ตอนที่ 68 นิวยอร์ค ปักกิ่ง กรุงเทพ

16  ธันวาคม 2550

——————————————————-

 ตลอดสัปดาห์นี้  ตระเวนเดินทางอยู่ในต่างแดน  เพื่อปฏิบัติภารกิจรัฐมนตรีพม.ในส่วนที่เป็นกิจการความร่วมมือระหว่างประเทศ  ทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค 

จึงได้สัมผัสประสบการณ์ที่ยากนักจะมีคนได้โอกาสแบบนี้  หากมิใช่นักการเมืองอาชีพที่เป็นเสนาบดีหลายสมัย  ที่นิวยอร์ค  รมช.พม.ขึ้นพูดในที่ประชุมสมัชชาทั่วไป  ต่อหน้าผู้นำระดับรมต.ประเทศต่างๆ รวม 141 ประเทศ  ว่าด้วยเรื่องโลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก  บนเวทีวงกลมอย่างที่เห็นจากรายงานข่าวทางโทรทัศน์เวลามีการประชุมสหประชาชาติในวาระสำคัญต่างๆ  ที่ปักกิ่งรมช.พม.ต้องกล่าว Speech ต่อที่ประชุมเช่นกัน  และมีพิธีร่วมลงนามความร่วมมือด้านต่อต้านการค้ามนุษย์  รวมทั้งแถลงข่าวสื่อมวลชน  ทั้ง 2 เมือง  2 ประเทศยักษ์ใหญ่ของ 2 ทวีป เป็นช่วงที่อากาศกำลังหนาวเหน็บ  อุณหภูมิเฉลี่ย -4 ถึง 6 องศาเซลเซียส  เดินทางกลับจากปักกิ่งถึงกทม. 4 ทุ่มเศษของคืนวันเสาร์  รุ่งขึ้นต้องไปกระบี่ตั้งแต่เช้า  เพื่อเป็นประธานพิธีเปิดงานปลูกบ้านปลูกชุมชนที่เกาะมุก จ.ตรัง  ในโครงการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น 3 ปีหลังสึนามิ  ท่านอ.ประเวศ-อ.จันทพงษ์  วะสี ไปร่วมงานด้วย

9 ธ.ค.

– ไปเป็นประธานงานแต่งงานของ ตุ้ย(วิษณุ) กับ ตุ้ย(กมลทิพย์) จนท.LDI ทั้งคู่ที่บ้านของวิษณุที่ฉะเชิงเทรา  ในฐานะประธานพิธี  ผมขึ้นไปกล่าวอวยพรด้วยคำกลอนสอนน้อง  ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ประการ ซึ่งประยุกต์มาจากคำอวยพรของอาจารย์หมอประเวศ

                : หญิงไม่เหมือนสัตว์เลี้ยง  เพราะยิ่งเลี้ยงยิ่งดุ

                : ชายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใจเสาะ  ถ้าถูกดุมากยิ่งอายุสั้น

                : สามีที่กลัวภรรยามักจะเจริญก้าวหน้า

: ชีวิตคู่เมื่อผิดใจกัน  อย่าใช้เหตุผล  ต้องใช้ความรัก

– 16.00น.  เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ  เพื่อไป USA  ใช้เวลาบิน 18 ชั่วโมง  บินตรงจากกรุงเทพฯ ถึง นิวยอร์ค โดยไม่หยุดพัก

11 ธ.ค.  ประชุมที่สำนักงานใหญ่ U.N. ตลอดทั้งวัน  มีโอกาสได้ข้นไปยืนต่อหน้าที่ประชุมเพื่อกล่าวคำปราศัยในนามของรัฐบาลไทยว่าเราดำเนินการอะไรบ้างตามที่ตกลงกันไว้ในเวทีโลกว่าจะทำเพื่อเด็กและเยาวชน

12 ธ.ค.  ตอนเช้ามีเวลาก่อนเดินทาง  ไป Sightseeing ดูเทพีเสรีภาพ นั่งเรือ Ferry ชมวิวทิวทัศน์อ่าว  ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บและลมแรงจัด   ตอนเย็นเดินทางจากสนามบิน JFK New York บินตรงข้ามขั้วโลกเหนือ สู่ปักกิ่ง  ใช้เวลา 14 ชั่วโมง

14 ธ.ค.  ประชุม COMMIT 2 ที่ปักกิ่ง

15 ธ.ค.  – เช้า ทัศนศึกษาเข้าชมพระราชวังต้องห้าม  และหอเทียนฟ้า

                  – บ่าย  เดินทางกลับกรุงเทพฯ  ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง

บทเรียนรู้จาก USA

  เครื่องบิน TG ที่บินตรงจาก BKK-NY นั้นใช้เส้นทางขึ้นไปทางญี่ปุ่น  ผ่านช่องแคบแบริ่ง  ผ่านอลาสก้า  ไปแคนาดา  ผ่าน USA ฝั่งตะวันออก  ถึง NY(สนามบิน JFK) ใช้เวลาบินโดยไม่หยุด 18 ชม.  บินสูงประมาณ 12,000เมตร  ความเร็ว 1000+กม./ชม.

  เครื่องบิน Air China ตรงจาก NY – ปักกิ่ง ใช้เส้นทางบินข้ามขั้วโลกเหนือ  ดิ่งลงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน  เข้าสู่ปักกิ่งทางตะวันออก  ใช้เวลา 14 ชม.  ชั้น First Class ของสายการบินจีนนั่ง  นอนสบายมาก  เป็นส่วนตัว  มีที่นั่ง 2 แถวรวม 8 ที่นั่งแค่นั้น

  อากาศเย็นทั้งที่ NY+Beijing ประมาณ -4 ถึง 6 องศาเซลเซียส  ลมที่แรงยิ่งทำให้หนาวเข้ากระดูก  หิมะตกแล้วหยุดแต่เกล็ดหิมะยังคงอยู่ได้หลายวันถ้าอุณหภูมิยังต่ำ  อุณหภูมิที่ปักกิ่งประมาณ 4 องศา  แต่ผิวน้ำในลำคลอง และทะเลสาบเป็นแผ่นน้ำแข็งบาง  มีนกเกาะอยู่เต็มไปหมด

  USA,NY เป็นเมืองใหญ่,มหานคร, ตึกสูงระฟ้ามากมาย  บริเวณ Ground Zero (ตึกคู่ World Trade ที่ถูกถล่มพังพาบ) ดูแล้วก็ไม่กว้างนัก  น่าทึ่งมากว่า  การถล่มลงของตึกคู่ไม่ทำให้ตึกสูงๆ ข้างเคียงกระทบกระเทือน  แสดงว่ารากฐานมีความแข็งแรงมาก

  บริเวณ Liberty (เทพีเสรีภาพ) สวยงามมาก  นั่งเรือ Ferry เที่ยวชมทิวทัศน์สวยงาม  ลมแรงมาก  อากาศเย็นจัด  มีนักท่องเที่ยวตลอดปี

  ตึก สนง.ใหญ่ UN ที่ NY ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ Hudson  ทิวทัศน์ดีมาก  ตึก UN เป็นทรงกระบอกที่สุด Classic ใช้งานมานานกว่า 60 ปีแล้ว  ผมไปคราวนี้ต้องประชุมที่ตึก UN ที่เคบถูกใช้เป็นเวทีการเมืองโลกในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มากมาย  และรมต.ต้องอ่าน Speech บนแท่นต่อหน้าผู้นำ 141 ประเทศ

  ประเทศไทยไปเที่ยวนี้แสดงความพร้อม  ความก้าวหน้าในงาน “World Fit for Children” ไม่แพ้ประเทศใดในโลก  เรามีกลไกระดับชาติ-มีกม.เฉพาะและมีแผนยุทธศาสตร์อย่างครบถ้วน

  Unicef เป็นเจ้าภาพจัดเวที Seminar คู่ขนานไปด้วย  เด็ก-เยาวชน ทั่วโลกไปร่วม  นักวิชาการ  นักการศึกษาก็มีเวที satellite เช่นกัน  แบบนี้เขาทำกันเป็นเนืองนิจและมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมาก

บทเรียนรู้ที่ Beijing

  จีนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมต้านการค้ามนุษย์ของ 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง มี จีน, ไทย, พม่า, ลาว, เขมร และเวียดนาม (COMMIT ครั้งที่ 2)  ทั้ง 6 ประเทศ ร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้มา 3 ปีแล้ว  มีความก้าวหน้าในด้านการร่วมมือมากขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้ถึงขั้นลงนาม MOU กันอย่างแข็งขัน

  จีนเขาดูแลการประชุมอย่างมีพิธีรีตองและพิถีพิถันมาก  เขาให้ความสำคัญกับพิธีการทูตมาก  เขาให้ความสำคัญถึงขั้นจัดให้ประชุมรัฐมนตรี 6 ประเทศ ณ สถานที่สำคัญที่ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง  ซึ่งเขาจะใช้เฉพาะงานสำคัญมากๆ เท่านั้น  เปรียบเทียบกับการประชุมที่ UN นั้นเราต้องดูแลตนเองทุกอย่าง  แต่ที่จีนเขามีคณะทำงานคอยบริการอย่างยิ่งใหญ่มาก  ทุกฝีก้าว

  กระทรวงที่ดูแลเรื่องต้านการค้ามนุษย์มักเป็นกระทรวงความมั่นคงทางสังคมหรือมหาดไทย (Public Security) มีแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่เป็นกระทรวงด้านความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security)

  ปัญหาการค้ามนุษย์สำหรับประเทศไทย  เราเป็นทั้งประเทศต้นทาง (คนไทยถูกหลอกไปขาย sex  และขายแรงงานในประเทศยุโรป-ญี่ปุ่น-ตะวันออกกลาง-อาฟริกา), เป็นประเทศปลายทาง(คนจีน, ลาว, เวียดนาม, พม่า, เขมร ถูกพามาขายตัว  ขายแรงงานในประเทศไทย)  และยังเป็นประเทศผ่านทางอีกด้วย  งานของไทยจึงต้องดูแลด้วยมาตรการที่หลากหลายและต้องการศักยภาพมาก

  พิธีการสั้นมาก  ครึ่งวันก็เสร็จ  มีรัฐมนตรีต่างๆ มา Speech คนละ 5 นาที  หลังจากเจ้าภาพกล่าวต้อนรับ  จากนั้นก็ลงนาม  ถ่ายรูป  และก็ press conference

  นักข่าวต่างชาติ Focus ปัญหาค้ามนุษย์ไปที่ผู้แทนจาก เขมร, จีน  และพม่า เป็นหลัก  ผมไม่ต้องตอบปัญหาเลย  รมต.จีนบอกว่า Speech ของไทยชัดเจนมาก  เพราะรมช.พม.พูดถึงความก้าวหน้าของไทย  โดยเฉพาะเราเพิ่งออกกม.ปราบปรามการค้ามนุษย์ฉบับใหม่  และมีมาตรการกลไกที่เป็นรูปธรรม

  วันรุ่งขึ้นเขาพาไปชม พระราชวังต้องห้าม” (Forbidden Palace) ซึ่งยิ่งใหญ่อลังการมาก  วังแบ่งเป็นพระราชฐานชั้นนอก(เป็นที่จักรพรรดิออกว่าราชการและรับแขกบ้านเมือง)  และพระราชฐานชั้นในซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย  ดูแล้วก็จินตนาการตามเหมือนเราดูหนังจีน

  มีเวลาว่างก่อนเดินทางกลับไทย  ไปเที่ยวชมหอเทียนฟ้า  ซึ่งเป็นที่จักรพรรดิจีนเคยใช้ในการบูชาฟ้าดินทำให้ผลผลิตดี  กว้างขวางใหญ่โตมาก  คนจีนคงจะถูกขูดรีด-บังคับใช้แรงงานอย่างสาหัสจึงเกิดสิ่งยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้  แต่เมื่อประเทศเปลี่ยนมาอยู่ในมือประชาชนโดยการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน  ประชาชนก็ใช้ประโยชน์ในสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่เลย

  จีนและจนท.ฑูตไทยประจำปักกิ่งดูแลคณะรมต.อย่างดี  ตั้งแต่มาถึงจนกระทั่งขึ้นเครื่องบินกลับทีเดียว  ขากลับถึงกทม. 4 ทุ่มกว่า  นั่ง First Class TG ลงที่สุวรรณภูมิ

16 ธ.ค.

  เดินทางไปเกาะมุก จ.ตรัง  นั่งเครื่อง TG ไปลงกระบี่ ต่อรถยนต์ไปขึ้นเรือที่ท่าเรือท้องถิ่น  ที่เกาะมุกมีการจัดงาน เปิดหมู่บ้านฟื้นฟูสึนามิปลูกบ้าน  ปลูกชุมชน ที่ NGO มาช่วยชาวบ้านฟื้นฟูบ้าน-ชุมชน  อ.ประเวศ,อ.จันทะพงษ์ ไปร่วมงานด้วย

– น่าอิจฉาชาวบ้านที่มีฝรั่งชาวเยอรมัน  มาช่วยกันวางระบบบำบัดน้ำเสียก่อนลงทะเลอย่างดี  NGO และพอช.ช่วยกันสร้างบ้าน  ต่อไปคงเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง  น่าอยู่  สวยงาม  และมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมตลอดปี  น่าจะเป็นสวรรค์บนดินได้จริงใน 5 ปี!?

Be the first to comment on "ตอนที่ 68 นิวยอร์ค ปักกิ่ง กรุงเทพ"

Leave a comment

Your email address will not be published.