ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างให้ลือโลก และนี่ก็คือ คำขวัญของจังหวัดที่ได้ไปจัดเวทีกิจกรรม “ เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะงานการสื่อสารเพื่อสาธารณะ หรืออาสาสมัครนักสื่อสาร…..วันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2547…
รายงานกิจกรรม “ อาสาสมัครนักสื่อสาร” กองบรรณาธิการ : ทีมสื่อสารสารธาณะ |
||||||||||||
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างให้ลือโลก คำขวัญของจังหวัดที่ได้ไปจัดเวทีกิจกรรม “ เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะงานการสื่อสารเพื่อสาธารณะ หรืออาสาสมัครนักสื่อสาร “ ในโครงการวิจัยชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ สำหรับภาคเหนือ ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดลำปาง วันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีสุดท้ายของการอบรมในหลักสูตรนี้
สำหรับกิจกรรม “ อาสาสมัครนักสื่อสาร” เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการฉายวิดีทัศน์ ภาพงานโครงการวิจัยชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จัดทำโดย ทีมสื่อส่วนกลาง เมื่อวีดิทัศน์จบลง อ.เอื้อจิต ก็แนะนำตัวเองและก็แนะนำทีมงาน จากนั้นเริ่มต้นกิจกรรม Workshop ครั้งนี้เป็นการกล่าวถึง วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย กลุ่มเป้าหมาย และลักษณะของกิจกรรมในครั้งนี้ จากนั้นทีมโครงการชีวิตสาธาณะ ฯ จังหวัดลำปางโดย คุณ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ กล่าวสรุปภาพรวมเกี่ยวกับโครงการชีวิตสาธารณะฯ ว่างานที่ทำอยู่ตอนนี้มี สองเรื่อง คือ ลานหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง และหอศิลป์นครลำปาง ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้เป็นประเด็นหลักที่ทีมลำปางนั้นหยิบยกขึ้นมาเป็นการขับเคลื่อนในการดำเนินโครงการชีวิตสาธารณะ จะเป็นการทำให้เห็นลักษณะทางกายภาพที่ทุกคนจับต้องได้ |
||||||||||||
|
||||||||||||
ต่อมาคือการกล่าวถึงกิจกรรมที่จัดขึ้น บริเวณหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวงคือ งานคือ ฮอมแฮง แป๋งข่วงพระธาตุและบริเวณลานหน้าพระธาตุคือ งานฮอมแฮง แป๋งข่วงเวียงละกอน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างวันเสาร์-อาทิตย์ มาเล่นดนตรีพื้นเมืองที่หอศิลป์ เช่น สะลอ ซอ ซึง และปี่แน | ||||||||||||
วันที่ 6 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สองของกิจกรรม อ.เอื้อจิต ได้กล่าวสรุปสาระจากวันวาน และเชิญ อ. โสภิต พูดในเรื่องของ การเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ และหลักการนำเสนองานผ่านสื่อประเภทต่างๆ หลังจากนั้น อ. ภัทราพร ก็มาพูดถึงเรื่อง การสร้างคุณค่าและความหมายของงานด้วยภาพ ซึ่งจะเป็นการให้ความรู้และหลักการปฏิบัติในการทำงาน ก่อนที่จะลงไปพื้นที่เพื่อทำงานสื่อ ฯ เราต้องค้นหาความสนใจของตัวเรา จุดสะกิดใจและต้องตั้งประเด็นให้ได้ว่าจะทำอะไร ค้นหากรอบงานและเป้าหมายของงานโดยจะมีหลักสำคัญๆอยู่ 5 ขั้นตอน ของอ. โสภิต ขั้นตอนของการผลิตงาน ประเภทของการสัมภาษณ์ เทคนิคการสัมภาษณ์ และหลักการใช้ภาษา และ อีก 3 ข้อของ อ.ภัทราพร คือ ไวยกรณ์ภาพ Concept หรือภาพต้องมีเรื่องมัสาระอยู่ในภาพ และเทคนิคต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหัวใจของการทำงานสื่อทุกประเภท 10.45 – 16.30 เริ่มลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่แรกที่ไปคือ หอศิลป์นครลำปาง เมื่อได้ข้อมูลเสร็จแล้วก็เดินทางไปทึ่วัดพระธาตุเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับคนที่สนใจเรื่องลานหน้าพระธาตุ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วก็เดินทางกลับยังที่พักเพื่อเตรียมตัวผลิตชิ้นงานสื่อเพื่อจะนำเสนอในวันรุ่งขึ้น วันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นวันสุดท้ายของกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งในวันนี้จะเป็นการนำเสนอชิ้นงานของแต่ละจังหวัดเพื่อให้ท่านวิทยากร 3 ท่าน หาจุดบกพร่องและให้ข้อเสนอแนะเพื่อที่จะได้นำกลับไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป โดยมีสื่อครบทั้ง 3 ประเภท( สื่อ ตา ดู หู ฟัง ) ได้แก่ นครสวรรค์ , ลำปาง, ลพบุรี , อุทัยธานี , เชียงราย (สื่อเสียง) ได้แก่ พิษณุโลก , เพชรบูรณ์ (สื่ออ่าน) ได้แก่ แม่ฮ่องสอน , พะเยา , ลำพูน , ตาก จนถึงเวลา 16.00 การอบรม “ อาสาสมัครนักสื่อสาร “ก็เสร็จสิ้นแต่ก่อนจะพูดขอบคุณก็มี MV จากรุ่งโรจน์ โปรดักชั่น มานำเสนอเพื่อเป็นการปิดเวทีสื่อที่ภาคเหนือ เมื่อMV จบลงก็มีแต่รอยยิ้มของผู้เข้าร่วมก่อนที่จะและ อ . เอื้อจิต ก็พูดปิดกิจกรรมในครั้งนี้ และขอบคุณทุกคนที่มาในงานนี้ |
||||||||||||
เก็บตกภาพ ทีมงานคนหาเรื่อง…เล่า |
||||||||||||
|
||||||||||||
อ่านตัวอย่าง สื่อสำหรับฟังและสื่อสำหรับการอ่าน หน้า 2 และ 3 |
||||||||||||
{mospagebreak}
สื่อสำหรับการฟัง ทีมงานจังหวัดเพชรบูรณ์ บทวิทยุกระจายเสียง เรื่อง หอศิลป์..ความหวังใหม่ของคนลำปางจริงหรือ เพลงเปิดรายการ ดนตรีพื้นบ้าน ผู้ดำเนินรายการ จากเสียงดนตรีที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และความมีคุณค่าทางวัฒนธรรมของถิ่นล้านนาชาวลำปางส่วนหนึ่งคิดฝันร่วมกัน ที่จะใช้พื้นที่อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร……… ระหว่างเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หรือเป็นหอศิลป์ของคนลำปาง เสียงจากเทป คำพูด อ.พวงเพชร ศรีวิชัย “คนลำปางยังแยกไม่ได้ระหว่างพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ และยังไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องมาตั้งหอศิลป์ตรงนี้ ในเมื่อตึกนี้เป็นตึกเก่าๆเท่านั้น เพราะคนลำปางจริงๆก็รู้เพียงว่าเป็นศาลากลางเก่า แต่ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านเป็นอะไร เพราะฉะนั้น กลุ่มนี้จะต้องเชื่อมรอยต่อของเวลาตรงนี้ให้ได้ และการเชื่อมตรงนี้ ประชาชนในลำปางจะต้องรับรู้ร่วมกัน” เสียงจากเทป คำพูด อ.วัลลี จอมขันเงิน “ จากการซาวเสียงว่า ต้องการให้ศาลากลางหลังเก่าเป็นหอศิลป์ไหม ก็มีคนตอบว่าอยากให้เป็น เพราะอะหยั๋ง เพราะว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นคุ้มเจ้าเก่า อยากให้มีหอศิลป์อยู่ตรงนี้ มันกว้างขวางดี มีทั้งศิลปวัฒนธรรมเอย และสิ่งหยั๋งต่างๆของลำปางที่ถูกลืมไป จะได้มาฟื้นฟูที่จุดตรงนี้ ” เพลงคั่น ดนตรีพื้นบ้าน ผู้ดำเนินรายการ นี้คือ เสียงสะท้อนของอาจารย์ พวงเพชร ศรีวิชัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ศูนย์ลำปาง) และอาจารย์ วัลลี จอมขันเงิน ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นคณะทำงานที่พยายามพลักดันให้อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเดิมจัดตั้งเป็นหอศิลป์ประจำจังหวัด อย่างเป็นรูปธรรมภายหลังจากที่มีความพยายามจะให้สถานที่แห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดลำปาง ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ต้องการใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานด้วยเช่นกัน ณ วันนี้ ความชัดเจนยังไม่ปรากฏ ว่าจะออกมาในรูปใดชาวลำปางตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นต่อการชี้ขาดในเรื่องนี้ พิญญพันธุ์ พจนลาวัลย์ แกนนำกลุ่มล้านคำลำปาง บอกเล่าความเป็นมาและความร่วมมือของฝ่ายต่างๆว่า เสียงจากเทป พิญญพันธ์ พจนะลาวัลย์ “จริงๆแล้วไม่ใช่เยาวชนอย่างเดียว แต่ก็ร่วมกับผู้ใหญ่หลายฝ่ายด้วยที่เห็นเด่นชัดเป็นเยาวชนเพราะว่าเยาวชนได้ลงมาในภาคของการปฏิบัติเยอะแต่ในเชิงนโบายก็ได้ผู้ใหญ่ช่วยดูอยู่ครับ เยาวชนมีพลังมีเเรงมีความสร้างสรรค์อยู่ในตัวอยู่แล้ว บางอย่างเราทำไม่เป็นแต่เด็กทำได้มากกว่า ผู้ใหญ่นั้นได้ยอมรับเราระดับหนึ่งเพราะต่อเนื่องมาจากผู้ว่าอยู่แล้ว เราไม่ได้มาเป็นเจ้าของ แต่เรามาระดมคนทำงานเพื่อหอศิลป์กัน จะออกมาเป็นอะไรเราไม่ตั้งเป้าหลัก หอศิลป์จะต้องมีอะไรบ้าง เป็น 1 2 3 4 แต่เราเชิญคนลำปางมาช่วยคิด สร้างตัวเลือกให้คนลำปางและขณะนี้เป็นกิจกรรมทดลองเพื่อหาแนวทางเลือกอยู่” ผู้ดำเนินรายการ นี่คือ โอกาสที่คนลำปางจะต้องออกมาร่วมคิดร่วมตัดสินใจว่าจะใช้พื้นที่แห่นี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนลำปางได้อย่างไร เพราะอีกไม่นานเราจะได้คำตอบ เพลงปิดรายการ ดนตรีพื้นบ้าน |
ข้อเสนอแนะจากวิทยากร
|
{mospagebreak}
สื่อสำหรับการอ่าน
|
||
บาทย่าง…ตางเตียว…สู่หอศิลป์วัฒนธรรมนครลำปาง
|
||
หอศิลป์ของจังหวัดลำปางในปัจจุบันคืออาคารศาลากลางเก่าที่ผ่านการใช้งานมานานนับสี่สิบปี แล้วถูกทิ้งให้ร้างว่างเปล่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจยิ่ง ณ ที่นั้นเคยมีความงดงามของ “หอคำ” ตั้งเด่นเป็นสง่า เป็นหน้าตาของเขลางค์นครในยามนั้น มีเจ้าผู้ครองนครคือ เจ้าบุญวาทย์ วงค์มานิต ใช้เป็นที่ว่าราชการ งานบ้าน งานเมือง สะสางปัญหา ปรึกษาการงานกับเหล่าข้าราชการบริวาร รวมถึงชาวประชา ไพร่ฟ้าหน้าใส ที่ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มใบบุญขององค์เจ้าท่าน บ้านเมืองอยู่สุขเสถียร ร่มเย็น “หอคำ” จึงอลังการอยู่คู่เขลางค์นครในยามนั้น | ||
|
||
ตราบสิ้นบุญบารมีเจ้าบุญวาทย์ วงค์มานิตถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ.๒๔๕๖ “หอคำ”ก็คล้ายกับสิ้นชีวิต ปลิดชีวาไปกับเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายเช่นกัน เหือดหายลบเลือนไปกับกาลเวลาใดๆ ในโลก ล้วนอนิจจังเป็นสัจธรรมของโลกนี้
ใครหลายคนลืมเลือนอดีตที่ผ่านไป…..แต่ ใครบางคนยังแนบแน่นและโหยหาอดีตนั้นอยู่แม้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอันหลากหลายของโลกปัจจุบัน เสียงรถม้าดังกั๊บๆๆๆ เข้ามาหยุดเบื้องหลังเรียกสติสัมปชัญญะของชายหนุ่มนาม“ภูผา” ซึ่งเพลินกับการพินิจพิจารณาศาลากลางเก่าและเตลิดเข้าไปสู่อดีตกาลของพื้นที่นั้นตามคำเล่าขานของบรรพบุรุษ ประวัติศาสตร์นี้มีชีวิต ทำอย่างไร? ณ ตรงนี้จะกลับมีชีวิตใหม่อีก เขาเหลียวกลับมามองรถม้าสัญญลักษณ์แห่งเมืองลำปาง เขาคิดและไตร่ตรองแล้ว…อะไร? คือชีวิตเมืองลำปาง มีชีวิตต้องมีหัวใจ หัวใจของเราหัวใจของเมืองลำปาง หัวใจของเมืองลำปางจะถูกสร้างด้วยลำพังเพียงหนึ่งสมองกับสองมือคงไม่เพียงพอ “ภูผา“ จึงติดต่อประสานงานเปิดโอกาสให้คนมาพบกันและสื่อสารออกไปสู่สาธารณะ เขากลายเป็นคนสาธารณะ เป็นชีวิตสาธารณะและผู้คนที่เข้าร่วมกับภูผาก็เป็นเช่นเดียวกัน ผู้คนกลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่รวมพลังเพื่อชีวิตสาธารณะ ระดมคน ระดมความคิดจนเกิดเป็นกลุ่ม “ ล้านคำลำปาง “ ประสานมือเพื่อผลักดันให้เกิด “ หอศิลป์วัฒนธรรมนครลำปาง “ หนึ่งในนั้นคือ “ ป้าม่านคำ “ เจ้าความคิดจัดกิจกรรมได้เข้าร่วมกับทีมงานล้านคำและได้เผยความในใจว่า… แต่แรกนั้นป้าเปรียบ เสมือนผู้ชมได้เห็นพวกล้านคำทำงานก็ประทับใจ งานแรกของล้านคำคือ งานฮอมแฮง หนึ่ง เขาจัดขันโตก กาดมั่วคัวฮอม อาหารพื้นบ้าน ป้าก็มาเที่ยวและก็กลับ ชอบมาก ก็หวังว่าบรรยากาศเช่นนี้น่าจะมีให้บ่อยๆ ต่อมาก็มีฮอมแฮง สอง ก็คล้ายกับฮอมแฮง หนึ่ง
|
||
|
||
แต่…ในงานย้อนยุคไปมากกว่าครั้งแรกมีดนตรี สะล้อ ซอ ซึง การฟ้อนรำ การแต่งตัว ในงานใช้ไฟฟ้าน้อยมาก แสงสว่างในงานใช้แสงเทียน โคมไฟ ต้นเกี๊ยะ อย่างกับจำลองภาพในอดีตแล้วเราเข้าไปมีชีวิตอยู่ในนั้นด้วยมันทำให้ป้านึกถึงบ้านที่ป้าอยู่ในปัจจุบัน มันก็คือพื้นที่ภายในอาณาบริเวณของหอคำเช่นกัน ป้าคิดแล้วก็ไม่สามารถอยู่เฉยๆได้แล้ว เด็กหนุ่มสาวร่วมสมัยทั้งนั้นทำงานได้ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ป้าก็เลยลุกขึ้นแล้วเข้าไปหาพวกเขา อย่างป้าเนี่ยจะทำอะไรได้บ้างขอให้ป้าได้ช่วยทำบ้างเถอะ! นับแต่วันนั้นมาป้าก็เข้ามาช่วยในด้านกิจกรรม “ ฮอมแฮง “ ของกลุ่มล้านคำ ทำให้ป้ารักบ้านเมืองมากขึ้นและไม่อาจจะรักอย่างเดียว ต้องทำให้บ้านเมืองมีชีวิตชีวา น่าอยู่ น่ามอง สำหรับคนอยู่และน่าประทับใจของผู้มาเยือน เวลานี้เราได้หัวใจของเมืองลำปางแล้ว เรามาช่วยกัน เติมเต็มให้เกิดชีวิตที่มีสีสัน งดงาม สง่างาม อย่าทิ้งส่วนหนึ่งส่วนใดให้ขาดหายไม่ว่าจะอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต…….
ทีมงานเมืองสามหมอก |
||
ข้อเสนอแนะจากวิทยากรจุดเด่นของงาน – การวางโครงสร้างของเรื่อง โยงปัจจุบัน – อดีต – กลับมาปัจจุบัน – การใช้ภาษา – การมีข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ มาเพิ่มคุณค่า และ ความน่าสนใจ โครงสร้าง – น่าสนใจ เริ่มจากการวางภาพเชิงกายภาพ แล้วจึงมี ตัวคน เข้ามา การใช้ภาษา มีความโดดเด่นที่ – ภาษามีความไพเราะ เป็นภาษาพูด ที่เข้าใจได้ง่าย ไม่เป็นทางการ – ใช้ภาษาสร้างภาพ ด้วยคำกริยา เช่น เสียงรถม้าดังกั๊บ ๆ ๆ – ใช้ภาษาพ้องรูป พ้องเสียง เช่น ชาวประชา ไพร่ฟ้าหน้าใส, สิ้นชีวิต ปลิดชีวา , เหือดหายลบเลือน – การพรรณา ให้เกิดจินตนาการ เช่น … ใช้เป็นที่ว่าราชการ งานบ้าน งานเมือง สะสางปัญหา ปรึกษาการงาน…. แต่ ยังมีประโยคไม่สมบูรณ์ เช่น ขาดประธานของประโยค และ ใช้คำ ที่ ซึ่ง แทนที่จะเป็น ประโยคสมบูรณ์ สั้น ๆ เช่น…ถูกทิ้งให้ร้างว่างเปล่า , …. ตั้งอยู่บนพื้นซึ่งมีประวัติความเป็นมา.. – การใช้สรรพนาม “ป้า” มาก จนทำให้ดูเหมือนว่า ป้าคือ คนเล่าเรื่อง – ขาดการอธิบายเพิ่ม ฮอมแฮงหนึ่ง, ฮอมแฮงสอง เป็นการพูดอย่างที่ผู้พูดรู้อยู่คนเดียว ต้องให้ผู้ฟังรู้อย่างด้วย ว่า คืออะไร องค์ประกอบ – เลือกภาพดี เข้ากับเรื่อง แต่การวางภาพคู่กัน ถ้าต้องการเปรียบเทียบควรให้เห็นอดีต – ปัจจุบัน เป็นภาพจากมุมเดียวกัน และควรมีคำบรรยายภาพ – เนื้อหาเสนอสิ่งที่โครงการฯได้ทำ ไม่จำเป็นต้องเลี่ยง แต่ควรเสนอภาพที่แสดงถึงว่าโครงการได้จัดทำกิจกรรม – การใช้ชื่อเรียก ภูผา กับ ป้าม่านคำ เหมือน นามแฝง เพราะไม่บอกชื่อ สกุล ทั้งที่มีตัวตน ทำให้ลดความน่าเชื่อถือต่อเรื่อง ทั้งควรมีภาพของทั้ง 2 คน ด้วย เป้าหมาย แม้การนำเสนอจะดี แต่ในที่สุด อ่านจบแล้วบอกไม่ได้ว่า ผู้เสนอเรื่องต้องการ อะไร เป็นงานที่เด่นเรื่องข้อมูล ภาษา และ การโน้มน้าวใจ แต่ไม่ชัดว่า เพื่ออะไร? |
Be the first to comment on "รายงานกิจกรรม อาสาสมัครนักสื่อสาร"