รายงานกิจกรรมสถานการณ์โครงการและกรอบแผนงานปีที่ 3

เมื่อวันที่ 14-15 มี.ค. 2548 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ โครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดประชุมสถานการณ์โครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ และการวางกรอบแผนงานปีที่ 3 …

 

สันสกฤต  มุนีโมไนย

                                                                                       กองบรรณาธิการ:ทีมสื่อสารสาธารณะ  : รายงาน

เมื่อวันที่ 14-15 มี.ค. 2548 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ โครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดประชุมสถานการณ์โครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ และการวางกรอบแผนงานปีที่ 3

 

           นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI) กล่าวว่า โครงการของเรา เหลือเวลาอีกประมาณ 15 เดือนจึงต้องมาทบทวนกันว่าเราห่างจากเป้าหมายปลายทางที่ตั้งไว้แค่ไหนและเป็นข้อตกลงกับ สสส.ที่สนับสนุนงบประมาณในการทำงาน สสส.เป็นแหล่งทุน  เราต้องรายงานต่อแหล่งทุน และแหล่งทุน คือ สสส.ก็ต้องรายงานต่อสภา ต่อสาธารณะ การอธิบายอาจจะยากเพราะมันเป็นเรื่องที่เป็นกระบวนการ แต่เราต้องทำให้เขาเข้าใจให้ได้ ในที่สุดแล้วสิ่งที่เราทำต้องเป็นประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อประชาสังคม ผมเชื่อว่าโครงการชีวิตสาธารณะในแต่ละพื้นที่มี social creditพอสมควร เห็นว่าใน 35 จังหวัดเรามีบทบาทสำคัญในการทำงานเชิงสร้างสรรค์กับทางองค์การปกครองท้องถิ่นและผู้ว่าซีอีโอ

สถานการณ์หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ รัฐบาลมีเสียงค่อนข้างมาก ไม่รู้ว่าจะสนับสนุนภาคประชาสังคมหรือไม่อย่างไร ภาคประชาสังคม หมอสุชัยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขบอกมาแล้วว่า จะเดินหน้าเรื่อง 30 บาทและเอาภาษีจากเหล้า บุหรี่ของสสส.มาใช้แล้วคิดไปไกลถึงขั้นยุบรวมสสส.กับสปสช. ถ้าเป็นเช่นนี้ เราจึงต้องคิดถึงการทำงานต่อไปว่าจะทำอย่างไร และไม่ว่าสสส.จะอยู่หรือไม่ งานโครงการของเราต้องดำเนินต่อไป ในจังหวะต่อไปเราต้องโฟกัสทำงานการเคลื่อนไหวในระดับชนชั้นกลางเป็นหลัก เราไม่ได้ทิ้งเรื่องงานฐานรากแต่เราจะเบนจากฐานรากไปสู่กลุ่มวิชาการ กลุ่มวิชาชีพ กลุ่มศิลปิน กลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มเยาวชน เหตุที่เรา

คิดอย่างนี้เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปปะทะตรงฐานราก เพราะเราเริ่มถกกับรัฐบาลหลายเรื่องดังนั้นเราต้องกลับมาที่จุดแข็งของเราอย่างไรก็ตาม งานฐานรากของเราเป็นทุนที่สามาถยืนได้ด้วยตนเองพอสมควร เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว งานโครงการชีวิตสาธารณะฯหลังปี 3 เราคงจะไม่มีงานในลักษณะนี้อีกแล้ว จะมีก็คือเราต้องยืนด้วยตัวเอง และสามารถเสนอโครงการ หาแหล่งทุนทั้งในท้องถิ่น ในผู้ว่า ซีอีโอหรือใน สสส.  ส่วนงานในปีที่ 3 งานของเราคือ เป้าหมายของโครงการ 8 อย่าง มีทั้งเรื่องสมัชชาสุขภาพ ชุดความรู้ต่างๆ   ผมลองคิดเชิงรูปธรรม ในช่วง 16 เดือนที่เหลือ เราต้องทำให้ได้  เรื่องแรกคือเรื่อง เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ต้องทำให้ชัด ส่วนที่สองคือ แผนพัฒนาสุขภาพ  ส่วนที่สามคือ ทุนทางปัญญาของเครือข่าย ถ้าทำได้ครบถ้วน เราจะบรรลุผลที่ตั้งไว้ 

 

          กระบวนการต่อมาคือการกล่าวถึงสถานการณ์โครงการ นำเสนอผลงานและแผนงานที่จะทำต่อไปโดย  

อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ จากสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (civicnet) กล่าวว่า ในเวลาที่เหลือของโครงการ เราต้องสปีดเข้าเป้าหมายให้ได้ ผมมีสองเรื่อง สิ่งแรกที่เราต้องมีคือสมาธิ ถ้าเราเปรียบเสมือนทีมฟุตบอล ตอนนี้เราอยู่ท้ายตาราง ต่อให้โค้ชเก่งแค่ไหนก็ไม่มีผลถ้าผู้เล่นขาดสมาธิการที่จะยิงประตูให้ได้ต้องใช้สมาธิและการเล่น สมาธิกับการทำงานก็เช่นกัน ถ้ามีสมาธิพลังจะไหลไปที่นั่น แผนการเล่นก็เหมือนกับแผนที่เราจะทำ  เรารู้แล้วว่าจุดอ่อนอยู่ตรงไหน มีการ AAR(ทบทวนบทเรียน) มีการทำแบบฝึกหัด SystemThingking ซึ่งทบทวนความเป็นมาของความสำเร็จของเราที่มีในระดับหนึ่งมันมีมาได้เพราะอะไร อะไรคือตัวแปร อะไรคือปัจจัย อะไรคือเงื่อนไข บวกกับ AARเราก็สามารถเขียนรายงานได้แล้ว ทำจากปรากฏการณ์ไปสู่รากเหง้าของปัญหา จากปรากฏการณ์ไปสู่แบบแผนพฤติกรรม  จากแบบแผนพฤติกรรมไปสู่โครงสร้าง จากโครงสร้างไปสู่โครงสร้างของระบบไปสู่วิธีคิด เรื่องต่อต่อไปคือเรื่องสมัชชาสุขภาพไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำ เพราะเราผ่านประสบการณ์นี้มามากเหมือนอย่างโคราชจัด   

Big  bang มีคนเข้าร่วมกว่า 600 คน ดังนั้นการจัดเวทีสมัชาสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องยาก แม่ฮ่องสอนก็ทำมาล้ว อีสานก็มีอีสานโสเหล่ ภาคกลางไม่ได้ทำแต่ก็มาร่วมกับบางกอกฟอรั่มทำ เราเห็นกระบวนการทุกอย่างหมดแล้ว ตอนเราทำ Big bang Bangkok มีการระดมสมอง ได้ประเด็นนำเสนอ ประกาศทางผู้ว่าอภิรักษ์ ทางผู้ว่าก็นำนโยบายไปเป็นคำประกาศกรุงเทพฯ ออกมา 6-7ข้อ ซึ่งนโยบายของเราอยู่ในนี้เกือบทุกข้อ ตอนนี้จะตั้งสำนักการมีส่วนร่วมของประชาชน เราจะเห็นชัดว่า เมื่อทำหนึ่งเรื่อง เรื่องอื่นจะตามมา ผมฝากไว้ว่าหลายเรื่องเราทำมาแล้ว แต่เราขาดสมาธิ สิ่งที่เราทำมาถ้ารวบรวม เขียนให้ดีให้คม  สิ่งเหล่านี้จะปรากฏออกมา ถ้าเราได้รับงบ สสส.ต่อ เรื่องเครือข่ายที่เราจะทำต่อ เราจะเพิ่มศักยภาพของมันขึ้นมา เรื่องนี้คือเรื่องบูรณาการ เรื่องสภาวะผู้นำบวกกับเรื่องระดมพลังทางสังคมและบวก SystemThingking สามส่วนนี้ถ้าไม่มีจะทำเครือข่ายไม่สำเร็จ 

 

อ.ขวัญสรวง  อติโพธิ    ผมยกตัวอย่างที่ลำปาง ตรัง แม่กลอง นครสวรรค์ กำลังทำเรื่องจดหมายเหตุ เรื่องประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม ถ้าเราล้างคำว่าสมัยสุโขทัย รัตนโกสินทร์ ยุคเหล่านี้ไม่ได้บอกอะไร เป็นเพียงการยืนยันว่าอะไรเกิดขึ้นสมัยไหน แต่ถ้าเราเอากายภาพไว้ตรงกลาง แล้วเอาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ตอนนี้เปลี่ยนไปอย่างไร มีหลายชั้นตั้งแต่เมือง จังหวัด ภูมิภาค ท้องถิ่น ประเทศ โลก มันเคลื่อนยังไง แล้วนำมาปะติดปะต่อ ถ้ารู้จักดูบ้านดูเมืองเป็นมายังไงแล้วหากลยุทธ์ใหม่ หานักวิชาการ แล้วตีตัวกับคอวิทยุ ผมว่าได้ประโยชน์หลายอย่าง สิ่งสำคัญคือการรู้ตัวของท้องถิ่น ถ้าติดขึ้นมาจะเกิดเป็นกลุ่มจะเป็นสถาบันหรือมูลนิธิ เกิด NGOหน้าใหม่  อีกเรื่องคือความหลังท้องถิ่น เรากำลังทำสื่อเพื่อสติสาธารณะเรื่องสามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะคิดว่าอคติมีเยอะ ความคิดง่ายๆมีมากเรียกว่า ความหลังขังใจ เมื่อผจญกับรัฐและอำนาจส่วนกลาง ทำให้เกิดความอยุติธรรมเข้าไปอีก พอเรา

  

มานั่งระดมสมองกัน มีเยอะเรื่องท้องถิ่นไทยที่ยังไม่เข้าใจกัน เราทำยังไงให้ออกสู่สาธารณะแล้วจะเข้าใจกัน มีสติกันมากขึ้น

 

 

ผศ.ดร.เอื้อจิต  วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้จัดการทีมสื่อสารสาธารณะ กล่าวว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมามีทั้งกระบวนการเก็บข้อมูล หาเครือข่าย แสวงหาประเด็น ช่วงเวลาที่เหลือสำคัญมาก คือเราจะสื่อสารสู่สาธารณะอย่างไรว่า มันมีประเด็น ผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ และเรื่องราวนั้นเป็นสิทธิ อำนาจของประชาชนที่เขาต้องการ ในบางจังหวัดเรามองเห็นว่า ประเด็นนี้สามารถแสดงให้สาธารณะทุกระดับเห็นว่า นี่คือเรื่องราวของวาระ และการสร้างพลังภาคประชาชน แต่บางจังหวัดเหมือนกิจกรรมภาคประขาชน ตัวประเด็นเราต้องการนำเสนออะไร สิ่งสำคัญไม่ได้สำคัญว่า คุณคือใครและกำลังทำอะไรอยู่แต่สำคัญที่ว่า สิ่งที่คุณทำ ทำเพราะอะไรและเพื่ออะไร  โครงการชื่อว่า โครงการพัฒนาการสื่อสารเพื่อหนุนเสริมการสร้างชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง สิ่งที่เราต้องทำคือ จะสื่อสารอะไร แล้วอะไรนั้นสำคัญยังไงแล้วอะไรนั้นไม่ได้เป็นขั้วต่างของภาครัฐ แล้วอะไรนั้นไม่ได้ขยายงานภาครัฐที่เขาทำอยู่แล้ว เราต้องหาจิตวิญญาณ โจทย์ของภาคประชาชน  กรอบงานสื่อที่จะทำภายใต้โครงการฯ

 

      การนำเสนอข้อมูลความรู้เพื่อพัฒนาทัศนคติพฤติกรรมสังคม ต่อกระบวนการประชาชนเพื่อชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ เรื่องนี้ไม่ใช่งานพัฒนาบ้านเมืองสะอาด ไม่ใช่การพัฒนาการกินการอยู่ให้ดีขึ้น แต่เป็นการพัฒนาชีวิตทั้งชีวิต  งานที่ได้ทำไปคือ การจัดหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพการสื่อสาร หลักสูตรนี้ไม่เน้นว่าผลิตสื่ออย่างไร เน้นที่ค้นหาประเด็นอย่างไร สื่อสารออกไปแล้วมีผลต่อตัวงาน และกระตุ้นสาธารณะให้ก้าวเดินเข้ามา เห็นพลังร่วมของเรา หลักสูตรที่จะทำต่อไปในช่วงสิบกว่าเดือนที่เหลือ คือ พัฒนาทักษะการคิดค้นประเด็นที่เป็นจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ ส่วนการพัฒนาทักษะผลิตสื่อจะเป็นเรื่องรองลงมา  ตอนนี้เราจะทำสำนักข่าว เป็นตัวกลางที่จะค้นหาเรื่องราวความเคลื่อนไหวของภาคประชาชน แล้วฝังอยู่ในทุกพื้นที่ ตอนนี้กำลังปรับตัวครั้งใหญ่ ที่หลังจากทำงานในห้าประเด็นแล้วทำสื่อกระแส รองคือร่วมกับเครือเนชั่นเราค้นพบว่าการทำงานต้องลงไปแตะกับพื้นที่ สิ่งที่อยากขอ

 

ความร่วมมือคือการสื่อสารข้อมูลระหว่างจังหวัด ที่เร็วที่สุดคือผ่านเว็บไซต์กับทางอีเมล์ของ ldinet.org ตอนนี้เว็บไซต์พัฒนาขึ้นแต่ยังไม่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เราพยายามต่อคือ มอบ Email account พร้อมคู่มือการใช้ ให้ทีมงาน 35 จังหวัด แผนงานต่อไปคือการจัดกิจกรรมพัฒนาทัศนคติและทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสื่อสารงานโครงการ และการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักในสื่อกระแสหลัก ต่อไปคือการพัฒนาทักษะการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวใน 30วัน เป็นการทำข้อมูลเชิงลึก คาดว่าเดือนเมษาจะเริ่มวางในส่วนของการสื่อสารสาธารณะทำไปแล้วคือ เวทีพลเมืองไทที่แพร่งภูธร ทดลองทำ 5 รายการ ผลิตสารคดี 15 นาที 5 เรื่องและผลิตเอกสารข้อมูล มีผลจากพื้นที่ว่าให้เราทำสารคดีเชิงประเด็นต่อเพราะช่วยขยายผลในพื้นที่ได้พอสมควร  ทางเนชั่นมีผลตอบรับคือมีคนตอบมาว่า รายการดี น่าจะมีอีก       ต่อไปจะผลิตสารคดี 20 รายการ รายการละ15นาที เป็นรายการเชิงประเด็นจากพื้นที่ มีเวทีสาธารณะในพื้นที่ และการผลิตเอกสารชุดความรู้จากการปฏิบัติงานโครงการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เห็นกระบวนการทำงาน ภายในปลายปีนี้ที่จะทำคือเอกสารเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แม่สอดจะถอดเป็นองค์ความรู้จากการปฏิบัติการอย่างแท้จริง  รวมถึงการทำโปสเตอร์สะท้อนแนวคิดและหลักการโครงการ  อีกอย่างคือสารคดี 20 รายการ ทางไททีวี1 เครือข่ายเคเบิลทีวี และจะประสาน สทท.11 ภูมิภาค 14 เดือนที่เหลือคือเรื่องที่เราต้องฝากอะไรไว้ในแผ่นดินนี้ ไม่ใช่แค่สิ้นสุดโครงการเท่านั้น

รศ.ดร.เนาวรัตน์  พลายน้อย  ฝ่ายติดตามประเมินผลภายใน  จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เราพูดกันมาหลายครั้งเป็นจริงมากขึ้น คือเราอยู่ในภาวะที่ทำงานยากขึ้น ไอสไตล์กล่าวว่า เราไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีคิดชุดเดียวกันกับวิธีคิดที่สร้างปัญหานั้นขึ้นมา หมายถึง เราทุกคนต้องคิดให้แยบยลมากขึ้นเพื่อโดนไปสู่โค้งสุดท้ายที่เหลืออยู่  แต่ละจังหวัดควรวางตำแหน่งตัวเองว่า เวลาที่เหลือจะตอบโจทย์หรือตั้งโจทย์อะไร ควรจะโฟกัสอะไรเพื่อให้เป็นรูปธรรมหลังจากนี้ สิ่งที่เราจะทำต้องกลับไปคุยในจังหวัดของท่าน สร้างความเห็นพ้องในพื้นที่  ผมใช้คำว่า mapping output ทำให้รู้ว่าช่วงเวลาที่เหลืออยู่โครงการเราเรียนรู้และส่งมอบอะไรต่อสังคมได้บ้าง

  

 

     ลำดับต่อมาเป็นการสะท้อนมุมมองและนำเสนอถึงเรื่องราวการทำงานในพื้นที่ โดยนางเพลินใจ เลิศลักขณะวงศ์  จากประชาคมตาก กล่าวว่า  จากการทำงานประชาสังคมตั้งแต่ปี 2540 ความเป็นคนแม่สอดเราเหมือนถูกกระทำว่า เราเป็นเจ้าของบ้านแต่ไม่เคยได้กำหนดบทบาทของตนเอง ช่วงปี 40 แม่สอดครบรอบ 100 ปี มีการตั้งคณะทำงานขึ้น ในกลุ่มแม่สอดราชการเมื่อทำอะไรจะนึกถึงโครงสร้างที่ใหญ่ มีผู้ใหญ่เป็นคณะทำงาน ผ่านไปหกเดือนหนึ่งปี ยังไม่มีใครดิ้นเรื่องอะไร มีคนมาหาที่บ้านบอกว่าช่วยทำให้แม่สอดร้อยปีผ่านไปได้ เรามองว่ามีโอกาสที่จะรวมกลุ่มเล็กๆที่ไม่มีชื่อเสียง เริ่มจากเพื่อนสองสามคนไปรวบรวมสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ถึงความเป็นมาของแม่สอด เพราะไม่มีเอกสารอะไรเลยว่าคนแม่สอดเป็นใคร มาจากไหน เรามีความมุ่งมั่น ใช้เวลา6เดือน หนังสือแม่สอดก็สำเร็จ หนังสือเล่มนี้ทุกสถาบันใช้อ้างอิง

     กระบวนการประชาสังคมคนน้อยแต่มีพลังและสามารถใช้ทะลุทะลวงได้หลายเรื่อง  ประชาคมแม่สอดมีจุดเด่นที่ความหลากหลาย มีทั้งนักกฎหมาย พ่อค้า ข้าราชการ มีทั้งฝ่ายบู๊และบุ๋น มีการพูดคุยกัน มาถึงเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เราทำงานกับหอการค้า แนวคิดของรัฐบาลชุดนี้เน้นเรื่องนี้มาก การประชุมวิชาการหอการค้าหรือเอกสารทั้งหมดเราจะได้อ่าน ได้วิเคราะห์  มุมมองของพ่อค้ามองเรื่องเศรษฐกิจคือการทำทุกอย่างให้ได้ดีหมด แต่หลังจากเราวิเคราะห์พบว่า  ประเทศไทยมีแต่คนคิดจะทำเรื่องเขตเศรษฐกิจแต่ไม่มีว่ามันจะออกกฎอย่างไรเรื่องนี้กลุ่มที่พร้อมจะไปคือพ่อค้า เพราะมีพร้อมทุกอย่าง และเห็นประโยชน์ว่าจะได้อะไร แต่ชาวบ้านประมาณ 80% รู้อย่างเดียวคือ ขายที่ดิน เราจะทำยังไงให้กลุ่มเหล่านี้ทันกันว่า จะขายที่ก็ขายแต่ขายตอนไหนที่มีกำไรหรือมีอะไรดีกว่านี้   อันดับต่อมาคือ เปลี่ยนในเชิงสร้างสรรค์ให้ได้  เราต้องอ่านให้มาก รู้ให้มาก แลกเปลี่ยนให้มาก 

     เมื่อพูดถึงเรื่องการค้าชายแดน พูดเรื่องการท่องเที่ยว เรื่องการเกษตร เรื่องแรงงานต่างด้าว เรารู้หมดว่าเป็นปัญหา สิ่งเหล่านี้ที่มาพร้อมเขตเศรษฐกิจ เราเลือกได้แล้วว่าอะไรที่เหมาะและไม่เหมาะกับบ้านเรา ทางเลือกของการกำหนดอนาคตตนเองคือจะเอาทั้งหมดหรือไม่ หรือจะบางส่วน หรือปฏิเสธ นี่คือแนวคิดว่าทำไม เราจึงมาสนใจตรงนี้ เราจึงกลายเป็นหน่วยจัดการองค์ความรู้โดยไม่รู้ตัว จากเอกสารเป็นตั้งๆ เรานำมาย่อยให้เป็นเล่มเล็กๆว่า ที่ไหน เป็นอะไร อย่างไร  สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อหมดโครงการคือ ทำอย่างไรให้เรามองว่าชีวิตสาธารณะคือชีวิตปกติที่เราแบ่งมาให้ ไม่ใช่ว่าโครงการหมด จะอยู่อย่างไร เงินไม่ใช่ประเด็น แต่เราจะออกแบบว่าทำอย่างไรให้คนในชุมชน ท้องถิ่นของเรา เอาคำว่า เอาธุระกับสังคมในชีวิตประจำวัน

 

 

     จากการพูดคุยสองวันที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าไม่ว่าอนาคต สสส.ซึ่งเป็นแหล่งทุนของเราจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม เราทุกคนที่ทำงานในภาคประชาสังคมต้องยืนด้วยตัวเองให้ได้ และใช้จิตใจที่มีความเป็นพลเมืองอาสาร่วมกันทำสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติของเราต่อไป

Be the first to comment on "รายงานกิจกรรมสถานการณ์โครงการและกรอบแผนงานปีที่ 3"

Leave a comment

Your email address will not be published.