สำนึกพลเมืองไทในความหลากหลายของท้องถิ่น

วันที่ 13 มีนาคม 2549 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดการประชุมวางแผนงานเพื่อเตรียมความพร้อม ในการจัดเวทีวิชาการประชาสังคม : สำนึกพลเมืองไทในความหลากหลายของท้องถิ่น โดยมีตัวแทนคณะทำงานจาก35จังหวัดเข้าร่วมประชุม…

สันสกฤต มุนีโมไนย รายงาน

วันที่ 13 มีนาคม 2549 ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดการประชุมวางแผนงานเพื่อเตรียมความพร้อม ในการจัดเวทีวิชาการประชาสังคม : สำนึกพลเมืองไทในความหลากหลายของท้องถิ่น โดยมีตัวแทนคณะทำงานจาก35จังหวัดเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง ซึ่งมติที่ประชุมยังไม่ตัดสินใจว่าจะจัดงานในวันใด ระหว่างวันที่ 18 – 20 หรือ 19 – 21 สิงหาคม 2549 ส่วนสถานที่จัดคือสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จ.นครปฐม

นายคณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ ผู้จัดการโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า เพื่อเผยแพร่ผลงาน รูปธรรมความเคลื่อนไหวจากการทำงานประชาสังคมสู่สาธารณะ สังเคราะห์ยกระดับประสบการณ์ บทเรียนการทำงานให้เป็นองค์ความรู้ของงานภาคประชาสังคม และเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงขยายเครือข่ายการทำงานของคนทำงานการเมืองภาคพลเมือง

 

ส่วนเรื่องเนื้อหาและกระบวนการในการจัดงาน นายคณุสสันได้นำเสนอดังนี้

1. เนื้อหา ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1.1 ประสบการณ์ / บทเรียนเชิงกระบวนการจากรูปธรรมการเคลื่อนไหวของพื้นที่

สรุปประสบการณ์ / ถอดบทเรียนในเชิงกระบวนการในการสร้างสำนึกพลเมืองของท้องถิ่น ผ่านประเด็นการเคลื่อนไหวที่หลากหลายของพื้นที่ในประเด็นต่างๆอาทิ ภูมิปัญญา/อัตตลักษณ์ท้องถิ่น -เกษตรอินทรีย์ -สมานฉันท์ -สุขภาพ -เด็ก/เยาวชน -พื้นที่สาธารณะ (วิทยุชุมชน / กายภาพ) -การจัดการทรัพยากร (น้ำ-ป่า)

การเตรียมการของพื้นที่

ตอบให้ได้ว่า ทำอะไร / ที่ไหน /ทำอย่างไร (Working Approach)

นำเสนอบทเรียน ประสบการณ์ สรุปเครื่องมือ / กระบวนการสำคัญที่ใช้ในการทำงาน เช่น การสร้างการมีส่วนร่วม การทำแผนยุทธศาสตร์เชิงเครือข่าย การประเมินภายในและการสรุปบทเรียนการทำงาน

1.2 กรอบการวิเคราะห์

มองในเชิงเครื่องมือ (means) ที่ใช้ในการสร้างสำนึกพลเมืองของท้องถิ่น ได้แก่การทำประเด็นร่วม / การสร้างสรรค์การใช้พื้นที่สาธารณะ/ การค้นหาและสร้างอัตตลักษณ์ของท้องถิ่น / ฯลฯ

ตอบให้ได้ว่า ทำทำไม / เพื่ออะไร มีปัจจัย เงื่อนไขสำคัญอะไรบ้างอย่างไร

การเตรียมการ

มีการทำงานเพื่อสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละประเด็น โดยคนในโครงการเพื่อนำเสนอในวงสนทนา นำการแลกเปลี่ยน

  • การทำประเด็นร่วม โดย คณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ
  • การสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะ โดย อ.ขวัญสรวง อติโพธิ
  • การสร้างอัตตลักษณ์ของท้องถิ่นโดย ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

 

 

คำถามหลัก

  • มี หรือไม่มี / สร้างได้หรือสร้างไม่ได้
  • มีความเหมือนร่วมและต่างกันอย่างไร
  • สัมพันธ์กับพัฒนาการทางสังคมอย่างไร

2. กระบวนการ ประกอบด้วย

  • เวทีนำเสนอทางวิชาการ ( ห้องย่อย / ห้องรวมใหญ่ )
  • มหกรรมการนำเสนอผลงานจากพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ จัดนิทรรศการ / การแสดง (Event) ต่างๆ / ฯลฯ
  • สื่อประกอบที่จะช่วยในการอธิบาย Theme ของงาน : การสร้างสำนึกพลเมืองในบริบทท้องถิ่นไทย เช่น พื้นที่สาธารณะ ( public space) ฯลฯ

ห้องย่อย1. สรุปประสบการณ์ ถอดบทเรียนเชิงกระบวนการจากรูปธรรมการเคลื่อนไหวของพื้นที่ ห้องย่อย 2. สรุปความคิดรวบยอด เครื่องมือ ( Means) ที่ใช้ในการสร้างสำนึกพลเมืองของท้องถิ่น ห้องย่อย 3. สังเคราะห์ / ยกระดับเชิงทฤษฎี สภาวะของความเป็นสำนึกพลเมืองไทยในความหลากหลายของท้องถิ่น

กระบวนการนำเสนอประสบการณ์ รูปธรรมจากพื้นที่ในโครงการ HPL –สรุปความคิดรวบยอดโดยวิทยากร -เปิดวงแลกเปลี่ยน / วิพากษ์ด้วยกรอบคิดประชาสังคม

ยกตัวอย่างเช่น : ห้องย่อยพื้นที่สาธารณะ

-นำเสนอประสบการณ์จากพื้นที่ที่ทำเรื่องพื้นที่สาธารณะทั้งทางกายภาพและคลื่น

-สรุปความคิดรวบยอด การสร้างสำนึกพลเมืองของท้องถิ่นผ่านการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะร่วมกัน และร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีประสบการณ์การทำเรื่องพื้นที่สาธารณะในมุมมองต่างๆ เช่น การจัด Event ( ทอดด์ ทองดี) คนทำงานด้านสื่อ ( อ.อุบลรัตน์/สุภิญญา)

เสวนาวงใหญ่ : โดยมีการสังเคราะห์ / ยกระดับเชิงทฤษฎีประชาสังคมจากคนในโครงการ HPL

( นายแพทย์พลเดช / รศ.ดร.เนาวรัตน์ / อ. ชัยวัฒน์ ) ร่วมแลกเปลี่ยนและวิพากษ์กับคนนอก ( รศ.ดร. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร / รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี) หมายเหตุ มีสื่อประกอบการเสวนา

-สื่อนำเสนอแก่นความคิดที่จะช่วยในการอธิบาย แก่นของงาน : การสร้างสำนึกพลเมืองในบริบทท้องถิ่นไทย เช่น พื้นที่สาธารณะ ( public space) ฯลฯ

-มหกรรม การนำเสนอผลงานจากพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ (นิทรรศการ / การแสดง / เอกสาร ความรู้ ประสบการณ์บทเรียนการทำงาน / ฯลฯ)

 

 

ด้าน ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้จัดการงานพัฒนาการสื่อสารฯ ให้ข้อเสนอแนะในการจัดงานว่า เรามีผลงานและองค์ความรู้ที่มีคุณค่า เป้าหมายคือทำอย่างไร ที่เราจะสื่อสารสิ่งที่มีคุณค่าออกสู่สังคม การจัดงานครั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสด ออกอากาศทางเนชั่น แชนแนล และเคเบิ้ลทีวีทั่วประเทศ โดยเนื้อหาในวันแรกจะเป็นการนำเสนองาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์/สังเคราะห์องค์ความรู้ภายในกลุ่มโครงการฯ ส่วนวันที่สองจะเป็นการมองไปข้างหน้าหลังจากจบโครงการฯ

 

ร.ศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย ฝ่ายประเมินผลภายในโครงการฯ กล่าวว่า ภาคประชาสังคมต้องยกระดับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบให้ได้ และผลักดันให้เกิดหน่วยจัดการความรู้ในจังหวัด เราต้องไปให้ไกลและต้องศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education) ให้มากขึ้น

ดร.เนาวรัตน์ยังได้เสนอว่า สิ่งที่ทำทั้งหมดต้องนำไปสู่แนวความคิดของโครงการฯ และต้องทำให้เป็น กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activity)

 

อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (CIVICNET) กล่าวว่า การจัดเวทีวิชาการที่จะไปให้ถึงจุดหมายที่ปรารถนาได้นั้น จะต้องมีพลังและสอดคล้องกับสถานการณ์

 

 

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวว่า “คณะทำงานทุกจังหวัดต้องทำสรุปเนื้องานให้เสร็จสิ้นภายใน วันที่ 15 มิ.ย. 2549 และส่งให้ทางส่วนกลางวิเคราะห์เพื่อวางแผนด้านเนื้อหาและกระบวนการ และสิ่งที่น่าจะมีการสังเคราะห์และออกแบบกันต่อคือ -เรื่องสึนามิ (จ.พังงา,ภูเก็ต) -สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี,นราธิวาส) -วิกฤติผู้นำ (ทีมส่วนกลาง) นพ.พลเดชยังกล่าวอีกว่า เราจะจบโครงการฯแบบสะบัดขึ้นเพื่อเริ่มไปสู่โครงการใหม่เป็นการปิดโครงการชีวิตวาธารณะฯที่สง่างามพร้อมทะยานขึ้นใหม่ในทันที

 

 

ข้อคิดเห็นจากคณะทำงาน

 

 

 

 

วิไลวรรณ จันทร์พ่วง คณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.อุทัยธานี อยากให้น้ำหนักของงานเป็นการสังเคราะห์บทเรียน ยกระดับการทำงานในภาคประชาสังคมต้องทำให้เห็นเป็นการเคลื่อนของการเมืองภาคพลเมือง เรื่องของงานมหกรรมจะมีแค่ไหน ในงานนี้เราต้องคิดว่า จะนำประสบการณ์/บทเรียนที่เราทำ ขยายสู่สังคมว่าเราสามารถทำการเมืองภาคพลเมืองให้เกิดขึ้นได้

 

 

อ.สิริมา เจริญศรี คณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.กาญจนบุรี กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำต้องให้เกิดการเรียนรู้จริง กลุ่มเป้าหมายที่จะจับต่อไปคือเรื่องเยาวชน เราจะไม่ให้เด็กและเยาวชนเป็นรูปแบบของภาครัฐหรือภาคราชการเพียงอย่างเดียว แต่เราภาคประชาสังคม ต้องเสริมสร้างและให้กระบวนการเรียนรู้ด้านภาคพลเมืองแก่เขาด้วย

 

ในที่สุดเราต้องติดตามกันต่อไปว่า การจัดงาน สำนึกพลเมืองไทในความหลากหลายของท้องถิ่น ซึ่งเป็นการทิ้งท้ายโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ อย่างมีคุณค่า ให้องค์ความรู้ แนวคิดต่างๆในการทำงานภาคประชาสังคม ตามแนวคิดหลักของโครงการ ที่ว่าเราจะสร้างนิสัย ความเป็นสาธารณะ คือผู้คนลุกขึ้นมาเอาธุระต่อสังคม ให้แก่คนในสังคมได้มากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป…..

 

นายทวีศักดิ์ สุขรัตน์ ที่ปรึกษาภาคใต้โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยูผมไม่อยากเห็นงานนี้เป็นงานเดิมๆที่จัดแล้วจบไป งานนี้ต้องส่งผลไปถึงสถานการณ์ระดับท้องถิ่นและต้องเป็นต้นแบบแก่องค์กรต่างๆ เรามีองค์ความรู้มากมายเช่น การใช้เทคนิคเรื่องการถอดบทเรียน การพัฒนาศักยภาพมาใช้ในงานให้เต็มที่ ต้องหาจุดร่วมที่เด่นจริงๆ เป้าหมายอีกเรื่องคือการเมืองภาคพลเมือง เราได้เรียนรู้อะไรที่ไปสู่การเมืองภาคพลเมือง

 

 

1.3 สังเคราะห์ / ยกระดับเชิงทฤษฎี สภาวะของความเป็นสำนึกพลเมืองไทในความหลากหลายของท้องถิ่น

Be the first to comment on "สำนึกพลเมืองไทในความหลากหลายของท้องถิ่น"

Leave a comment

Your email address will not be published.