3 พฤศจิกายน 2550
————————————————————————————————
สัปดาห์นี้ กระแสกดดันจากภายนอกกระทรวง พม. เรื่องปลัด พม.เริ่มซาลง คอลัมนิสต์ไม่มีฉบับใดที่วิพากษ์วิจารณ์ รมช.พม.ในทางประมาทหน้าแบบแต่ก่อน แต่ฝ่ายนักข่าวยังพยายามเจาะความคืบหน้าอยู่เป็นระยะ
ทำให้ยังประมาทสถานการณ์ไม่ได้ รมช.พม.ยังคงรุกคืบออกไปด้วยการเปิดเวทีราชวิถีฟอรั่ม การตั้งคณะกรรมการศึกษาพัฒนาธรรมาภิบาล และการตั้งเป้าจัดกระบวนการประมวลจริยธรรม พม. ให้เป็นรูปธรรม
สัปดาห์นี้น่าสังเกตว่าสื่อมวลชนหลายฉบับเริ่มพาดหัวข่าวของ “พลเดช” แทนที่จะเป็น “รมช.พม.” อย่างแต่ก่อน และกิเลนประลองเชิงแห่งไทยรัฐ (หน้า 3) เขียนถึง “หมอพลเดช” ในฐานะ “คนเดือนตุลา หนึ่งเดียวใน ครม.ขิงแก่”
รมช.พลเดช เดินหน้า 3 ภารกิจในโค้งสุดท้าย 3 เดือน เริ่มจากโครงสร้างในฝัน สัปดาห์นี้ที่ประชุมผู้บริหารได้ข้อยุติที่ทุกคนพอใจแล้ว รมช.นัดประชุมคณะกรรมการโครงสร้างกระทรวงใน 2 สัปดาห์ข้าหน้าเพื่อให้ได้ข้อสรุป ก่อนส่ง กพร. และ กพ.เป็นขั้นสุดท้าย ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถแก้กฎกระทรวงได้ภายในอายุของรัฐบาลชุดนี้
28 ตุลาคม 2550
– พักที่บ้าน 1 วัน มีโอกาสได้เริ่มเขียน paper เพื่อส่งไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ชิงรางวัล Mag Say Say ให้ชื่อหนังสือว่า “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม : นักการธนาคารผู้นำขบวนการชุมชนไทย”
– เวลา 09.30 น. ไปเป็นประธานร่วมแถลงข่าวโครงการ “1 เหรียญ 1 ใจ เพื่อชัยพัฒนา” ที่เป็นความริเริ่มจากเวทีระดมความคิดนายกองค์การนักศึกษาที่ สทย.ไปร่วมกับเครือข่ายเยาวชนจัดทั่วประเทศ 9 เวที มีข้อเสนอจากผู้นำองค์การนักศึกษาหลายประการที่อยากทำงานสร้างสรรค์สังคม ได้พบอาจารย์วีระพันธ์ อดีตพระมหาวีระพันธ์แห่งมหามกุฏราชวิทยาลัยที่เป็นพระนักกิจกรรมที่เคยทำงานร่วมกันมาในเรื่องยาเสพติด และ สสส. ปัจจุบันท่านสึกออกมาและไปทำงานเป็นที่ปรึกษา ศอบต.ช่วยแก้ปัญหาไฟใต้
– รมช.พม.เสนอแนวคิดการรณรงค์เลือกตั้งโดยให้สภาเด็ก-เยาวชนเป็นแกนในการประกาศให้รางวัลจังหวัด และอำเภอดีเด่นในการใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุด และการจับกุมคดีทุจริตขายเสียงดีเด่นตามลำดับ
– เวลา 14.00 น. ไปออกรายการสดที่ TV.9 อสมท., รายการบ้านนี้มีคำตอบ ของคุณพิศาล พิธีกรทั้ง 2 ใช้คำถามซักอย่างถี่ยิบในสไตล์ “ตรวจการบ้านกระทรวงทางสังคม”
30 ตุลาคม 2550
– เวลา 09.00 น. ประชุม ครม.ตามปกติ การพูดคุยก่อนวาระ ท่านนายกฯ ฝาก 2 เรื่อง คือ 1) รณรงค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเข้าช่วงสุดท้ายแล้ว ขอให้ทุกกระทรวงเพิ่มความเข้มข้น 2) รณรงค์ประหยัดพลังงานจริงจัง ตั้งรองนายกฯ โฆษิต เป็นประธานคณะทำงานรณรงค์ในนามรัฐบาล
– วันนี้มีวาระมากเช่นเคย ร่วม 40 วาระ เรื่องของ พม.เพียบ
1) (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ (อุ้มบุญ)
2) (ร่าง) ระเบียบ สน.สันติวิธี และความยุติธรรม
3) (ร่าง) พ.ร.บ.คำนำหน้านาม
4) ผลการดำเนินงานตามนโยบายสังคม
5) ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ พม.
6) แต่งตั้งประธานบอร์ด กคช.
7) แต่งตั้งผู้อำนายการ กคช.
8) (ร่าง) พ.ร.บ.รับบุตรบุญธรรม
– เวลา 14.30 น. ต้องรีบออกจากที่ประชุม ครม.เพื่อไปเป็นประธานประชุม อกพ.กระทรวง ให้นโยบายการจัดการเรื่องการแต่งตั้ง C9 ส่วนที่เหลือให้เป็นไปตามระเบียบ หลักการ ให้โอกาสแก่คนที่สมัครใหม่ และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่สมัครก่อน
– เวลา 16.00 น. ประชุมคณะผู้บริหาร พม. ทำ Time Frame Actirity 3 เดือนสุดท้ายให้ชัดเจนทั้ง 3 ภารกิจ (1) โครงสร้าง (2) งบประมาณเครือข่าย (3) Document วิชาการ
– ที่ประชุมนำโครงสร้าง พม.มาหาข้อยุติได้ทั้งหมด รมช.จึงนัดหมายนำเรื่องทั้งหมดเตรียมเข้าวาระคณะกรรมการโครงสร้าง พม. ภายใน 2 สัปดาห์
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ คือ
· ตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามกฎหมายใหม่ มีเลขาธิการ เป็นหัวหน้าหน่วยเทียบเท่าอธิบดี
· เปลี่ยน สท.เป็นสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน (สทย.) เปลี่ยนผู้อำนวยการเป็นตำแหน่งเลขาธิการ, ดูแลปฐมวัย/เด็ก/เยาวชน
· ย้ายงาน สท.(ด้อยโอกาส) ไปอยู่กับ พส.
· ย้ายงาน สท.(สูงอายุ) ไปอยู่กับ สค. และเปลี่ยนตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นเลขาธิการ เช่นกัน
· สป.มีสำนักงานใหม่ – สำนักกฎหมายและสิทธิทางสังคม
– สำนักกิจการต่างประเทศ
– สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (รูปแบบ SDU)
– สถาบันวิจัยและจัดการทางสังคม (รูปแบบ SDU)
– สถาบันชาติพันธุ์พัฒนา
– สำนักพัฒนาเครือข่าย
– สำนักงานคณะกรรมการ กสค.
– วันนี้งานลุล่วงอีกก้าวใหญ่เลยทีเดียว !!
1 พฤศจิกายน 2550
– เวลา 09.30 น. ประชุมคณะทำงานที่ปรึกษา จชต. ที่ตึกวัง วันนี้มี รศ.ดร.ธเนศวร์ อาภรณ์สุวรรณ มาบรรยาย “ประวัติศาสตร์กับขบวนการแยกดินแดน” ได้มุมมองที่เป็นประโยชน์มาก
– เวลา 12.00 น. ไปร่วมงานเปิดป้าย/ตึกทำการใหม่ของ พอช.ที่ ถ.สุขาภิบาล 1 อาคารใหม่ใหญ่โต สวยสง่า มีพื้นที่ใช้ประโยชน์มาก รองนายกฯ ไพบูลย์ไปเป็นประธาน
– เวลา 13.30 น. ไปร่วมประชุมบอร์ด กคช.ในโอกาสที่มีประธาน และผู้ว่าฯ กคช.คนใหม่, ฟังรายงาน 4 เรื่อง 1) แก้กฎหมายบ้านเอื้ออาทร 2) แฟลตดินแดง 3) กรณี EIA บ้านเอื้ออาทร 4) โครงการอยู่ดีมีสุขในชุมชน กคช.
– เวลา 14.30 น. พบประธานบอร์ดประเมินผล กคช., ดร.ปรีดิ์ บูรณศิริ และ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ รับฟังข้อเสนอแนะการแก้ปัญหา “เอื้ออาทร” ในมุมมองที่มีความแตกต่างจากคณะกรรมการบริหาร…จึงได้ให้นโยบายในการประชุมร่วม 2 Board เพื่อหาข้อสรุปก่อนนำเรื่องเข้า ครม.
– เวลา 16.30 น. รับฟังผลงานวิจัยของ สสว.12 แห่งที่ไปจ้างคณะอาจารย์จาก มสท.มาทำการประเมินความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ สสว., ทำหลักสูตรและเสนอแผนการฝึกอบรม
– สังเกตว่าเป็นการริเริ่มที่ดีมาก แต่คณะอาจารย์ก็คงทำบทบาทได้แค่เพียงออกแบบหลักสูตรตามแบบแผนปกติ มิได้มีอะไรโดดเด่นนัก จึงได้เสนอแง่คิดและให้กำลังใจ ตลอดจนถือโอกาสแลกเปลี่ยนบทเรียนที่ผมเคยสร้างชุมชนวิชาการที่กรมควบคุมโรคติดต่อมาก่อน ที่ประชุมสนใจกันมาก
2 พฤศจิกายน 2550
– เวลา 08.00 น. สัมภาษณ์รายการวิทยุ “หน้าต่างสังคม”
– เวลา 10.00 น. เอกอัครราชฑูตแคนาดามาพบเยี่ยมคาราวะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามธรรมเนียม
– เวลา 13.00 น. ร่วมแถลงข่าวกับรองนายกฯ ไพบูลย์ แถลงผลงานวาระเพื่อเด็ก 5 ประการ “วาระเพื่อเด็ก 2550 : ใครว่าเกียร์ว่าง” ในงานมีหนังสือรายงานผลการขับเคลื่อนวาระเพื่อเด็ก ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมากกว่าที่คิดทีเดียว, สั่งการให้ ผอ.สท.ทำเรื่องเสนอเข้า ครม.เพื่อทราบ
– เวลา 15.00 น. ไปร่วมฟังผลการระดมความคิด “ราชวิถีฟอรั่ม” ครั้งที่ 3 ซึ่งเจ้าหน้าที่ พม.ระดับล่างคุยกันในประเด็น “จริยธรรม พม.”
3 พฤศจิกายน 2550
– ไปส่ง ดร.วณี ที่ดอนเมืองตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง, ไปทัศนศึกษาที่เวียดนามกับคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิสาธารณสุข (มสช.)
– เขียน paper ประกอบการส่งชิงรางวัลแม็คไซไซสำหรับท่านอาจารย์ไพบูลย์เสร็จแล้ว ส่งให้เด็กพิมพ์ โล่งอกไปที
Be the first to comment on "ตอนที่ 62 ลมภายนอกสงบ"