รายงานกิจกรรม “เวทีเครือข่ายเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ” ภาคใต้

จากการประชุมเวทีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ ภาคใต้ วันที่10-11 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ณ เลตรัง รีสอร์ท  ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง  มีประเด็นในการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้และกรณี Land Bridge  เริ่มที่การแลกเปลี่ยน พูดคุย ทบทวนตนเองตระหนักรู้สถานการณ์ภาคใต้

กองบรรณาธิการ : ทีมสื่อสารสาธารณะ
จากการประชุมเวทีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ ภาคใต้ วันที่10-11 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ณ เลตรัง รีสอร์ท ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง มีประเด็นในการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้และกรณี Land Bridge เริ่มที่การแลกเปลี่ยน พูดคุย ทบทวนตนเองตระหนักรู้สถานการณ์ภาคใต้ สรุปสิ่งที่เป็นอยู่ดังนี้

  • ข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดไม่ชัดเจน ไม่พอ บิดเบือน
  • สื่อที่มีอยู่ไม่เป็นกลาง ทำให้คนในสังคมรับรู้ข้อมูลเพียงด้านเดียว
  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สื่อต่างประเทศให้ความสนใจ ติดตามนำเสนอ ขยายวงมากผิดปกติ และมีการนำเสนอข่าวข้อมูลที่แตกต่างจากสื่อในประเทศไทย
  • เกิดความสับสน หวาดระแวง ทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ออกไป
  • คนเริ่มอพยพไปอยู่ที่อื่น แม้แต่คนที่เกิดและอยู่ในพื้นที่มาทั้งชีวิต
  • มีตัวอย่างของความสมานฉันท์ของชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัด มากมายแต่ไม่เคยถูกนำเสนอผ่านสื่อ มักจะนำเสนอด้านเดียว
  • คนที่อยู่บริเวณชายแดนถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐมากมาย กฎ กติกามีแต่เหมือนไม่มี ไม่ได้รับความเป็นธรรม ใครโวยถูกทำให้หายตัว
  • คนใต้ไปไหนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์จากคนต่างภาค สะท้อนให้เห็นว่าเรื่องมันใกล้ตัวเรา
  • ความจริงที่แตกต่างจากมุมมองที่แตกต่างนำไปสู่ความขัดแย้ง ขาดการยอมรับความหลากหลาย
  • รู้สึกบอบช้ำในจิตใจที่เกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก
  • พลเมืองถูกกำหนดทั้งอารมณ์ ความรู้สึกการดำรงชีวิตโดยนโยบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน ระบบ “แพ้คัดออก” จนไม่มีโอกาสตั้งคำถาม หรือบางคนไม่เคยถามคอยแต่คำตอบ
  • อำนาจท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญรองรับไร้ความหมาย
  • อำนาจเชิงโครงสร้าง รุกล้ำ ทำลายอำนาจตามธรรมชาติ
จากข้อสรุปดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามว่า

  • ทำไมสังคมจึงขาดสติ ถูกปลุกปั่นให้ไปในทิศทางใดก็ได้โดยไม่มีภูมิคุ้มกัน
  • วิธีคิดไม่มีการยกระดับ ในมิติของวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่แตกต่าง
  • ทำอย่างไรให้ทุกมุมมอง ได้ถูกมองร่วมกัน
  • เราควรทำสื่อเองไหม
  • เราควรทำอะไรซักอย่างเพื่อมิให้รุนแรงเพิ่มขึ้นอีก
  • ควรค้นหาความจริงเชิงโครงสร้างว่าแต่ละเรื่องคืออะไรและเข้าใจองค์ความรู้ที่มีอยู่จากงานวิจัย ฯลฯ
  • ควรสร้างองค์กรที่มีความเป็นกลาง ในท่ามกลางความหลากหลายของวิถีปฏิบัติทางศาสนา เพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจ มิให้บ่มเพาะความรุนแรงเพิ่มขึ้น
  • เราควรค้นหาบทบาท ที่จะดำเนินการให้ชัดในสภาพการณ์อย่างนี้
  • รัฐละเมิดสิทธ์มากขึ้นแต่ไม่ถูกนำเสนอ
  • ควรสร้างเงื่อนไขให้เกิดการสื่อสารทางตรง ในบริบทของวิถีของสังคม เช่น ร้านน้ำชา ฯลฯ
  • ควรเพิ่มอำนาจที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากขึ้น
ต่อมาเป็นประเด็นการนำเสนอสถานการณ์ภาคใต้กรณี SELB(Strategic Energy Land Bridgeโดยคุณศยามล จากเครือข่ายคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)ได้แนวคิดดังนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรม

1.จะไม่นำพื้นที่ทางการเกษตรพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม แต่ความเป็นจริงคือพยายามแปลงพื้นที่สีเขียว (เกษตร) เป็นพื้นที่สีม่วง (อุตสาหกรรม)ที่ผ่านมามีการถมแม่น้ำตาปีที่สองข้างแม่น้ำปลูกสวนยางและปาล์ม จนทำให้แม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางเกิดตะกอนทับถมสองข้าง

2. การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมต้องเป็นพื้นที่ปิด พังงามีความสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จะไม่มีการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่จะสร้างที่สิชล ซึ่งก็จะทำให้กระทบเกาะสมุย อุทยานแห่งชาติหลายแห่งบริเวณใกล้เคียงจะถูกพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรม ในความเป็นจริงทั้งสองพื้นที่มีแนวโน้มเกิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสูงเพราะการลงทุนขนาดนี้ถ้าไม่ดำเนินการสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะไม่คุ้มทุน

ประสบการณ์ผลกระทบที่ผ่านมา

-อุตสาหกรรมมาบตาพุด ตลิ่งพังทั้งหมดมีผลให้ประมงชายฝั่งหายไป อากาศเป็นพิษต้องย้ายโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณอุตสาหกรรม การขนส่งสารเคมีอันตราย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แต่มาตรการป้องกันผลกระทบยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งคนที่ทำวิจัยเรื่องสารก่อมะเร็งในพื้นที่ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูล

-ที่ผ่านมารัฐบาลผลักดันเป็นโครงการเพื่อทำให้คนรู้สึกกับแต่ละเหตุการณ์รู้สึกเกี่ยวน้อยแต่ในความเป็นจริงที่ผ่านมาทั้งในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


สรุปข้อคิดเห็น

§ ทุกทิศทางการพัฒนามุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมบนฐานทรัพยากรของภูมิภาคนี้

§ มีการวางแผนยึดครองพื้นที่นี้อย่างเป็นระบบและแยบยล

§ สถานการณ์อย่างนี้ ปัญญาต้องรู้จริงให้ได้ทุกด้าน ไม่ใช่มุมเดียว

§ เราจะเติมปัญญาด้วยสื่ออย่างไร

§ เริ่มด้วยเรื่องอะไรก็ได้ แต่สุดท้ายโยงมาสู่เรื่อง “ความรักในเพื่อนมนุษย์”

§ การขาดข้อมูลในการวิเคราะห์และคนส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ คือการขาด

ฐานข้อมูลแต่นำไปสู่การวิเคราะห์ ดังนั้นในแต่ละสถานการณ์ต้องทำงานให้เป็นระบบมีแกน

§ การเมืองภาคตัวแทนใน 3 จังหวัดหมดศรัทธาแล้ว ไม่สามารถทำอะไรได้เลย

§ สถาบันต่างๆที่มีอยู่ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เมื่อเกิดวิกฤติไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย

§ นักวิชาการต้องทบทวนตัวเอง

จากนั้นเป

จากนั้นเป็นการนำเสนอเรื่อง “สื่อเพื่อสติสาธารณะ กรณี 3 จังหวัด” โดยอาจารย์ขวัญสรวง อติโพธิ

· สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัด เรียกว่า การกระทบลบบวก เช่นกรณีข่าวลือว่าแบงค์จะล้ม เฮกันไปถอน มันจึงกลายเป็นล้มจริง

· กรณีตากใบเป็นเหมือนลูกตุ้มที่แกว่งพอมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้แรงมากตามลำดับ ยิ่งเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ จึงทำให้กระทบทุกเรื่องทุกระดับ ทั้งวัฒนธรรม ทรัพยากร เศรษฐกิจ ฯลฯ

· พื้นที่ 3 จังหวัด เป็นพื้นที่ของกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันมากมาย และยาวนาน

· ในพื้นที่มีทั้งกลุ่มที่เป็นประชาชน รัฐ โจร ฯลฯ แต่ประเด็นคือ ทุกข์ สุข และวิถีชีวิตของประชาชน ซึ่งมีทั้ง พุทธและ มุสลิม

· ต้องพยายามยกประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นระดับชาติ ท่ามกลางสื่อที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ความเข้าใจผิดสารพัด มีผลกระทบกับคนภายนอกที่ไม่สามารถรับรู้ข่าวสารทุกด้านได้ ทำให้สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วง

หลักความคิดของการพัฒนาชีวิตสาธารณะ ที่มีหลายภาค ที่มีภาคส่วนรวมคือทั้งรัฐ และ สาธารณะ และภาคส่วนตัว คือ ภาคธุรกิจและปัจเจก ทำอย่างไรให้เขาเกิดสติทุกระดับ ในเรื่อง 3 จังหวัด ยกตัวอย่างเรื่องการใส่เสื้อสีขาว อ่านคำแถลงเพื่อไว้อาลัยในผู้ที่รู้สึกเจ็บปวดใจกับ เหตุการณ์ ซึ่งในกรณีนั้นเป็นความบันดาลใจจากตัวเรา ทำอย่างไรถึงจะออกสู่สาธารณะได้เป็นไปได้ไหมถ้าจะทำสิ่งนี้ให้สาธารณะรู้สึกและคิดเป็นเรื่องส่วนรวม สามารถทำให้ผู้คนหันมา ใส่ใจกับสิ่งที่เป็นสาธารณะ เช่น กิจกรรมในแง่ปลูกฝัง อาจเสนอเทศบาล หรือภาคธุรกิจ สร้างต้นไม้สันติภาพที่ให้คนทั่วไปมาเข้าร่วม โดยการร่วมพับกระดาษเป็น นกพิราบ มีวิธีการพับ พร้อมวัตถุประสงค์

โดยการนำเสนอดังกล่าวเพื่อไปสู่เป้าหมาย ดังนี้

1. ความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2. ต้องเป็นการสื่อและมีกระบวนการพูดคุยตามมาที่สามารถเห็นใจ เข้าใจ สร้างภาพใหญ่ เห็นตัวเองร่วมชะตา เห็นภาพ เห็นในศักดิ์ศรีความเป็นคน หรือในเรื่องเดียวกันไปด้วยกันได้ของความแตกต่างหลากหลาย เอาบุคคล เช่น ทหาร นักบวช ครู นักธุรกิจ ฯลฯที่ใจเป็นธรรมมาให้ความเห็นเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในเชิงสาธารณะจะเกิดคุณภาพใหม่ ที่สุดจะเกิดเป็นบริเวณซ้อนทับตรงกลางที่เราร่วมกันได้เรียกว่าสาธารณะ มีจุดยืนของความเห็น ซ้อนทับและปรากฏในสื่อให้ได้เป็นสังคมมีสติ ดูสื่อได้อย่างมีวิจารญาณ และก้าวออกมาสู่ภาคสาธารณะได้ สำคัญคือต้อง ฮึดสู้ เกิดสังคมเรียนรู้ ปัญญา “วาทกรรม” อุ้มชูจิตใจพี่น้องร่วมชาติที่ต้องการการเข้าใจมากกว่าการเห็นใจเอาเนื้อหาที่ทำขึ้น สื่อสารไปทุกภาคเพื่อเป็นฐานในการเกิดเวทีใหญ่ มีวงเล็ก วงใหญ่
เนื้อหา อาจเป็น ซีดี ขนาด 20-25 นาที ประกอบด้วย

1.ภาพชุด เร็วๆ แรงๆ ให้เห็นความรู้สึก หนัก แรง เห็นเหตุการณ์

2.ด้วยวิธีเล่าเรื่องราวอย่างเป็นธรรม หลีกเลี่ยงการโอนเอน ให้เขารู้เรื่อง ระดับชาติ ชะตากรรมชาวบ้าน

3.คลี่ให้เห็นโอกาสชีวิต การสร้างความเป็นธรรม วิถีชีวิตต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ต้องเป็นคำให้การของคนในพื้นที่ ตามรูปแบบการสร้างสรรค์ซึ่งสามารถทำได้ ให้คนที่อื่นๆรู้สึกว่า คนที่อยู่ในเหตุการณ์มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน หากปล่อยไว้ไม่ได้แน่ หยิบมาเป็นเรื่องเราทุกคน สุดท้ายตีเรื่อง “จิตวิญญาณ” พยายามให้เป็นทำนองและระบบเดียวกัน

4.หนังสือคู่มือการเดินทางแลกเปลี่ยนของพลเมือง เพื่อแต่ละจังหวัด แต่ละถิ่นเสริมเพิ่มไป

กระบวนการสุดท้ายคือร่วมกันแสดงความคิดเห็นกลุ่มย่อยนำเสนอกลุ่มใหญ่

กระบวนการคือข้อมูลทั้งที่เป็นเชิงรายละเอียด เช่น ค่านิยม ประวัติศาสตร์ กฏวัฒนธรรม ฯลฯและเป็นเชิงโครงสร้าง ที่มีอยู่นำมาประมวลประเมิน วินิจฉัย แล้วนำไปสู่ช่องทางการสื่อสาร

1.ตั้งต้นด้วย ข้อมูล ทั้งบุคคล ประจักษ์ วิจัย เอกสาร ให้เห็นที่มาที่ไป

2.ประมวล สังเคราะห์ วินิจฉัย

3.สื่อสาร ทั้งเชิงสัญลักษณ์ เช่น การสวมเสื้อขาว การพับนกพิราบ ริบบิ้นขาว ที่ต้องทำให้พ้นจากตัวเองสู่สาธารณะ และเชิงเนื้อหา ซึ่งเป็นรายละเอียด

4.ผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น สื่อพื้นบ้าน สิ่งพิมพ์ ศิลปิน บุคคล วิทยุชุมชน สู่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งภายนอก และภายใน

5.การทำงานร่วม มีใครในองค์ประกอบบ้าง เครือข่าย พอช. ดับบ้านดับเมือง สกว. กป.อพช. ฯล

Be the first to comment on "รายงานกิจกรรม “เวทีเครือข่ายเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ” ภาคใต้"

Leave a comment

Your email address will not be published.