ในอดีตถ้ามีโอกาสพ่อจะเข้าร่วมพิธีแห่ช้างเผือกด้วยทุกครั้ง ดีใจที่ประเพณีนี้เกิดขึ้นมาอีกครั้งในปีนี้ ประเพณีแห่ช้างเผือกเป็นภูมิปัญญาของคนในอดีต ที่ต้องการให้คนที่อยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำได้รู้จักกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาเรื่องน้ำ…
สันสกฤต มุนีโมไนย รายงาน
|
||||||||||||||||||||||||||||
ของกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ จนเป็นที่มาของ การจัดกิจกรรม เพื่อฟื้นฟูประเพณีการแห่ช้างเผือก ซึ่งขาดหายไปนานนับสิบปี เพื่อสืบสานคุณค่าแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และ เพื่อให้กระบวนการแห่งวิถีวัฒนธรรม และการสื่อสารสัมพันธ์ในประเพณีนี้ ปลุกจิตสำนึก “คนลำพูน” ให้ร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาแม่น้ำลี้ อย่างจริงจัง มีพลัง และ เป็นระบบ มิใช่แก้ไขตามปรากฏการณ์ อย่างที่ผ่านมา |
||||||||||||||||||||||||||||
สาระสำคัญการถ่ายทำ “การฟื้นฟูประเพณีแห่ช้างเผือก” – กิจกรรมดำเนินการระหว่างวันที่ 1 – 14 มิถุนายน 2548 |
||||||||||||||||||||||||||||
เราเดินทางถึงลำพูนวันที่ 31 พ.ค. ก็เริ่มการถ่ายทำทันที เนื่องจากคุณจรูญ คำปันนา ประธานโครงการชีวิตสาธารณะ จ.ลำพูน บอกว่าวันนี้มีการสานช้าง(การสร้างช้าง)ที่วัดทุ่งโป่งสาเหตุที่ต้องสานช้างที่วัดทุ่งโป่งเพราะเป็นการให้เกียรติแก่ครูบาจักร อินฺทจกฺโก อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งโป่ง ที่เป็นผู้รื้อฟื้นพิธีแห่ช้างเผือกเป็นครั้งล่าสุดเมื่อ 18 ปีที่แล้ว และเมื่อเสร็จแล้วจะนำช้างไปไว้ที่วัดดงหลวงเพื่อที่จะเตรียมแห่ช้างจากวัดดงหลวงไปที่สถานีอนามัยดงหลวงซึ่งเป็นปลายน้ำและเป็นจุดที่จะเริ่มทำพิธีในวันรุ่งขึ้น เริ่มวันที่ 1 มิ.ย.ชาวบ้านมารวมตัวกันที่วัดดงหลวงและเริ่มเคลื่อนขบวนไปที่สถานีอนามัยดงหลวง จากนั้นจึงเริ่มจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิธีและประชุมเตรียมงาน ในช่วงเย็นเราได้ไปที่บ้าน พ่อเส้า สุดวงรัตน์ อายุ 74 ปี ผู้เฒ่าแห่งบ้านศรีเตี้ย เพื่อสัมภาษณ์เรื่องวิถีชีวิต การแห่ช้างเผือกและสภาพแวดล้อมของแม่น้ำลี้ในอดีต พ่อเส้าเล่าให้ฟังว่า ในอดีตเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว แม่น้ำลี้มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งสาย ต้นไม้ริมสองฝั่งแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นไม้สัก ต่อมามีบริษัทแห่งหนึ่งของอังกฤษเข้ามาสัมปทานป่าไม้และตัดไม้สักเพื่อนำไปสร้างรางรถไฟ ช่วงนั้นป่าไม้ถูกทำลายไปมากจึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แม่น้ำ และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ส่วนเรื่องพิธีแห่ช้างเผือกพ่อเส้าบอกว่า การแห่ช้างตลอดทั้งสายน้ำ ระยะทางกว่า 180 กิโลเมตรนั้น หายไปประมาณ 40 ปีแล้ว แต่การแห่ช้างเผือกที่ต้นน้ำยังมีอยู่ตลอด ” ในอดีตถ้ามีโอกาสพ่อจะเข้าร่วมพิธีแห่ช้างเผือกด้วยทุกครั้ง ดีใจที่ประเพณีนี้เกิดขึ้นมาอีกครั้งในปีนี้ ประเพณีแห่ช้างเผือกเป็นภูมิปัญญาของคนในอดีต ที่ต้องการให้คนที่อยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำได้รู้จักกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาเรื่องน้ำของแต่ละหมู่บ้านเพื่อหาทางช่วยกันแก้ปัญหาน้ำ ปัญหาสิ่งแวดล้อม คิดว่าถ้าละอ่อน(เด็ก) ได้เห็นเขาจะรับรู้ถึงคุณค่าและสืบทอดประเพณีนี้ต่อไป“ |
||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มวันที่ 3 มิ.ย. เราไปที่อนามัยดงหลวงเช่นเคย วันนี้มีชาวบ้านมาร่วมงานหลายร้อยคน ชาวบ้านช่วยกันเอาฝ้ายมาติดประดับตกแต่งที่ตัวช้าง ผมและทีมงานไม่รอช้าเมื่อชาวบ้านบอกว่าติดฝ้ายที่ตัวช้างแล้วจะได้บุญ เมื่อตกแต่งช้างเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มพิธีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เทศนาธรรมปลาช่อน/พญาคางคก,ปล่อยปลา (เนื้อหาในการเทศน์จับความได้ว่า เป็นการภาวนาให้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารและขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล) เป็นเรื่องน่าแปลกอยู่เหมือนกันว่า ระหว่างที่พระเทศนาอยู่นั้นอากาศที่ร้อนอบอ้าวก็เริ่มเย็นลง มีเมฆเคลื่อนมา เมื่อพระสงฆ์เทศนาและฉันเพลเสร็จแล้ว ขบวนก็เริ่มเคลื่อน จากนั้นฝนก็ตกหนัก แต่ถึงฝนจะตกแค่ไหน ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค ผมเห็นได้ชัดเจนในความศรัทธาของชาวบ้านตลอดเส้นทางที่ขบวนแห่ไป มีชาวบ้านร่วมทำบุญและเฝ้ารอขบวนแห่ช้าง เมื่อขบวนแห่ไปถึงวัดศรีเตี้ยจึงนำช้างเข้าโบสถ์และทำพิธีอีกครั้ง จากนั้นชาวบ้านจึงแยกย้ายกันกลับ |
||||||||||||||||||||||||||||
สิ่งที่น่าประทับใจมากกับประเพณีฟื้นฟูการแห่ช้างเผือกในครั้งนี้ เห็นได้ถึงความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ทุกคนมีความตื้นตันและยินดีเมื่อพูดถึงพิธีนี้ ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ถึงการแห่ช้างเผือกจะเห็นท่านพูดและเล่าให้ฟังด้วยความสุข มีน้ำตาคลอทุกครั้ง อย่างน้อยผมก็เห็นความเป็นชีวิตสาธารณะของชาวบ้านที่มีความร่วมมือร่วมใจกันฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามเพื่อทำให้ท้องถิ่น สังคมน่าอยู่และเพื่อสืบทอดไว้ให้ลูกหลานต่อไป ครั้งนี้ก็ขอจบการรายงานประเพณีแห่ช้างเผือกในช่วงแรกไว้เท่านี้ พบกันใหม่ในช่วงท้ายขบวนแห่วันที่ 12 – 14 มิ.ย.นี้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรจะรายงานให้ทราบกันอีกครั้งครับ |
Be the first to comment on "เบื้องหลังการถ่ายทำสารคดี จ.ลำพูน"