“น้ำหากจัดการดีก็มีความสุข แต่หากจัดการไม่ดีจะสร้างปัญหาและความทุกข์อยู่บนความขัดแย้งอย่างแน่นอน” ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อมเป็นวิกฤตที่รุนแรงและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการพัฒนาที่ขาดความสมดุลก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย…
พลังสาธารณะ กับ การจัดการปัญหาลุ่มน้ำ | ||||||||||||||
ศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี | ||||||||||||||
“ น้ำหากจัดการดีก็มีความสุข แต่หากจัดการไม่ดีจะสร้างปัญหาและความทุกข์อยู่บนความขัดแย้งอย่างแน่นอน”
|
||||||||||||||
![]() ![]() |
ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อมเป็นวิกฤตที่รุนแรงและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการพัฒนาที่ขาดความสมดุลก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ผู้คนเกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการของตนเอง ปัญหาเรื่องน้ำกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์น้ำท่วมในหน้าฝนและการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งที่ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ รวมไปถึงปัญหาน้ำเน่าเสียซึ่งล้วนเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆของผู้ใช้น้ำ รัฐบาลปัจจุบันเห็นความสำคัญของปัญหาประกาศทุ่มงบประมาณนับแสนล้านเพื่อแก้ปัญหาด้วยเมกะโปรเจกต์ด้านแหล่งน้ำและการจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำใน 25 ลุ่มน้ำ
ซึ่งมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงต่อแนวทางเหล่านี้ แนวทางที่ดีที่สุดน่าจะเป็นแนวทางที่ต้องการการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ต่อให้ทุ่มเทงบประมาณมากมายเท่าไหร่ก็ไม่มีวันสำเร็จหากการแก้ปัญหาเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะด้านเท่านั้น |
|||||||||||||
สภาพแม่น้ำปราจีนบุรี |
||||||||||||||
|
ปัจจุบันการบุกรุกทำลายป่าได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงถึงจุดวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศลุ่มน้ำทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติสูญเสียไป ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม มลพิษ และปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง ปัญหาเหล่านี้ได้ขยายตัวออกไปเกือบทุกพื้นที่
ประเด็นสำคัญของความขัดแย้ง คือ การขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค รวมทั้งคุณภาพของน้ำลดลง ทำให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนที่อาศัยอยู่ทางตอนล่างของลุ่มน้ำ จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการจัดการลุ่มน้ำ ที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหาโดยเน้นที่มาตรการทางกฎหมายอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าได้ ต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว และป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นอีก ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบโดยทุกหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณะสุข และองค์กรชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ รวมทั้งการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาร่วมกันของรัฐและชุมชน การแก้ไขปัญหาต่างๆจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ ชุมชนพร้อมใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม
ตัวอย่างสภาพปัญหาลุ่มน้ำ แม่น้ำปราจีนฯ จ.ปราจีนบุรี เกิดจากการรวมแควพระปรงและแควหนุมานบริเวณ อำเภอกบินทร์บุรีและประจันตคาม โดยไหลไปทางตะวันตกเข้าสู่เขตอำเภอเมืองปราจีนบุรี และไหลไปรวมตัวกับแม่น้ำนครนายกเป็นแม่น้ำบางประกงมีความยาวประมาณ 68 กิโลเมตร แม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่าน 6 อำเภอ รวม 19 ตำบล มีเพียง 1 อำเภอ เท่านั้นที่ไม่ไหลผ่าน คือ อำเภอศรีมโหสถ แม่น้ำปราจีนบุรีเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยง “ คนปราจีนฯ ” ทั้งอุปโภคและบริโภค กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ มีทั้ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรที่ทำนา กลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชัง ตลอดจนคนเล็กคนน้อยที่หาปลา ตกกุ้งในแม่น้ำ สภาพปัญหา ในขณะนี้แม่น้ำปราจีนบุรีกำลังวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นที่ต้นน้ำ อ.ประจันตคามที่เผชิญปัญหาน้ำท่วม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเนื่องกักเก็บน้ำไว้ไม่ได้ ที่นาดีบริเวณต้นน้ำ กำลังสร้างโรงงานแป้งมัน ขณะที่บริเวณกลางน้ำที่ตำบลท่างามชาวนาไม่มีน้ำที่จะทำนา เกิดการแย่งน้ำกันขึ้น ส่วนที่ปลายน้ำที่ตำบลบ้านสร้าง เกิดน้ำเสีย วิกฤตปลาตายลอยหัวเกลื่อนแม่น้ำ ภาวะน้ำเค็มหนุนขึ้นมาจากแปดริ้ว ที่รุนแรงขึ้น ทำให้เกดการขาดแคลนน้ำจืดในการอุปโภคบริโภค ปฏิบัติการโครงการชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ โดย ศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี มีพื้นที่การดำเนินการ ต้นน้ำประจันตคาม นาดี กลางน้ำ ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง ปลายน้ำ ที่ตำบลบ้านสร้าง ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง ผลการดำเนินการ จากการทำให้กลุ่มคนต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากแม่น้ำ ลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข โดยใช้ข้อมูลความรู้ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นการร่วมกัน กำหนดปัญหา และหาทางออก ทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ทรัพยากรบรรเทาบางลง “ คนทำนาที่ท่างามไม่ต้องแย่งน้ำกัน เมื่อเกิดข้องตกลงร่วมกัน ” “ ที่บ้านสร้าง กลุ่มปลากระชัง กลุ่มนาและโรงงาน ที่ต่างก็กล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำ คลายความขัดแย้งกัน เมื่อเกิดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลหาข้อเท็จจริงร่วมกัน ” “ ในพื้นที่ตำบลท่างาม เกิดข้อตกลงร่วมในการจัดการน้ำและนำเสนอ/ผลักดันให้อยู่ในแผนขององค์กรปกครองท้องถิ่น ” “ เกิดการทำงานร่วมกันของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 6 ลุ่มน้ำตะวันออก และอนุกรรมการลุ่มน้ำบางประกง – ปราจีนบุรี และโตนเลสาป ” |
Be the first to comment on "พลังสาธารณะ กับ การจัดการปัญหาลุ่มน้ำ"