เป็นเวลานานปีที่พลเมืองและผู้บริหารเมืองตรังได้ร่วมกันเคลื่อนไหว ในอันที่จะผลักดันให้ได้มาซึ่งบริเวณและตัวอาคารสโมสรข้าราชการเก่ากลางเมืองตรัง เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ให้เป็นชุดของที่ว่างและอาคารที่สาธารณชนได้เข้าใช้ ก่อเกิดประโยชน์เชิงสาธารณะต่างๆแก่สังคมตรัง
ลองแล “ลานใหม่เมืองตรัง” จากเวทีประชุมปฏิบัติการ วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2547 |
||||
1. ภาพรวมกระบวนการพัฒนาบริเวณสโมสรข้าราชการเก่าเมืองตรัง 1.1 ความเป็นมา เป็นเวลานานปีที่พลเมืองและผู้บริหารเมืองตรังได้ร่วมกันเคลื่อนไหว ในอันที่จะผลักดันให้ได้มาซึ่งบริเวณและตัวอาคารสโมสรข้าราชการเก่ากลางเมืองตรัง เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ให้เป็นชุดของที่ว่างและอาคารที่สาธารณชนได้เข้าใช้ ก่อเกิดประโยชน์เชิงสาธารณะต่างๆแก่สังคมตรัง |
||||
![]() |
![]() |
|||
![]() |
บน : ภาพการร่วมประชุมของผู้ร่วมพัฒนาพื้นที่สโมสรฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2547 ณ เทศบาลนครตรัง
ซ้าย : สภาพบริเวณสโมสรฯ ในปัจจุบันกับแบบจำลองการปรับปรุงพื้นที่ในอนาคต |
|||
ในที่สุดความใฝ่ฝันนี้ก็กำลังย่างใกล้เข้าสู่ความเป็นจริง อาคารสโมสรเก่าได้อาศัยงบประมาณแผ่นดินผ่านโครงการศูนย์แสดงสินค้า OTOP ของพัฒนาชุมชนจังหวัดจำนวน 2,700,000 บาท เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพขึ้นมาใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ (อาคารนี้ได้รับการคุ้มครองอนุรักษ์เป็นโบราณสถานของประเทศ โดยกรมศิลปากร) กำหนดแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ สำหรับลานสนามเทนนิสเดิม จากกระบวนการประชุมระดมสมองที่ผ่านมา ลานกลางเมืองขนาดไร่ครึ่งนี้ได้รับการออกแบบพลิกโฉมหน้าให้เป็น ที่ว่างสาธารณะ (PUBLIC OPEN SPACE) ที่มุ่งเปิดโอกาสรองรับการใช้สอย ได้อย่างเสรีและหลากหลายที่สุด โครงการการปรับปรุงลานนี้ได้รับการประเมินคิดเป็นราคาค่าก่อสร้าง 5,000,000 บาท (ไม่นับรวมการร่วม ก่อสร้างศาลา ม้านั่ง โคมไฟ ฯ ของพลเมืองตรังผู้มีจิตกุศลอีกจำนวนหนึ่ง) หลังจากที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณเทศบาลนครตรังประจำปี พ.ศ.2548แล้ว การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมและคาดว่าจะจบสิ้นลงในปลายเดือนธันวาคม
1.2 ความมุ่งหวัง บริเวณลานและอาคารที่จะได้รับการปรับปรุงใหม่นี้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นสภาพกายภาพเปรียบเสมือน HARD WARE ที่รอการคิดอ่านเข้ายึดใช้ของกิจกรรมของชีวิตผู้คน ซึ่งเปรียบได้ดัง SOFT WARE การพัฒนาตัวและคล้องจองกันของกายภาพและกิจกรรมชีวิตดังกล่าวนี้เป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตามสำคัญไปกว่านั้นก็คือรูปแบบ เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมชีวิตสาธารณะต่างๆ ที่พึงได้รับการร่วมกันคิดอ่านสร้างสรรค์ พัฒนาให้ได้ร่วมกันใช้ ร่วมพบพานสัมผัส เกิดการเรียนรู้และยอมรับว่าเป็นชีวิตหมู่เหล่าของท้องถิ่นที่ปรารถนา ยกระดับให้มีการร่วมกันบริหารและจัดการที่เหมาะสม เกิดความยั่งยืนเป็นการถาวรสืบไป กระบวนการ “มาลองแลลานใหม่เมืองตรัง” คือกระบวนการร่วมกันสร้างร่วมกันใช้ ร่วมกันเรียนรู้ร่วมกันยอมรับและร่วมกันสถาปนาชีวิตสาธารณะต่างๆดังที่กล่าวมานี้นั่นเอง
2. กรอบความคิด จากตาราง “โอกาสการดำเนินชีวิตร่วมกันของผู้คนในลำดับสังคมและจุดประสงค์ต่างๆ” ที่เห็นนั้น หากคิดใคร่ครวญดูจะพบว่าในอดีตผ่านงานประเพณี เทศกาลงานพิธีต่างๆ ผู้คนในท้องถิ่นจะมีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกันสร้างประสบการณ์ชีวิตร่วมกันอย่างแตกต่างหลากหลาย เกิดเป็นความสุข ความผูกพัน เกิด “เรา” ที่เข้มแข็งมีตัวมีตน อยู่ตลอดมา |
||||
|
มาในปัจจุบัน วิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนไป รูปแบบของที่ว่าง เวลาและกิจกรรมต่างๆ ก็เปลี่ยนไป โอกาสของการใช้หรือดำเนินชีวิตร่วมกันในลำดับที่ว่างด้วยลำดับความหมายร่วมกันต่างๆ ก็เปลี่ยนไป ส่งผลเป็นความอ่อนแอจืดจางลงของความสัมพันธ์และความเข้มแข็งของชีวิตหมู่เหล่า ละแวกชีวิตต่างๆ ถูกทำให้หดแคบอยู่ในบริเวณเล็กๆ ของครอบครัวและปัจเจกชน เป้าหมายการใช้ชีวิตต่างๆ ถูกยึดกุมนำโดยมิติทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มิติชีวิตอื่นๆ ถูกทำให้อ่อนแอหรือไม่ก็ถูกทำให้เป็นการค้าหนักขึ้นเรื่อยๆ กรอบความคิดของการลองแลก็คือ การขันสู้ร่วมกันคิดอ่านสร้างสรรค์ชีวิตหมู่เหล่ารูปแบบใหม่ๆในที่ว่างสาธารณะหน้าใหม่ในบริบทชีวิตปัจจุบัน เพื่อซ่อมแซม ชดเชย หรือสร้างสรรค์พลังและความหมายของชีวิตหมู่เหล่าในท้องถิ่นที่หดหายหรือเสื่อมโทรมลงไป |
|||
โครงการ “ชีวิตสาธารณะ…ท้องถิ่นน่าอยู่” ได้พยายามผลักดันให้เกิดความเคลื่อนไหวเช่นนี้ในหลายๆ ท้องถิ่น ภาพชุดแสดงความเคลื่อนไหวและความพยายามที่จะ “ฮอมแฮงแป๋งข่วงเวียงละกอน” ที่จังหวัดลำปาง และเวทีสาธารณะ “บรรเลงเพลงศิลป์…วัฒนธรรมถิ่นแม่กลอง” เมืองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันได้ยกขึ้นมาให้เห็นนี้ น่าจะช่วยให้สัมผัสและรู้สึกได้ชัดเจนขึ้น |
จังหวัดลำปาง |
|
|
จากศาลากลางเก่า สู่การร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีความหมาย |
|
|
![]() |
ตลาดนัด ความหมายในเชิงเศรษฐกิจที่เป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกวัฒนธรรม |
|
การใช้พื้นที่ ให้เกิดความหมายเชิงสังคม การเมือง
…เป็นความสนุกสนาน วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ |
![]() |
|
![]() ![]() |
ความหมายเชิงการศึกษา…สืบทอด สู่คนรุ่นถัดไปเป็นหัวใจสำคัญ
การสานพลัง คือศีลสำคัญ |
|
จังหวัดสมุทรสงคราม (แม่กลอง) |
||
![]() |
บรรยากาศพื้นที่ริมแม่นำแม่กลอง | |
![]() |
จากพื้นที่สาธารณะริมแม่นำแม่กลอง สู่กิจกรรมเพื่อสาธารณะ… | |
![]() จัดนิทรรศการให้ความรู้ริมน้ำ |
![]() เสวนาถึงคุณค่าดนตรีไทย จากภาพยนตร์โหมโรง |
|
![]() ชมการแสดงสาธิตดนตรีไทย ความภูมิใจคนอัมพวา |
![]() ชมการแสดงนาฎศิลป์ |
|
อย่างไรก็ตามชีวิตสาธารณะเนื้อหาและรูปแบบใหม่ๆต่างๆในที่ว่างหน้าใหม่เช่นนี้ หากเกิดความวัฒนาถาวร ก็หวังได้ว่าจะเป็นบ่อเกิดหรือโครงสร้างพื้นฐานตัวสำคัญของการ พบปะ เรียนรู้สู่ความเป็นพลเมืองที่ถือสาและใส่ใจ เป็นธุระเรื่องของบ้านเมือง ก่อร่างความเข้มแข็งของการเมืองภาคพลเมืองในที่สุด | ||
![]() |
![]() |
|
3. กรอบเวลา |
||
|
||
จากตารางเวลา จะเห็นได้ว่ากระบวนการปรับปรุงอาคารสโมสรเก่าจะดำเนินไปจนแล้วเสร็จในตอนกลางเดือนธันวาคม ส่วนการลงมือปรับปรุงพื้นที่ลานสโมสรจะกินเวลาสามเดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนธันวาคม หากนับเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในเบื้องต้นคณะพลเมืองอาสาเมืองตรังเพื่อร่วมผลักดันกระบวนการ “มาลองแลลานเมืองใหม่” ที่ได้ร่วมประชุมกันไปเมื่อวัน เสาร์ที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา เห็นควรว่าจะแบ่งกระบวนการลองแลเป็นสองส่วน ส่วนลองแลเล็กกินเวลา 5 อาทิตย์ ก่อนการก่อสร้างลาน และส่วนลองแลใหญ่ภายหลังการก่อสร้างลานและปรับปรุงอาคารสโมสรเดิม การลองแลใหญ่นี้จะเป็นอย่างไรกินเวลานานเท่าใด ขึ้นอยู่กับการร่วมพิจารณาของกลุ่มพลเมืองอาสาชุดใหม่ที่จะผุดเกิดและพัฒนาขึ้นจาก การลองแลเล็กในครั้งแรก
|
||
![]() ภาพการประชุมปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดกระบวนการ “มาลองแลลานใหม่เมืองตรัง” |
||
จึงกล่าวได้ว่าการลองแลเล็กนั้นจะทำหน้าที่บุกเบิกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าแบบให้สาธารณชนเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่จะมาถึง บอกบุญเพื่อชักชวนคนตรังให้มีส่วนร่วมกุศลสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆของลาน และสุดท้ายก็คือเป็นช่วงของการสร้างประสบการณ์ชีวิตดีๆให้คนตรังได้ร่วมกันพบพาน ที่สำคัญไปกว่านั้น ช่วงลองแลเล็กนี้จะเป็นการสร้างพลังหมู่เหล่าให้แก่พลเมืองอาสาที่เข้ามาร่วมเหนื่อยยากสร้างสรรค์งาน เป็นช่วงของการเรียนรู้และพบปะคนทำงานหน้าใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนากระบวนการบริหารและจัดการการสร้างสรรค์และจัดงานชีวิตสาธารณะชนิดต่างๆ ทั้งหมดนี้เพื่อเตรียมรับมือการลองแลใหญ่ที่จะเดินมาถึงตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป การลองแลใหญ่นั้นจะเป็นอย่างไร ยังต้องรอผู้คนภายหลังลองแลเล็กให้ร่วมกันตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตามกล่าวโดยสรุป การลองแลใหญ่นั้น ส่วนหนึ่งจะช่วยสถาปนาและสร้างความคุ้นเคยผูกพันชีวิตกับการยึดใช้ลานและอาคารรูปแบบใหม่ๆที่สร้างขึ้น ขณะเดียวกันเนื้อหาและรูปแบบต่างๆของชีวิตสาธารณะใหม่ๆก็จะเริ่มได้รับการคัดสรร ปรับปรุง พบความลงตัว และที่สำคัญที่สุดก็คือ สภาพความตื่นตัวและความพร้อมหน้าของทุกๆฝ่ายที่จะรู้จักร่วมกัน จัดวางโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการบริหารและจัดการการดำเนินชีวิตสาธารณะในลานเมืองใหม่และอาคารสโมสรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วต่อไปให้ได้รับการยอมรับและมีความยั่งยืน
|
||
4. รายละเอียดงานลองแลเล็ก 5 ครั้ง จากการประชุม คณะพลเมืองอาสาร่วมสร้างสรรค์กระบวนการ “มาลองแลลานเมืองใหม่” ที่ผ่านมามีความเห็นว่าช่วงการลองแลเล็กจะประกอบไปด้วยเวทีสาธารณะทุกวันเสาร์ 5 เวทีด้วยกัน
|
||
|
||
4.1 เวทีเล่าแบบและพบพานตัวอย่างกิจกรรม เวทีวันเสาร์แรกนี้จะเป็นเรื่องของการบอกเล่าชี้แจงความเป็นมาเรื่องอาคารสโมสรเก่าและลานสาธารณะใหม่นี้แก่สาธารณะชนคนตรัง ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของการบอกบุญเพื่อการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆของลาน ห้อมล้อมด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรมและประสบการณ์ที่สะท้อนให้เห็นให้ได้สัมผัส กิจกรรมชนิดต่างๆของเวทีหลังๆอีก 4 เวทีที่จะตามมาภายหลัง |
||
|
||
อนึ่งในโอกาสนี้อาจจะสร้างสรรค์พิธีกรรมของความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จของการสร้างสรรค์ลาน อาคารและวิถีชีวิตใหม่ๆที่จะมาถึง ด้วยการร่วมกันยก คัตเอ๊าท์ ชี้แจงโครงการในคืนวันนั้น
4.2 เวทีศิลปะและวัฒนธรรม ในวันเสาร์ที่สองจะเป็นเรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม ในตอนกลางวันจะเป็นเรื่องของลานศิลป์ ที่ดูหลากหลายแต่ก็มีอิสรเสรี แวดวงดนตรี จิตรกรรม หัตถกรรม จะเกิดคลุกคลีกันไป แต่ขณะเดียวกันก็มีเวทีกลางยืนพื้นรับรายการหลักๆ ในยามเย็นและพลบค่ำจะถูกแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่ 1 จะเป็นการพบพานทำความรู้จัก เข้าใจและซาบซึ้งต่อ หนังตะลุง โนราห์ รองเง็งและลิเกป่า อันเป็นวิถีสร้างความงามและความสุขแต่เดิมของท้องถิ่น ตามด้วยส่วนที่สองอันเป็นเรื่องของ “วิกหนังฝังใจ” คือการสแดงให้เห็นให้รู้จักเข้าใจและซาบซึ้งถึงวิถีชีวิตเมืองในครั้งก่อน ได้พบพานศิลปิน ผู้สร้างสรรค์คัตเอ๊าท์หนังในครั้งก่อน สุดท้ายเป็นการสรรหาภาพยนตร์เก่าที่มีพลังมาฉายกลางแจ้ง อาทิเช่น อินทรีแดง โทนหรือชู้เป็นต้น
|
||
|
||
4.3 เวทีตลาดนัดท้องถิ่น การชักจูงและจัดการให้ผลผลิตและวิถีชีวิตของชนบทในท้องถิ่นตรังให้มาปรากฏตัวอย่างแตกต่างหลากหลายน่าสนใจในศูนย์กลางของท้องถิ่นในลักษณะตลาดนัด คือเป้าหมาย วัตถุประสงค์ลีกๆก็คือการสร้างประสบการณ์และสำนึกร่วมกันถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของการคิดอ่านเชื่อมโยงชีวิตเศรษฐกิจต่างๆในท้องถิ่นตรังเข้าด้วยกัน |
||
|
||
ในช่วงเช้าจะเป็นเรื่องของตลาดสด สินค้า ผลิตภัณฑ์ จากทะเล จากนาจากป่าจากเขาจากท้องถิ่นต่างๆของจังหวัดตรังจะมาปรากฏตัว ตกสาย เที่ยงบ่ายจะกลายเป็นอาหารแห้งและการแปรรูปหุงปรุงต่างๆ จนเย็นจึงเป็นเรื่องขนมและอาหารการกินง่ายๆรับชีวิตยามเย็นของคนเมืองที่จะมาชุมนุมและเสวนากัน ในยามเย็นและค่ำ จะเป็นการนำเสนอ และเสวนาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนให้เห็น ให้เข้าใจ ถึงบริบทของชีวิตเศรษฐกิจท้องถิ่นในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งแนวทางและความเป็นไปได้ต่างๆในการร่วมกันสร้างวิถีชีวิตใหม่ๆที่มีส่วนสรรสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจตรังอย่างเป็นกิจวัตรและมีความยั่งยืน
4.4 เวทีสืบบรรพชน…ค้นความหลัง วัตถุประสงค์เบื้องลึกของการสืบบรรพชนค้นความหลังแท้จริงนั้นก็คือ การสร้างความรู้จักตัวเอง สร้างสติปัญญาตลอดจนความตระหนักในศักยภาพของตัวเองของท้องถิ่น กระบวนการเช่นนี้เป็นเรื่องยาว แต่จะได้อาศัยเวทีสาธารณะครั้งนี้ นำเสนอและสร้างประสบการณ์ในการได้เข้าพบได้รู้จักบรรพชนคนตรังบางท่าน (ครูจัง จริงจิตร) รวมทั้งเป็นโอกาสมองเห็นภาพรวมในวันข้างหน้าที่พึงร่วมกันเรียนรู้และสร้างสรรค์ เห็นบรรพชนคนต่างๆที่รอการเข้าพบทำความรู้จัก
|
||
|
||
4.5 เวทีลานหรอยพบอาหารบ้านเมืองตรัง ท้องถิ่นไทยมีแม่ครัว มีอาหารบ้านรสดี สูตรเด็ด ซุ่มซ่อนอยู่มากมาย ความเก่งและความหลากหลายเหล่านี้เคยมีชีวิตชีวาและทรงพลังในสมัยก่อนแต่ก็อ่อนแรงลงไปมากในชีวิตปัจจุบัน |
||
|
||
การสร้างสรรค์กิจกรรมให้มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นเหล่านี้พบโอกาสและช่องทางใหม่ๆในการปรากฏตัว สร้างความสุข มีความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมใหม่ๆเป็นเรื่องน่าสนใจ อาศัยกลุ่ม “กิมเป๋า” หรือกุ๊ก หวังว่าจะเกิดการร่วมกันกำหนด แผนภูมิ (MAPPING) ของครัวบ้านเมืองตรังที่มีฝีมือมีความเก่งกาจเป็นที่ยอมรับ จากนั้นจึงเป็นการร่วมกันหาแนวทางคัดสรรและเข้าถึงครัวบ้านเหล่านี้เพื่อนำมาปรากฏตัวให้สาธารณชนคนตรังได้เข้าพบอย่างมีสีสันและมีศักดิ์ศรี รูปแบบและเนื้อหาของเวทีสุดท้ายนี้ ยังรอการร่วมกันคิดอ่านสร้างสรรค์ของคนตรังที่อาสาเข้ามาร่วมงาน อย่างไรก็ตามที่ขาดไม่ได้ก็คือชุดสื่อที่แสดงให้เห็นถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังของการทำอาหารชนิดนั้นๆให้ปรากฏแก่สาธารณชน เกิดความรู้ความเข้าใจและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและฝีไม้ลายมือของบรรพบุรุษ
5. แนวทางการบริหารและจัดการ ทางด้านงบการบริหารจัดการซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อความราบรื่นในการดำเนินงาน จากเนื้อหาและกระบวนการของงานลองแลนั้น จะมีส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินการในสามช่วงเวลา
– ช่วงแรก ช่วงลองแลเล็กก่อนการก่อสร้างลานสโมสร ซึ่งจะแบ่งการดำเนินงานเป็นส่วนการเตรียมงานตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนจนถึงช่วงงานลองแลในปลายเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน จาการประมาณการเบื้องต้นคาดว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการผลักดันกิจกรรมส่วนต่างๆให้ปรากฏ ทั้งในแง่ของกระบวนการและการผลิต การสร้างสรรค์สื่อและการประชาสัมพันธ์ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายในส่วนดำเนินการอื่นๆเท่าที่จำเป็น แต่ด้วยระยะเวลาการเตรียมงานที่กระชั้นชิด และเพื่อร่วมผลักดันให้กิจกรรมลองแลนี้เกิดขึ้นได้จึงมีความจำเป็นต้องของบสนับสนุนจากทางเทศบาลนครเมืองตรังมาใช้ในการผลักดันกิจกรรมในส่วนต่างๆที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนของการดำเนินกระบวนการในการจัดเวทีประชุมเตรียมงานและการประสานงานระหว่างช่วงเตรียมงานก่อนลองแลนั้น ทางโครงการ “ชีวิตสาธารณะ…ท้องถิ่นน่าอยู่”จะเป็นผู้รับภาระในส่วนนี้ – ช่วงที่สอง ช่วงระหว่างการลงมือปรับปรุงพื้นที่ลานสโมสร ใช้ระยะเวลาสามเดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาตมถึงสิ้นเดือนธันวาคม ช่วงนี้จะเป็นช่วงการสรุปงานและถอดความรู้จาการดำเนินงานลองแลเล็กที่จัดไปก่อนหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานลองแลใหญ่ภายหลังการปรับปรุงลานแล้วเสร็จ โดยเน้นที่การสร้างกระบวนการให้ผู้คนเกิดการมีส่วนร่วมที่หลากหลายและครอบคลุม งบการใช้จ่ายจะเป็นเรื่องของเวทีประชุมเพื่อวางแผนการทำงานและกำหนดข้อตกลงต่างๆในการชิมใช้ลานสโมสรเบื้องต้นร่วมกัน ร่วมถึงเวทีเปิดพื้นที่ทางความคิดในการร่วมกำหนดมองอนาคตของลานในวันข้างหน้า ซึ่งค่าใช้จ่ายในช่วงนี้ ทางโครงการ “ชีวิตสาธารณะ…ท้องถิ่นน่าอยู่” จะเป็นผู้รับภาระในส่วนการเตรียมเวทีและการผลักดันกระบวนการนี้ – ช่วงสุดท้าย ช่วงลองแลใหญ่หลังการก่อสร้างและปรับปรุงลานแล้วเสร็จ ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานในเดือนมกราคม งบที่จัดเตรียมไว้ในเบื้องต้นนี้จะถูกใช้เป็นงบสำรองสำหรับงานลองแลใหญ่ที่จะเกิดนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมจากช่วงลองแลเล็ก ซึ่งหวังให้เกิดการร่วมผลักดันสนับสนุนและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของตรัง ทั้งนี้หากเกิดการระดมพลังของคนตรังในการผลักดันงานในจังหวะแรกยังมีโอกาสในการขยายผลสู่การของบสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกได้อีกทางหนึ่ง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยคนตรังเป็นกำลังหลักในการร่วมผลักดันและดำเนินการเป็นสำคัญ
จากการประมาณงบการค่าใช้จ่ายตามช่วงเวลาในข้างต้น เพื่อแสดงให้เกิดความชัดเจนของการใช้งบที่สัมพันธ์กับเนื้อหางานลองแล สามารถสรุปได้เป็น 4 หมวดใหญ่ๆ ดังนี้ 1.) งบสำหรับวัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในงานลองแลซึ่งการลองแลแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกันไปตามประเภท และชนิดของงานที่มาปรากฏ รวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นหลักในทุการลองแลจำพวก แสง สีเสียงด้วย 2.) งบสำหรับงานด้านการบริหารจัดการ เป็นงบสนับสนุนงานดำเนินการส่วนต่างๆเพื่ออำนวยให้งานเกิดความไหลลื่นและต่อเนื่อง 3.) งบสำหรับกิจกรรมในงานลองแลเล็กทั้ง 5 ครั้ง และงานลองแลใหญ่ที่มุ่งพัฒนาต่อเนื่องไปในอนาคต 4.) งบส่วนของสื่อประชาสัมพันธ์และงานดำเนินการอื่นๆ เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตสื่อต่างๆที่ต้องใช้ในการปรากฏของกิจกรรม และสื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างสรรค์ส่วนบรรยากาศภายในงานและส่วนสีสันให้กับเมือง เช่น นิทรรศการกลางแจ้ง |
||
|
||
ร่าง “มาลองแลลานใหม่เมืองตรัง” นี้มีฐานะเป็นเพียงแนวทางหรือเป็นตุ๊กตาที่ยกร่างขึ้นเป็นเบื้องต้น รอการมีส่วนร่วมพัฒนาเติมเต็มโดยพลเมืองตรังที่อาสาจะเข้ามาร่วมสร้างสรรค์งานต่อไปในวันข้างหน้า สุดท้ายนี้หวังว่าผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายสามารถทำความเข้าใจ กำหนดหลักการ และวางจุดยืนในการร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนากระบวนการลองแลลานเมืองใหม่ ให้ได้ว่านี่คือภารกิจที่ละเอียดอ่อนจะสำเร็จเป็นจริงและยั่งยืนได้ ก็ด้วยการมีส่วนร่วมเกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ดีทั้งระหว่างพลเมืองอาสาผู้ร่วมเหน็ดเหนื่อยสร้างสรรค์งาน และพลเมืองตรังผู้เข้ามาร่วมใช้ชีวิตเมืองชนิดใหม่ๆนี้จนกระทั่งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลทุกระดับ
ติดต่อประสานงาน : สำนักงานโครงการ “ชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่” 160/21 ถ.พระรามหก ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 (ซอยเยื้องศาลากลางหลังใหม่) โทร/แฟกซ์ : 075 220 330 |
Be the first to comment on "ลองแลลานใหม่เมืองตรัง"