รัฐบาลรักษาการ “คนกลาง” ตอนที่ ๑
๑๐-๐๑-๒๐๑๔
พลเดช ปิ่นประทีป
ตอนนี้หลายฝ่ายเรียกหารัฐบาลรักษาการที่เป็น ”คนกลาง” มาดูแลการปฏิรูปขั้นต้นบางประการเสียก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นแนวทางทางเลือกที่ไม่ต้องรอให้เกิดปฏิวัติประชาชนและฉีกรัฐธรรมนูญเสียก่อน
ต่อไปนี้คือหลักคิดหลักการบางอย่างในมุมมองของผมครับ
๑. ควรเป็นบุคคลภายนอกทั้งหมด – รัฐบาลคนกลางควรเป็นบุคคลภายนอกทั้งหมด ไม่ใช่เป็นรัฐบาลที่ผสมหลายพรรคหลายขั้ว ข้อดีคือการไม่มีอคติ ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวพันและไม่ต้องตกอยู่ในภาวะเกรงอกเกรงใจกัน
๒. ควรเป็น ครม.ขนาดเล็ก – รัฐบาลคนกลางควรมีขนาดประมาณ ๑๑-๑๕ คนเท่านั้น ด้านหนึ่งเพื่อความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ เป็นที่วางใจจากสังคมได้ง่าย อีกด้านหนึ่งเป็นการเตือนสติตลอดเวลาว่าเป็นรัฐบาลที่จะเข้ามาทำภารกิจเฉพาะเท่านั้น ในจำนวนนี้จัดให้มีรัฐมนตรีดูแลกระทรวงหลักๆ ที่สามารถใช้กลไกและโครงข่ายมารองรับภารกิจหลักได้ด้วย เช่นมหาดไทย กลาโหม สาธารณสุข ศึกษาธิการ เกษตรและสหกรณ์ ต่างประเทศ ฯลฯ ส่วนกระทรวงอื่นที่เหลือจงมอบให้ปลัดกระทรวงรักษาการแทน
๓. ควรเป็น ครม.ของนักบริหารจัดการ – ตัวบุคคลผู้จะเข้ามารับภารกิจในรัฐบาลคนกลาง ควรต้องมั่นใจว่ามีประสบการณ์และสามารถในการบริหารจัดการภารกิจได้ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด และควรเป็นบุคคลที่ทุกขั้วการเมืองและสังคมยอมรับได้
๔. ต้องกำหนดกรอบเวลาและภารกิจหลักที่ชัดเจน – ควรกำหนดให้ชัดว่ารัฐบาลรักษาการคนกลางมีภารกิจในการจัดการปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น (ส่วนงานประจำให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้ดูแลแทน)
Be the first to comment on "รัฐบาลรักษาการ “คนกลาง” ตอนที่ ๑"