พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ เป็นคำกล่าวที่บ่งบอกถึงความรู้สึกร่วมของคนพิษณุโลกได้เป็นอย่างดี แต่เรื่องราวและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นจะมีพลังเพียงพอในการเชื่อมร้อยจิตใจผู้คน สืบสานวัฒนธรรม เพื่อสร้างท้องถิ่นพิษณุโลกให้น่าอยู่ได้หรือไม่ …
บทสารคดี ตอน “ประเพณี วิถีพื้นบ้าน สืบตำนานเมืองพิษณุโลก” ออกอากาศทางเนชั่นแชนแนล ทีทีวี1 วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2548 |
|||||||||
เป็นรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ที่สามารถปลุกจิตสำนึกความเป็นท้องถิ่นของคนรุ่นปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และถือเป็นก้าวย่างเพื่อสร้างความตระหนักรู้คุณค่าทางวัฒนธรรมของตนเอง |
|||||||||
|
|||||||||
|
|||||||||
นอกเหนือจากเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว พระพุทธชินราชคือศูนย์รวมใจอีกสิ่งหนึ่งของคนท้องถิ่นพิษณุโลก ความศรัทธาในองค์พระพุทธชินราช คือที่มาของประเพณี แห่ผ้าห่มหลวงพ่อพุทธชินราช ที่กำลังจะได้รับการรื้อฟื้น เพื่อสร้างสำนึกความเป็นท้องถิ่นพิษณุโลกร่วมกัน เฉลียว สกุณา ชาวบ้านจากชุมชนบ้านคลอง เล่าให้ฟังว่า ตัวเขาเองเคยได้มีโอกาส นำผ้าไปห่มหลวงพ่อพุทธชินราชด้วยมือตนเองมาแล้ว ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตลอด ในพิธีทำบุญกลางบ้าน ที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี | |||||||||
|
|||||||||
ด้วยสภาพชีวิตที่แปรเปลี่ยนไปในปัจจุบัน เรื่องราวของวิถีชาวบ้าน คือ อีกหนึ่งคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่นับวัน กำลังจะหายสาบสูญ แม้วัยจะล่วงเลยมากว่า 73 ปี แต่จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ก็ยังคงขะมักเขม้นอยู่กับงานไม่เคยเปลี่ยน การคลุกคลีช่วยงานด้านช่างศิลป์กับผู้เป็นพ่อ คือพื้นฐานที่หล่อหลอมให้ลุงจ่า มีความผูกพันกับสิ่งของในชีวิตท้องถิ่น และผลจากการประกอบอาชีพช่างปั้นหล่อพระพุทธรูปมากว่า 33 ปี คือปัจจัยที่ทำให้ลุงจ่ามีรายได้พอเพียงในการซื้อหาสิ่งของต่างๆมาเก็บสะสมไว้ ด้วยความตั้งใจเพียงอย่างเดียวคือ อนุรักษ์วัฒนธรรมทางปัญญาของคนรุ่นก่อนไว้ ไม่ให้สูญหายตามความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป | |||||||||
|
|||||||||
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของจ่าสิบเอกทวี คือ น้ำพักน้ำแรง ที่เกิดจากการเก็บสะสมมาตลอดช่วงชีวิต จนทุกวันนี้ ได้กลายเป็นคลังความรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพิษณุโลก และวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยที่หาชมได้ยากยิ่ง
จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ.พิษณุโลก “อย่างน้อยๆนะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กลายเป็นต้นแบบของคนในสังคม นำไปทำทั่วประเทศในเวลานี้ เกิดแนวคิดแล้วไปทำในท้องถิ่นของตน นี่ก็พอใจภูมิใจ” แม้จะมีความพยายามในการสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมอยู่ตลอด แต่กระแสของความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามา ก็เป็นเรื่องยากที่จะหยุดยั้ง ซึ่งมีผลต่อการถดถอยของวิถีชีวิตเรือนแพตามลำน้ำน่าน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีกอย่างของพิษณุโลก |
|||||||||
|
|||||||||
จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ.พิษณุโลก
“เป็นเอกลักษณ์ของเมืองเป็นจิตวิญญาณของเมือง หายไปก็จิตวิญญาณของเมืองก็หมดไปอย่างหนึ่ง ” น้อย ลายคราม ประธานที่ปรึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.พิษณุโลก“แล้วผู้มีอำนาจก็เอาไปสร้างไว้สามหลัง พิพิธภัณฑ์เรือนแพ แต่มันไม่ได้คอนเซ็ปต์ มันเลยทำให้คนไม่เกิดคุณค่าและความหมายที่ดี” |
|||||||||
ไม่เพียงแต่เรื่องราวของบุคคล ความเชื่อ และความศรัทธาทางประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการสืบสาน แต่ในมุมเล็กๆของวิถีชีวิตชาวบ้าน คืออีกเรื่องราวหนึ่งที่ได้รับการสืบต่อ ต้นเดือนหกของทุกปี ชาวบ้านในอำเภอวัดโบสถ์ จะมีพิธีไหว้ครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในเครือข่ายของตนเอง เพื่อเป็นการระลึกถึงครูที่ได้ให้วิชา ความรู้ และเครื่องมือทำมาหากิน แต่ในปีนี้สิ่งที่แตกต่าง คือการรวมใจของคนอำเภอวัดโบสถ์ ที่จัดพิธีไหว้ครูร่วมกัน เพื่อรวมคน สร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในจิตใจ น้ำเชี่ยว มากศรทรง แม่ครูบายศรี คือ หนึ่งในผู้ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการรวมคน รวมใจ ในการไหว้ครูร่วมกัน น้ำเชี่ยว บอกว่า งานครั้งนี้เกิดจากการร่วมกันคิดของชาวบ้าน ที่ต้องการเห็นการรวมพลัง เพื่อสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนวัดโบสถ์ไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป |
|||||||||
|
|||||||||
เรื่องราวของพิษณุโลกในวันนี้ แตกต่างจากอดีตอย่างมาก แต่นั่น ไม่ใช่สิ่งที่แยกให้ผู้คนออกห่างจากความเป็นท้องถิ่น การรับรู้และเข้าใจในการสร้างท้องถิ่นให้น่าอยู่ ต้องเกิดจากผู้คนในท้องถิ่นร่วมกันสร้าง ด้วยการเรียนรู้คุณค่าจากอดีต เชื่อมโยงกับปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การวางอนาคตของท้องถิ่นร่วมกัน | |||||||||
สารคดี : บ้านเมืองเรื่องของเรา ชุดชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ ผลิตโดย : งานพัฒนาการสื่อสารฯ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา |
Be the first to comment on "ประเพณี วิถีพื้นบ้าน สืบตำนานเมืองพิษณุโลก"