสังคม กระทรวงพม.ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในครม.หยุดการขับเคลื่อนมาตั้งแต่มติครม. 7 ส.ค 50 แล้ว
เวที 23 ส.ค. ไม่ใช่พม.ต้องการผลักดันกม. แต่เป็นงานที่ พม.ต้องการช่วยรัฐบาลหาทางออก หาคำตอบที่จะต้องให้แก่ สนช.ตามกำหนด ….ซึ่งคิดว่าคำตอบแบบที่ 2) น่าจะดีแก่ทุกฝ่าย…แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครม.
– 14.00 น. ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ รมช.ทำหน้าที่ประธานแทนรองนายกฯเปิดประเด็นสำคัญดังนี้
· งานผส.ในประเทศจีน ที่มีคณะดูงานไปเมื่อเดือนที่แล้ว น่าสนใจศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้
· เรื่องเบี้ยคนชรา แบบถ้วนหน้า น่าสนใจ แต่ก็เป็นภารงบประมาณมาก ควรคิดให้รอบคอบ (ที่ผ่านมาให้คนละ 300 เพิ่มเป็น 500/คน/เดือน,ให้ได้ไม่ครบ,เป็นปัญหากับท้องถิ่นมากเพราะทุกคนต่างเรียกร้องสิทธิ,ถ้าจะให้หมดทุกคนก็ต้องมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนเช่น 60+,65+,70+,75+,80+,ฯลฯ และอาจให้จำนวนน้อยเช่น 300/คน/เดือนก็พอ) เรื่องนี้ขอให้เป็นเรื่องในรัฐบาลหน้า
· ระบบออมเพื่อชราภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วมน่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า
– 17.00 น. สัมภาษณ์รายการหน้าต่างสังคม …ทางวิทยุ…พูดเรื่องโครงการพัฒนาเครือข่ายหอพักที่จ.พิษณุโลก…ที่ไปเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ก่อน
· สิ่งที่พวก มท./ อปท.เข้าใจผิดอย่างหนึ่งคือ ชุมชน/หมู่บ้าน กับองค์กรชุมชน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน …เช่นเดียวกับ ท้องถิ่นกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ชุมชน/หมู่บ้านในความหมายของ กม.การปกครองนั้นถือเป็น
หน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด…ที่เป็นกลไกการปกครองของ อปท./มหาดไทย…..ซึ่งแม้มีกม.สภาองค์กรชุมชนก็มิได้ไปขยกเลิก,แย่งบทบาท,หรือสร้างความสับสนกับหน่วยการปกครองดังกล่าว เพราะพรบ.นี้จะไปส่งเสริมบทบาท “องค์กรชุมชน”ในการพึ่งตนเอง,พึ่งกันเองเป็นหลักเท่านั้น ไม่ได้ยุ่งกันเรื่องการปกครอง
ท้องถิ่น คือพื้นที่และประชากรไม่ใช่มีอปท.เป็นเจ้าของเท่านั้น,ประชากรเขาปกครองดูแลตัวเองได้ด้วย ,การรวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชนในแต่ละท้องถิ่น เพื่อพัฒนาชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นจึงไม่ใช่ความผิด แต่เป็นสิทธิของเขา
24 ส.ค
– ไปราชการที่จ.นราธิวาส,เปิดโครงการบ้านมั่งคงที่ชุมชนกาแลตกแป ในเขตเมืองนราธิวาส ,อยู่ริมน้ำบางนรา ,locationสวยงามมาก ,ชุมชนเริ่มเข้มแข็ง
– นายกฯไปเป็นประธาน,รมช.พม.กล่าวรายงานโดยชี้ให้เห็นว่าใน 3 จชต.,กระทรวงพม.และพอช.มีงานเครือข่ายองค์กรชุมชน 550 องค์กร มีโครงการบ้านมั่นคง 19 โครงการ 5500ครัวเรือน ,มีเครือข่ายประมงพื้นบ้าน,เครือข่ายแก้ปัญหาที่ดินทำกิน……ภาพวันนี้ทำให้ฝ่ายนโยบายและบริหาร….คือนายกรัฐมนตรี, ผอ.ศอบต. ผวจ.เห็นศักยภาพงานชุมชนของ พม./พอช.แสดงให้เห็นว่าเครดิตของพม.และพอช.ในงานจชต.สูงเด่นอย่างยิ่ง วันนี้ทำให้ผมคิดถึงภาพการรุกในทางยุทธศาสตร์ด้านชุมชนใน 3 จชต.ทีเดียว !!
– ระหว่างนั่งรถตู้เดินทางกลับจากนราธิวาส….นสพ.สยามรัฐโทรมาสัมภาษณ์เรื่องพรบ.สภาองค์กรชุมชน (เป็นไปตามที่คาดเป๊ะเลย!) ผมจึงได้ขยายมุมมองให้ฟังตามสมควร ผู้ตรวจราชการพม.ฟังอยู่ในรถถึงกับบอกว่า “จบแล้ว ….ท่านอารีย์จบแล้ว…ไม่ต้องรอถึงวันจันทร์ พรุ่งนี้ก็ฮือฮาอีกแล้ว”
– ไปเยี่ยมชุมชนศก.พอเพียงที่พระราชินีท่านพาแม่หม้าย 3 จชต.มาอยู่รวมกันที่นราธิวาส ….เป็นชุมชนที่มีผู้อุปถัมภ์มาก…..มีสหกรณ์ร้านค้า…..รมช.พม.จึงร่วม
– เป็นสมาชิกไปกับเขา1000 บาท(10หุ้น)
25 ส.ค.
– ไปราชการที่จ.เชียงราย ….ไปฟังการสรุปบทเรียนของเครือข่ายเวทีประชาชนโดยชุมชน 8จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เขต 10) พวกเขาเข้มแข็งมากที่สุดในบรรดาเขตต่างๆทั่วประเทศ…ได้ชี้ประเด็นทางยุทธศาสตร์ของงานพม./กก.ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมระดับจังหวัด…..ว่าถึงเวลาที่จะรุกเพื่อยกระดับ,ศักยภาพทั้งระดับกลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย(เรื่องนี้จะบรรยายละเอียดอีกทีในช่วงงานมหกรรมพม.ปลาย กย.50)
– ไปเยี่ยมอบต.แม่สลองบนและชุมชนบนดอย9เผ่า มีความเข้มแข็งพอประมาณ…ปชช.80,000 คนของอ.แม่สลอง มีบัตรปชช./สัญญาติเพียง 35,000เท่านั้น
– ขากลับคุยกับพมจ.เชียงราย,เป็นคนหนุ่มที่มีความรู้ มีไฟในการทำงาน และมีวิชาการพอสมควร น่าที่จะเป็นกำลังสำคัญของพม.ในอนาคตจึงมอบหมายให้ทำแผนพัฒนาระบบฐานข้อมูล-IT-GISของพม.ทุกจังหวัดในปี 51
– ลงจากเครื่องบินที่ดอนเมือง วณีไปรับเพื่อที่จะไปต่อในงานสวดโภชฌงค์ต่ออายุให้พี่สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ซึ่งเป็นมะเร็งปอดครบ 4 ปีพอดี พี่สงวนมีแผนจะไปท่องแดนพุทธภูมิที่อินเดียปลายปีนี้
– ได้พบกับ หมอมิ้งและหมอเลี๊ยบในงานพี่สงวนด้วย ทักทายกันฉันท์พี่น้องตามปกติ มิ้งบอกว่า “พี่หนุ่ยอย่าเข้าข้างรัฐบาล/คมช.ดีกว่า พี่อยากทำอะไรที่พี่ชอบก็ทำไปเถอะ” (แต่ขออย่ามายุ่งเรื่องนี้!!) ผมได้แต่ฟัง และนึกในใจว่าพวกสาวกแม้วนี่ยังผยอง และไม่เคยสำนึกในความผิดพลาดอะไรเลยแม้แต่น้อย เรื่องนี้ตัวใครตัวมัน ยืนคนละจุดแม้จะเป็นพี่น้องก็จำเป็น
พลเดช ปิ่นประทีป
Be the first to comment on "ตอนที่ 52 ประชามติ 57:42"