ตามเจตนารมย์และตามกฎหมายประกอบ 1 ฉบับที่ออกมาแล้ว ระบุชัดเจนว่าผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงนั้นมี 3 กลุ่มคือ 1.ภาครัฐ คือหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.ภาคเอกชน ประกอบการเพื่อธุรกิจหวังผลกำไร และ 3.ภาคประชาชน ทำงานเพื่อบริการสาธารณะใช้สื่อเป็นเครื่องมือชุมชน
ปัจจุบันปัญหาการซ้อนทับของคลื่นวิทยุ การแย้งคลื่น การอ้างสิทธิจดทะเบียนของวิทยุชุมชน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศที่รัฐบาลต้องเข้ามาจัดการโดยเร็ว ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่พื้นฐานความคิดหลักมันไปไกลมากกว่าใครเปิดก่อนใครเปิดหลังใครขึ้นทะเบียนกรมประชาสัมพันธืหรือไม่ สำหรับภาคประชาชนที่ทำวิทยุชุมชนในระบบอาสาสมัครที่เราเชื่อในช่องทางการสื่อสาร ของวิทยุชุมชน เพื่อที่จะทำให้เกิดความสุขของชุมชน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการแสดงตอกย้ำซ้ำชัดอีกครั้งหนึ่งว่า “สิทธิภาคประชาชน” พอมันจะเกิด มันจะมีอำนาจและอิทธิพลมาดำเนินการ สิ่งนี้เกิดขึ้นชัดเจนเมื่อกรมรปะชาสัมพันธ์ออกระเบียนตอนช่วงปลายปี 2547 ให้วิทยุชุมชนมีโฆษณาได้ โดยบอกว่าถ้าเป็นธุรกิจให้โฆษณาชั่วโมงละ 12 นาที ถ้าเป็นวิทยุชุมชนให้โฆษณาชั่วโมงละ 6 นาที บรรดาวิทยุชุมชนที่จ่อคิวอยากจะทำธุรกิจพอมีประกาศนี้ออกมาก็ทำเต็มรูปแบบเลย แล้วสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่เคยมีที่ไหนในโลก มันเป็นเรื่องพิสูจน์ศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐและก็ศักดิ์ศรีของรัฐบาล
วิทยุที่ออกอากาศตอนนี้มีทั้งหมดประมาณสองถึงสามพันสถานี ลองเอาเงินคิดดูว่าถ้าใช้ตัวเครื่องเครื่องหนึ่งใช้เงินประมาณหนึ่งถึงสองแสนบาท วงเงินค่าซื้อขายเครื่องส่งนั้นเป็นวงเงินทั้งหมด 400 ล้านบาท ตอนนี้สถานีที่ไม่มีโฆษณาโดยเฉลี่ยสถานีหนึ่งมีรายได้จากการโฆษณา ห้าหมื่นถึงแสนบาท วงเงินที่อยู่ตรงนี้ประมาณ 300 ล้านบาท และเป็นเงินที่ไม่ต้องเสียภาษี เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ถ้ามองโลกในแง่ดีเรื่่องนี้มันเป็นการพิสูจน์ว่า “ใครเชื่อมั่นในหลักการวิทยุที่เป็นระบบอาสาสมัครเพื่อชุมชน”
สิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้ประชาชนแตกแยกกันเอง ทั้งที่สิทธิตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ทำงานอาสาสมัครกับกลุ่มที่ต้องการลงทุนทางธุรกิจ แต่ที่แน่ๆ ก็คือไปชี้หน้ากันว่าเธอมันวิทยุชุมชนมีโฆษณา เธอวิทยุชุมชนไม่มีโฆษณา
ขอย้ำว่า พวกเราต้องยืนหยัดเพื่ออธิบายว่าวิทยุชุมชนคืออะไร ถ้าเราเชื่อนะว่ามันต้องมีสื่อภาคประชาชน สื่อที่เป็นอิสระเป็นสมบัติของชุมชน ไม่เป็นกระบอกเสียงของรัฐและก็ไม่ทำธุรกิจค้ากำไร ทำไปเพื่อประโยชน์สุข ถ้ายังต้องมีสื่อชนิดนี้คำอธิบายวิทยุชุมชนคือ “ไม่มีหากำไรทางธุรกิจ”
คนทำวิทยุชุมชนที่มีโฆษณาตอนนี้มี 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกอบโกย ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ไม่รู้ที่ไปที่มา ในฐานะผู้ประกอบการทางธุรกิจนี่คือนาทีทอง กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มเกาะเกี่ยว กลุ่มนี้น่าเห็นใจขึ้นมาหน่อยตรงที่มีความคิดว่ารีบเปิดไปก่อนซะเวลาเกิดเขาสำรวจว่ามีใครทำจะได้เป็นเจ้าเก่า เวลามีกสช. อย่างน้อยยังเกาะเกี่ยวได้ว่าเข้ามาในการประกอบการทางธุรกิจสื่อวิทยุแล้ว กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มกะเกิด คือกลุ่มนักจัดรายการอิสระ แต่เดิมต้องเสียเงินค่าเวลาและค่าเช่า พวกนี้กะเกิดจริงๆ ใจรักจริงๆ
สถานการณ์ตอนนี้คือสถานการณ์ปลาใหญ่กินปลาเล็ก คลื่นทับคลื่นมันเป็นอย่างนี้ตลอด มีคลื่น 60 วัตต์เปิดทับวิทยุชุมชน วิทยุชุมชนไปร้องบอกช่วยไม่ได้ ตอนนี้ 60 วัตต์ที่ว่าถูก 100 วัตต์ทับ 60 วัตต์โวย 100 วัตต์บอกช่วยไม่ได้ ใครมือยาวสาวได้สาวเอา 100 วัตต์ออกไปได้หน่อยโดน 500 วัตต์ทับ 500 วัตต์ออกโดน 1000 วัตต์ทับ เป็นสถานการณ์ที่ยุ่งระดับประเทศ
สถานการณ์มันพิสูจน์ความเป็นทองแท้วิทยุชุมชน มีวิทยุชุมชนที่กรุงเทพเขายังยืนหยัดออกอากาศ คลื่นมันตกอยู่ประมาณหน้าตึกมันไม่ไปไหน แต่เขาบอกเขาไม่หยุดเขาจะต้องออกอากาศ เขาจะต้องทำต่อไปเพราะว่ามันมีเรื่องราวในชุมชนที่เขาจะต้องพูด
วิทยุชุมชนเป็นสมบัติของชุมชนหนึ่งๆ ชุมชนนั้นเป็นเจ้าของร่วมใช้ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์แล้ววิทยุชุมชนต้องยึดหลักว่าคนในชุมชนเป็นได้ทั้งคนพูดและคนฟัง เพราะฉะนั้นวิทยุชุมชนที่ไหนเขาก็จะส่งด้วยกำลังส่งต่ำ อย่าบอกว่าความถี่ต่ำมันไม่ใช่ กำลังส่งต่ำระบบ Fm เพื่อให้คลื่นหรือคุณภาพเสียงชัดเจนแต่ไม่กระจายไปไกล ไม่ให้ไกลเกินมากกว่า 20-30 กิโลเมตร
วิทยุชุมชน จะไม่จัดไกลเกิดรัศมีที่คนในชุมชนสามารถเดินทางมาจัดรายการได้ เช่น ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง 60 กิโลเมตร แต่คนจัดคือคนที่อยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตร ที่เหลือคือคนฟัง อย่างนี้เราไม่ทำ เพราะวิทยุชุมชนเป็นระบบอาสาสมัครทั้งสิ้น
วิทยุชุมชนถ้าอยู่ได้อยู่ได้เพราะหนึ่งทำประโยชน์ให้ชุมชน สองเปิดโอกาสให้คนในชุมชนนั่นคือการจำกัดรัศมีการส่งกระจายเสียง 30 วัตต์ 30 เมตร และพี่น้องที่ทำวิทยุชุมชนต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ใครคือผู้ถือหุ้นร่วมกัน ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือกฎกติการร่วมกัน
บอกได้เลยว่าตอนนี้ท่านมีเพื่อนทั่วโลกเป็นจำนวนนับพันแล้วยืนหยัดในหลักการนี้ ถ้าใครอยู่ในกลุ่มนี้ท่านไม่ใช่นักวิทยุท่านคือ นักพัฒนา ท่านเป็นคนพัฒนาชุมชนโดยใช้วิทยุเป็นเครื่องมือ
เรื่องโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่าไปติดวาทะกรรม โฆษณามันชัดเจนคือมีเรื่องสรรพคุณ เรื่องการโน้มน้าวเชิญชวนให้ไปซื้อใหไปใช้ แล้วเหนือยิ่งไปกว่านั้นคือรับเงินมาแล้วเงินนั้นเป็นรายได้ เงินนั้นมาหักลบกลบหนี้เหลือเท่าไหร่มาแบ่งกัน นั่นคือการประกอบธุรกิจ วิทยุชุมชนจะทำในสิ่ง ที่เรียกว่าการระดมทุนและการบริการสาธารณะ ยกตัวอย่างวิทยุเพื่อบริการสาธารณะที่อเมริกา เขามีการประกาศและก็เป็นที่ยอมรับร่วมกันคือวิทยุชุมชนสามารถระดมทุนและมีวิธีประกาศผู้สนับ
สนุนได้ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้วิทยุชุมชนทำงานกับท้องถิ่นได้ ตัวกฏกติกาคือหนึ่งไม่มีโฆษณาแทรกในรายการ เพื่อให้ทุกรายการมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เขาจะมีแค่ช่วงเวลาที่ขอบคุณผู้สนับสนุนจะบอกว่าชื่ออะไรและอยู่ที่ไหน ไม่มีการบรรยายสรรพคุณ ถ้าใครจะบริจาคให้มาที่กองกลาง แล้วกองกลางก็ต้องเปิดรับเงินอย่างเปิดเผยโปร่งใส สถานีที่ทำอย่างนี้เขาสามารถที่จะรายงานรายรับ รายจ่าย ให้พี่น้องในชุมชนทราบได้ทุกเดือน
การเปิดเพลงในรายการวิทยุชุมชน จะไม่เปิดเพลงที่กำลังโปร์โมทเทป วิทยุชุมชนที่อเมริกาเขาทำแบบนี้ แต่จะเปิดเพลงที่เขาไม่เปิดอาจจะเป็นเพลงธุรกิจก็ได้ เพลงที่เขาขายแผ่นก็ได้แต่เขาไม่เปิดกันแล้ว อาจารย์มีความเชื่อว่าเสียงพิน เสียงแคน เสียงขลุยที่ให้คนมาเล่นกันสดๆ เิปิดออกสถานีมีคนฟังมากกว่าเพราะเป็นเพลงของท้องถิ่นหาฟังที่ไหนไม่ได้แล้ว สองเปิดเพลงให้เข้ากับอารมณ์ชุมชน สามเปิดเพลงทีี่ไม่ทำลายวัฒนธรรมชุมชน สี่เปิดเพลงอย่างมีความรับผิดชอบ ให้ความบันเทิงแต่อย่าให้เนื้อเพลงทำลายวัฒนธรรม และความงดงานของชุมชน
แนวทางการเคลื่อนของวิทยุชุมชน
ในยุคที่รัฐบาลกุมเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาไม่มีทางอื่นต้องพูดผ่านกลไกบริหาร เพราะถ้าเข้ากลไกนิติบัญญัติยกมือไม่แน่ใจ กลไกนิติบัญญัติจับตาดูสองเรื่อง องค์อิสระหรือกสช. ตอนนี้ 14 ชื่อจ่อคิวอยู่ที่วุฒิสภาแล้ว ยังไม่เข้าวาระ ในฐานะที่ทำงานคลุกคลีอยู่กับวิทยุชุมชน ภาพรวมรายชื่อ 14 คนไม่มีสักชื่อที่จะเข้าใจกระบวนการวิทยุชุมชน เพราะฉะนั้่นสิ่งที่ต้องจับตาดูแล้วสื่อสารกับรัฐสภาที่นี่เรามีวุฒิสมาชิก สว. ยื่นจดหมายถึงสว.
เลยว่าวุฒิสมาชิกต้องเปิดเวทีสาธารณะให้ว่าที่กสช. 14 คนแถลงวิสัยทัศน์ต่อสื่อวิทยุโทรทัศน์ภาคประชาชน สอง วุฒิสมาชิกต้องเปิดเผยประวัติว่าที่กสช.ทั้ง 14 คน จากนั้นเรามาวัดใจสว.กันว่าสว.จะเลือกใคร เรื่องที่หนึ่ง
เรื่่องที่สองพรบ.การประกอบการวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบมาตรา 40 ที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นกฎหมายที่ระบุว่าภาคประชาชนคือใคร การประกอบวิทยุโทรทัศน์ภาคประชุมชนเป็นอย่างไร เรียกร้องต่อฝ่ายบริหารว่าควรจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนฐานะเป็นผู้ประกอบการ
กลุ่มหนึ่ง จะใช้สื่อของกรมประชาสัมพันธ์หรืออะไรก็ตามแล้วก็ต้องขอให้คำอธิบายนั้นสนองเจตนารมญ์รัฐ
ธรรมนูญ
สุดท้่ายยืนหยัดต้องมีวิทยุโทรทัศน์เป็นของภาคประชาชน โจทย์ที่หนึ่ง โจทย์ที่สองเป็นของพี่น้อง ต้องมีภาคประชาชนที่ตระหนักถึงคุณค่าในสิทธินี้ แล้วพร้อมที่จะเข้ามาทำงานเพื่อตัวเองเพื่อสังคมตัวเอง ใช้สื่อและสิทธิที่มีเพื่อทำให้เกิดชุมชนที่ดีมีความสุข และเกิดสันติสุขไม่มีความขัดแย้ง เกิดความเข้าใจกันระหว่างคนในชุมชนกลุ่มต่างๆ และเกิดความเข้าใจกันระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อสังคมเราไม่จำเป็นต้องรวยแต่สันติ
|
Be the first to comment on "ทิศทางอนาคตวิทยุชุมชน"