“ตลาดสมัชชา” ตั้งอยู่ที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ถนนพระราม 2 หากมุ่งหน้าออกจากกรุงเทพฯ ไปจะอยู่ทางขวามือ…ที่นี่เป็นแหล่งศูนย์รวมของอาหารที่ปลอดสารทุกชนิด นับตั้งแต่ ข้าวสาร อาหารแห้งอาหารทะเล ของสด ผักและผลไม้ อาหารทุกประเภทรับรองความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และมีราคาจำหน่ายเท่ากับท้องตลาดทั่วไป
เปิดตลาดสมัชชาแม่กลอง คืนวิถีสู่อาหารปลอดภัย | ||||||
สุจิต เมืองสุข | ||||||
เมืองเล็กๆ ปากอ่าวแม่กลอง ห่างกรุงเทพฯ เพียง 63 กิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 416.7 ตารางกิโลเมตร กำลังริเริ่มโครงารที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวสมุทรสงครามดีขึ้น
เนื่องด้วยกลไกทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจที่มีการแย่งชิงครอบครองธรรมชาติและเงินตรามากขึ้น ทำให้การประกอบธุรกิจการเกษตรเกิดการแข่งขันและไร้จิตสำนึกในจริยธรรมมากขึ้น โดยเร่งเพิ่มปริมาณการผลิต การเพาะเลี้ยง การแปรรูป ส่งผลให้เกิดการปรุงแต่งด้วยสารเคมีนานับชนิดขึ้น
|
||||||
ที่นี่เป็นแหล่งศูนย์รวมของอาหารที่ปลอดสารทุกชนิด นับตั้งแต่ ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารทะเล ของสด ผักและผลไม้ อาหารทุกประเภทรับรองความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และมีราคาจำหน่ายเท่ากับท้องตลาดทั่วไป ลุงอรุณ เกิดสวัสดิ์ ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ ประธานสภามนตรีสมัชชาอาหารปลอดภัยสมุทรสงครามคนแรก ด้วยหลักยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยด้วยการ กำหนดขอบข่ายของอาหาร สร้างความตระหนักในมหันตภัยของสารเคมี สร้างภาคีกลุ่มผู้บริโภค สร้างกลไกตลาดให้สะอาด ให้รางวัลเกียรติยศแก่เกษตรและผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์อาหารปลอดภัย และส่งเสริมเกษตกรผู้ผลิตและแปรรูปให้มีความรู้ ความเข้าใจในทักษะการผลิต ทั้งเกษตรอินทรีย์และชีวภาพ วิธีสำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารที่นำมาจำหน่ายในตลาดสมัชชา คือ จัดให้มีชมรมคุ้มครองผู้บริโภค อย่างน้อย 1 กลุ่ม จัดสถานที่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เพื่อพิทักษ์สิทธิ์และศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ อย่างน้อย 1 แห่ง จัดทีมสืบค้นอาหารนำเข้าจากต่างจังหวัด และมีศูนย์รวมข้อมูล เพื่อปรับปรุงแก้ไข อย่างน้อย 1 แห่ง นอกจากนี้ การตรวจวิเคราะห์อาหาร เพื่อให้ได้มาตรฐานรับรองความปลอดภัย ตลาดสมัชชาใช้วิธีสุ่มตรวจอาหารตัวอย่างทุกกลุ่มตั้งแต่ยังอยู่บนรถ โดยมีห้องตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนในอาหารตั้งอยู่ภายในตลาด หากพบว่ามีสารปนเปื้อน จะไม่ให้ขนลงมาจำหน่ายโดยเด็ดขาด ส่วนกลุ่มที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ ตลาดสมัชชาจะทำเครื่องหมายรับรองคุณภาพให้ ซึ่งหากตรวจพบในภายหลังอีก สามารถยกเลิกเครื่องหมายดังกล่าวได้เช่นกัน ลุงอรุณเล่าว่า ที่นี่ราคาต่อรองไม่ได้ แต่ไม่เกินมาตรฐานสินค้าที่ขายในตลาดสดทั่วไปแน่นอน ซึ่งปัญหาที่ประสบอยู่คือการจำหน่ายสินค้าให้ได้ปริมาณมาก เพราะตลาดสมัชชาไม่ได้อยู่ในชุมชน ทำให้ผู้บริโภคลำบากต่อการเดินทางมาเลือกซื้อ แต่ปัจจุบันเราสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการส่งอาหารสดให้กับโรงเรียนที่ทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียนเป็นประจำ รวมถึงร้านอาหารที่ประกอบอาหารด้วย ซึ่งถือเป็นลูกค้าประจำ ทำให้มีรายได้ที่แน่นอน ไม่ขาดทุน “อาหารที่ยังพบว่ามีปัญหาอยู่ คือ อาหารทะเล ซึ่งเราหลีกเลี่ยงได้ยากลำบาก เนื่องจากสารตกค้างในอาหารทะเล เช่น หอยแครง พบในระหว่างน้ำขึ้นที่พาเอาตะกอนจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ปนมาด้วย ดังนั้น จึงต้องพยายามแก้ปัญหา โดยให้เกษตรกรยกค้างหอยแครงขึ้นในช่วงน้ำขึ้น เพื่อป้องกันสารตกค้าง ทั้งนี้ เราได้จัดทีมที่มีความรู้ด้านการป้องกันสารพิษอันเกิดจากสิ่งแวดล้อมให้กับเกษตรกรด้วย” ลุงอรุณ กล่าว สิ่งที่ชัดเจนที่สุด เมื่อโครงการตลาดสมัชชาเกิดขึ้น พบว่า เกษตรกรได้รับความรู้และทำการเกษตรได้อย่างปกติสุข โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ซึ่งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรและความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชน จากพิษภัยของอาหารอย่างยั่งยืน กลับคืนสู่วิถีชีวิตของชาวแม่กลอง!! |
||||||
คอลัมน์ สดจากประชาสังคม |
||||||
ที่มา : นสพ. ข่าวสด หน้า 5 http://www.matichon.co.th/khaosod/
25/01/2549 |
Be the first to comment on "เปิดตลาดสมัชชาแม่กลอง คืนวิถีสู่อาหารปลอดภัย"