วิกฤตแม่น้ำปราจีนฯ

68 กิโลเมตร ของสายน้ำแห่งนี้ มีทั้งรีสอร์ท นิคมอุตสาหกรรม ชุมชนเมือง เขตเกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงปลากระชัง แม่น้ำปราจีนวันนี้มีปัญหา ทั้งน้ำท่วม น้ำเค็ม น้ำแล้ง น้ำเสีย….ชะตากรรมแม่น้ำปราจีน จะเป็นอย่างไร ?

วิกฤตแม่น้ำปราจีนฯ :

ปัญหาสาธารณะที่รอการจัดการ

 

โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่

 


 

         แม่น้ำปราจีนบุรี เส้นเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในจังหวัดปราจีนบุรี ได้ใช้อุปโภคบริโภค เป็นแหล่งน้ำประปาของชุมชน เป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และเป็นต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี จึงนับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต แม้จะเป็นทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้น เกิดขึ้นใหม่ได้เสมอ แต่ทรัพยากรน้ำจะมีคุณค่าต่อเมื่อมีปริมาณที่พอเหมาะในเวลาที่มนุษย์ต้องการ ไม่มีมากเกินไปจนเกิดอุทกภัย มีน้อยเกินไปจนเกิดความแห้งแล้งขาดแคลน หรือน้ำที่จะนำมาอุปโภคบริโภค คุณภาพของน้ำจะต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนสารพิษ สารเคมีต่างๆ

      ปัจจุบันแม่น้ำปราจีนฯ กำลังอยู่ในสภาวะที่วิกฤตเกิดปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาน้ำท่วม แหล่งน้ำตื้นเขินปัญหาขาดแคลนน้ำ เกิดการพังต่อเนื่องของตลิ่ง ปัญหาน้ำทะเลหนุน เกิดน้ำเสีย ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สาธารณะต้องร่วมกันพิจารณาใคร่ครวญ หาหนทางแก้ไข ให้แม่น้ำปราจีนบุรีเกิดความยั่งยืนเกิดประสิทธิภาพในการจัดการ บนฐานของการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำในท้องถิ่นตนเอง

จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยทำให้ปริมาณน้ำใต้ดิน และน้ำผิวดินน้อยไปด้วย  คุณภาพของน้ำใต้ดินมี ลักษณะเค็มและกร่อยในบริเวณตะวันตกและตอนกลางของจังหวัด และมีพื้นที่บางส่วนที่น้ำมีคุณภาพ   แต่มีปริมาณน้อยซึ่งลักษณะดังกล่าว มีผลต่อการทำกสิกรรมและการใช้น้ำเพื่อกิจการอื่นๆ อาทิ  อุตสาหกรรม อุปโภค บริโภค และเกษตรกรรมบางประเภท

 

      แม่น้ำปราจีนบุรีเกิดจากการรวมของแควพระปรงและแควหนุมานบริเวณ อำเภอกบินทร์บุรีและประจันตคามโดยไหลไปทางตะวันตกเข้าสู่เขตอำเภอเมืองปราจีนบุรีและไหลไปรวมตัวกับแม่น้ำนครนายกเป็นแม่น้ำบางประกงมีความยาวประมาณ 68 กิโลเมตร  แม่น้ำปราจีนบุรีไหลผ่าน 6 อำเภอ รวม 19ตำบล มีเพียง 1 อำเภอเท่านั้นที่ไม่ไหลผ่าน  คือ อำเภอศรีมโหสถ

 

วิกฤตปัญหาแม่น้ำปราจีนบุรีในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

ปี 2538   ปลาตายทั้งแม่น้ำ   ตั้งแต่ศรีมหาโพธิจนถึงบ้านสร้าง

              พันธุ์ปลาประจำถิ่นเริ่มหายไป เช่น ปลาลิ้นหมา, ปลาแก้มช้ำ, ปลา   

                สมพร (ปลาเนื้ออ่อน), ปลาลิ้นวัว, ปลาน้ำดอกไม้ เป็นต้น

              น้ำท่วมใหญ่ที่ อ.เมือง, อ.บ้านสร้าง, อ.ประจันตคาม และอ.กบินทร์บุรี 

ปี 2542  วิกฤตปลาตายลอยหัว” รอบ 1 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ

ปี 2546  วิกฤตปลาตายลอยหัว” รอบ 2 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ

ปี 2547  ตลิ่งริมน้ำพังลงบริเวณ อ.ศรีมหาโพธิจนถึงอ.บ้านสร้าง

ปี 2547  น้ำท่วม อ.กบินทร์บุรี และเกิดวิกฤตปลาลอยหัวที่ อ.บ้านสร้าง

 

ลักษณะของสายน้ำปราจีนบุรี

        สภาพของแม่น้ำปราจีนบุรีซึ่งไหลผ่านพื้นที่เกือบทั้งจังหวัดมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภูมินิเวศ การประกอบอาชีพ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์ตามลักษณะของสายน้ำที่แบ่ง

ออกเป็น 3 ช่วง  คือ ช่วงต้นน้ำ ช่วงกลางน้ำ และปลายน้ำ ได้ดังนี้ 

 

บริเวณต้นน้ำ

        พื้นที่ครอบคลุม  อ.กบินทร์บุรี  อ.นาดี  อ.ประจันตคาม สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง พื้นที่ทางการเกษตรเพาะปลูกไร่มัน พื้นที่ปลูกข้าว ข้าวโพด และมีสวนบางส่วนบริเวณต้นน้ำ ใช้ประโยชน์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี สภาพทั่วไปเป็นป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าเบญจพรรณ   นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ (สุกร, ไก่) ปัญหาที่พบบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่สำคัญ คือ  ปัญหาน้ำท่วมและตลิ่งพัง  สาเหตุหลักเกิดจากการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการสร้างรีสอร์ทเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเพาะปลูก และมีการตัดถนนเข้าไป ทำให้ทิศทางของน้ำเปลี่ยนไป และระบายน้ำไม่ทัน ประกอบกับพื้นที่ในการดูดซับน้ำน้อยลง เพราะป่าถูกทำลาย ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณที่พบปัญหาคือ ต.โพธิ์งาม ต.บุฝ้าย อ.ประจันตคาม ต.กบินทร์ ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี ต.สะพานหิน อ.นาดี

 

บริเวณกลางน้ำ

        ครอบคลุม อ.กบินทร์บุรี (ต.หนองกี่ ต.บ้านนา ต.กบินทร์บุรี)อ.ศรีมหาโพธิ (ต.ท่าตูม) อ.ประจันตคาม (ต.โพธิ์งาม) “พื้นที่กลางน้ำตอนบน” สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เช่น นิคม

อุตสาหกรรม 304 (ท่าตูม),  นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี (หนองกี่),เครือสหพัฒน์ (กบินทร์บุรี), ลานมัน (กบินทร์บุรี), โรงงานหน่อไม้ (ประจันตคาม) รวมโรงงานที่ตั้งอยู่เฉพาะช่วงกลางน้ำ ประมาณ 600 กว่า แห่ง และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง ปัญหาที่พบบริเวณพื้นที่กลางน้ำตอนบนที่สำคัญ คือ ปัญหาการดูดทรายจากแม่น้ำ ที่ ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ และที่ ต.กบินทร์  อ.กบินทร์บุรีเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซี่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำขุ่นและตลิ่งพัง และปัญหาการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาห

กรรมและปัญหาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน “พื้นที่กลางน้ำตอนล่าง”ครอบคลุม อ.เมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนา เลี้ยงปลาในกระชัง ปัญหาที่พบบริเวณพื้นที่กลางน้ำตอนล่างที่สำคัญคือ  ปัญหาน้ำทิ้งจากครัวเรือน  ปัญหาการทิ้งขยะมูลฝอยจากครัวเรือนลงสู่แม่น้ำทำให้น้ำเน่าเสีย และปัญหาน้ำเสียจากสารเคมีในการเลี้ยงปลา กุ้ง และตะกอนจากบ่อปลา บ่อกุ้ง

บริเวณปลายน้ำ

        พื้นที่ครอบคลุม อ. บ้านสร้าง ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำนาข้าว และนากุ้ง น้ำส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเพื่อการอุปโภคบริโภค ปัญหาที่พบบริเวณพื้นที่ปลายน้ำที่สำคัญ  คือ สภาพน้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำเน่า ซึ่งสาเหตุหลักของน้ำกร่อยเกิดจากน้ำทะเลหนุนเข้ามาในพื้นที่สืบเนื่องจากการดูดน้ำขึ้นมาทำนาปรังทำให้ปริมาณน้ำจืดน้อยลง นอกจากนั้นยังมีปัญหาน้ำเน่าเสียจากการทำเกษตรเคมี  และอุตสาหกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรม


ภาพรวมสภาพการใช้น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี เพื่อกิจกรรมต่างๆ
  จำแนกความ

ต้องการน้ำออกเป็น  7 ประเภท ตามสภาพพื้นที่ดังนี้ 

    1. การใช้น้ำด้านการเกษตร                       2. การใช้น้ำด้านอุปโภคบริโภค 

    3. การใช้น้ำด้านอุตสาหกรรม                    4. การใช้น้ำด้านการปศุสัตว์

    5. การใช้น้ำด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ       6. การใช้น้ำด้านการท่องเที่ยว

    7. การใช้น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศและผลักดันน้ำเค็ม

 

สภาพปัญหาของแม่น้ำปราจีนบุรี 

      ปัญหาการเน่าเสียของน้ำ ปัจจุบัน “น้ำเสีย” เป็นปัญหาสำคัญของปราจีนบุรี สาเหตุอาจมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนภาคการเกษตร ฯลฯ ข้อมูลล่าสุด มีโรงงานอุตสาหกรรม 650 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร (162) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเคมี และพลาสติก (95) ประเภทอุตสาหกรรมที่ขยายตัวมากอันดับแรกคือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก รองลงมาคืออุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเลคทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ ในส่วนน้ำเสียจากชุมชน ในปี 2543 พบว่ามีปริมาณความสกปรกเพิ่มขึ้นจาก 2,222 กก.ต่อวัน เป็น 2,323 กก.ต่อวันในขณะที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร การทำประมงน้ำกร่อย น้ำเสียจากปศุสัตว์ การทำนาปรังเพื่อเพิ่มผลผลิต ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุของน้ำเน่าเสียได้ทั้งสิ้น

 

ปัญหาความแห้งแล้ง จากภาวะฝนแล้งเกิดในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี  ทำให้ปริมาณน้ำที่ผิวดิน และน้ำใต้ดิน ลดลง ประกอบกับการทำลายป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ของแม่น้ำหลายสายในจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา ทำให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำในแควหนุมาน  แควพระปรง

และแม่น้ำปราจีนบุรีที่แห้งขอดจนเกิดปัญหาต่อระบบน้ำประปาของชุมชน ทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัด

 

ปัญหาน้ำท่วม เกิดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมของทุกปี พบที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมือง และอำเภอประจันตคาม บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในเขตตำบลสัมพันธ์ บ้านทาม ท่าตูม หัวหว้า หาด

ยาง ดงกระทงยาม และบางกุ้ง เกิดสภาวะน้ำหลากล้นตลิ่งเป็นปริมาณมากทุกปี ประกอบกับการระบายน้ำไม่เพียงพอ   เพราะการถมที่ดินของภาคเอกชนในบริเวณพื้นที่รับน้ำ และการก่อสร้างถนนขวางกั้นการระบายน้ำ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก

 

ปัญหาแหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน ในพื้นที่อำเภอประจันตคาม ศรีมหาโพธิ และศรีมโหสถ แหล่งน้ำธรรมชาติมีสภาพตื้นเขิน ขาดการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในการเก็บกักน้ำ เมื่อถึงฤดูฝนทำให้เกิดน้ำท่วมจนทำให้พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย

 

ปัญหาขาดแคลนน้ำ  สภาพพื้นที่ของจังหวัดมักเกิดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และมีการขาดแคลนน้ำใช้ในฤดูแล้งเนื่องมาจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอ

ปัญหาการไม่สามารถแยกน้ำจืดจากน้ำเค็มได้อย่างชัดเจน ข้อเท็จจริงของการแยกน้ำออกจากกันนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะน้ำเค็มสามารถซึมเข้าสู่ใต้ผิวดินได้  การใช้งบประมาณในการกั้นแม่น้ำดังกล่าวอาจสูญเสียโดยไม่จำเป็น ตัวอย่างจะเห็นได้จากโครงการเขื่อนบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

ปัญหาการต่อเนื่องของตลิ่งพัง จากที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่เขื่อนบางปะกงปิดประตูระบายน้ำ ทำให้เกิดการพังของตลิ่งทั้งสองข้างแม่น้ำ

 

           ถ้ายังไม่มีการวางแผนจัดการที่ดีพอ แม่น้ำปราจีนบุรีคงมีปัญหาอื่นๆ ตามมา เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ 2 และเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขตที่ 3 อีกทั้งมีโครงข่ายการคมนาคมที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่นๆ และไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล  ดังนั้นจึงเป็นจุดสนใจของนักลงทุนที่จะมาลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม  ทำให้มีการใช้ทรัพยากรและทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง  แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรถ้าหากยังคงดำเนินการพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ในอนาคตแม่น้ำปราจีนบุรีคงมีสภาพที่แย่ลงเรื่อยๆ

ศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี

 

ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ ซึ่งพยายามผลักดันให้ประชาชนในท้องถิ่นมีศักยภาพในการดูแลพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองในเรื่องประเด็นสาธารณะต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ฯลฯ เพื่อที่จะได้เป็นชุมชนที่มีความสามัคคีมีความเข้มแข็งต่อไป คณะทำงานของจังหวัดปราจีนบุรี มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินกิจกรรมดังกล่าวให้สัมฤทธิ์ผลลุล่วง จึงจัดตั้งศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรีขึ้นไว้เป็นศูนย์กลางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านการแจ้งเรื่องราวข่าวสาร และเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของทางท้องถิ่นชุมชนต่อไปจังหวัดปราจีนบุรีเป็น 1 ใน 35 จังหวัดที่

 

ภารกิจหลักของศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี

    1. ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรปราจีนบุรีกลับมาใช้วิธีการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีแบบดั้งเดิม เพื่อที่จะดูแลรักษาทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ และสารเคมี

    2. ยุทธศาสตร์การจัดการแม่น้ำปราจีนบุรี ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ควรจะดูแลแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้ เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการใช้แม่น้ำอย่างขาดการดูแล ขาดข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้ำในแม่น้ำเกิดการเน่าเสีย มีสารพิษเจือปน ทำให้สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำตาย ส่งผลทำให้สัตว์น้ำบางชนิดสูญพันธุ์

    ภารกิจทั้ง 2 อย่างนี้ จำเป็นต้องมีข้อมูลทางวิชาการ ทางกายภาพและอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาต่อไป ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยพลังความร่วมแรงร่วมใจจากชุมชนและกลุ่มผู้มีจิตสาธารณะเข้ามามีบทบาท และร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

 

ภารกิจหลักของศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี

    1. ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรปราจีนบุรีกลับมาใช้วิธีการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีแบบดั้งเดิม เพื่อที่จะดูแลรักษาทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ และสารเคมี

    2. ยุทธศาสตร์การจัดการแม่น้ำปราจีนบุรี ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ควรจะดูแลแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้ เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการใช้แม่น้ำอย่างขาดการดูแล ขาดข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้ำในแม่น้ำเกิดการเน่าเสีย มีสารพิษเจือปน ทำให้สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำตาย ส่งผลทำให้สัตว์น้ำบางชนิดสูญพันธุ์

    ภารกิจทั้ง 2 อย่างนี้ จำเป็นต้องมีข้อมูลทางวิชาการ ทางกายภาพและอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาต่อไป ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยพลังความร่วมแรงร่วมใจจากชุมชนและกลุ่มผู้มีจิตสาธารณะเข้ามามีบทบาท และร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

 

ศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี

www.prachinhealthylife.com

โทรศัพท์/โทรสาร 0-3721-3087416
ถนนหน้าเมือง ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ บริหารโครงการโดยสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน ม.มหิดล

   

    1. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาวิถีชีวิตสาธารณะที่เข้ม แข็ง เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่นที่น่าอยู่และยั่งยืน” พื้นที่ปฏิบัติการเน้นเรื่องท้อง ถิ่นน่าอยู่ 5 พื้นที่ ตรัง สมุทรสงคราม นครสวรรค์ ลำปาง และ อุบลราชธานี

    2. โครงการเสริมสร้างขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในประเด็น สุขภาวะ ปฏิบัติการเน้นการขับเคลื่อนภาคประชาสังคมประเด็นสุขภาวะ 29 พื้นที่  ภาคกลาง (9 จังหวัด) สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ตราด นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สมุทรปราการ ภาคอีสาน (7 จังหวัด) นครราชสีมา ชัยภูมิ อำนาจเจริญสุรินทร์ เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ภาคเหนือ (8 จังหวัด) ตาก แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลำพูน เชียงราย พะเยา ภาคใต้ (5 จังหวัด) สุราษฎร์ธานีปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต พังงา

    3. โครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและเครือข่ายงานวิจัยและพัฒนา ชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่

    4. โครงการประเมินภายใน (Internal Evaluation) และสังเคราะห์องค์ความรู้ในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม  การพัฒนาวิถีชีวิตสาธารณะประชาคมที่เข้มแข็ง
เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่นน่าอยู่และยั่งยืน

5. โครงการชีวิตสาธารณะและท้องถิ่นอยู่กรุงเทพมหานคร


6. โครงการพัฒนาระบบการสื่อสาร เพื่อหนุนเสริมการสร้างความเป็นสาธารณะที่เข้มแข็ง

 

          ชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง (Healthy Public Life) เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของผู้คนในแต่ละชุมชนแต่ละท้องถิ่นโดยตรงซึ่งหนีไม่พ้น เรื่องของบทบาทคุณค่า การยอมรับและการแสดงตัวตนในสังคมซึ่งคุณค่าดังกล่าว เกิดขึ้นได้ด้วยการร่วมกระทำเพราะแม้ว่า ปัจเจกบุคคลจะมีจิตใจที่หวังดีต่อส่วนรวมหรือต่อสาธารณะเพียงใด ก็ไม่มีพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงท้องถิ่นได้

 

สนับสนุนโดย…สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จัดทำโดย…สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

 

Be the first to comment on "วิกฤตแม่น้ำปราจีนฯ"

Leave a comment

Your email address will not be published.