ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้น ทุกคนจะคิดเชิงบวกหมด จึงทำให้เกิดการทำลายล้าง เหมือนกับเหตุการณ์ฟองสบู่แตกที่ไม่มีใครหรือจุดใดคานงัดจึงส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลย์ ถ้าคิดแบบกระบวนระบบ คือทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์ และความสมดุลย์กันเมื่อสิ่งหนึ่งหายไป สิ่งอื่นก็มาทดแทน แต่ในขณะนี้มันไม่เป็นอย่างนั้นแล้วเพราะความไม่สมดุลย์ของการพัฒนา ดังนั้นเราจึงควรเร่งหา ความสัมพันธ์เชิงลบ (Negative Feedback) หรือสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ เพื่อที่จะทำให้ระบบกลับมาสมดุลย์
หัวใจของทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory หรือ Dynamic Complex System)
ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ย้อนกลับ (Feedback) 3 ประการ ดังนี้
1. จับกระแสความสัมพันธ์ย้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback) ให้ได้ เรื่องเล็ก ๆ สามารถทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ ทฤษฎีนี้เกิดมาจาก วิธีคิดของมนุษย์ที่ยังไม่แยกออกจากเทคโนโลยี เพราะมนุษย์คิดว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของมนุษย์ เช่น ระบบนาฬิกา Completed System วิธีคิดของคนสมัยก่อนคิดแบบกลไก มองจักรวาลเป็นเหมือนฟันเฟืองนาฬิกาที่ไม่มีทางพลาด แต่วิธีคิดแบบใหม่บอกเราว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องอาศัยเวลา ดังเรื่องผีเสื้อกระพือปีก ซึ่งแต่ก่อนเราไม่เคยรู้ว่าเมื่อผีเสื้อกระพือปีกบ่อย ๆ หมายถึงอะไร ตอนนี้เรารู้แล้วว่าผีเสื้อกระพือปีก แต่ละครั้งสามารถทกให้ ดิน ฟ้า อากาศ เปลี่ยนแปลงได้ ข้อคิดนี้ต้องการจะสื่อว่า ความสัมพันธ์ย้อนกลังเชิงบวกในแต่ละครั้งเมื่อเกิดการสะสม สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใหญ่ ๆ ขึ้น
2. ภายใต้ระบบเปิดที่มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะความเกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตซึ่งขาดความสมดุลย์ เนื่องจากเงื่อนไข บางอย่างเปลี่ยนไป ภายใต้สถานการณ์ที่สั่นไหว และปั่นป่วน ก็จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ย้อนกลับและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สิ่งนั้น ๆ ได้
3. ทุกอย่างในโลกล้วนมีความเหมือนหรือความคล้ายตัวเอง (Self Similarity) เช่น ลักษณะของใบไม้ จะไม่เหมือนกันในขณะที่อยู่ต้นเดียวกัน แต่ก็มีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่สามารถบอกได้ว่าใบไม้ใบนั้นมาจากต้นไหน ก็เหมือนกับทฤษฎีทางเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นมาเพราะรูปทรงในธรรมชาติ ไม่สามารถวาดได้ หรือทฤษฎีบางทฤษฎีที่ไม่สามารถบอกที่มาที่ไปได้ว่ามันมาอย่างไร ซึ่งจริง ๆ แล้วในสมัยก่อนทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จะเน้นที่เรื่อง ปริมาณที่สามารถจับต้องได้ แต่โลกปัจจุบันพัฒนาในระดับคุณภาพที่แต่ก่อนคิดกันว่าจับต้องไม่ได้ ดังเช่น ความรู้ ความคิดที่ไล่ไม่ทัน ในยุคนี้สิ่ง เหล่านี้เองที่เป็นหัวใจของการต่อสู้ การใช้จิตวิญญาณ ใช้หลักการสร้างสรรค์ ในการสร้างสังคมใหม่ ในอนาคตจะมีเรื่องจิตวิญญาณมากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดระบบเชื่อมความสัมพันธ์ของแต่ละสรรพสิ่งจึงมีความสำคัญมาก
การปฏิสัมพันธ์ของสรรพสิ่งต่างๆ
การจัดระเบียบตัวตน (Self Organizing) เป็นระบบที่ก่อตัวเองขึ้นมาจนดูเหมือนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เกิดจากปฏิกิริยา บางอย่างที่ไปเร่งให้เกิดระบบใหม่ขึ้น ระบบการจัดระเบียบตัวตนนี้ เมื่ออยู่อย่างโดยเดี่ยวจะไม่มีความหมาย แต่เมื่อมารวมกันก็ทำให้เกิดคุณภาพใหม่ (Emergence) และจะเกิดขึ้นเฉพาะในระบบที่ซับซ้อนเท่านั้น เนื่องจากระบบที่ไม่ซับซ้อน เช่น ระบบเชิงเส้น เป็นระบบธรรมดา ไม่อยู่เหนือความคาดหมายของมนุษย์
ข้อคิด : ความมืดปกคลุมไม่นาน พอรุ่งสางแสงทองของอรุณรุ่งก็จะคืนสู่ฟากฟ้า
คำโบราณ หยิน หยาง กล่าวว่า ณ จุดสูงสุดของสิ่งเก่าจะเกิดสิ่งใหม่วนเวียนอยู่อย่างนี้เป็นไปตามวัฎจักร สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หลุดไปจากอดีต เพียงแต่มีการพัฒนาให้เพิ่มมากขึ้น
ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือทฤษฎีซับซ้อนต่างก็มีความน่าสนใจเหมือนกัน ตรงที่ว่า สิ่งเล็ก ๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่โตได้ เพราะฉะนั้น ถ้าคนมารวมกันได้จะเกิดพลังมหาศาล สามารถก่อเกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้ และพลังอำนาจที่เกิดขึ้นมิใช่เพียงแค่ 1 + 1 เป็น 2 แต่อาจจะเป็น 5,6,7 หรือเป็น 10 ก็ได้ ดังนั้น ปฎิกริยาของคนเล็ก ๆ ถ้ามารวมกันก็จะเกิดคุณภาพใหม่ เพราะแต่ละคนมีพลังไม่เท่ากัน ถ้าคนมารวมกันก็ทำให้มีกำลังใจ เหมือนที่นักวิชาการบอกว่าจิตใจมนุษย์เมื่อมารวมกันจะเกิดเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่มหาศาล
แต่เดิมเมื่อรู้สาเหตุจะสามารถทำนายผล ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีปัจจัยภายนอกมากระทบอยู่ตลอดเวลา จึงเกินความคาดหมายของมนุษย์ที่จะคาดเดาได้ ปัจจัยภายนอกที่ว่าอาจเป็นปัจจัยทางการเมือง ที่เข้ามากระทบแกนกลาง ดังการพัฒนากระแส หลักทางด้านเศรษฐกิจที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจชุมชนในท้องถิ่น จนเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นต้องพัฒนาให้เป็นเหมือนเศรษฐกิจแระแสหลัก แต่ก็มีบางส่วนที่ยังสามารถดำรง เศรษฐกิจในชุมชนตนเองไว้ได้ การเปรียบเทียบเช่นนี้ เพื่อต้องการให้เห็นว่า เศรษฐกิจท้องถิ่นก็คือคนที่อยู่ตามชายขอบ หรือ “นวัตกรสังคม” ซึ่งคนเหล่านี้จะก่อเกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้ เพราะเมื่อมีคนอยู่ตามชายขอบจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระแสหลักได้ และคนจากชายขอบเหล่านี้ก็สามารถเข้ามาอยู่ในกระแสหลักได้ แต่ต้องไม่ติดอยู่ในระบบ เพราะถ้าติดอยู่ในระบบก็จะถูกกลืนหมด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะติดต่อกับคนในระบบไม่ได้ เราต้องติดต่อกับตัวบุคคลไม่ใช่กับระบบ เพราะการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ตัวบุคคล
Be the first to comment on "ทฤษฎีไร้ระเบียบ"