วิทยุชุมชน : เกิดและอยู่อย่างไรให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน

…จำนวนเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ จำนวนสมาชิกที่เป็นคนในชุมชน มีความสำคัญกว่าเพราะคือสิ่งชี้ว่าได้รับความสนับสนุนอย่างไรจากชุมชน  “เงินน้อยจากคนมาก สำคัญและส่อความยั่งยืน มากกว่า เงินมากจากคนน้อย….

 

การสัมมนาระดับประเทศ วิทยุชุมชนเพื่อสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และประชาธิปไตย” 14   ธันวาคม 2547

 

Table of Contents

โดย     ดร .เอื้อจิต   วิโรจน์ไตรรัตน์
ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน

คำถามเบื้องต้น

·         ทำวิทยุชุมชนเพื่ออะไร ?  

         เพื่อตนเอง   รายได้  /  ชื่อเสียง  /  โอกาสชีวิต

    เพื่อชุมชนและสิ่งที่เราได้    ความพอใจ / ความสุข  / ความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนต่อชุมชน

·    ใครคือผู้ได้ประโยชน์จากวิทยุชุมชน

         ชุมชน คนในชุมชน   ผู้รับผิดชอบ /  ผู้สนับสนุนหลัก

          ผู้ผลิต    ผู้สนับสนุน  ผู้ควบคุม / ผู้กำหนดเป้าหมาย ผู้ได้ประโยชน์แท้จริง ไม่ใช่ ชุมชน

ความยั่งยืนของวิทยุชุมชน   เกิดจาก   การสนับสนุน อย่างร่วมรับผิดชอบของคนในชุมชน ซึ่งเกิดจากการทำงานของผู้รับผิดชอบทั้งด้าน บริหาร ผลิตรายการ และ คุณภาพทางเทคนิคที่ทำให้ คนในชุมชน พอใจ  (enjoyable)  ได้ประโยชน์ (useful) เห็นคุณค่า (valuable)   

 

ลักษณะการทำงานที่ประกันความยั่งยืน 

          ทำงานหนัก อย่างอุทิศ และ รับผิดชอบ

          ระยะเริ่มต้น ต้องใช้ระบบอาสาสมัคร ร่วมก่อร่างสร้างตัว จนมีกองทุนที่ประกันได้ว่ามีทุนเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการทำงานรายการและออกอากาศ  จึงเริ่มมีการจ้างบุคลากรในจำนวนที่จำเป็น และในค่าตอบแทนที่เพียงพอต่อการยังชีพ เท่านั้น

          ภาระกิจสำคัญ คือ การสร้างความรู้สึกร่วม และ ตระหนักในคุณค่าวิทยุชุมชน  การระดมทุน

      และทรัพยากรด้านต่าง ๆ จากชุมชน   การเพิ่มจำนวนสมาชิก  การกำหนดแผนการระดมทุน

      อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับวิถีชุมชน  การพัฒนาบุคลากรและคุณภาพรายการอย่างต่อ

      เนื่อง  การเชิญชวนให้กลุ่มบุคคลต่าง ๆ มาใช้ช่องทางการสื่อสาร   การรับฟังความคิดเห็น

      ความต้องการของชุมชน

          การบริหารจัดการ ที่โปร่งใส ชี้แจงและตรวจสอบได้ ยึดหลักประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วม

การใช้จ่ายอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

จุดจำเป็นที่เปราะบาง   การหารายได้ของวิทยุชุมชน

คำถามเบื้องต้น    ต้องการรายได้ไปเพื่ออะไร ?     เป้าหมายหลัก ควรเพื่อ การปรับปรุงรายการ และการออกอากาศ  มิใช่ช่องทางสร้างรายได้อย่างอาชีพ

    –หารายได้ / ระดมทุน อย่างไร ที่ทำให้คง ความเป็นอิสระ(independent) จากอิทธิพล หรือ ความกดดันทั้งทางการเมือง การปกครอง (political pressures) และทางการค้า (commercial pressures) 


ข้อควรคำนึง
     รายได้หลักควรมาจากค่าบำรุงจากสมาชิกของสถานี ฯ เช่น สถานี KGNU ในอเมริกา 65%ของรายได้มาจากค่าสมาชิก 17% เป็นเงินสนับสนุนจากองค์กรอิสระด้านสื่อ นอกนั้นมาจากการจัดกิจกรรมพิเศษ และ การขายสินค้า ขายผลผลิตรายการ เช่น เพลง ค่าขายพื้นที่โฆษณาในหนังสือแจ้งรายการ ฯลฯ ในขณะที่ สถานีวิทยุชุมชนไฟร์บวร์ก ในเยอรมัน ตั้งเป้าหมายว่า  กว่า 50% ของรายได้ ต้องมาจากค่าสมาชิก

ระลึกเสมอว่า จำนวนเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ จำนวนสมาชิกที่เป็นคนในชุมชน มีความสำคัญกว่าเพราะคือสิ่งชี้ว่าได้รับความสนับสนุนอย่างไรจากชุมชน  เงินน้อยจากคนมาก สำคัญและส่อความยั่งยืน มากกว่า เงินมากจากคนน้อย โดยเฉพาะ การได้เงินจากแหล่งทุนนอกชุมชนเพื่อแลกกับรายการที่ให้ชุมชนเป็นเพียงคนฟัง

วิธีการหารายได้
/ ระดมทุน
  • จากเอกสาร UNESCO 2001 ระบุ วิทยุชุมชน อาจหารายได้จาก ค่าบำรุงจากสมาชิก (membership fees) การรับบริจาค (donations)  ผู้อุปถัมภ์ (sponsorship)  ค่าบริการจากการประกาศข้อความของบุคคล (fees for private announcements) เช่น ของหาย การเกิด การตาย ฯลฯ และ การรับโฆษณา (commercial advertising)  โดยที่ทุกวิธีการ จะต้องมีการกำหนดข้อปฏิบัติอย่างชัดเจนทั้งนี้เพื่อประกันความเป็นอิสระ(independent) และ ที่ผู้เขียน ขอเพิ่มเติมคือ * ความเท่าเทียม(equality)คือให้คุณค่าต่อทุกรายการ อย่างเท่าเทียมกัน หรือ ระบบคุณค่า(values) ไม่ใช่ค่าความนิยม(ratings) และที่สำคัญ ต้องไม่ทำให้วิทยุชุมชน และชุมชนเป็นเครื่องมือของการสร้างภาพลักษณ์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง และ ทางการค้า ของกลุ่ม/บุคคลใด ต้องยึดหลัก ไม่รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณเพราะจะมีผลต่อการทำงานที่มุ่งความถูกต้อง ความเป็นธรรม และประโยชน์ของสาธารณะเป็นสำคัญ
  • รายได้จาก การจัดกิจกรรมพิเศษ หรือ กิจกรรมสาธารณะ ต่าง ๆเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ และ ยังสร้างความรู้จัก และ ความรู้สึกร่วมได้ดีจากชุมชน  โดยต้องคำนึงถึงเอกลักษณ์และ วิถีชีวิตท้องถิ่น ด้วย กรณีประเทศไทย มีการจัดกิจกรรมพิเศษอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ที่น่าสนใจ เช่น  การทอดผ้าป่าของทางภาคเหนือ ภาคอีสาน  การจัดกองผ้าป่ามะขามโดยระดมมะขามมาขายเพื่อหาทุนของเพชรบูรณ์ การจัดขายบัตรเลี้ยงโต๊ะจีนของชลบุรี  การกินน้ำชาของภาคใต้ ฯลฯ ในขณะที่ต่างประเทศระบุถึงการจัดคอนเสิร์ต การจัดงานออกร้านที่สมาชิกชุมชน นำของสะสมหรือเก่าเก็บมาขายในราคาถูก เพื่อระดมทุน ฯลฯ

  • รายได้จากการดำเนินงานของวิทยุชุมชน เช่น การจำหน่ายเทปที่บันทึกเสียงเนื้อหารายการ  การขายพื้นที่โฆษณาในสิ่งพิมพ์ที่จัดทำเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์การออกอากาศ และ เรื่องราวต่าง ๆ  การจัดทำสินค้าเพื่อจำหน่าย เช่น เสื้อยืด หมวก ฯลฯ
  • รายได้จากการขอรับการสนับสนุนจากสถาบัน องค์กร ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ที่มีเนื้อหางานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยการขอรับการสนับสนุน ต้องไม่มีเงื่อนไขในลักษณะการรับจ้างหรือการจัดแลกรายการกับเงินสนับสนุน แต่มีการประกาศการอุปถัมภ์สถานีในช่วงเวลาที่กำหนด  หรือ การนำเสนอเทปรายการสำเร็จรูปขององค์กรสนับสนุน โดยคำนึงว่ารายการนั้น ต้องมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เป็นสำคัญ
  • รายได้เป็นผลจากการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ด้วยการสื่อสารกับชุมชน หรือด้วยรายการที่เสนอ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น วิทยุชุมชนที่ชลบุรีได้รับเงินทำบุญจากสามีในการจัดงานศพภรรยาเพราะนอกจากผลงานรายการที่เสนอต่อชุมชนแล้ว ยังเป็นเพราะการสร้างความสัมพันธ์อย่างผูกพันด้วยการนำพวงหรีดในนามวิทยุชุมชนไปวางในงานศพสมาชิกชุมชน หรือ กรณีที่สถานี KGNU ในอเมริกาได้รับเงินจำนวนถึง 4 แสนดอลลาร์จากพินัยกรรมที่สมาชิกชุมชนคนหนึ่งระบุยกให้เมื่อถึงแก่กรรม

โฆษณาสินค้า : ทางออกที่ไม่เป็นเส้นขนาน และ เส้นทับซ้อน   จากเอกสาร UNESCO 2001

ในบางประเทศที่ชุมชนหรือภาคประชาชน และ ภาคธุรกิจวิทยุ มีความเข้มแข็งทางความคิดและ การกระทำ จะมีการกำหนดชัดเจนว่า สำหรับวิทยุชุมชนที่ไม่ใช่เพื่อการค้า( non-profit community radio) ต้องไม่มีการรับโฆษณาทางธุรกิจ ( community radio is prohibited from accepting advertising)ที่แม้จะมีผลต่อการหารายได้ แต่ด้วยคำนึงถึง ภาพลักษณ์(image) และ ความน่าเชื่อถือ (credibility)ของวิทยุชุมชนซึ่งเป็นสื่อเพื่อบริการสาธารณะ( public-service broadcasting)ที่จำเป็นต้องมึความเป็นเสรีจากประโยชน์และอิทธิพลทางการค้า(to be free from commercial interests and influences)


แต่ถ้า การหารายได้จากการโฆษณาเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ดำเนินการได้

การอนุญาตให้มีการโฆษณาทางวิทยุชุมชน ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ทั้งนี้ เพื่อให้มีรายได้แต่พอเพียง ที่ไม่กระทบต่อเสรีภาพทางความคิด และ ความรับผิดชอบต่อชุมชน

 

สิ่งที่ต้องพิจารณา เช่น การสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจน และ การมีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพทั้งจากหน่วยงาน และ ชุมชน/สังคม เช่น

          สิ่งที่โฆษณาต้องเป็นผลิตผลหรือการให้บริการ ของท้องถิ่น/ชุมชน (local providers of goods and services)

          สิ่งที่โฆษณาต้องไม่ใช่สินค้าของระบบอุตสาหกรรมข้ามชาติ เช่น น้ำอัดลม (the multinational soft drinks industry ) หรือ สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่

 

ในสหรัฐอเมริกา ที่กฎหมายระบุ ห้ามการกระจายเสียงเพื่อบริการสาธารณะอย่างไม่ค้ากำไร ดำเนินการโฆษณาทางธุรกิจ แต่ด้วยจำเป็นต้องมีรายได้ เพื่อการดำเนินการ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานีขนาดกลางมากกว่าขนาดเล็ก อย่าง วิทยุชุมชน ในกระบวนการเรียนรู้ของบ้านเรา) จึงมีการออกระเบียบให้ดำเนินการประกาศแจ้งท้าย เพื่อขอบคุณผู้สนับสนุน (underwriting and donor acknowledgements) ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ เช่น        

 · ให้แสดงเพียงสัญลักษณ์หรือตัวอักษรย่อ (logograms)หรือ คำขวัญ คติพจน์ (slogans)ที่บอกเพียงว่า เป็นใคร (identify) คือสื่อเพียงข้อมูลทั่วไป (contain general product –line descriptions) แต่ห้าม เยินยอหรือ โปรโมท (promote)

·  เป็นข่าวสารข้อมูลท้องถิ่น (local information)

·  ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยการบรรยายหรือพรรณาอย่างเป็นกลาง (value neutral descriptions of a product or service listings) ไม่ยกย่องคุณภาพ หรือ ใช้ภาษาเพื่อเปรียบเทียบ (not include qualitative or comparative language) และไม่ยกยอหรือหนุนเสริมบริษัท

หรือ ผู้ผลิต (should not promote the contributor’s products , service , company)

·  นำเสนอเพียงชื่อสินค้าหรือชื่อทางการค้า และ ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ (brand and trade names and product or service listings) รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์

ข้อเน้นย้ำที่สำคัญ คือ

             ·   การดำเนินการ สื่อกระจายเสียงเพื่อบริการสาธารณะ ต้องเชื่อมั่นที่จะมีความแตกต่างจากสื่อเพื่อการค้า (free from commercial – like matter)

             ·   ระเบียบ หรือ แนวทางที่คณะกรรมการฯกำหนดให้ สื่อเพื่อบริการสาธารณะอย่างไม่ค้ากำไร ได้ถือปฎิบัติร่วมกัน ก็ด้วยความเชื่อมั่น และความมีศรัทธาที่ดีต่อการกระจายเสียงเพื่อบริการสาธารณะ

             ·   คณะกรรมการยินดีรับคำร้องเรียน และหากจากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำที่ขัดหรือละเมิดระเบียบ จะมีการดำเนินมาตรการการลงโทษ ซึ่งรวมทั้งการถูกปรับด้วย

 

· การกำหนดให้วิทยุชุมชนหารายได้จากการโฆษณา ในอัตราที่น้อยกว่า ธุรกิจ เปรียบเหมือน ตัวเล็กก็กินคำเล็ก เป็นการดำเนินการที่ขาดความเข้าใจใน หลักการ อุดมการณ์และวิธีการวิทยุชุมชน

· การไม่มีข้อกำหนดใด ๆ ควบคู่กับการหารายได้จากการโฆษณา คือ การทำลายคุณค่าวิทยุชุมชน และการสร้างประโยชน์ให้กลุ่มธุรกิจฉวยโอกาส ที่อาจมีทั้งผู้ประกอบการวิทยุ และ บุคลากรภาค

รัฐที่หนุนเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ แต่พร้อมขัดขวางผู้ประกอบการภาคประชาชนเพื่อประชาชน

· การทำวิทยุชุมชน โดยมุ่งเพียงหารายได้จากผู้สนับสนุนรายใหญ่ หรือ การโฆษณา คือการไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญทั้งของชุมชน และ วิทยุชุมชน

Be the first to comment on "วิทยุชุมชน : เกิดและอยู่อย่างไรให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน"

Leave a comment

Your email address will not be published.