ทำพรื้อกับอ่าวปัตตานี

การแก้ปัญหาของอ่าวปัตตานีในอนาคตจะเป็นอย่างไร?…ปัจจุบันวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนรอบอ่าวต้องประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสัตว์น้ำในอ่าวมีปริมาณลดลง จึงจับสัตว์น้ำได้น้อยลง ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้น…..

 

 

ที่มา : โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ (จังหวัดปัตตานี)

 

เรียบเรียงโดย  : กองบรรณาธิการ

 

สภาพทั่วไปของอ่าวปัตตานี

อ่าวปัตตานี (Pattani Bay) เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดปัตตานี  มีลักษณะเป็นอ่าวเปิดของทะเลและตั้งอยู่ในเขตการปกครอง 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง หนองจอกและยะหริ่ง    อ่าวปัตตานีเป็นลักษณะอ่าวกึ่งปิด  ( Semienclose ) มีจะงอยปากอ่าวที่เรียกว่า แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ยื่นออกไปในแนวตะวันตก ตะวันออก ก่อตัวเป็นแนวสันทรายยื่นออกไปในทะเล ในแนวที่เกือบขนานกับพื้นดิน โอบล้อมพื้นที่ตอนในของอ่าวในลักษณะสันดอย ส่วนปลายของแหลมโพธิ์โค้งงอเข้าหาชายฝั่งคล้ายตะขอ มีความยาวประมาณ 18.5 กิโลเมตร ทำให้ภายในอ่าวได้รับการป้องกันจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือส่วนกว้างสุดของแหลมอยู่ที่บูดี กว้าง 1.6 กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุดอยู่ที่บ้านตะโล๊สะมิแล กว้าง 70 เมตร   อ่าวปัตตานีเป็นอ่าวน้ำตื้น มีความลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร  อ่าวปัตตานีมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 70 กิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ภายในอ่าว 54 กิโลเมตร และพื้นที่ปากอ่าว 20 ตารางกิโลเมตร

อ่าวปัตตานีเป็นอ่าวที่มีอัตราการตกตะกอนสูง โดยได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสำคั­ 2สาย คือ แม่น้ำยะหริ่ง และแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำทั้งสองสายมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลประมาณวันละ 3.7 ล้านลูกบาศก์เมตร  นอกจากนั้นยังได้รับน้ำจากคลองเล็กๆอีกหลายสายได้แก่ คลองบ้านดี คลองโต๊โสม คลองสุไหงปาแน คลองปาปิรีฯลฯ จึงเกิดดินดอนที่มีลักษณะเป็นหาดโคลนกว้างให­่ พัฒนาการมาเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์

ภายในอ่าวมีกระแสน้ำหมุนเวียนน้อยเนื่องจากมีสันทรายของแหลมโพธิ์ขวางกั้นกระแสน้ำจากภายนอกอ่าว การหมุนเวียนของน้ำจึงมีเฉพาะภายในอ่าว  นอกจากนั้นน้ำจืดที่ไหลจากแม่น้ำปัตตานีมีประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่วนให­่ลงปากอ่าวออกสู่ทะเลนอก โดยมีเพียงส่วนน้อยที่ไหลเวียนเข้าไปในอ่าว การหมุนเวียนของน้ำจึงมีเฉพาะภายในอ่าว ขณะที่แม่น้ำยะหริ่งมีปริมาณน้ำจืดลงสู่อ่าวน้อย ประมาณ 0.7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

น้ำจืดจากแม่น้ำทั้งสองสายทำให้น้ำในอ่าวมีสภาพกร่อยและผันแปรตามฤดูกาล ตะกอนที่ตกทับถมในก้นอ่าวทำให้อ่าวตื้นเขินและชายฝั่งบริเวณนี้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดพื้นที่หาดโคลน หาดเลนเป็นบริเวณกว้าง ก่อให้เกิดป่าชายเลนกระจายอยู่ตลอดแนวชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานี ระบบการหมุนเวียนของน้ำ ระบบนิเวศหาดเลน ป่าชายเลน เหล่านี้เป็นกลไกช่วยส่งเสริมผลผลิตทางชีวภาพและช่วยรักษาเสถียรภาพระบบนิเวศน์อ่าวปัตตานีโดยรวม อ่าวจึงมีความสมบูรณ์ทางชีวภาพสูง ทำให้เป็นแหล่งอนุบาลและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคั­นานาชนิด และมีทรัพยากรอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ชายฝั่ง เช่น ห­้าทะเล สาหร่ายทะเล นกน้ำ หาดโคลน หาดทราย ป่าชายหาด ป่าสันทราย เป็นต้น

สภาพพื้นที่รอบอ่าวซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมทะเล (ประกอบด้วยหาดทราย หาดเลน ที่ราบลุ่มน้ำทะเลขึ้นถึง ที่ราบลุ่มน้ำทะเลเคยท่วมถึง สันทรายเก่าและบริเวณตะกอนน้ำพัดพา) และระบบนิเวศน์ของอ่าวจึงเป็นทำเลที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของชุมชนทั้งที่อยู่บนฝั่ง บริเวณชายฝั่งและในทะเล  ทรัพยากรเหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งที่ทำกินและที่มาของกิจกรรมการดำรงชีพของผู้คนในชุมชน อาทิ การประมง การทำสวนมะพร้าว ทำนาเกลือ ทำนาข้าว ทำนากุ้ง แปรรูปสัตว์น้ำ


 

 

สภาพชุมชนรอบอ่าวและการใช้ประโยชน์


 

 


อ่าวปัตตานีมีพื้นที่อยู่ในเขต 3 อำเภอ อ.เมือง อ.หนองจิก และ อ.ยะหริ่ง แบ่งเป็น 12 ตำบล 30 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 50,000 คน โดยรวมแล้วอาชีพหลักของคนรอบอ่าวคือการทำประมง

 

            จากการเก็บข้อมูลหมู่บ้านรอบอ่าวปัตตานี พบว่าในบริเวณอ่าวปัตตานีมีการประกอบอาชีพที่ต้องการอิงการใช้ประโยชน์จากอ่าว ได้แก่

           การทำประมงด้วยเครื่องมือและขนาดต่างๆกัน แตกต่างไปตามลักษณะทำเลและแหล่งจับสัตว์น้ำ

           การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้แก่ การทำนากุ้งรอบบริเวณอ่าว การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงหอยแมลงภู่ เลี้ยงหอยแครง

            การทำนาเกลือ มีการผลิต 2 รอบในหนึ่งปี คือช่วงเดือนมกราคม-เมษายนและมิถุนายน-กันยายน

           เก็บสาหร่าย มีผลผลิตตลอดปี แต่มากน้อยต่างกันตามฤดูกาล โดยพบมากในช่วงเดือกุมภาพันธ์-เมษายน และมีน้อยในช่วงเดือนธันวาคม-พฤศจิกายน เพราะเป็นฤดูมรสุมมีลมแรงจัด

 

สภาพชุมชนรอบอ่าวมีการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างสูง กิจกรรมและวิถีชีวิตชุมชนจึงมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลและการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ

 

นอกจากการประกอบอาชีพดังกล่าว พบว่ายังมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบริเวณพื้นที่รอบอ่าวซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และมีท่าเทียบเรือซึ่งใช้เป็นจุดรับส่งสัตว์น้ำจากการประมงที่สำคัญแห่งหนึ่งของอ่าวไทย

 

ทำมาหากิน


 

สภาพปัญหาของอ่าวและชุมชนรอบอ่าวปัตตานีเป็นอย่างไร

 


สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณอ่าวปัตตานีมีด้วยกันหลายประการ ที่เป็นประเด็นหลักๆได้แก่  ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรอ่าว ปัญหาของชุมชนรอบอ่าวและผลกระทบต่อสังคมภายนอก  ซึ่งมีความเชื่อมโยง เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรอ่าว

  1. ป่าชายเลนเสื่อมโทรมและถูกบุกรุก  เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมและพานิชกรรม การให้สัมปทานป่าชายเลนเพื่อเผาถ่าน และการปล่อยของเสียจากกิจกรรมของแหล่งต่างๆดังกล่าวลงสู่แหล่งน้ำ และป่าชายเลน
  2. ความตื้นเขินของอ่าว  อันเกิดจากตะกอนที่ถูกพัดพามาตามชายฝั่งทะเล ตะกอนจากการกัดเซาะชายฝั่ง การสร้างเขื่อนกั้นทราย การถมทะเล การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจืดในอ่าว การวางเครื่องมือประมงบางประเภท เช่น โพงพาง ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม กีดขวางทางน้ำและมลพิษทางน้ำ
  3. คุณภาพน้ำในอ่าวเสื่อมและปนเปื้อนสารพิษ  สาเหตุหลักมาจากการปล่อยน้ำทิ้งและของเสียจากชุมชน โรงงาน อุตสาหกรรม ท่าเทียบเรือ สะพานปลา นากุ้งและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งอื่นๆ เป็นต้น ลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง ขาดระบบการจัดการบำบัดน้ำเสีย จากการศึกษาของ โมดัส(2539) ระบุว่าคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวปัตตานีมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อย และมีปริมาณ Total Coliform สูง ซึ่งบ่งชี้ว่าคุณภาพน้ำบริเวณแหล่งอุตสาหกรรมบริเวณอ่าวปัตตานีไม่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง แหล่งธรรมชาติประเภทต่างๆ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การว่ายน้ำ กีฬาทางน้ำต่างๆ ที่สำคัญคือ มีสารหนูและสารปรอทปนเปื้อนค่อนข้างสูง
  4. ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเสื่อมโทรมและมีปริมาณลดลง  ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การที่ป่าชายเลนถูกทำลาย ทำให้ขาดแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน สภาพความตื้นเขินของอ่าว ปัญหาคุณภาพน้ำในอ่าวปัตตานีเสื่อมโทรมอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม และการลักลอบทำประมงด้วยเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ทำลายล้างทรัพยากร (อวนลาก อวนรุน ฯลฯ) รวมถึงการทำประมงที่มากเกินไป สัตว์น้ำเติบโตทดแทนไม่ทัน การลดลงของมูลค่าและปริมาณสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือปัตตานี เป็นตัวสะท้อนอย่างหนึ่งว่าเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและทรัพยากรชายฝั่งของอ่าวปัตตานี

การอพยพไปขายแรงงานในมาเลเซียเป็นผลกระทบมาจากปัญหาของอ่าวและชุมชนรอบอ่าวปัตตานีหรือไม่

 

เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนรอบอ่าว ที่ต้องประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสัตว์น้ำในอ่าวมีปริมาณลดลง จึงจับสัตว์น้ำได้น้อยลง ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้น ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูครอบครัว ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินและความยากจน ซึ่งส่งผลเป็นปัญหาลูกโซ่ที่ตามมา ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน (โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น) การอพยพไปรับจ้างเป็นแรงงานในประเทศมาเลเซีย ปัญหาครอบครัวและยาเสพติด (ไม่มีเวลา ขาดความอบอุ่น) เป็นต้น

 

          กรณีการอพยพไปขายแรงงานในประเทศมาเลเซีย คนปัตตานีและนราธิวาสประมาณคร฿่งหน฿่งต้องไปขายแรงงานในรัฐกลันตันและตรังกานู ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่การไปขายแรงงานนั้นไม่ใช่ทางออกของการหารายได้เลี้ยงครอบครัวแต่มีความจำเป็นต้องไปเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หนี้สิน โดยทั่วไปก่อนไปมาเลเซีย คนที่ไปมักจะต้องไปกู้ยืมเงินคนอื่นมา ครึ่งหนึ่งเก็บเอาไว้ที่บ้านให้ครอบครัวไว้ใช้จ่าย อีกส่วนหนึ่งติดตัวไปเป็นทุนหางานทำในมาเลเซีย เมื่อมีรายได้ก็นำมาใช้หนี้ (ปิยะ กิจถาวร และคณะ: 2543)

ผู้บริโภคในจังหวัดปัตตานีมีผลกระทบอย่างไรต่อปัญหาของอ่าวและชุมชนรอบอ่าวปัตตานี

            เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้าง เนื่องจาก ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลง และคุณภาพน้ำในอ่าวที่เสื่อม ทำให้ราคาสัตว์น้ำสูงขึ้น ต้องบริโภคสัตว์น้ำในราคาแพง และมีคุณภาพต่ำลง เนื่องจากมีการปนเปื้อนของสารพิษ

 


นโยบายการแก้ปัญหาของอ่าวปัตตานีในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด

 


– จัดทำปะการังเทียมแบบทั่วไปและแบบพื้นบ้านในเขตชายฝั่งอ่าวไทย เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ

– รณรงค์ให้ชาวประมงที่ใช้อวนรุนเลิกใช้เครื่องมือนั้นและหันมาใช้เครื่องมือที่ไม่ทำลายแทน

– จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชน สะสมเงินและเป็นแหล่งทุนสำหรับการประกอบอาชีพ ใช้ดอกผลมาสร้างสวัสดิการชุมชน ปัจจุบันมีกลุ่มออมทรัพย์ในเครือข่ายสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านไม่น้อยกว่า 50 กลุ่ม มีเงินสะสมไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท และมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 20,000 คน

– อนุรักษ์ป่าชายเลน โดยจัดการในรูปป่าชายเลนชุมชน

– ส่งเสริมกิจกรรมชุมชนต่างๆ เช่น การแปรรูปสัตว์น้ำ รวมกลุ่มทำตลาดสัตว์น้ำ ทำน้ำปลา ทำธุรกิจเรื่องมือประมง  ฯลฯ

      – รณรงค์เพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืน เช่น ให้ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างชนิดต่างๆ เช่น อวนรุน เรือไฟปั่น  ปลากะตัก ให้ออกพรบ.ป่าชุมชน เป็นต้น

 

สาเหตุที่การแก้ปัญหายังไม่บรรลุผล

 

– เครื่องมือทำลายล้างชนิดต่างๆยังไม่มีการยกเลิก ให้ทำได้นอกเขต 3,000 เมตร แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามควบคุมได้เพราะพื้นที่กว้างขวางมาก

– เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมบางคนทุจริต รับเงินจากเรือประมงที่ทำผิดกฎหมาย ไม่จับกุมผู้กระทำผิด ถ้าจับก็เสนอลงโทษน้อยที่สุด ทำให้มีการละเมิดกฎหมายอยู่ทั่วไป

– กฎหมายไม่เอื้อกับการที่ชาวประมงจะจัดการทรัพยากร เช่นไม่มีกฎหมายป่าชุมชนที่ให้อำนาจชาวบ้านจัดการอนุรักษ์ป่าชายเลน กฎหมายประมงรวมศูนย์การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง ไม่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประชาชนในการจัดการทรัพยากร

– เครื่องมือทำลายล้างเปลี่ยนแปลงไปเป็นชนิดต่างๆได้ง่าย กฎระเบียบที่มีอยู่ (และส่วนกลางเป็นคนกำหนด) ตามไม่ทันพัฒนาการเหล่านั้น แก้ปัญหาไม่ได้

– สังคมยังไม่ตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารของประเทศ ไม่เข้าใจและไม่สนับสนุนชาวประมงพื้นบ้านในการรณรงค์เพื่อการจัดการทรัพยากรทะเลที่ยั่งยืน

– รัฐไม่มีนโยบายลดเครื่องมือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตัวทำลายทรัพยากรทางทะเลและไม่กล้าจัดการปัญหาที่กระทบกระเทือนกับประมงพาณิชย์ เพราะเป็นฐานเสียงและฐานเงินของพรรคการเมืองต่างๆ

– รัฐจัดทำโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบกับทรัพยากรทางทะเลขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล การใช้พื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น**

 


 


แหล่งอ้างอิง

 

Ÿ  วัฒนา  สุกัณศีล  ,  2539.  การเปลี่ยนแปลงปัญหาและทางเลือกของชุมชนประมง  :  กรณีศึกษาการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนหมู่บ้านดาโต๊ะ  .ยะหริ่ง จ.ปัตตานี .  ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี

Ÿ  ราชกิจจานุเบกษา    เล่ม  77  ตอนที่  73  วันที่  6  กันยายน  2503

Ÿ  สัมภาษณ์ชาวบ้านชุมชนบ้านสะบารัง  .เมือง  .ปัตตานี  19  ธันวาคม  2542

Ÿ  สัมภาษณ์ชาวบ้านตันหยงลูโล๊ะ    .เมือง จ.ปัตตานี

Ÿ รายงานสรุปโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี พ..2541 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ปัตตานี  สำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทาน  กรงทรวงเกษตรและสหกรณ์

สัมภาษณ์ชาวบ้านบางตาวา   .หนองจิก   .ปัตตานี

Ÿ  ผศ. นุกูล  รัตนดากุล

Ÿ  เอกสารบรรยายสรุปเขตอุตสาหกรรมปัตตานี  เสนอต่อฯพณฯนายชวน หลีกภัย  นายกรัฐมนตรี  โดยสำนักงานบริหารเขตอุตสาหกรรมปัตตานี  องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี  19  กันยายน  2541

Ÿ  นายยูโซะ  หะยียูโซ๊ะ

Ÿ  สัมภาษณ์ชาวบ้านบางตาวา    .หนองจิก  .ปัตตานี

Ÿ  Everaats ,  J.M.  and  Seonnen ,  C 1987.  Heavy  Metals  (Zn ,  Cu ,  Cd ,  Pb)  in  some  benthic  Invetebrate  Species  and  in  Sediment  from  Three  Coastal  Areas  in  Thailand  and  Malaysia.  J. Sci. Soc.  Thailand 13 (4)  :  189 – 203.

Ÿ เอกสารการปฏิบัติงานของโครงการวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ

Ÿ  แบบบันทึกข้อมูล  โครงการประกอบการจัดทำแผนแม่บทชุมชนการพัฒนาอ่าวปัตตานีตามยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดจังหวัดปัตตานี / แกนนำหมู่บ้าน  21  หมู่บ้าน  7  ตำบล  ในอำเภอเมือง  และอำเภอยะหริ่ง

Ÿ  คำถามจากกระบวนการ  Focus  Group

Ÿ  สุรพล  อารีกุล  และคนอื่น ๆ  ,  โลหะหนักในลุ่มน้ำปัตตานี  รูสะมิแล  ปีที่  15  ฉบับที่  1  มกราคม เมษายน  2536

สัมภาษณ์  นายยูโซะ  เจะฮามะ

สัมภาษณ์  นายวันฮามันซรีย์  เจะฮามะ

สัมภาษณ์  นายดอเลาะ  เจะแต

สัมภาษณ์  นายมะรอนิง  ตานอ

สัมภาษณ์  นายอุมา  สือแต  เอกสารโครงการวัจัยพื้นที่ชุมชน

Ÿ  โครงการจัดการคุณภาพน้ำและการจัดทำแผนปฏิบัติการในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้และชายฝั่งทะเล . 2539. รายงานหลัก . กรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  หน้า  4 – 2  ถึง  4 – 12

สัมภาษณ์  นายมะลี  ก๊ะอาบู

Ÿ  เอกสารกระบวนการของชุมชนประมงขนาดเล็กอ่าวปัตตานี  กรณีโครงการพัฒนาร่องน้ำและท่าเรือปัตตานีของกรมเจ้าท่า  กระทรวงคมนาคมและจังหวัดปัตตานี  .. 2540

Ÿ  นสพ. ข่าวสด  หน้า  28  ภูมิภาค  24  มิถุนายน  2540

Ÿ  นสพ.ฐานเศรษฐกิจ หน้า 24   16–17 มิถุนายน  2540  หน้า  84 – 85

Ÿ  นสพ.ฐานสัปดาห์วิจารณ์  ฉบับที่  15   19–25  เมษายน  2540  หน้า  84 – 85

Ÿ ชุมพรบริเวณชายฝั่งแม่น้ำปัตตานี ตั้งแต่สะพาน ปลายูโย  สะบารัง  โรงอ่าง  และตะลูโบะ

Ÿ สัมภาษณ์ชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กรอบอ่าวปัตตานี

Ÿ  นางสาวลม้าย  มานะการ


 

Be the first to comment on "ทำพรื้อกับอ่าวปัตตานี"

Leave a comment

Your email address will not be published.