มีเดียมอนิเตอร์พบ สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์เป็นช่องทาง “ผลิตซ้ำและแพร่กระจาย”

มีเดียมอนิเตอร์พบ สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์เป็นช่องทาง “ผลิตซ้ำและแพร่กระจาย” สิ่งที่นายกฯรักษาการณ์พูดในรายการ “คุยกับประชาชน” มากกว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริง การสร้างความสมดุลและเป็นธรรม

มีเดียมอนิเตอร์พบ สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์เป็นช่องทาง “ผลิตซ้ำและแพร่กระจาย”
มีเดียมอนิเตอร์พบ สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์เป็นช่องทาง “ผลิตซ้ำและแพร่กระจาย” สิ่งที่นายกฯรักษาการณ์พูดในรายการ “คุยกับประชาชน” มากกว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริง การสร้างความสมดุลและเป็นธรรม

วันนี้ (13 กันยายน 2549) ที่สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม” (Media Monitor) ได้นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ “รายการ นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ในสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์” โดยทำการศึกษาและเฝ้าระวังรายการข่าว วิเคราะห์ข่าวและสนทนาข่าวจากสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี ทั้ง 6 ช่อง ( 3, 5, 7, 9, 11 และ ITV) เวลา 16.00 – 0.00 น. ของทุกวัน และ เวลา 6.30 – 13.00 น. ในวันเสาร์ – อาทิตย์ กับ เวลา 5.00 – 10.00 น. ในวันจันทร์ – ศุกร์ รวมทั้งการศึกษาและเฝ้าระวัง ข่าว บทบรรณาธิการและบทความจากหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ คือ ผู้จัดการ มติชน ไทยรัฐ และ กรุงเทพธุรกิจ ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม ถึง วันที่ 11 สิงหาคม 2549

เหตุที่มาของการศึกษาครั้งนี้ เนื่องจาก สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้ขอความร่วมมือให้โครงการดำเนินการ เนื่องจากสมาคมฯเห็นว่า การที่นายกฯรักษาการณ์ กลับมานำเสนอรายการ “นายกทักษิณคุยกับประชาชน” หลังจากบอกลาไปแล้ว เป็นเรื่องที่น่าจับตาดู เพราะในสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังวุ่นวายและเกิดความขัดแย้งในสังคม ทั้งการแข่งขันทางการเมืองก็เข้มข้น เพราะกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ดังนั้น การจัดรายการ “นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน” จึงอาจถูกสื่อมวลชนตั้งคำถามถึงความเหมาะสม แต่หากนายกรัฐมนตรียืนยันจะใช้รายการนี้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูล ความคิดเห็น ก็สมควรที่สื่อต่าง ๆ จะมีวิจารณญาณในการนำเสนอ เพื่อสร้างความสมดุล ความเป็นกลาง และ บรรยากาศประชาธิปไตย

การศึกษาและเฝ้าระวัง “รายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนในสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์” ครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ

• ศึกษารูปแบบของการนำเสนอประเด็นจากรายการ “นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน”ของสื่อโทรทัศน์ และสื่อหนังสือพิมพ์ ในเรื่อง การนำเสนอซ้ำ การตรวจสอบข้อเท็จจริง ความเป็นกลาง- ความสมดุล และความเป็นธรรมของการนำเสนอ

• วิเคราะห์บทบาทของสื่อโทรทัศน์ และสื่อหนังสือพิมพ์ต่อการนำเสนอประเด็นจากรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” ในเรื่อง – การสนับสนุนบรรยากาศประชาธิปไตยในการสื่อสาร – การเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างได้แสดงทัศนะ และตั้งคำถามถึงข้อเท็จจริงของคำพูดที่นายกฯรักษาการณ์กล่าวในรายการฯ – การยกระดับความคิดของคนในสังคม

ทั้งนี้ ในการศึกษา ครั้งนี้ได้ให้คำอธิบาย หน่วยในการศึกษา ดังนี้
• การผลิตซ้ำ คือ การนำเสนอหรือขยายประเด็นต่อเนื่องจากในรายการฯ ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา
การผลิตซ้ำโดยตรง คือ การนำเสนอเนื้อหาจากในรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน การผลิตซ้ำโดยอ้างอิงเนื้อหา คือ การขยายประเด็นโดยมีแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่นำเสนอใน รายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน

• การตรวจสอบข้อเท็จจริง คือ การสอบทานข้อมูลความเป็นจริง/ข้อเท็จจริงของประเด็น โดยการตั้งคำถามหรือข้อสงสัยและการยกตัวอย่างของข้อเท็จจริงหรือข้อมูลด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น

• ความเป็นกลาง (Objectivity) คือ การนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติ ความลำเอียง การสอดแทรกอารมณ์ และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ประกาศ/ผู้รายงานข่าว โดยพิจารณาจาก วัจนภาษา และ อวัจนภาษา

• ความสมดุล (Balance) คือ การรายงานข่าวอย่างรอบด้านจากแหล่งข่าวทุกฝ่าย ซึ่งพิจารณาได้จากการปรากฏภาพ เสียง และเนื้อหาของแหล่งข่าว

• ความเป็นธรรม (Fairness) คือ การให้พื้นที่แก่แหล่งข่าวแต่ละฝ่ายในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน โดยพิจารณาจากภาพ เสียง และเนื้อหาของแหล่งข่าว

• แหล่งข่าว (Sources) คือ บผู้นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่นำเสนอในรายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน แบ่งแหล่งข่าวออกเป็น
ฝ่ายที่ 1 คือแหล่งข่าวที่เป็นต้นเรื่องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ฝ่ายที่ 2 คือแหล่งข่าวที่เป็นคู่กรณีหรือผู้มีความเห็นแตกต่างกับ ต้นเรื่อง หรือ แหล่งข่าวฝ่ายที่ 1
ฝ่ายที่ 3 คือแหล่งข่าวที่เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์ ผู้เสนอแนะ หรือ ผู้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง

ผลการเฝ้าระวัง ศึกษา และ วิเคราะห์ พบว่า

สื่อโทรทัศน์

• สถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีแนวโน้มการเลือกประเด็นข่าวมานำเสนอซ้ำต่อเนื่องและคล้ายคลึงกันในแต่ละสัปดาห์
ประเด็นที่สื่อติดตามและนำเสนอมาก มี 11 ประเด็น คือ ประเด็นพระราชกฤษฏีาเลือกตั้ง, สนามบินสุวรรณภูมิ,การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำปี, การสรรหาและแต่งตั้ง กกต., การสร้างความสมานฉันท์ร่วมใจกันขจัดข่าวลือ, เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี, การเดินทางไปพม่าอย่างกะทันหัน , การกระชับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา, การติดตามนโยบายรัฐในภาคอีสาน, สนามบินสุวรรณภูมิ(2), เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี (2)

ประเด็นที่สื่อติดตามและนำเสนอบ้างแต่ยังน้อย มี 2 ประเด็น คือ การสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง, รถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV

ประเด็นที่สื่อไม่ได้ติดตาม และนำเสนอ มี 3 ประเด็น คือ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน, การปราบปรามยาเสพติด, การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง

• สถานีโทรทัศน์ทุกช่องยกเว้นช่อง 9 และ ช่อง 11 ขาดความพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงในข่าวจากเนื้อหารายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนอยู่ในระดับที่น้อยมาก (เฉลี่ยที่ 1-2 ประเด็น จากทั้งหมด 16 ประเด็นในแต่ละช่อง) คือ การสรรหาและแต่งตั้ง กกต., สนามบินสุวรรณภูมิ, การสร้างความสมานฉันท์ ร่วมใจกันขจัดข่าวลือ, การกระชับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา, การติดตามนโยบายรัฐในภาคอีสาน

• สถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีความเป็นกลางในการรายงานข่าว แต่ในบางประเด็น บางช่อง มีการแทรกความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ประกาศข่าวลงไป และเกือบทั้งหมดโน้มเอียงเข้าข้างฝ่ายที่ 1 (รัฐบาล)

• สถานีโทรทัศน์ทุกช่องค่อนข้างขาดความสมดุลในการรายงานข่าว และมักไม่เปิดโอกาสให้แหล่งข่าวฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาแสดงความคิดเห็นเท่าที่ควร และพบว่าแหล่งข่าวส่วนใหญ่มักเป็นฝ่ายที่ 1 (รัฐบาล)

• สถานีโทรทัศน์ทุกช่องขาดความเป็นธรรมในการรายงานข่าวจากเนื้อหารายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ในแทบทุก ประเด็นข่าว

• สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องค่อนข้างขาดการนำเสนอเพื่อสนับสนุนบรรยากาศประชาธิปไตยในการสื่อสารและการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างได้แสดงทัศนะ เพราะ ส่วนใหญ่ยังคงให้พื้นที่ข่าวกับแหล่งข่าวฝ่ายที่ 1 (ฝ่ายรัฐบาล)

• สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องมีความพยายามนำเสนอเพื่อยกระดับความคิดของคนในสังคม ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะช่อง 9 และ ช่อง 11 ขาดการนำเสนอเพื่อยกระดับความคิดของคนในสังคม เพราะนำคำพูดของนายกฯจากรายการนายกคุยกับประชาชน มานำเสนอซ้ำเท่านั้น

สื่อหนังสือพิมพ์

• หนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับ มีแนวโน้มในการคัดเลือกประเด็นข่าวจากเนื้อหารายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนในแต่ละสัปดาห์ มานำเสนออย่างต่อเนื่องและซ้ำไปในทางเดียวกันในแต่ละสัปดาห์ ประเด็นที่สื่อติดตามและนำเสนอมาก มี 12 ประเด็น คือ ประเด็นพระราชกฤษฏีาเลือกตั้ง, สนามบินสุวรรณภูมิ,การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำปี, การสรรหาและแต่งตั้ง กกต., การสร้างความสมานฉันท์ร่วมใจกันขจัดข่าวลือ, เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี, การเดินทางไปพม่าอย่างกะทันหัน , การกระชับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา, การติดตามนโยบายรัฐในภาคอีสาน, สนามบินสุวรรณภูมิ(2),การสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง, เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี (2)

ประเด็นที่สื่อติดตามและนำเสนอบ้างแต่น้อย มี 4 ประเด็น คือ โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน, การปราบปรามยาเสพติด, การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง, รถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV

• หนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับ มีความพยายามในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากประเด็นต่างๆ ในเนื้อหารายการนายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชนในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 4-6 ประเด็น) จากทั้งหมด 16 ประเด็นประเด็นที่สื่อหนังสือพิมพ์ มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงค่อนข้างมาก คือ พระราชกฤษฏีกาเลือกตั้ง,สนามบินสุวรรณภูมิ, การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำปี, การสรรหาและแต่งตั้ง กกต. ประเด็นที่สื่อหนังสือพิมพ์ มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงบ้างแต่ค่อนข้างน้อย คือ การสร้างความสมานฉันท์ ร่วมใจกันขจัดข่าวลือ, เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี, การเดินทางไปพม่าอย่างกะทันหัน, การกระชับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา, การติดตามนโยบายรัฐในภาคอีสาน, สนามบินสุวรรณภูมิ (2), การสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง

ngv”NGV” รถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซ”รถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซ” (2), เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี”เศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับดี” การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง,”การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง,” การปราบปรามยาเสพติด,”การปราบปรามยาเสพติด,” ทุน,”ทุน,” 1 อำเภอ”อำเภอ” โครงการ”โครงการ” คือ”คือ” ประเด็นที่ไม่มีการตรวจสอบ”ประเด็นที่ไม่มีการตรวจสอบ” /> • หนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับ มีความเป็นกลางในการรายงานข่าว

• หนังสือพิมพ์มติชนมีความสมดุลในข่าวที่มีประเด็นจากเนื้อหารายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนมากที่สุด (10 ประเด็น) รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (7 ประเด็น) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (6 ประเด็น) และไทยรัฐน้อยที่สุด (เพียง 4 ประเด็น) มีเพียง 2 ประเด็นที่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างนำเสนออย่างสมดุลเหมือนกัน คือ ประเด็นพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง และประเด็นการเดินทางไปพม่าอย่างกะทันหัน

• หนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจมีความเป็นธรรมในการนำเสนอข่าวที่มีเนื้อหาจากรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน (6 ประเด็น) ขณะที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการและไทยรัฐขาดความเป็นธรรมในทุกๆ ประเด็นที่นำเสนอ

• หนังสือพิมพ์ 4 ฉบับที่ทำการศึกษา ส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดการนำเสนอเพื่อสนับสนุนบรรยากาศประชาธิปไตยในการสื่อสารและการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างได้แสดงทัศนะ เพราะยังคงให้พื้นที่ข่าวกับแหล่งข่าวฝ่ายที่ 1 (ฝ่ายรัฐบาล) มีเพียงหนังสือพิมพ์มติชนที่ให้พื้นที่ข่าวกับแหล่งข่าวทุกฝ่าย

• หนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับมีความพยายามนำเสนอเพื่อยกระดับความคิดของคนในสังคมโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเนื้อหารายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนผ่านเนื้อหาข่าว รายงานพิเศษ บทความและคอลัมน์

ที่มา : http://www.thaibja.org/ 13/09/2549

Be the first to comment on "มีเดียมอนิเตอร์พบ สื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์เป็นช่องทาง “ผลิตซ้ำและแพร่กระจาย”"

Leave a comment

Your email address will not be published.