“หัวใจของสภาวะผู้นำอยู่ที่การลงไปสืบค้นสิ่งดีที่มีอยู่ในศาสนา ในหลักธรรม และนำมาปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยโดยการค้นหาปรัชญาในศาสนาต่างๆ ใช้วิธีการ ภาษา การนำเสนอแบบใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ”
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องพื้นฐานสำหรับสภาวะผู้นำ(Personal Mastery) วันที่16-19 กันยายน 2547 ณ ปะการังรีสอร์ท จ.พังงา จัดกระบวนการโดย อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ สถาบัน การเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (CIVICNET) ได้รับความร่วมมือจากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) โดยการสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้นำ (Leader) คือ ผู้ที่เป็นพลังช่วยเหลือคนรอบข้างให้เจริญเติบโต ด้วยการทำให้ตนเองและผู้อื่นแก้ไขความเป็นจริงอย่างลึกซึ้ง แล้วเข้าไปมีส่วนร่วมกับโลกที่กำลังเปิดตน (เปลี่ยน) ช่วยทำให้เกิดความจริงใหม่ที่เราปรารถนาอยากเห็น “หัวใจของสภาวะผู้นำอยู่ที่การลงไปสืบค้นสิ่งดีที่มีอยู่ในศาสนา ในหลักธรรม และนำมาปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยโดยการค้นหาปรัชญาในศาสนาต่างๆ ใช้วิธีการ ภาษา การนำเสนอแบบใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ” |
|||
หัวใจหรือหลักการของสภาวะผู้นำ มีดังนี้
|
|||
การเรียนรู้สำเร็จได้จากการกระทำให้เป็นจริง การเรียนรู้ต้องใช้หลักการดังนี้ 1. Aspiration หมายถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อไปสู่อนาคตที่ปรารถนา ผู้นำที่ดีต้องมีการสร้างAspirationให้แก่ตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา คือมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความมุ่งมั่นตั้งใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยเช่นกัน 2. Generative Conversation หมายถึง การสนทนาแบบผลิดอกออกผล คือการเรียนรู้ การเสวนาแลกเปลี่ยนทัศนะจากนักปราชญ์หรือนักวิชาการสายต่างๆแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน |
|
||
1. System Thinking หมายถึง วิธีคิดแบบกระบวนระบบ จะต่างกับวิธีคิดแบบเส้นตรง (Linear thinking) หรือการคิดที่ว่า “ถ้าเหตุเป็นอย่างนี้แล้ว ผลจะต้องเป็นอย่างนั้น” อย่างสิ้นเชิง เพราะ System Theory จะเป็นการคิดบนพื้นฐานของระบบที่มีความซับซ้อน (Complex System) คือถ้าเป็นอย่างนี้ก็สามารถเป็นอย่างนั้นหรือเป็นอย่างโน้นได้ไม่ตายตัว (not only…but also…) คือมีความเป็นไปได้หลายอย่าง ๆ ฉะนั้น หัวใจของ System Theory จึงไม่ได้อยู่ที่ การวิเคราะห์วิจัยเฉพาะส่วนนั้น ๆ เท่านั้น แต่จะเป็นการพิจารณา “ความสัมพันธ์” ของปัจจัยสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่าสัมพันธ์กัน นอกจากนั้นหากเรานำแนวคิดทฤษฎีกระบวนระบบมาใช้ในพุทธศาสนา หรือทางพระ จะเรียกว่า การคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งหมายถึง การคิดให้ถึง ต้นตอ การคิดแยบคาย คิดให้ถึงรากเหง้า คิดอย่างละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งในภาษาอังกฤษอาจใช้ได้หลายคำ เช่น Reflective Thinking คือคิดสะท้อน คิดหลายแง่หลายมุม หรือ Systematic Thinking คือคิดเป็นระบบ เนื้อหาในพระไตรปิฎกได้พูดถึงวิธีคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย แต่ส่วนมากมิได้บอกตรง ๆ แต่จะแฝงอยู่ในความหมายระหว่างบรรทัดว่า เป็นการสอนวิธีคิดแบบนั้น ๆ เช่น สอนให้เข้าใจความไม่มีตัวตน โดยให้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) วิธีสอนเช่นนี้กระตุ้นให้รู้จักคิดแยกแยะองค์ประกอบทีละส่วน ๆ เพื่อให้เข้าใจความเป็นจริง 2. Share Vision หมายถึง การสร้างภาพวิสัยทัศน์ร่วม สร้างภาพที่ปรารถนาร่วมกัน คือการสนทนาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์แล้วนำมาประมวลสรุปเข้าด้วยกันเป็นวิสัยทัศน์ร่วม Contemplative Thinking หมายถึง การคิดอย่างพินิจพิจารณาลึกซึ้ง (คิดด้วยใจ) คือ การเปิดใจตนเอง คิดด้วยใจ ไม่คิดด้วยสมอง ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดใจรับความคิด ความรู้สึกของผู้อื่นด้วย |
|||
หัวใจของสภาวะผู้นำอีกเรื่อง คือการเข้าสู่พื้นที่ ต่างๆ ดังนี้ 1. Comfort Zone คือ พื้นที่ที่คุ้นเคย เป็นพื้นที่ที่สบายไม่ต้องปรับตัว 2. Stretch Zone คือ พื้นที่ที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน เป็นพื้นที่ยืดหยุ่นแต่ถ้าปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่นั้นให้ได้ก็จะสามารถอยู่ได้ 3. Panic Zone คือ พื้นที่อันตราย เมื่อเข้าไปแล้วจะรู้สึกกดดัน เป็นเรื่องยากต่อการปรับตัวหากต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่นี้ การพัฒนาสภาวะผู้นำ เราต้องเข้าไปเจอกับ Stretch Zone หรือ Panic Zone ให้มากที่สุด เป็นการฝึกการปรับตัว ฝึกวิธีคิด และการแก้ปัญหา เพื่อให้พ้นผ่านสภาวะกดดันไปให้ได้ การที่เราอยู่ในComfort Zone มากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับพื้นที่หรือเข้าสู่สภาวะที่กดดัน ดังนั้นผู้นำจึงต้องฝึกคิด ฝึกทำสิ่งใหม่ๆ ฝึกเข้าไปในที่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาความคิดได้ วิสัยทัศน์หรือภาพอนาคตของผู้นำ วิสัยทัศน์หรือภาพอนาคตควรจะเชื่อมโยงกับคุณค่าที่เรายึดถือไว้ อย่างไรก็ตาม เราต้องประเมินความเป็นจริงของภาพอนาคตนั้นว่าไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ดังนั้นความเป็นจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากเราละเลยความเป็นจริง ภาพในอนาคตไม่มีวันจะเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะไปถึงภาพอนาคตที่ปรารถนาได้นั้นจะต้องมี ช่องว่าง คือความตึงต้านที่สร้างสรรค์ (Creative Tension) เราจึงต้องแปรเปลี่ยนความตึงเครียดหรือช่องว่างดังกล่าว มาเป็นตัวผลักดันให้เกิดพลังในการสร้างภาพอนาคตหรือวิสัยทัศน์ให้เป็นจริง |
|
||
|
|||
กระบวนการต่อมา คือ การทบทวนรูปธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงานเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้ | |||
|
|
||
อุดม จงไกรจักร(พังงา) |
เจริญ ถิ่นเกาะแก้ว(ภูเก็ต) |
||
จากการที่ได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ พอจะสรุปวิธีการที่จะเป็นผู้นำที่ดี 3 ข้อ คือ 1. ผู้นำที่ดีต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน 2. ความรู้เปรียบเสมือนอาวุธที่เป็นโลหะ คือถ้าเราอบรมแล้วไม่นำไปใช้ก็จะเกิดสนิมแล้วจะสลายไปโดยไร้ประโยชน์ 3. การนำข้อ1 มารวมกับข้อ 2 และทำซ้ำๆกัน สิ่งที่ทำคือประชามติอย่างยินยอม ทำให้เกิดการยอมรับในที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงาน คือ พยายามนำทีมงานให้แสดงความสามารถมากขึ้น มีการปรึกษาหารือกันเดือนละ 2-3 ครั้ง หลังจากที่ได้อบรมกับ อ.ชัยวัฒน์ ได้นำหลักการต่างๆมาประยุกต์ เช่น System Thinking และ Dialogue เพื่อนำมาใช้กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นประมาณ 30% ส่วนความสัมพันธ์ในทีมงานดีขึ้นประมาณ 50% |
ที่ผ่านมาการทำงานของทีมงานภูเก็ตมีลักษณะการทำงานคือการที่ลงไปทำงานกับชุมชนไหนก็ตาม เราต้องดูสภาพชุมชนก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วทำงานให้กลมกลืนกับสภาพชุมชนนั้น ส่วนเรื่องความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานมีประมาณ 80% และเห็นความชัดเจนในเรื่องของความมุ่งมั่นในการทำงานของทีมงานมากขึ้น
|
||
|
|
||
วุฒิชัย เลิศไกร(สุราษฏร์ธานี |
มหามะบักรี ลือบางาฮุ(นราธิวาส) |
||
เห็นได้ชัดเจนว่าชุมชนมีความหลากหลาย ความคิดของคนในชุมชนไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของชุมชนคือ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ความคืบหน้าในการทำงานตอนนี้ประมาณ60% ความสัมพันธ์ของทีมงานตอนนี้ไม่ค่อยดี บางคนไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น |
|
||
กระบวนการสุดท้ายคือ การสรุปวิสัยทัศน์ร่วมซึ่งยังไม่ได้ออกมาชัดเจน เนื่องจากความคิดของแต่ละคนในกลุ่มไม่เป็นเอกภาพ ประเด็นที่ได้ยังกระจายอยู่ ไม่สามารถนำมาผนวกรวมกันได้ อย่างไรก็ตาม PERSONAL MASTERY บอกเราได้ว่าผู้นำที่ดีไม่ใช่นักการจัดการที่เก่ง แม้ว่า มียุทธศาสตร์ดีเพียงใดก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ ผู้นำที่ดีต้องใช้หัวใจในการคิดพินิจพิจารณามากกว่าการใช้สมอง ดังคำกล่าวของ อ.ชัยวัฒน์ ที่ว่า การรู้ทันโลกต้องรู้ทันตัวเราเองก่อน แผนการดี ยุทธศาสตร์ดีไม่มีความหมาย หากขาดหัวใจ |
|||
กองบรรณาธิการ : รายงาน |
Be the first to comment on "หัวใจในการพัฒนาสภาวะผู้นำ PERSONAL MASTERY"