ไม่ว่าจะมองซ้ายบ่ายขวาไปทางไหนสิ่งหนึ่งที่ต้องอยู่ในระยะการมองเห็นของชาวเมืองเชียงใหม่ต้องเป็นป้ายประชาสัมพันธ์ งานมหกรรมพืชสวนโลก หรือราชพฤกษ์ 2549 อย่างไม่ต้องสงสัย และบรรดานักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมายังเมืองเชียงใหม่…..
“พืชสวนโลก” | |||
โดยชัยณรงค์กิตินารถอินทราณี |
|||
2 พฤศจิกายน 2549 กรุงเทพธุรกิจ/จุดประกาย |
|||
|
|||
ภายในงานมีการจัดแสดงพืชสวนเขตร้อนชื้นและพรรณไม้จากทั่วโลกบนพื้นที่กว่า 470 ไร่ ณศูนย์วิจัยเกษตรหลวง ต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้กว่า2,200 ชนิดรวมกว่า 2.5 ล้านต้น ภายใต้ Theme ของงานเพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ (To Express the Love for Humanity) ซึ่งการจัดและตกแต่งสวนรวมทั้งกิจกรรมต่างๆ จึงมุ่งเน้นการสื่อสารให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและความรักที่ธรรมชาติมีต่อมวลมนุษย์ ประกอบด้วยไฮไลต์หลัก7 ส่วนคือ | |||
|
|||
ชั้นบนของหอคำหลวงที่ผนังทั้งสามด้านตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังภาพวาดพระราชกรณียกิจในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอด 60 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ พร้อมทั้งจัดแสดงภาพพระราชจริยวัตร ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ และจัดทำประติมากรรมพร้อมฐานเป็นสัญลักษณ์ของต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรมซึ่งใช้ชื่อว่า ‘ต้นบรมโพธิสมภาร’ มีใบไม้21,915 ใบ เท่ากับจำนวนวันที่ทรงครองราชย์ตลอดระยะเวลา60 ปี โดยจัดทำเป็นอักษรนูนต่ำ ที่มีข้อความเป็นภาษาบาลีเกี่ยวกับเรื่องทศพิธราชธรรม เพื่อใช้เป็นที่สำหรับให้ประชาชนมาสักการะ
สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 2 ส่วน ได้แก่ นิทรรศการสวนนานาชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่การจัดแสดงสวนของประเทศต่างๆ33 ประเทศจาก 4 ทวีปทั่วโลก ส่วนที่2 คือสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ประเภทองค์กร ประกอบด้วย สวนเฉลิมพระเกียรติฯจากองค์กรต่างๆ ในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นการนำทฤษฎีการเกษตรของในหลวงมาเป็นแนวคิดการจัดสวน นิทรรศการในอาคารและการประกวด อาคารศูนย์การเรียนรู้ (Indoor Exhibition) การจัดแสดงนิทรรศการพรรณไม้เทคโนโลยี และการประกวดพรรณไม้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ นิทรรศการถาวร (Indoor garden) เป็นนิทรรศการแสดงพรรณไม้ถาวร92 วันในอาคาร และนิทรรศการแสดงพรรณไม้ชั่วคราว มี 2 อาคารเป็นส่วนการจัดแสดงนิทรรศการพรรณไม้สลับหมุนเวียนกันไม่ซ้ำกัน ตลอดทั้ง 6 สัปดาห์ นิทรรศการและประกวดกล้วยไม้ (Orchid Pavilion) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกับสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยและสมาคม/ชมรมกล้วยไม้ต่างๆ รวมถึงหน่ายงานราชการสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จัดสร้าง Orchid Pavilion ขึ้น เพื่อจัดแสดงนิทรรศการและประกวดกล้วยไม้บนพื้นที่ 4 ไร่ภายใต้แนวคิด ‘Orchids of the World’ เป็นเวลา 92 วัน มีกล้วยไม้จากทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งกล้วยไม้แปลกใหม่ และหายาก มาจัดแสดงประมาณ 10,000 พันธุ์รวมกว่า 50,000 ต้น สวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (Fruit Hub) เป็นพื้นที่จัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นกว่า2,200 ชนิดรวมแล้วกว่า 2.5 ล้านต้น มาจัดแสดงและไม้ประจำจังหวัด 76 จังหวัด โดยจัดแสดงสวนประเทศไทยย่อสวนพร้อมนำต้นไม้ประจำจังหวัดปลูกลงไปบนแผนที่จำลอง นอกจากนี้สวนพรรณไม้เขตร้อนยังเป็นพื้นที่จัดแสดง วิถีชีวิตความเป็นไทยในการแสดงสวนพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศ ตลอดจนไม้มงคลที่สะท้อนความเป็นชุมชนตามภูมิภาคนั้นๆ ส่วนการแสดงพิเศษ การแสดงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ได้แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณีอันงดงามเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในช่วงระยะเวลา 92 วันของการจัดงาน ซึ่งการแสดงต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นใน 4 บริเวณได้แก่ เวทีใหญ่ (Main Amphitheatre) เวทีในสวน(Mini Amphitheatre) เรือนไทย4 ภาค(Thai Regional Houses) ถนนหน้าหอคำหลวง นอกจากนั้นภายในงานยังมีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติและสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เผยแพร่ความรู้วิชาการด้านพืชสวนเขตร้อนและเทคโนโลยีทางการเกษตรแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ การประชุมวิชาการนานาชาติ และการประชุมวิชาการภายในประเทศ แง่ของรายได้ในช่วงระยะเวลาของงานระหว่าง1 พฤศจิกายน 2549 – 31 มกราคม2550 นั้น มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมงานจากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน ตลอดระยะเวลาการจัดงาน3 เดือน หรือเฉลี่ย20,000 คนต่อวัน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ประเทศไทยเพิ่มขึ้น2,876 ล้านบาท และจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมาเที่ยวในประเทศไทยเพื่อเข้ามาชมงาน จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น15,535 ล้านบาท และคาดว่าประเทศไทยจะมีรายได้จากการเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ประมาณ18,411 ล้านบาท ไม่รวมรายได้ต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นระหว่างเตรียมงานและมูลค่าการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้นหลังจากงานเสร็จสิ้น 2) แม้ว่ามหกรรมพืชสวนโลกในครั้งนี้จะได้รับความสนใจจากผู้คนมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศแต่เส้นทางการดำเนินงานนั้นกลับไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบกลับยังส่งกลิ่น ความไม่โปร่งใสในเรื่องต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ย้อนไปเมื่อต้นปี2547 กว่าประเทศไทยจะรู้ว่าได้จัดงานนี้แน่ๆก็ลำบากไม่น้อย และตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการนานกว่า3 ปีนั้นมีข่าวมาตลอดทั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและจีน ในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2548 จนเป็นเหตุให้ไทยต้องขู่ว่าจะขอถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การจัดงาน ต้องมีการชี้แจงกันพักใหญ่ หลังจากนั้นไม่นานก็มีการตั้งกระทู้ถามจากฟากพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับ ความไม่โปร่งใสเรื่องงบประมาณ ที่ใช้ โดยตั้งข้อสังเกตถึงงบประมาณผูกพันในการดำเนินโครงการว่าเหตุใดถึงของบผูกพัน3 ปีทั้งที่งานจัดในปี 2549 นี้และงบประมาณในปี 2549 กับวงเงินที่ขอไว้248 ล้านบาท กลับเป็นเพียงงบสำหรับการจ้างที่ปรึกษาดำเนินงานและงานประชาสัมพันธ์ที่เป็นของบริษัทเอกชน ซึ่งมีการชี้แจงจากกรมวิชาการเกษตรว่าที่ตั้งงบผูกพันเพราะงานนี้จัดบนพื้นที่ถึง 470 ไร่และหลังจบงานจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางพืชสวน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นมหกรรมพืชสวนโลกก็ยังเป็นหนึ่งในเรื่องที่ถูกตรวจสอบทุจริตโดยมีการตั้งข้อสังเกตจากหลายฝ่ายอย่างต่อเนื่อง ชัยพันธ์ประภาสะวัต ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อสิทธิชุมชนได้กล่าวถึงการดำเนินงานว่า โครงการนี้มีประเด็นต้องตรวจสอบหลายประเด็น ทั้งการไม่เคารพกฎหมายละเมิดรัฐธรรมนูญ ความไม่โปร่งใสในการออกแบบ ควบคุมงานและการประมูลงานก่อสร้างปัญหาพันธุ์พืชต่างถิ่นในเขตอุทยานฯ ปัญหาน้ำแล้งและการแย่งชิงน้ำ ด้าน อนันต์ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงปัญหาทุจริตในการจัดงานพืชสวนโลกเช่นเดียวกัน ว่ามีการทำอย่างเป็นขบวนการมาตั้งแต่ต้น เริ่มจากการยกร่างทีโออาร์ การคัดเลือกบริษัทเอกชนไปจนถึงการปรับลดเนื้องานก่อสร้าง เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชน โดยกิจการร่วมค้า CKNNL เป็นผู้เสนอราคาในวงเงินต่ำสุดคือ1,259,850,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลางแค่ 100 บาท สำหรับมนตรีค้ำชู อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชลประทานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะรองประธานคณะทำงานออกแบบผังแม่บทและสิ่งก่อสร้างการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก เป็นผู้เสนอต่อที่ประชุมให้มีการปรับลดงานการก่อสร้างลง 6 รายการ รวมเป็นเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งเขาได้คัดค้านในที่ประชุม ปรากฏว่านายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ นายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯ สมัยนั้น และนายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนให้มีการปรับลดเนื้องาน ในขณะที่ศ.ดร.ระพีสาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ย้ำอย่างต่อเนื่องว่า มีปัญหาทุจริตจริง โดยบริษัทเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลจัดงานครั้งนี้ มีการวางแผนเตรียมกล้าพันธุ์ไม้ล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการเปิดประมูลจัดหาพันธุ์ไม้ในงานพืชสวนโลก จึงเห็นได้ว่า ปัญหาทุจริตในโครงการพืชสวนโลกมีการวางแผนกันเป็นขบวนการ ขณะที่ในเรื่องความพร้อมของการจัดงานก็มีการตั้งข้อสังเกตมาตลอด มีข่าวว่าทางสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศมองว่าการจัดงานของไทยมีเนื้อหาที่ไม่ชัดเจน จึงอาจจะมีการปรับลดระดับงานจากเดิมที่เคยให้เป็นระดับ A1 ก็อาจลดเหลือเพียงแค่ระดับA2B1 ก่อนจะมีการประสานจนคงระดับไว้ได้เหมือนเดิมอีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ระหว่างคณะกรรมการจัดงานกับทางสมาคมกล้วยไม้และสมาคมพืชสวนสมุนไพรของไทย เกี่ยวกับงบประมาณที่เคยตั้งไว้ไม่พอ เพราะปัญหาน้ำมันแพงทำให้ต้นทุนสูงขึ้นจนอาจต้องดึงงบสมาคมอื่นมาใช้ ทำให้สมาคมต่างๆไม่พอใจถึงขนาดขู่จะถอนตัว แต่ก็สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ในที่สุด ในเรื่องการมีส่วนร่วมของชาวสวนเชียงใหม่เองอาทิตย์ สุระจิตร์ที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้ดอกไม้ประดับอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ชาวสวนไม้ดอกไม้ประดับเชียงใหม่แทบไม่ได้รับประโยชน์จากงานเลย เพราะระบบประมูลจัดหาพันธุ์ไม้จากส่วนกลางตัดโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม อีกทั้งการจัดงานไม่มีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดพันธุ์ไม้แน่ เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีความต้องการซื้อไม้ดอกไม้ประดับไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมากอยู่แล้วนอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการจัดการระบบชลประทานที่ใช้ภายในงานซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง และระบบการจัดการในเรื่องขยะมูลฝอยจากงานที่หลายฝ่ายกำลังจับตาดูอยู่อีกด้วย ภายหลังกระแสและข้อสังเกตดังกล่าวรุ่งเรืองอิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับปากว่าจะดำเนินการสอบสวนกรณีทุจริตหลังวันที่ 3 พฤศจิกายน2549 โดยจะเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่ทั้ง 470 ไร่ หลังสิ้นสุดงานพืชสวนโลก ได้มีการหารือภายในกระทรวงฯ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่สุด อย่างไรก็ตามจะต้องมีการกำหนดแนวทางบริหารจัดการและดูแลพื้นที่อย่างแน่นอน เพราะลงทุนไปมหาศาล ต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้ลงทุนไป ด้านผอ.อุทัยนพคุณวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเกษตรหลวงตำบลแม่เหียะ ตัวแทนคณะกรรมการจัดงานยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำให้ภาพรวมออกมาเรียบร้อยเพราะงานมหกรรมระดับชาติมีการดูแลหลายส่วน 100 กว่าส่วน อีกทั้งยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ยอมรับว่ามีการเร่งงานเพื่อให้เสร็จทันเวลา แต่ส่วนที่มีการทำสัญญากับราชการก็เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ในส่วนอื่นๆ อย่างสวนต่างประเทศที่เขาต้องการจัดเองผู้จัดงานก็คอยดูแลความเรียบร้อย และอำนวยความสะดวกให้ หรือในสวนองค์กรต่างๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถควบคุมได้ “ร้านค้าเล็กๆ หรือการเพิ่มเติมส่วนต่างๆ จากโครงการเดิมที่เป็นมติจากคณะรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูงให้มีการต่อเติมเข้ามามันก็ทำให้งานมีส่วนประกอบมากขึ้น ส่วนที่ยังไม่เสร็จจึงเป็นส่วนที่เพิ่งเพิ่มมาทีหลังซึ่งทางคณะผู้จัดงานก็ได้จำกัดเวลาไว้ที่เที่ยงของวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ยอมรับว่าอาทิตย์แรกของการจัดงานคงจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาพอสมควรรวมทั้งปัญหาที่คาดไม่ถึงอีก ซึ่งทางผู้จัดก็ได้มีการเตรียมแผนรับมือกับเรื่องต่างๆ เอาไว้บ้างแล้ว อย่างในเรื่องการคมนาคมได้มีการเตรียมการเอาไว้หลายแผนกรณีที่ไม่สามารถจัดการกับประชาชนที่มาเที่ยวงานได้ทั่วถึง” ส่วนของชาวเชียงใหม่เองได้มีการเชิญองค์กรส่วนท้องถิ่นเข้ามาหารือร่วมกันและได้มีการรณรงค์ในเรื่องความเป็นเจ้าบ้านที่ดี การจัดโฮมสเตย์ การอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ “ปัญหาที่ชาวเชียงใหม่กล่าวถึงการมีส่วนร่วมกับงานพืชสวนโลกนั้น แต่เดิมงานจะจัดในนามสมาคมพืชสวนเชียงใหม่ ในระดับ A2B1 แต่เมื่อยกระดับขึ้นมาเป็น A1 เป็นงานระดับแกรนด์ที่มีรัฐเข้ามาดูแลงานอย่างเต็มที่ ซึ่งก็ได้มีกลุ่ม สมาคม องค์กรด้านพฤกษชาติเข้ามาร่วมมากมาย การเตรียมต้นไม้ก็จะหลากหลายขึ้น ทั้งไม้ดอก พืช สมุนไพร ไม้ยืนต้นก็มีการเตรียมมาจากส่วนต่างๆ ที่รับผิดชอบซึ่งของเชียงใหม่เองก็มีกระจัดกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของงาน แต่ก็ต้องมีส่วนที่มาจากแหล่งอื่นๆ ประกอบด้วย เพราะระดับงานที่ใหญ่ดังนั้นจึงไม่มีการไปเจาะจงว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ของใครเป็นส่วนใหญ่” ภายหลังจากจบงานนั้นผอ.อุทัยบอกว่าได้มีการแจ้งไว้อย่างชัดเจนแล้ว เป็นมติคณะรัฐมตรีว่าจะต้องมีการดูแลต่อไปเพียงแต่ในตอนนี้ยังไม่ได้สรุปว่าหน่วยงานไหนจะเป็นผู้ที่เข้ามารับผิดชอบ “ที่ได้มีการคุยกันภายหลังจากจบงานนั้น จะมีการปรับเปลี่ยนสภาพสถานที่ตามความเหมาะสมซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่ศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรหอคำหลวงอาจจะใช้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติ อาจทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ หรืออาจจะปรับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของเมืองเชียงใหม่ หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเกษตรทางกรมวิชาการเกษตรก็อาจจะนำไปใช้ศึกษาต่อไป ภายหลังจากงานในเดือนมกราคมแล้วก็จะยังมีการดูแลสถานที่ต่อไปอีก 6 เดือนเพื่อรอข้อสรุปเกี่ยวกับงานในครั้งนี้ สำหรับสวนต่างประเทศนั้น จะปรับเป็นสวนพันธุ์ไม้โดยยุบไม้ดอกไป ซึ่งภายหลังจากจบงาน คาดว่าแต่ละประเทศที่นำสวนของตนเองมาร่วมแสดงนั้น จะทำหนังสือส่งมอบให้เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป” จุดหมายปลายทางของราชพฤกษ์ 2549 จะเป็นลานดอกไม้หรือพงหนามอีก 2 เดือนนับจากนี้ก็คงได้รู้กัน |
Be the first to comment on "พืชสวนโลก"