โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถอิ่นพัฒนากับ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอร์เปอเรชั่น (Nation Channel) ร่วมมือกันผลิตสารคดี 20 ตอน 20 จังหวัดของโครงการฯ เพื่อนำเสนอเรื่องราวประเด็นการทำงานในโครงการฯในครั้งนี้เป็นการถ่ายทำสารคดีที่ จ.พิษณุโลก ภายใต้ประเด็นประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
|
โครงการผลิตรายการสารคดีทางโทรทัศน์ เป็นความร่วมมือระหว่าง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ กับ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอร์เปอเรชั่น (Nation Channel) โดยผลิตในรูปแบบสารคดี 20 ตอน 20 จังหวัดในโครงการฯ เพื่อนำเสนอเรื่องราวประเด็นการทำงานในโครงการฯสื่อสารสู่สาธารณะ ในครั้งนี้เป็นการถ่ายทำสารคดีที่ จ.พิษณุโลก ภายใต้ประเด็นประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม แก่นความคิดของเรื่องคือ การเชื่อมภาครัฐและภาคประชาชน ร้อยใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อให้มีความภาคภูมิใจในรากเหง้าทางวัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์ โน้มนำให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การปลุกสำนึกรักถิ่นและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่สืบไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การถ่ายทำเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 – 19 พฤษภาคม 2548 ซึ่งผมมีโอกาสร่วมเดินทางไปกับทีมถ่ายทำสารคดีของเนชั่น เมื่อเดินทางถึงพิษณุโลกวันที่ 15 ช่วงบ่าย ก็เริ่มถ่ายภาพบรรยากาศงาน 400 ปีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และซุ้มนิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองสองแควซึ่งจัดโดย ทีมงานโครงการชีวิตสาธารณะฯพิษณุโลก ซึ่งเป็นการนำภาพเก่าที่หาได้ยากในอดีตมาจัดแสดงเช่น ภาพไฟไหม้เมืองพิษณุโลกครั้งใหญ่ ประมาณ พ.ศ.2500 จากนั้นจึงถ่ายภาพขบวนแห่งาน 400 ปี ในขบวนมีการจัดทัพต่างๆมากมาย อาทิ ขบวนทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขบวนทัพสมเด็จพระเอกาทศรถ ขบวนสมเด็จพระสุพรรณกัลยา ฯลฯ ต่อมาในช่วงเย็นมีการพูดคุยกับทีมงานโครงการชีวิตสาธารณะฯพิษณุโลก เพื่อนัดแนะในเรื่องการนัดคนที่จะมาให้สัมภาษณ์และทำความเข้าใจเรื่องสถานที่และเส้นทางในการถ่ายทำวันต่อไป เริ่มต้นวันที่ 16 ช่วงเช้าเราเริ่มต้นด้วยการถ่ายภาพบรรยากาศแม่น้ำน่านและในตัวเมืองพิษณุโลก จากนั้นจึงเดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์ชาวแพพิษณุโลกซึ่งเป็นที่นัดสัมภาษณ์พี่เสน่ห์และพี่สอน ทีมงานในโครงการฯ เรื่อง การขับเคลื่อนงานโครงการฯในประเด็นประวัติศาสตร์และแนวคิดในการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้คนพิษณุโลกสำนึกร่วมและใส่ใจในประวัติศาสตร์ ในช่วงบ่ายได้สัมภาษณ์ อ.น้อย ลายคราม ที่ปรึกษาโครงการชีวิตสาธารณะฯพิษณุโลก ในพิพิธภัณฑ์พระนเรศวรเรื่องมุมมองด้านประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงเดินทางไปถ่ายภาพพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ช่วงเย็นมีการสัมภาษณ์กลุ่มเยาวชน “เด็กรักพิดโลก”เรื่องประสบการณ์และการทำงานภายใต้โครงการชีวิตสาธารณะฯ วันที่ 17 เริ่มด้วยชุมชนบ้านคลองโดยการสัมภาษณ์ลุงเฉลียว สะกิณา เรื่องพิธีแห่ผ้าห่ม ลุงเฉลียวเล่าว่า ชาวบ้านชุมชนบ้านคลองแห่ผ้าห่มหลวงพ่อ 3 วัด คือ วัดใหญ่,วัดคูหาสวรรค์และวัดยาง สืบทอดกันมาประมาณ 50-60 ปีแล้ว และขบวนแห่ผ้าห่มจะทำในช่วงสงกรานต์ของทุกปี ลุงเฉลียวเล่าอย่างภาคภูมิใจว่า “ผมห่มผ้าหลวงพ่อมากับมือถึงสองครั้ง” และเมื่อถามถึงสาเหตุที่ไม่สามารถนำผ้าห่มหลวงพ่อได้นั้น ลุงเฉลียวตอบว่า “ไม่ได้ห่มมา 3-4 ปีแล้ว เป็นเพราะการแห่ผ้าห่มจะมีในช่วงสงกรานต์ การโดนสาดน้ำช่วงสงกรานต์ อาจทำให้ผ้าห่มเปียกชื้นและทำให้ทองที่องค์พระชื้นหรือเกิดเชื้อราได้ แต่ถึงตอนนี้ไม่ได้ห่ม แค่ได้ซื้อผ้าถวายหลวงพ่อก็ดีใจแล้ว” เราใช้เวลาอยู่กับลุงเฉลียวและถ่ายภาพวัดยางจนถึงบ่าย จึงเดินทางไปถ่ายวิถีชีวิตชาวแพซึ่งในอดีตถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองพิษณุโลกมีบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำน่านถึง 700-800 หลังคาเรือน และมีอยู่ประโยคหนึ่งในคำขวัญของจังหวัดว่า “สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ” แต่ในปัจจุบันเหลือแค่ 60 หลัง เราจบการถ่ายทำวันที่ 17 ด้วยการเก็บบรรยากาศแม่น้ำน่านในช่วงเย็น วันที่ 18 เริ่มต้นด้วยการถ่ายภาพพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ซึ่งเป็นที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านในอดีตจากภาคเหนือตอนล่าง และโรงหล่อพระพุทธรูปจ่าทวี เราใช้เวลาถ่ายภาพในพิพิธภัณฑ์และสัมภาษณ์จ่าทวีจนถึงบ่ายจึงเดินทางไป อ.วัดโบสถ์เพื่อเก็บภาพบรรยากาศการเตรียมงาน พิธีไหว้ครูรวมซึ่งจะจัดในวันที่ 19 พ.ค. โดยทีมงานโครงการชีวิตสาธารณะฯเป็นเจ้าภาพในการจัดงานโดยการเชื่อมเครือข่ายคนวัดโบสถ์ 6 ตำบลโดยมีวัตถุประสงค์คือกิจกรรมการไหว้ครูเป็นกิจกรรมที่สามารถรวมคน รวมใจ รวมความดี โดยการรำลึกถึงพระคุณของครู การจัดงานครั้งนี้มีครู 11 กลุ่ม ได้แก่ หมอพื้นบ้านสมุนไพร,หมอพื้นบ้านกระดูก,หมอทำขวัญ,ดนตรีไทย,ปี่พาทย์,รำวงย้อนยุค,กลองยาว,นางรำ,มังคละ,ครูบายศรี,ช่างปูนช่างไม้ จากนั้นเป็นการสัมภาษณ์ป้าเชี่ยว ครูบายศรี ผู้ประสานโครงการชีวิตสาธารณะฯ โดยในช่วงบ่ายถึงเย็นมีการเก็บภาพบรรยากาศสถานที่จัดงานคือ วัดโบสถ์ วันที่ 19 พ.ค. วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการถ่ายทำที่พิษณุโลก ในช่วงเช้าเราเดินทางถึงวัดโบสถ์เพื่อถ่ายงานพิธีไหว้ครูตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย เมื่อเสร็จพิธีจึงเดินทางกลับ เป็นอันเสร็จสิ้นการถ่ายทำของ จ.พิษณุโลก ติดตามตอนต่อไปในเบื้องหลังการถ่ายทำที่ จ.อุบลราชธานี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สันสกฤต มุนีโมไนย กองบรรณาธิการ : รายงาน |
Be the first to comment on "เบื้องหลังการถ่ายทำ"