หลังการเข้าทำงานในสมัยที่สองรัฐบาลพรรคไทยรักไทยก็เกิดอาการฟอร์มตก ถูกปัญหาสารพัดเข้ารุมเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ได้สั่นคลอนความเชื่อถือและความนิยมของประชาชนอย่างหนัก
|
||||||||||
ผู้เขียนไปหาบทความอย่างว่านี้มาอ่านแล้ว พบคนเขียนเขาบอกว่า ความนิยมเชื่อถือกระทั่งความชอบธรรมของรัฐบาลไทยสมัยไหนก็ได้นั้น รัฐบาลทำผิดหรือทำถูกดูจะไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ชะตาและความสามารถของรัฐบาลว่าจะขันแข่งกับฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรงข้ามในการช่วงชิงหรือยึดพื้นที่สาธารณะในสังคม เพื่อจะได้ยังอยู่ในความยอมรับนับถือของประชาชนได้หรือเปล่า ถ้าได้ก็ขาขึ้น ถ้าไม่ได้ก็ขาลง หนักหนานักก็จะถูกคนเขาออกถนนมาขับมาไล่ มีเท่านั้นจริงๆ ตรงประเด็นที่นักการเมืองในระบบตัวแทนอย่างท่านนายกฯพูดถึงว่าเห็นด้วยกับ “การช่วงชิงหรือยึดพื้นที่สาธารณะในสังคม” นี้เองผู้เขียนฟังแล้วก็มีอารมณ์ รู้สึกว่ามีเรื่องราวและเหตุผลหลายอย่างที่ต้องหยิบยกมาคุยกันให้รู้เรื่อง ขอชวนท่านผู้อ่านมาคุยกันเรื่อง “ปริมณฑลสาธารณะและการเมืองภาคพลเมือง” |
||||||||||
สี่ภาคชีวิตในสังคมสมัยใหม่ | ||||||||||
|
||||||||||
JUERGEN HABERMAS นักปรัชญาและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันผู้เลื่องชื่อ มีความเห็นว่าสังคมสมัยใหม่จะมีความแตกต่างกับสังคมดั้งเดิมตรงที่จะมีความสัมพันธ์ในสังคมที่ซับซ้อนและแยกแยะกันมากกว่า เขาเสนอให้มองว่าสังคมสมัยใหม่นั้นจะถูกแบ่งแยกออกเป็นสี่ปริมณฑลชีวิตหรือสี่ภาคด้วยกัน คือ ภาครัฐ ภาคเศรษฐกิจ ภาคปัจเจก และภาคสาธารณะ…ปริมณฑลชีวิตของสังคมที่แบ่งได้เป็นสี่ภาคนี้จะทำความเข้าใจกันได้อย่างไร
จากภาพจะเห็นได้ว่าด้านบนคือภาครัฐและภาคเศรษฐกิจนั้นล้วนมีเหตุผลวิธีคิดแบบคาดคำนวณหวังผล(PURPOSIVE RATIONAL) จึงมีการกระทำประจำตัวเพื่อหวังเอาผลและมุ่งครอบงำ(STRATEGIC ACTION) อยู่เสมอ โดยภาคเศรษฐกิจหรือภาคการประกอบการนั้นจะแอบมีกิจกรรมเชิงเทคนิค(INSTRUMENTAL ACTION) บวกเข้าไปอีกต่างหาก มองที่ด้านล่างจะเป็นเรื่องของประชาชนคนทั่วๆ ไปอย่างเราๆ ท่านๆ โดยชีวิตพวกเราจะถูกแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคปัจเจกชนคนส่วนตัว และครอบครัวกับภาคสาธารณะ ทั้งสองภาคนี้จะมีวิธีคิดแบบมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างผู้คนด้วยกัน(COMMUNICATIVE RATIONAL) กิจกรรมที่เป็นวัตรปฏิบัติก็คือการมุ่งเจ๊าะแจ๊ะหรือสื่อสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันอยู่ตลอดเวลา(COMMUNICATION ACTION) ในภาคชีวิตของคนทั้งสองภาคนี้เองที่ลูกหลานสมาชิกในสังคมของเราจะหล่อหลอมพัฒนาตัวตนของเขาขึ้นมา นอกจากการแบ่งแยกในแนวนอนแล้ว HABERMAS ยังเสนอว่าเมื่อมองในแนวตั้งเราก็ยังสามารถแบ่งแยกปริมณฑลชีวิตในสังคมออกได้อีกเป็นสองฟากฝั่ง ฟากซ้ายคือภาครัฐและภาคสาธารณะจะเป็นโลกของการมุ่งส่วนรวม ส่วนฟากขวาคือภาคเศรษฐกิจกับภาคปัจเจก-ครอบครัวจะเป็นเรื่องของโลกที่มุ่งส่วนตัว HABERMAS ฟันธงว่า “การเมือง” ที่มีความหมายกว้างที่สุด จะเป็นเรื่องของโลกที่มุ่งส่วนรวมที่อยู่ทางฟากซ้ายมือนี้แหละ มองกันอย่างนี้ การเมืองจึงไม่ใช่เรื่องโยนให้นักการเมืองตัวแทนในภาครัฐเอาไปเล่นอยู่คนเดียวสี่ปีเต็มภาคสาธารณะที่ลุกขึ้นมาดำเนินชีวิตสาธารณะ เป็นธุระทำเรื่องราวใหญ่น้อยของส่วนรวมต่างๆ เป็นกิจวัตรอย่างกรณีที่ผู้คนพลเมืองเขาเกาะตัวเข้าชื่อรวมเสียง 50,000 ชื่อขอเข้าตรวจสอบกรณีทุจริตยาในกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นเรื่องการเมือง กระทั่งเหล่าแม่บ้านผู้ปกครองที่อาสาร่วมกันมาช่วยทำอาหารกลางวันเลี้ยงนักเรียนในโรงเรียนของหมู่บ้านก็เป็นเรื่องการเมืองเช่นกัน เพราะนี่คือการลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อส่วนรวมของพลเมืองอาสา(ACTIVE CITIZENS) การเมืองที่ทำกันในฟากสาธารณะนี้เองที่ถูกเรียกกันเป็นพื้นว่า “การเมืองภาคพลเมือง” (CIVIL POLITICS) วิธีคิดและปฏิบัติกรรมของปริมณฑลชีวิตสี่ภาคดังที่ผมลองสังเขปมานี้ เอาเข้าจริงแล้วมีความสลับซับซ้อนอยู่เป็นอันมาก ในเชิงพื้นที่…ก็นำไปคิดอ่านได้ตั้งแต่ระดับโลกถึงระดับตำบลหมู่บ้าน ในเชิงประเด็น…คือเรื่องที่เข้าไปเกี่ยวข้องก็มีได้ตั้งแต่เรื่องความมั่นคงคอขาดบาดตายหรือเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมกันริเริ่มเก็บหรือแยกขยะในชุมชนหมู่บ้าน เรียกว่าไปได้ทุกที่ ไปได้ทุกเรื่อง ในเชิงบทบาทและความสัมพันธ์…ก็มีทั้งการทำเองลงมือเองเป็นเอกเทศ การร่วมมือกัน การตรวจสอบทัดทาน กระทั่งการคัดค้านต่อสู้ อย่างไรก็ตาม อย่างที่เรียนท่านผู้อ่านไว้ว่า ในบทความนี้จะพยายามวนเวียนอยู่แถวๆ เรื่องการช่วงชิงพื้นที่สาธารณะที่ท่านนายกฯท่านมีความฝักใฝ่และผูกพัน |
||||||||||
ปริมณฑลที่ต้องขยับขยายและช่วงชิงกัน
ภาคสี่ภาคในปริมณฑลชีวิตสี่ปริมณฑลของสังคมในทรรศนะของ HABERMAS นั้น เห็นว่าไม่ใช่เรื่องอยู่นิ่ง เพราะแต่ละภาคต่างมีสภาพความเข้มแข็ง ความอ่อนแอและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกันได้อย่างหลากหลาย มีตั้งแต่การทำเองได้ไม่ยุ่งกับใคร หรือขยับมาเข้าร่วมไม้ร่วมมืออย่างสมานฉันท์เสมอภาค หนักขึ้นมาก็เข้าตรวจสอบคะคานไปจนถึงการเข้าช่วงชิงหรือครอบงำกระทั่งทำลายฝ่ายอื่น เพื่อเป็นแบบฝึกหัดสร้างความเข้าใจ จะลองยกรูปแบบความสัมพันธ์มาดูกันสักสี่ห้ารูปแบบ |
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างภาคชีวิตต่างๆ ในสังคมดังที่ลองยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ออกจะดูเลวร้ายและเป็นลบไปสักหน่อย แต่ในความเป็นจริง สังคมสมัยใหม่อื่นๆ เขาจะมีชุดของความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ได้หลากหลายและมากมาย
มีหลายสังคมที่ภาคสาธารณะและภาครัฐเขาร่วมมือร่วมงานกันได้แข็งขัน อย่างแผ่นดินฝรั่งเศสมีกลุ่มพลเมืองอาสาที่เข้าๆ ออกๆ ทำงานร่วมกับเทศบาลหรือผู้บริหารเมืองในท้องถิ่นได้สารพัดนับเป็นหมื่นๆ กลุ่ม มีสังคมอีกถมไปที่ภาคเอกชนเขาสนับสนุนปัจจัยให้องค์กรภาคสาธารณะได้มีโอกาสทำงานเพื่อส่วนรวมกันได้หลายรูปหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น มูลนิธิและสถาบันอันมากมายสารพัดในภาคสาธารณะของสังคมอเมริกัน |
||||||||||
ความจริงกับความถูกต้องเฉพาะตัวที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่า หากมองอย่างที่ HABERMAS มอง รูปแบบของการเข้าเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของภาคชีวิตต่างๆ ในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นสภาพเป็นความจริงที่ติดสังคมอยู่อย่างไรก็ได้ มันเป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น สังคมเผด็จการก็จะมีภาครัฐกำปั้นหนักที่ทรงพลังแผ่ขยายปริมณฑลเข้าบังคับครอบงำภาคอื่นๆ ได้แน่นหนา สังคมที่เป็นประชาสังคม(CIVIL SOCIETY) ก็จะมีภาคสาธารณะที่เข้มแข็งเชื่อมโยงกับภาคปัจเจกได้แน่นแฟ้น มีองค์กรและพลเมืองอาสาที่คึกคักเข้มแข็ง ในระยะใกล้ๆ อะไรที่ทำกันเองได้ก็ถือเป็นธุระ อะไรที่ทำร่วมกันกับภาครัฐได้ก็ยินดีหรือถ้าเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ห่างไกลก็ผลักดันปั้นแต่งนโยบายสาธารณะเข้าไปห้อมล้อม หรือส่งปริมณฑลการทำงานเข้าไปตรวจสอบดูแลการทำงานของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาพความจริงที่มองได้ต่างกันเช่นนี้ ในที่สุดก็จะถูกมองให้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องได้ต่างกันไปอีกตามวิธีคิดและพฤติกรรมของผู้คนที่สังกัดภาคและปริมณฑลชีวิตที่ไม่เหมือนกันนั้นเอง การที่ท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เห็นว่าการที่รัฐบาลไทยรักไทยตกที่นั่งลำบากอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะมีฝ่ายตรงข้ามช่วงชิงพื้นที่และอารมณ์สาธารณะไปครองนั้น จึงเป็นสภาพเป็นความจริงและความไม่ถูกต้องที่มองจากพื้นที่ภาครัฐ หรือจากนักการเมืองในระบบตัวแทนที่อยู่ในอำนาจ ท่านมองของท่านอย่างนี้เพราะความคิดเพื่อหวังผลและปฏิบัติการเพื่อหวังเข้าครอบงำภาคสาธารณะและประชาชนอันเป็นวิสัยของภาครัฐและภาคเอกชนของท่านมีอันต้องถอยร่นและอ่อนแอลง ไม่มีอะไรมาก ในทางตรงกันข้าม มองจากฝั่งการเมืองภาคพลเมือง นี่คือสภาวะที่ประชาชนเริ่มขยับตัวออกมาจากภาคปัจเจกเพื่อออกมาทำการเมืองเรื่องส่วนรวมในภาคสาธารณะ และเริ่มส่งพลังหรือปริมณฑลอำนาจเข้าไปตรวจสอบการทำงานในภาครัฐ หรือการเมืองระบบตัวแทนที่เห็นได้ว่ากำลังได้เสียอยู่กินคบหาทุจริตคิดมิชอบกับภาคธุรกิจเอกชน นี่เป็นความจริงและดูถูกต้องเข้าท่าเข้าทางเมื่อมองออกมาจากฝั่งภาคพลเมือง สุดท้ายนี้ผู้เขียนและพลเมืองไทยอีกเป็นแสนเป็นล้านคนจึงดีใจมากที่พวกเราเริ่มมีสติพ้นจากการครอบงำ สามารถช่วงชิงพื้นที่สาธารณะคืนมาจากรัฐบาลได้ และเราจะเพิ่มปริมณฑลสาธารณะล่วงเลย เข้าไปตรวจสอบการทำงานในภาครัฐของพวกท่านให้หนักมือยิ่งขึ้นไปอีก อย่าเข้าใจผิดว่าเราติดใจจะเอาท่านลงหรือไม่เอาท่านลง…มันไม่เกี่ยว เพราะนี่คือวิธีคิด คือจุดยืน คือความถูกต้องที่พวกเราเชื่อและยึดถือ…ขออภัยที่มันเป็นคนละชุดกับของพวกท่านโดยสิ้นเชิง |
||||||||||
|
Be the first to comment on "ปริมณฑลสาธารณะกับการเมืองภาคพลเมือง"