30 กันยายน 2550
สัปดาห์นี้ท่านนายกฯไปสหรัฐอเมริกายังไม่กลับ รองนายกฯ ไพบูลย์ รักษาการแทน และต้องเป็นประธานประชุม ครม.
ด้วย กระแส รมต.ถือหุ้น 5% ยังคงแรงไม่หยุด และลามไปถึง รมต.อีก 4 ท่าน คือ 1) รมว.สธ. (มงคล) 2) รมว.ทส. (เกษม) 3) รมช.ต่างประเทศ (สานิตย์) 4) รมช.คลัง (สมหมาย) … การประคับประคองรัฐบาลในรอบสัปดาห์ จึงเป็นช่วงที่ยาวนานมากของอาจารย์ไพบูลย์ … จนในที่สุด รมต.เกษม และ รมต.สานิตย์ ตัดสินใจลาออกไปอีก ส่วนที่เหลือ ไม่ ! เพราะมั่นใจว่ามีคำตอบสังคมได้ทุกประการ หลังงานมหกรรมรวมพลคนสร้างสรรค์สังคมของ พม. รองนายกฯ ไพบูลย์ ต้องรีบไปรับนายกที่สนามบินสุวรรณภูมิและปิดห้องคุยกัน 40 นาที เพื่อให้ท่านเข้าใจสถานการณ์ก่อนที่จะออกมาแถลงข่าว
24 กันยายน 2550
– เวลา 09.00 น. เป็นประธานประชุม Workshop APCD มี ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร มาร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมได้นำเสนอ Model การจัดโครงสร้าง APCD เพื่อเตรียมเสนอ ครม.
– สื่อมวลชนเสนอข่าวจากปปช.ว่ายังมีรัฐมนตรีอีก 4 คน ที่เข้าข่ายถือหุ้นเกิน 5% ได้แก่ นพ.มงคล(รมว.สธ.), นายเกษม(รมว.ทส.), นายสานิตย์(รมช.กต.) และนายสมหมาย(รมว.คลัง) ซึ่งต่อมา รมต.สานิตย์ และ รมต.เกษม ลาออกไปอีก 2 คน รวมความแล้วระหว่างที่นายกสุรยุทธ์ไป USA เที่ยวนี้เพียงแค่ 1 สัปดาห์ก็มี รมต.ลาออกไป 5 คนแล้ว !
25 กันยายน 2550
– ที่ประชุม ครม. ค่อนข้างเหงา เพราะขาด รมต.ไป 5 คน ไม่รวมท่านนายกฯ/รองฯโฆษิต/รมต.นิตย์ ซึ่งไม่อยู่ การประชุม ครม. พิจารณาเรื่อง Routine ไปจนเหมด เรื่องสถานการณ์การเมืองคุยกันนอกรอบอย่างเข้มข้น
– มองสถานการณ์ว่าเป็น plot ของฝ่าย สนช. และปปช.-สายพันธมิตรฯ ที่เปิดเกมเพื่อรุกให้นายกฯสุรยุทธ์ ลาออก เพื่อขัดขวางหรือยืดเวลาการจัดเลือกตั้งออกไปจาก 23 ธันวาคม ตามที่ประกาศไว้
– หลัง ครม. รมช.พม. เริ่มพูดถึงความพยายามที่จะล้มรัฐบาลโดยให้นายกฯลาออก และขอให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ความจริง ซึ่งได้ผลระดับหนึ่งเพราะขบวนรุกฆาตนายกฯเริ่มต้องตอบคำถามสังคมว่า “ทำไปทำไม? ”
– เวลา 15.00 น. ไปเปิด/บรรยาย Workshop “ค้ามนุษย์” ที่ NIDA อ.วิชัย รูปขำดี เข้ามาทักทาย และพูดถึง รมต.อารีย์ ลาออกด้วยความ “สะใจ”
– เวลา 17.00 น. ทานข้าวเย็นกับทีมที่ปรึกษาและสื่อมวลชน สื่อมากันมาก แต่ที่ปรึกษาการเมืองไม่มา (สนธิญาณ, อนุชาติ, สมศักดิ์, ทวีศักดิ์) บรรยายกาศดีมาก รมช.พม.เปิดฉากว่า “ 3 เดือนนี้จะไม่ปกป้องรัฐบาลแล้ว แต่จะขอดูแลงาน พม.และสังคมในช่วงสุดท้ายให้บรรลุเป้าหมายมากที่สุด”
– สื่อส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่มีบางคนบอกว่า “ไม่อยากให้ทิ้งรัฐบาล”
– เวทีให้ข้อแนะนำดีๆ หลายเรื่อง รวมทั้งอยากให้ช่วยทำการเลือกตั้งโปร่งใส ยุติธรรม
26 กันยายน 2550
– ไปพิษณุโลกงานสัมมนาวิชาการประจำปีของศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลพุทธชินราช
– เวลา 09.00 – 10.00 น. เปิดงาน/บรรยาย “ชุมชนกับการพัฒนาทางการแพทย์” มีแพทย์พยาบาล, อาจารย์, นักศึกษา มาฟังเต็มห้อง เขาเชิญไปเพราะคงเห็นว่าเป็น รมต.คนพิษณุโลก และผมเป็นศิษย์เก่าโรงพยาบาลพุทธชินราชด้วย แฟนเก่าๆ มาฟังกันมาก คงอยากพบ
– เวลา 11.00 น. เปิดงานสัมมนา “กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว” สค.เป็นแม่งานจัดเวทีประชาสัมพันธ์กฎหมายที่ออกใหม่ เครือข่ายมาฟังกันมากจนเต็มห้อง เป็นเวทีของภาคเหนือ
– เวลา 14.00 น. ไปกำแพงเพชร พมจ., ผู้ว่าราชการจังหวัด, อบจ., วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรจัดงานมหกรรมสวัดสิการชุมชน เครือข่ายที่นั่นเข้มแข็งดีมาก มีทั้งกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม, ออกร้าน, นิทรรศการ
– เวลา 17.00 น. กลับมาจากพิษณุโลก ไปร่วมกิจกรรมลงนาม MOU ระหว่าง พมจ. และ อบต. 4 อำเภอ จะทำสวัสดิการท้องถิ่นร่วมกัน เปิดป้าย อบต.มะขามสูง
– เวลา 19.00 น. ไปที่บ้านแควน้อย มวลชนชาวบ้านจัดงานต้อนรับ รมต.คนแควน้อยอย่างยิ่งใหญ่ ชาวบ้านดีใจกันมาก แม่ (คุณย่า) ไปร่วมงานด้วย ท่านพลเอกศิริ ทิวะพันธุ์ ไปอยู่ตลอดงาน
– เวลา 22.00 น. กลับ กทม. พร้อมพาคุณย่ามาตรวจสุขภาพที่ กทม.
27 กันยายน 2550
– เวลา 09.00 น. รมต.ด้านที่อยู่อาศัยจาก Australia พาคณะมาพบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล-ทัศนคติกัน
– เขาเคยเป็นนักธุรกิจบ้าน-ที่ดินก่อนมาเป็น สส. และเป็นรัฐมนตรี จึงมีมุมมองที่เฉพาะ แต่ก็เพียงแค่แลกเปลี่ยน Idea ทั่วไปเท่านั้นว่า เรื่องบ้านผู้มีรายได้น้อยและผู้มีรายได้ปานกลาง เรามี พอช. และ กคช. ดูแล ตอนสายเขาไปพบ กคช.ต่อ
– เวลา 11.00 น. แถลงข่าวการจัดงานวันผู้สูงอายุสากล (1 ตุลาคม) ซึ่งจะจัดที่เชียงใหม่ 2 วัน มีงานวิชาการวันแรก และงานวัฒนธรรม (สืบชะตาหลวง) จำนวน 1,000 คนมาที่วัดสวนดอกเพื่อสืบชะตาให้ในหลวง
– ชมรม/สมาคม/มูลนิธิผู้สูงอายุเชียงใหม่เข้มแข็งที่สุดในบรรดาจังหวัดต่างๆ มี ศ.นพ.พงษ์ศิริ ปรารถนาดี เป็นแกนนำ และมีคณะแพทย์ศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เป็นฐานสนับสนุน
– เวลา 13.30 น. ทันพงษ์มาพบเพื่อเสนอกรอบแนวคิดหนังสือผลงาน 1 ปี รมต.พม.
– เวลา 14.30 น. สัมภาษณ์วิทยุงานรวมพลคนสร้างสรรค์สังคม
– เวลา 17.00 น. ประชุมแก้ปัญหาอาคารทรุดโทรม, เป็นความพยายามของทีม รมว.ไพบูลย์ และทำเนียบที่เชิญ กคช. มาประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งโยธา, กทม., กรมทรัพยากรธรณี, ทหาร, สันติบาล เพื่อดูปัญหาแฟลตดินแดง แล้วประชุมต่อเรื่องบ้านเอื้ออาทร และมหกรรมที่อยู่อาศัยสากล วันที่ 1-7 ตุลาคม
แฟลตดินแดง กคช.ให้คณะสังคมสงเคราะห์ มธ. มาช่วยสำรวจ/วิจัยความต้องการชาวบ้านเป็นรายห้อง รายตัว และเสนอทางเลือก
โครงการบ้านเอื้ออาทร จะนำแผน (แก้ปัญหาทั้งระบบ) เข้าเสนอ ครม.ภายใน 1 เดือน
การเคหะแห่งชาติจะเสนอออกระเบียบสำนักนายก ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
28 กันยายน 2550
– เวลา 08.30 น. สัมภาษณ์วิทยุรายการหน้าต่างสังคมเรื่องงานมหกรรมฯ
– เวลา 09.30 น. พบทีมการ์ตูนที่จะจัดมหกรรมติดขัดงบประมาณ สั่งการให้ใช้งบประมาณจาก กสค. สนับสนุน
– เวลา 10.30 น. ทีมกันตนาและฝ่ายบริหาร สป.มาพบ ตัดสินใจเรื่องละครทีวี “รายากูนิง” มีปัญหากับคุณสุรางค์ เปรมปรีด์ เจ้าแม่ช่อง 7 สี จึงตัดสินใจย้ายมาลงที่ TITV เป็นละครก่อนข่าวภาคค่ำ 1 ชั่วโมง จำนวน 30 ตอน, ลงนาม TOR ได้เลย, เดือนตุลาคม เริ่มประชาสัมพันธ์, พฤศจิกายนจะเริ่มออกอากาศแน่ นี่ชิ้นงานโบว์แดงอีกชิ้นหนึ่งของ พม. !!
– เวลา 14.00 น. แถลงข่าวงาน World Habitat Day
– เวลา 16.00 น. ประชุม อกพ.กระทรวง มีประเด็นสำคัญ
ตำแหน่ง พมจ. ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็น 9 บส.ได้หมด แต่ปีนี้ได้เพิ่มแค่ 5 แห่ง จึงขอให้ทำแผนครบทั้ง 75 จังหวัดภายใน 3 ปี
ตำแหน่ง 9 บส. ที่ได้มานี้จะต้องยุบตำแหน่งเล็กๆ มารวมกัน 10 ตำแหน่งเป็นเงินเดือนประมาณ 2 แสนบาท
ฝากให้ พม.ศึกษา Scenario เรื่องตำแหน่งและบุคลากร พม.ที่จะเกษียณพร้อมในภายใน 5 ปีข้างหน้า
29 – 30 กันยายน 2550
– งานนวัตกรรม พม. (รวมพลคนสร้างสรรค์สังคม) ที่ Impact เมืองทองธานี ผู้คนมาแน่นห้อง เป็นภาพที่มีพลังมาก รองนายกฯ ไพบูลย์ ไปเป็นประธานเปิดงาน
– ห้องวิชาการจัดได้ดีทีเดียว ทุกห้องมีคนประมาณ 100 คน ทั้ง 6 ห้อง ทั้ง 2 วันรวม 12 เรื่อง
– นิทรรศการของกรมต่างๆ และ กคช. พอช. คึกคักดี การเคหะก็มีคนสนใจมากจนเกินเป้าหมาย
– น่าดีใจที่ พม. รวมพลังทั้งในกระทรวง และเครือข่ายได้ขนาดนี้
– งาน Exhibition ไม่สมบูรณ์นักเพราะเวลาเตรียมงานสั้น และ organizer จนปัญญาทำได้ทัน แต่โดยรวมถือว่าน่าประทับใจมาก !!
– Reflection จาก นวก. มอง พม. ก็ดีมาก มี ดร.กฤตยา, ดร.สุริชัย, คุณครูยุ่น, คุณเพลินใจ (แม่สอด) มาร่วมอภิปราย
Be the first to comment on "ตอนที่ 57 สัปดาห์ที่ยาวนาน"