การมุ่งไปสู่การสร้างสังคมที่ดีได้ ต้องเป็นสังคมที่ไม่ใช้อำนาจแต่ควรใช้ความรู้ ใช้สันติวิธี มีการจัดการที่ดี มีการพัฒนาสม่ำเสมอ สรุปคือการมุ่งไปสู่ “สังคมอารยะ” หรือ Civil Society
การก่อกำเนิด “หลุมดำ” อุปสรรคในการสร้างสังคมอารยะ ในการก้าวไปสู่สังคมอารยะจะเกิดหลุมดำ หมายถึงการหมักหมมของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมานานเป็นกรรมร่วมกันของสังคมไทย
ปัจจุบันสังคมไทยมีความทุกข์อยู่หลายด้านในขณะเดียวกันเราก็มีวิถีทางที่ทำให้พ้นทุกข์ได้ นั่นคือการมีจินตนาการร่วมกัน ร่วมคิดร่วมทำ สร้างสรรค์สิ่งดีซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ได้ การมุ่งไปสู่การสร้างสังคมที่ดีได้ ต้องเป็นสังคมที่ไม่ใช้อำนาจแต่ควรใช้ความรู้ ใช้สันติวิธี มีการจัดการที่ดี มีการพัฒนาสม่ำเสมอ สรุปคือการมุ่งไปสู่ “สังคมอารยะ” หรือ Civil Society |
||
การก่อกำเนิด “หลุมดำ” อุปสรรคในการสร้างสังคมอารยะ ในการก้าวไปสู่สังคมอารยะจะเกิดหลุมดำ หมายถึงการหมักหมมของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมานานเป็นกรรมร่วมกันของสังคมไทย โดยมีปัจจัยดังนี้ · ระบบการเมือง มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมอำนาจ ทิศทางในการพัฒนามักใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสังคม สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ความรุนแรง เร่งให้เกิดความเสื่อมเสียทางศีลธรรม · ระบบการศึกษาที่อ่อนแอ ระบบการศึกษาในปัจจุบันเน้นการท่องจำ ทำให้ไม่สามารถไปถึงอนาคตที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ |
||
……………………………………………………………………
“ทลายหลุมดำ” ทำได้อย่างไร ใช้ยุทธศาสตร์ คือการเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง การใช้อำนาจมาแก้ไขไม่ใช่ทางออกของปัญหาแต่กลับเพิ่มวิกฤติมากขึ้น การเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญา หมายถึงการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำให้เกิดความเข้มแข็งมากที่สุด รวมถึงการใช้ ธรรมะเพื่อสังคมเข้มแข็ง อุปมาเหมือนฝูงวัวที่ต้องตกเป็นเหยื่อของเสือ ทั้งที่มีกำลังมากกว่า เพราะวัวแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว แต่หากวัวรวมตัวกันช่วยต่อสู้กับเสือ เสือไม่มีทางสู้ได้ แต่มนุษย์ไม่ใช่วัว มนุษย์รู้จักการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในทุกที่ ทุกองค์กร สามารถปัญหาทุกเรื่อง เช่น เรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การศึกษาฯลฯ เปลี่ยนจากโครงสร้างที่ยึดกุมด้วยอำนาจแบบแท่งๆ ให้เป็นการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ทั่วทุกภาคของประเทศ |
![]() |
|
![]() |
ขณะนี้พลังแห่งการรวมตัวดังกล่าวได้เกิดขึ้น เช่น ชาวบ้านในชนบทที่รวมตัวกันทำวิจัยในเรื่องของตนเอง เรื่องของการใช้จ่าย สาเหตุแห่งการมีหนี้สิน และนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้น มาร่วมหาวิธีการแก้ปัญหา การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางปัญญาที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งขณะนี้มีมากกว่า1,000ชุมชนที่กำลังทำแผนแม่บทชุมชน และมีการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายกันทั่วประเทศ แผนดังกล่าวมีเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมเข้า ไว้ด้วยกันทุกเรื่องนับเป็นกระบวนการสร้างสุขภาวะทุกด้าน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action) สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่สังคมอารยะ | |
เครื่องมือ 5 ประการเพื่อทลายผ่านหลุมดำ นำไปสู่สังคมอารยะ ในการรวมตัวทลายหลุมดำโดยการเปิดพื้นที่ทางปัญญา มีคุณธรรม 5 ประการที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการนำไปสู่สังคมอารยะดังนี้ 1. สุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ สุจริต ไม่คดโกง 2. ปัญญา คือ การเรียนรู้ ไตร่ตรองเพื่อเข้าสู่ส่วนลึกของปัญหา เพื่อนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงตนเองถึงขั้นรากฐาน(Transformation) ทั้งระดับตนเอง องค์กร สังคม ให้ไปสู่สังคมอารยะ 3. เมตตา การทลายหลุมดำจะต้องเกิดแรงเสียดทาน จากการโกรธ เกลียด ดังนั้นจึงต้องมีความเมตตาเพื่อละความโกรธและเสริมกระบวนการทางปัญญา 4. ขันติ คือ ใช้ความอดทนเป็นหลัก เนื่องจากทุกสิ่งต้องใช้เวลา ปัญหาบางอย่างไม่สามารถแก้ไขในเวลาอันรวดเร็วได้ 5. อโหสิ คือการให้อภัย เมื่อมีการกระทบกระทั่งในการทำงาน สิ่งที่จะหยุดการกระทบกระทั่งคือ การให้อภัย |
||
ประเทศไทยมีทุนทางสังคมเป็นอันมาก ทุนที่สำคัญคือ สันติภาพและทรัพยากรธรรมชาติฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานในการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน เพื่อการทลายหลุมดำแห่งอำนาจไปสู่สังคมอารยะและสสส.ก็คือเพื่อนที่นำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุข |
ปาฐกถาพิเศษ กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ: เป้าหมายเพื่อการอยู่ร่วมกันโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
ในงานสัมมนาเครือข่ายองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อสุขภาวะของสังคมไทย “เครือข่าย สสส. …ร่วมสรรสร้างสังคมไทย”
วันที่ 31 สิงหาคม 2547 – 1 กันยายน 2547 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
Be the first to comment on "ทลายหลุมดำแห่งอำนาจ บรรลุสู่สังคมอารยะ"