สารคดีโทรทัศน์ชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่

 

 

 

 

สาระในหนังสือ “ถอดบทเรียนการทำงาน…ร้องเรียงเรื่องราว สารคดีโทรทัศน์ชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ (Healthy Public Life)” ทั้ง 25 เรื่อง

เพื่อให้ผู้ร่วมงานในโครงการและพัฒนาชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ และผู้ในใจทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจแนวคิดสำคัญของโครงการฯ ด้วยรูปธรรมของเรื่องราวความเป็นจริงจากผู้คนที่เกี่ยวข้อง ด้วยเนื้อหาที่สะท้อนกระบวนการทำงานที่ประกอบด้วย การร่วมกันค้นหา และร่วมกันดำเนินกระบวนการในประเด็นปัญหาสาธารณะ อย่างมุ่งหวังสร้างชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู

ชุดสื่อเพื่อนำเสนอเรื่องราวการทำงานของภาคีจังหวัดร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ ประกอบด้วย สารคดีโทรทัศน์ 25 รายการ บันทึกในแผ่นดีวีดีจำนวน 2 แผ่น และหนังสือ 1 เล่ม ที่บันทึกกระบวนการงานผลิต พร้อมทั้งถอดความจากรายการสารคดีโทรทัศน์ฯ ทั้ง 25 เรื่อ

จุดมุ่งหมายในการจัดทำชุดสื่อนี้ เพื่อให้ผู้ร่วมงานในโครงการและพัฒนาชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ และผู้ในใจทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจแนวคิดสำคัญของโครงการฯ ด้วยรูปธรรมของเรื่องราวความเป็นจริงจากผู้คนที่เกี่ยวข้อง ด้วยเนื้อหาที่สะท้อนกระบวนการทำงานที่ประกอบด้วย การร่วมกันค้นหา และร่วมกันดำเนินกระบวนการในประเด็นปัญหาสาธารณะ อย่างมุ่งหวังสร้างชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ ดังนั้นเครื่องมือสำคัญของการทำงานโครงการฯ นี้คือ การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การทำงานบนฐานข้อมูล ฐานทุนทางสังคม การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา เกิด “สำนึกสาธารณะ” หรือ ความรู้สึกเกี่ยวข้องร่วมกันใน “ประเด็นสาธารณะ” ที่แต่ละพื้นที่ หรือ กลุ่มการทำงาน จะร่วมกันค้นหาและร่วมกันทำงาน อย่างคำนึงถึงการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ (Public dialogue) การไตร่ตรองอย่างรอบด้าน (Public deliberation) ก่อนร่วมกันตัดสินใจเลือกทางออกที่ดีที่สุด ที่ยอมรับร่วมกันได้ แล้วลงมือทำงานอย่างรับผิดชอบร่วมกัน(Public responsibility) ซึ่งนั่นก็คือ การพัฒนาทักษะการทำงานบนฐานคิดและกระบวนการของการเมืองภาคพลเมือง นั่นเอง

สาระในหนังสือ “ถอดบทเรียนการทำงาน…ร้องเรียงเรื่องราว สารคดีโทรทัศน์ชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ (Healthy Public Life)” ทั้ง 25 เรื่อง จัดกลุ่มการนำเสนอตามภูมิภาคของการดำเนินงานโครงการฯ ใน 30 จังหวัด กับสาระจากลุ่มงาน 5 จังหวัด ที่เน้นในเรื่องการทำงานเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในเมือง โดยในส่วนแรกของหนังสือเป็นการอธิบายกระบวนการทำงาน ทั้งการเตรียมการจัดทำแผนการผลิต การถ่ายทำหรือบันทึกภาพและเรื่องราว จนถึงกระบวนการทำงานหลังการถ่ายทำ หรือ post-production เช่น การตัดต่อภาพ การจัดทำบท และการลงเสียง จนได้รายการสารคดีโทรทัศน์ ความยาว 15-18 นาที

สนใจหนังสือ ติดต่อ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เลขที่ 693 ถ.บำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2621-7810-2 โทรสาร. 0-2621-8042-3 E mail : admin@ldinet.org www.ldinet.org

Be the first to comment on "สารคดีโทรทัศน์ชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่"

Leave a comment

Your email address will not be published.