24 พฤศจิกายน 2550
สัปดาห์นี้งานร้อนต่างๆเริ่มอยู่ใน Control งานโครงสร้างซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ยาก และต้องใช้เวลาในการผลักดัน แต่ก็สามารถเคลื่อนไปได้อย่างมหัศจรรย์
สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริหารกระทรวงและบุคลากรขึ้นมากโข งานเคลื่อนประเด็นสังคมรุกคืบทันเวลาขึ้นเยอะ รมช.พม.มีกิจกรรมโชว์ฟอร์ม 12 อย่าง แต่ละอย่างล้วนเก็บแต้มสะสมในช่วงท้ายของวาระรัฐบาลทั้งนั้น เมื่องานโครงสร้างและระบบกลไกอันเป็นเป้าหมายระยะยาวได้บรรลุโดยครบถ้วนแล้ว การโชว์ฟอร์มแบบนี้จึงถือเป็นส่วนแถมที่สามารถสร้างสรรค์ได้โดยปราศจากแรงกดดันใดๆ
18 พ.ย. ให้ดร.วณีไปเป็นตัวแทนในงานผ้าป่าสามัคคีที่ จ.สุโขทัย โดยไหว้วาน อธิบดีพส.(พนิตา กำภู ณ อยุธยา) เป็นแม่งานให้ อธิบดีพส.เขามีวิธีทำงาน ตอบสนองได้คล่องแคล่วมาก เขาใช้การเรียกประชุมจนท.พส.ทั้งภาคเหนือมาประชุม ชี้แจงนโยบายและมอบหมายภารกิจในสถานการณ์พายุจริยธรรมและร่วมกันทำบุญผ้าป่าที่สุโขทัยด้วยเลย ทราบว่าได้เงิน 400,000บาท เรียกว่าพอสมน้ำสมเนื้อแล้ว
19 พ.ย.
กิจกรรม 1 เปิดการประชุมเสวนา “ผู้ใหญ่ล่อลวงเด็ก : ภัยจากการเปิดเผยข้อมูลบนโลก “online” เรื่องมีอยู่ว่าเด็กทุกวันนี้ใช้ Internet 80% ในการเข้าใช้ เด็กจะต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านเจ้าของ web ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ถูกนำไปสู่การพบปะพูดคุยกับตัวจริงของเด็กถึง70% และ1/6 นำไปสู่การมี Sex ทั้งแบบสมัครใจและถูกล่อลวงบังคับ
การเปิดประเด็นนี้ สื่อให้ความสนใจมาก ทั้ง นสพ./TV ประโคมข่าวขยายผลกันมากทีเดียว
โดยสรุปแล้วสังคมน่าจะมีแนวทางดำเนินการตามที่สรุปได้จากที่ประชุม หลักๆ ได้แก่
1. internet เป็นประโยชน์ ไม่ควรปิดกั้นเด็ก เพราะ 88% เด็กใช้หาความรู้, 68% ใช้บันเทิง, 57% ใช้ติดต่อสื่อสาร แต่ต้องสอนให้เด็กรู้จักใช้อย่างปลอดภัย โดยทำเป็นคู่มือ,หลักสูตร,ข้อแนะนำ ว่าอะไรควร/ไม่ควร, ระวังตัวเองอย่างไร ซึ่งครู,โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์และพ่อแม่มีบทบาท
2. ครอบครัว,พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสร้างวินัยการใช้PC/net แก่ลูกหลาน โดยเฉพาะการกำหนดเวลาใช้ net เช่น 1-2 ชม.ต่อวัน, กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน ไม่ดึกเกินไป และตั้ง PC ในที่โล่งส่วนรวมของบ้าน ไม่ตั้งในห้องนอนลูก
3. ขอความร่วมมือเจ้าของ website ไม่เรียกร้องข้อมูลส่วนตัวเด็กต่ำกว่า 15/18ปี, ไม่เก็บรักษา, ไม่เผยแพร่
4. พม.ใช้กม.คุ้มครองเด็ก กระทรวง ICT ใช้กม.ควบคุมการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยออกประกาศกระทรวงเพื่อคาดโทษ/เอาผิดแก่ผู้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเด็กอย่างจริงจัง/เฉียบขาด
ผลจากการเปิดเสวนาเช้านี้ สื่อมวลชนTV ตามเรื่องขยายผลกันเป็นที่คึกคัก 2-3 วันหลังจากนั้น
กิจกรรม 2 10.00น. นสพ.คมชัดลึกนัดสัมภาษณ์ใหญ่ ว่าด้วยเรื่องผลงาน 12 เดือนแรก และ 3 เดือนสุดท้ายว่าจะทำอะไร
ผู้สื่อข่าว 2 สาวพี่น้องมาพูดคุยและบันทึกเทปเพื่อไปทำเป็น Scoop รายงานบทสัมภาษณ์ เต็มหน้า มีประเด็นที่พวกเขาสนใจมากมาย เพราะรมช.พม.โปรยข่าวว่า “โจทย์ข้อยากและสำคัญได้ทำหมดแล้ว ที่เหลือคือการทำโจทย์ข้อง่ายและสะสมแต้มเท่านั้น!”
กิจกรรม 3 13.30น. ไปที่สถานีโทรทัศน์ TTV ซึ่งเป็น cable TV ช่องเล็กๆ ที่คุณลัดดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ ทำรายการ “ช่วยกันแก้ไข” ,TV ช่องนี้มีนักการเมืองไทยรักไทย(เก่า)ไปใช้เป็นฐานหาเสียงอยู่กันเต็มไปหมด วันนั้นมีคุณอนันต์ ฉายแสง,อดิศร เพียงเกษ, นิติภูมิ นวรัตน์ ฯลฯ มาออกรายการ
คุณลัดดาวัลย์ แกติดใจรมช.พม.มาก ตั้งแต่ครั้งรับเชิญออกรายการโจทย์แผ่นดินทางวิทยุ 96.5 ด้วยกัน แกจึงนัดไปออกรายการของแกบ้างเรื่อง “ครอบครัว”
กิจกรรม 4 16.00น. ทีมงานของคุณสุวินัย วัตถธรรม มาพบเพื่อรายงานเรื่องดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (Composite Human Security Index : CHSI) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางวิชาการในการประเมินและเฝ้าระวังความมั่นคงของมนุษย์เชิงพื้นที่ NIDA และธรรมศาสตร์ มาช่วยพัฒนาให้พม. เขาเก็บข้อมูลและรายงานมา 2 ปีแล้ว คือ 2548 และ 2549 ผมไปพบเข้าโดยบังเอิญซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอให้จนท.มาช่วยอธิบาย
นี่ถือเป็นการค้นพบเพชรเม็ดงามที่นำมาเจียระไนอีกเพียงเล็กน้อย ก็สร้างผลงานได้แล้ว
ผมจึงสั่งให้นำเรื่อง CHSI 2549 รายงานครม.และจัดให้มีการแถลงข่าวสื่อมวลชนทันที
20 พ.ย. 8.45น. ไปเปิดงานเสวนา “กีฬามวยเด็ก” ที่สื่อมวลชนกำลังสนใจ สท.จึงได้จัดเวทีวิชาการให้มีเสวนาขับเคลื่อนสังคมขึ้น ถือเป็นกิจกรรม 5 ของการโชว์ลีลา
ได้เรื่องเลยครับ เพราะดร.สายสุรี จุติกุล เชียร์มาก, ท่านขอบันทึกเทปที่ผม Speech เปิดงานไปลงมติชนทันที
พ.ต.อ.เสวก ปิ่นสินชัย เจ้าของค่ายมวย “อัศวินดำ” พา Mob นักมวยเด็กมาดักรอหน้าห้องประชุม ได้พบและพูดคุยกันด้วยดี ผมจึงเชิญชวนให้เข้าร่วมระดมความคิดหาทางออกด้วยกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ทั้งการส่งเสริมกีฬาวัฒนธรรม และการคุ้มครองเด็กไปพร้อมกัน
สื่อพากันลงข่าวและบทรายงานต่อเนื่องอยู่ 2-3 วันเช่นกัน
9.30น. ประชุมครม. คราวนี้นายกสุรยุทธ์ ไม่อยู่ ท่านไปประชุม ASEAN SUMMIT ที่สิงคโปร์ รองโฆษิต ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม มีวาระไม่มาก เรื่องพิจารณา 27 เรื่อง เป็นของ พม.เสีย 3 เรื่อง คือ 1.แผนยุทธศาสตร์ครอบครัว 2.ระเบียบสำนักฯเรื่องสตรี และ 3.ระเบียบสำนักฯเรื่องครอบครัว
16.00น. ประชุมผู้บริหาร พม. เป็นกิจกรรม 6 ที่เข้าข่ายโชว์ลีลาโค้งสุดท้าย กล่าวคือ คราวนี้ช่วยกันพิจารณาเรื่องโครงสร้างพม.เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการโครงสร้าง พม.ในวันศุกร์ ที่ประชุมแสดงความพร้อมเต็มที่ มั่นใจเต็มที่ถึงยุทธวิธี 3 จังหวะ ที่รมช.เป็นฝ่ายนำ
21 พ.ย. 9.30น. เชิญผู้รับผิดชอบแผน/งบประมาณของ 4 กรม มาหารือ ผอ.สุวิทย์, รองปลัดพม.ชาญยุทธ์ และอธิบดีพนิตา มาด้วย เป็นเรื่องที่ดีมากที่ได้พบกันพร้อมหน้า ผมถือโอกาสสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ว่าด้วยเรื่อง “งบประมาณขับเคลื่อนยุทธศาสตร์” ที่มีข่าวลือทางลบออกไปทำนองว่าเพื่อสนองนโยบายรมช.พม. จึงทำให้ทุกกรมต้องกันเงิน 20% ไว้รองรับ?!
ผมให้แนวทางที่ผ่อนคลายแก่พวกเขาไป และขอดูข้อมูล 1.งบประมาณปกติของทุกกรมที่ลงจังหวัด/พื้นที่ 2.งบประมาณขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปี 51 ของรมช. 3.งบประมาณกองทุนกสค.ที่จัดสรรให้พื้นที่ โดยขอให้เตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับประชุมผู้บริหารพม.อังคารหน้า
13.00น. ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
16.00น.ไปเป็นประธานพิธีเปิดงาน White Ribbon Day เป็น Campaign รณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว จัดที่ลานสยามดิสคัฟเวอรี่ มีคุณ มีสุข แจ้งมีสุข พิธีกร TV คนดังมาเป็นพิธีกรรายการ และมีดาราเยาวชนหน้าใหม่เป็น presenter ด้วย งานนี้ก็เป็นกิจกรรมโชว์ลีลา (7) ประจำสัปดาห์ด้วย เพราะสื่อมวลชนสนใจลงข่าวจนข้ามสัปดาห์
22พ.ย. 9.00น. ไปร่วมประชุม International Conference ที่ UN–ESCAP เรื่อง “การท่องเที่ยวที่คนพิการเข้าถึง” มีรองเลขา UN–ESCAP, ผู้ว่ากทม.,รมช.พม. ร่วมกล่าวต้อนรับการประชุม และรมว.กก.(สุวิทย์) เป็นผู้ปาฐกถานำเข้าสู่การประชุม (Inaugural Speech) ถือเป็นกิจกรรม 8
10.00น. ไปเป็นประธานและแสดงปาฐกถานำการประชุมเตรียมความพร้อมพม.สนับสนุนเลือกตั้ง มีประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด, พมจ. และประธานกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด ทั้ง 75 จังหวัดมาพร้อมกัน สิ่งที่ให้นโยบายและมอบภารกิจได้แก่ (นี่เป็นกิจกรรม 9)
1. ภารกิจหน่วยงาน พก. ประสานสนับสนุนกกต.ให้จัดสิ่งอำนวยสะดวกผู้พิการในการเลือกตั้ง เช่น ทางเข้าออกหน่วยเลือกตั้ง, ทางลาด, การประคอง, การใช้แผ่นทาบอักษร Bell สำหรับคนตาบอดและส่งมอบรายชื่อคนพิการให้กกต.จังหวัด
2. ภารกิจหน่วยงาน สท. สนับสนุนโครงงานรณรงค์ประชาธิปไตยของสภาเด็กเยาวชนทั้ง 75 จังหวัด
3. ภารกิจสป.พม. การประกาศให้รางวัล 4 ประเภท 20 รางวัล แก่จังหวัดที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุด, อำเภอที่จับกุมคดีซื้อสิทธิ-ขายเสียงมากสุด, พมจ.ที่มีผู้พิการใช้สิทธิสูงสุด และสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดที่มีโครงงานดีเด่น
11.30น. พบศ.นพ.อารีย์ วัลยเสวี เพื่อส่งการบ้านเสนอชื่อบุคคลเข้าชิงรางวัล Mag Say Say ท่านอาจารย์พอใจมาก และจัดการเอกสารสำคัญส่งไป Philippines ทันที
13.30น. ประชุมกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การจัดบริการผู้สูงอายุครบวงจร อยากเห็นการลงมือทำในพื้นที่กทม.ก่อนจึงมอบให้ศ.นพ.สิทธิชัย(จุฬาฯ) ตั้งทีมยกร่างโครงการร่วมกับกทม.เพื่อเสนอในคราวหน้า
16.00น. ไปเปิดารประชุมระดมความคิดพมจ.75 จังหวัด ซึ่งตั้งโจทย์ว่า “ถ้าจะใก้การแต่งงตั้งโยกย้ายเกิดความเป็นธรรมจะต้องทำอย่างไร” ซึ่งได้เรื่องดีมากเลย เพราะทุกคนคึกคักแสดงความเห็นอย่างสนุกสนานและได้สาระที่ดีมาก นี่ถือเป็น กิจกรรม10 ของการโชว์ฟอร์ม
23 พ.ย. 8.00น. สัมภาษณ์รายการวิทยุ “หน้าต่างสังคม”
9.30น. ประชุมร่วม 4 กองทุน พม.เพื่อบูรณาการบริหารกองทุน(เด็ก, ผู้สูงอายุ, พิการ,กสค.) ถือเป็นกิจกรรม 11 ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาก โดยรมช.ตั้งประเด็นว่า 4 กองทุนพม.ควรมียุทธศาสตร์และหลักการร่วมกันอย่างไรบ้าง?
ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าควรจัด Workshop 4 กองทุนเพื่อทำยุทธศาสตร์ร่วม และทำแผนปฏิบัติการแยก 4 แผน/4 กองทุน เพื่อต่างคนต่างไปนำเสนอ Board ของตน ตรงนี้จะเป็นการช่วยวางทิศทางและคอนเซ็ปสำคัญเอาไว้ให้พวกเขาได้
12.00น. ไปเยี่ยมพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว ที่บ้าน ทานข้าวกลางวันกับอาจารย์อาวุโส มี อ.ประเวศ, อ.อารีย์, นพ.ชูชัย, นพ.สงวน, นพ.สมศักดิ์ และเจ้าหน้าที่มสช.ไปหลายคน
ปีนี้พ่อเสม 96 ท่านเกิดปีเดียว-เดือนเดียวกับหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ ที่เพิ่งมรณภาพเมื่อเดือนก่อน (พ่อเสมเกิดวันที่ 11, หลวงพ่อปัญญา วันที่ 31)
13.30น. กิจกรรม 12 ประชุมคณะกรรมการโครงสร้างพม.ครั้งสำคัญ ปรากฏว่าผ่านด้วยดีเกินที่คาดคิด ทุกคน(อธิบดีทุกกรม) ดีใจกันมาก พวกเขามั่นใจขึ้นอีกเป็นกอง เพราะเรื่องโครงสร้างกระทรวงที่พวกเขามองไม่เห็นทางว่าจะผลักดันสำเร็จได้นั้น ดูท่าจะเห็นแสงสว่างแล้ว
– การแก้พรบ.แบ่งส่วนราชการเรียบร้อย
– การแก้กฎกระทรวง3 หน่วยงาน คือ สป., พส., สท. ผ่านฉลุย
17.00น. ทีมดร.พิเชษฐ์(ที่ปรึกษากม.) เข้าพบหารือโครงสร้าง “สำนักกม.สายสังคม”
24 พ.ย. ไปประชุมGNH3(international) จัดที่หนองคาย พบดร.กามาอูระ จากภูฏาน ด้วย ถือเป็นกิจกรรม 13 ประจำสัปดาห์ อ.ไพบูลย์ ไปด้วย เป็นงานที่เกิดจากการไปภูฏานก่อนเป็นรัฐมนตรี อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รับปากกันว่าไทยขอเป็นเจ้าภาพ GNH3 (ครั้งแรกที่ภูฏาน, ครั้งที่ 2 ที่แคนาดา) ร่วมกับมูลนิธิเสถียรโกเศศ ของส.ศิวะรักษ์ มีชาวต่างชาติจาก 20 ประเทศเข้าร่วมประมาณ 300 คน คนไทยอีก 400 คน ปีหน้ายังไม่ลงตัวว่าจะจัดที่ไหน อาจเป็นที่ไต้หวัน หรือไม่ก็เบลเยี่ยม
Be the first to comment on "ตอนที่ 65 โชว์ฟอร์มท้ายวาระ"