พลเดช ปิ่นประทีป / เขียนให้โพสต์ทูเดย์ วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2558
ในช่วงนี้แรงกดดันทางการเมืองทั้งหลายทั้งปวงได้หันกลับไปสู่คณะกรรมาธิการยกร่
างรัฐธรรมนูญอีกครั้งและดูเหมือนว่าจะหนักหน่วงกว่าเดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าจับที่ผู้เป็นประธาน
อารมณ์การพาดหัวข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนแขนงต่างๆคงเป็นเครื่องสะ
ท้อนได้เป็นอย่างดีว่า
ชนชั้นนำในสังคมกำลังมีความวิตกห่วงใยต่อสาระของรัฐธรรมนูญในเรื่องใดมากเป็
นพิเศษ คนเหล่านี้มักเสียงดังกว่าคนทั่วไป
มีสื่อมวลชนอยู่ในกลุ่มและเป็นเครื่องกระจายเสียงสำคัญ
แต่จากการที่ผมมีโอกาสได้อภิปรายและพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่อง(ร่าง)รัฐธรรมนูญกับเ
พื่อนสมาชิกในสภาปฏิรูปแห่งชาติและเครือข่ายภาคประชาสังคมในหลายจังหวัด
อารมณ์ความรู้สึกที่สัมผัสมานั้นออกจะต่างไปจากการพาดหัวข่าวสื่อมวลชนอยู่สักหน่
อย
สปช.ส่วนใหญ่ต่างพอใจมากที่กรรมาธิการยกร่างฯได้นำข้อเสนอจากกรรมาธิการสป
ช.ทั้ง 18 ชุดไปบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน
ส่วนภาคประชาสังคมก็ถูกใจกับเจตนารมณ์หลักทั้งสี่ประการในการออกแบบรัฐธรรม
นูญคราวนี้ คือ สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ การเมืองใสสะอาดและสมดุล
หนุนสังคมที่เป็นธรรม นำชาติสู่สันติสุข
บางทีกลุ่มคนที่ผมสัมผัส อาจเป็นคนละกลุ่มกับที่พี่น้องสื่อมวลชนเอาใจใส่
อย่างไรเสียกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องฟังให้รอบด้านและกำหนดท่าที
เพราะกระแสการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญกำลังก่อตัว
การจุดประเด็นลงประชามติทั่วประเทศนับเป็นยุทธวิธีส่วนหนึ่งที่หลายฝ่ายพยายาม
นำมาใช้
สุดท้ายอยู่ที่วิธีการประเมินและฉากทรรศน์การคาดการณ์ของใครจะแม่นยำกว่า
ผลกระทบหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร ระยะเวลา3เดือนต่อจากนี้
คือช่วงสุดท้ายที่กรรมาธิการยกร่างฯจะปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมอย่างไรหรือไม่ก็ไ
ด้ ตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ2557
ก่อนการชี้ขาดในสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านความเห็นชอบแบบรว
มหมู่ของสมาชิกสปช.หรือไม่ และในสภาพเช่นไร
ผมมีบางประเด็นจะขอฝากสำหรับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
๑.ยืนยันสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่
นับเป็นเจตนารมณ์ที่ดี ซึ่งผมเห็นว่าเป็นหลักการสำคัญที่จะต้องยืนหยัด
รวมทั้งต้องสนับสนุนให้มีกลไกรูปธรรมตามที่ออกแบบไว้รองรับ อาทิ
การขยายสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล(ม.38)
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดี คุ้มครองผู้เสียหาย-พยาน (ม.44)
การยกระดับสิทธิพลเมือง เสรีภาพในการจัดตั้งกลุ่มการเมือง(ม.55)
มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาปฏิบัติการทางปกครอง(ม.62)
เสรีภาพในการวิเคราะห์วิจารณ์คำพิพากษาโดยสุจริตตามหลักวิชาการ(ม.51)
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
การร่างกฎหมาย(ม.65)การขอข้อมูลตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภาครั
ฐ(ม.70)
สนับสนุนให้มีกลไกสำหรับภาคพลเมืองในการให้การศึกษาและฝึกฝนเรียนรู้ประชาธิ
ปไตยเชิงคุณภาพและคุณธรรมจริยธรรมจากปฏิบัติการจริง
ทั้งกลไกสมัชชาพลเมือง(ม.215) สภาตรวจสอบภาคพลเมือง(ม.71)
สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ(ม.74)และองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค(ม.60)
อย่างไรก็ตาม
กรรมาธิการยกร่างฯควรพิจารณาจัดวางใหม่หรือควบรวมหรือปรับเปลี่ยนบทบาทขอ
งกลไกที่มีอยู่เดิม ให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนคาราคาซัง
แต่ให้หนุนเสริมไปด้วยกันเสียในคราวเดียว อย่างเช่น
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาพัฒนาการเมือง
กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ปปช.จังหวัด ฯลฯ
๒. ปรับการเมืองให้สมดุล
การออกแบบในการขจัดและป้องกันการซื้อสิทธิ์-ขายเสียง
ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน
การทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกระดับและการใช้อำนาจโดยมิชอบนั้นคงไม่มีใครขัดข้อง
แต่ที่หลายกลุ่มเป็นห่วงคือความสมดุลภายในการเมืองภาคสถาบัน
วุฒิสภาในรูปแบบพหุนิยมก็ดูมีเหตุผล
แต่การที่สว.ไม่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงในขณะที่ถูกออกแ
บบให้มีอำนาจมากมายนั้น ดูจะขัดต่อหลักวิชาการไปสักหน่อย
โดยส่วนตัวคิดว่าในมาตรา121ที่ว่าด้วยองค์ประกอบและที่มาของวุฒิสภานั้นควรปรับ
ใหม่
ที่มาสว.(1)ราชการ(2)วิชาชีพ(3)ผู้แทนองค์กร ควรให้มีจำนวนรวมกันไม่เกิน77คน
และควรใช้การสรรหาแบบสปช.จะดีกว่าการจัดให้เลือกกันเอง
เพราะเราทดลองระบบเลือกกันเองมามากแล้วในสังคมตัวแทนแบบไทยๆ
ซึ่งพบว่าล้มเหลวหมด
ส่วนสว.ที่มาจาก (4)ผู้ทรงคุณวุฒิและ(5)ผู้ซึ่งมาจากพื้นที่
ควรรวมกันโดยมีจำนวน123คน
และให้ประชาชนเลือกโดยตรงโดยระบบบัญชีรายชื่อสว.ในระดับภาค(อย่างที่มีบางก
ลุ่มเสนอ) ให้แบ่งเขตพื้นที่เป็น6ภาคเหมือนบัญชีรายชื่อสส.
แต่ละบัญชีรายชื่อต้องมีองค์ประกอบครบกลุ่มความเชี่ยวชาญตามที่กำหนด
ผมอยากเสนอให้กรรมาธิการยกร่างฯให้เวลาและใช้กระบวนการทำงานกับเรื่องนี้สัก
หน่อย โดยอาจหารือกับกลุ่มแปรญัตติที่มีข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องก็ได้
๓.เดินหน้าทำรัฐธรรมนูญให้ดีที่สุด
จากการที่ผมเฝ้าดูการอภิปรายและการลงมติในเรื่องต่างๆของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่ง
ชาติมามากกว่า20ครั้ง ตั้งแต่เริ่มเปิดสภา
ผมรู้สึกได้ถึงความเป็นอิสระของบรรดาสมาชิกทั้ง250คน
บรรยากาศการอภิปรายของสปช.ส่วนใหญ่จะไม่มีการไว้หน้าหรือเกรงใจกัน
คือคิดอย่างไรก็อภิปรายไปอย่างนั้น และเมื่อถึงเวลาลงมติ
จะพบว่าเป็นสปช.แต่ละคนใช้ดุลพินิจที่เป็นอิสระของตนอย่างแท้จริง
ไม่มีใครสั่งใครได้เลย
ดังนั้นผลการลงมติทุกครั้งจึงมีความเป็นผลรวมของเหตุผลทั้งสนับสนุนและโต้แย้งที่ผ่
านการชั่งน้ำหนักกันตามธรรมชาติ
มีความรอบคอบรอบด้านและมโนธรรมสำนึกอยู่ในตัว
ผมจึงเชื่อมั่นว่า ในการลงมติ”รับ”หรือ”ไม่รับ”
ต่อ(ร่าง)ฉบับสุดท้ายของรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม
สปช.จะทำหน้าที่โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยไม่เห็นแก่ความอยู่รอดขอ
งตนเอง แม้ว่าจะต้องตายตกไปตามกันก็ตาม
จึงอยากให้กรรมาธิการยกร่างฯทำหน้าที่ในช่วงสำคัญอย่างมีสมาธิ
รับฟังข้อเสนอแนะให้มาก ปรึกษาหารือเพิ่มเติมตามสมควร
และใช้การตัดสินใจรวมหมู่
ไม่ต้องคิดถึงการลงประชามติซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่
แต่คำนึงถึงความเป็นเสียงสะท้อนที่สปช.กำลังแสดงบทบาทเป็นสำคัญ
Be the first to comment on "ฝากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ"