เมื่อแม่สอดจะเป็น…เขตเศรษฐกิจชายแดน

แม่สอด จ.ตาก เมืองตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ที่การค้าชายแดนเป็นวิถีชีวิตมาช้านาน  ท่ามกลางผู้คนที่หลากหลายเชื้อชาติ…อู่ข้าวอู่น้ำที่มีปัญหาสารพิษจากแคดเมียม…แรงงานต่างด้าวที่วันนี้กลายเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในแม่สอด…เมื่อรัฐบาลประกาศให้แม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน…อะไรจะเกิดขึ้น ?

 

เอกสารข้อมูล FACT SHEET มกราคม 2548

 

       แม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก  อยู่ห่างจากจังหวัด 87 กิโลเมตร  เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศ  สภาพพื้นที่ทำให้แบ่งจังหวัดตากออกเป็น  2  ด้าน  ด้านตะวันออกมีพื้นที่เป็นร้อยละ 34.70  ของจังหวัดประกอบด้วย  4  อำเภอ คือ เมืองตาก  บ้านตาก  สามเงาและกิ่งอำเภอวังเจ้า  ด้านตะวันตกมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสาธารณะรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า แนวชายแดนยาวประมาณ 580 กิโลเมตร เขตติดกับชายแดนมี 5 อำเภอ คือ  แม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง พบพระ และอุ้มผาง  จุดทำการค้า 1 แห่งคือจุดผ่านแดนถาวรแม่สอด – เมียวดี ในเขตสุขาภิบาลท่าสายลวด ช่องทางนำเข้า-ส่งออกสินค้า  คือ  สะพานมิตรภาพไทย – พม่าและท่าเรือจำนวนกว่า  20 แห่ง  ตลอดแนว

แม่น้ำเมย ซึ่งยาว 390 กิโลเมตร  จุดผ่านแดนนี้เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนทางด้านตะวันตกของจังหวัดตาก และสามารถเชื่อมต่อยังจังหวัดเมียวดี  ในรัฐกะเหรี่ยง  ที่อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 400 กิโลเมตร

     ประชากรร่วม 80,000 คน  ของแม่สอดประกอบด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง  นอกนั้นคือ  ไทยใหญ่  พม่า  จีน ไทยลานนา  มุสลิม  ซิกข์   ฮินดู   และชาวไทยภูเขา   อาชีพหลักคือรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีจำนวนกว่า 400 แห่ง รองลงมาเป็นเกษตรกรรม และบริการท่องเที่ยว ปัญหาสำคัญคือ แรงงานต่างด้าวและประชากรแฝงจำนวนร่วมเกือบ 200,000 คน

 

       คนแม่สอดกับคนฝั่งพม่า   โดยเฉพาะใกล้ชายแดนมีความผูกพันเชื่อมโยงกันในมิติ  สังคม – วัฒนธรรมและ  การค้าขาย  การค้าขายชายแดนระหว่างแม่สอดกับพม่า จึงมีมาช้านาน แต่ในอดีตการค้าขายเป็นไปอย่างง่ายๆ  ข้ามฝั่งไปมาหาสู่กันโดยไม่ต้องทำบัตรผ่านแดน เช่นในปัจจุบัน

    ด้านเศรษฐกิจ

   การค้าชายแดนที่ด่านแม่สอด-เมียวดี ระหว่างมกราคม-มิถุนายน 2547 มูลค่าการนำเข้า 268.361 ล้านบาท การส่งออก 5,540.653 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้า 5,272.92 ล้านบาท ถือเป็นด่านการค้าชายแดนที่มีมูลค่าการค้าอันดับต้นๆ ของประเทศ สินค้าส่งออก ที่สำคัญได้แก่ ผงชูรส น้ำมันปาล์ม รองเท้าแตะ เสื้อผ้า สินค้านำเข้าได้แก่ หินแร่สังกะสี กระบือมีชีวิต ปลาเบญจพรรณสด กุ้งแช่แข็ง สิ่งประดิษฐ์ทำด้วยไม้ และไม้ยางพม่า เป็นต้น

    ความแตกต่างทางเศรษฐกิจของไทย-พม่า  มูลค้าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP มีความแตกต่างกันถึง 69.6 เท่า รายได้เฉลี่ยต่อหัว(Per Capita) มีความแตกต่างกันถึง 16.6  เท่า แรงงานขั้นต่ำของพม่ามีรายได้ประมาณ  300-500  บาทต่อเดือน 

แรงงานขั้นต่ำของไทยประมาณ 4,000 บาทต่อเดือน  แรงงานพม่า ปัจจุบันมีจำนวนถึง 2 ใน 3 ของประชากรในอำเภอแม่สอด  และเมื่อมีโอกาสในการทำงานและการพัฒนาเป็นแรงงานมีทักษะ  ก็มักจะมีความต้องการ หรือ  ถูกจัดการให้ไปเป็นแรงงานในส่วนอื่น ของประเทศ  โดยเฉพาะในกรุงเทพ -ปริมณฑล  และเมืองใหญ่ที่ต้องการแรงงานภาคอุตสาหกรรม  การเกษตร  และการประมง

 

การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า


  18 มีนาคม 2547 คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนเห็นชอบให้มีการเตรียมการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก โดยมีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 3 อำเภอคือ แม่สอด พบพระ แม่ระมาด โดยมีกรอบการพัฒนาคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมเชื่อมโยงเพื่อนบ้าน  การจัดการผังเมือง เพื่อกำหนดพื้นที่รองรับการลงทุน  การพัฒนาแผนสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ  สังคมความมั่นคงและสิ่งแวดล้อม  การกำหนดสิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุนด้านภาษี  ระบบการบริการธุรกรรมเงินตรา การเชิญชวนการลงทุนจากต่างประเทศ การผ่อนปรนการใช้แรงงานต่างด้าว การจัดตั้งกลไกการบริหาร ระดับชาติ ระดับเขตเศรษฐกิจ ระดับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการในระยะแรก และการยกร่างกฏหมาย

 

   18-19 ตุลาคม 2547  การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่อำเภอแม่สอด     จังหวัดตาก  ได้อนุมัติแผนปฏิบัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก ตามที่   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นำเสนอ  โดยแผนดังกล่าวให้จังหวัดตากเป็นฐานผลิตหลักตามแนวเศรษฐกิจเชื่อมโยงตะวันออก – ตะวันตก  และเป็นพื้นที่พัฒนานำร่องในลักษณะเมืองคู่แฝดระหว่าง ไทย-พม่า คืออำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า    โดยประกาศให้   แม่สอด   พัฒนาเขตการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การค้าและท่องเที่ยว  พบพระ/แม่ระมาด   พัฒนาการผลิตด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเชื่อมโยงกับแม่สอด    รวมทั้งการกำหนดมาตรการการส่งเสริมการเข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรมและการบริการ   โดยในช่วง 3 ปีแรก  จะเร่งจัดตั้งเมืองคู่แฝดชายแดนแม่สอด – เมียวดี  นำร่องเป็นแห่งแรก  ในเบื้องต้นเน้นพัฒนาอำเภอแม่สอด  ซึ่งมีศักยภาพมากกว่าและเชื่อมโยงการพัฒนา โดยส่งเสริมให้ประเทศพม่าผลิตวัตถุดิบในภาคเกษตร เพื่อป้อนภาคอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ     และเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม  การจัดสร้างสนามบิน  สถานีขนถ่ายสินค้า ฯลฯ  โดยเชื่อว่า   หากประกาศให้อำเภอแม่สอด เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน จะทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ไหลทะลักเข้าไปในพื้นที่ชั้นในของประเทศ

 

ระบบเศรษฐกิจโลก-ภูมิภาค-ชาติ-ท้องถิ่น

      เมื่อการจัดระเบียบโลกใหม่เกิดขึ้น ชาติต่างๆ หันมาใช้ระบบเงินตรา  พลังงาน  และปัญญาเป็นอาวุธแทนกำลังทหาร  คือ จุดเริ่มต้นของการแข่งขันทางเศรษฐกิจนำการเมือง  เกิดกระแสการ

รวมตัวเพื่อต่อรองและแข่งขันทั้งภูมิภาคเอเชีย    ยุโรป   อเมริกา และตะวันออกกลาง  เกิดกรอบความร่วมมือของกลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจและการค้า เช่น  องค์กรการค้าโลก (WTO)  ประชาคมยุโรป(EU)   ประชาคมเอเชียแปซิฟิค(ASEAN)   เกิดสกุลเงินตราใหม่ของโลก เช่น  เงินสกุลยูโร เกิดการเจรจา  เพื่อหาความร่วม

มือทางการค้าและเศรษฐกิจแบบทวิภาคี ไตรภาคี ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับอนุภูมิภาค ฯลฯ เกิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรี(FTA Free Trade Area) และเขตการค้าต่างๆ ทั่วโลก ฯลฯ

      ระบบเศรษฐกิจโลก       มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยง จึงส่งผลกระทบต่อระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น พันธกรณีในเวทีการค้าโลกเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้รัฐบาลในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย  ต้องปรับกฎระเบียบภายในประเทศให้เอื้อต่อการค้า    และการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันทางการค้า เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ และเพื่อฉวยโอกาสการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก

 

    เขตเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า ที่จังหวัดตากและอำเภอแม่สอด

     จังหวัดตากมีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง   ที่อยู่ในแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) สามารถเชื่อมโยงไปยังพม่า   และกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เช่น   อินเดีย  บังคลาเทศ เนปาล ภูฎาน  ทั้งยังเชื่อมไปยังตะวันออกได้ที่ สปป.ลาว และเวียตนาม    ในระดับประเทศมียุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ระหว่างกัมพูชา-ลาว-พม่า และไทย(Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic CooperationStrategy

: ACMECS)   โดยเชื่อว่า  การสร้างและเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ   จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน    ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และจัดระเบียบการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ในขณะที่คาดหวังว่า  เขตเศรษฐกิจชายแดนที่แม่สอด  จะทำให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม   การค้า   การท่องเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปต่อเนื่อง  การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว

     เขตเศรษฐกิจชายแดน

    ร่วม (Cross  BorderSpecial  Economic zone)   เป็นพื้นที่ชายแดนที่เชื่อมต่อกันของ  2  ประเทศ       ที่กำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ   โดยเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในแต่ละพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้นประเทศและต่างประเทศ   โดยอาศัยความได้เปรียบทางกายภาพ  ความสะดวกในการคมนาคม  ขนส่งสื่อสาร  และสิ่งอำนวยความสะดวก    รวมทั้งมาตรการภาษีและมาตรการเสริมต่างๆ   ที่ภาครัฐจัดให้เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้สินค้ามีต้นทุนต่ำ แข่งขันได้ในเวทีโลก รูปแบบเขตเศรษฐกิจชายแดนที่มีการดำเนินการในหลายพื้นที่โลกคือเขตเศรษฐกิจพิเศษ  (Special Economic Zone:SEZ)เป็นการกำหนดให้พื้นที่เฉพาะมีระบบเป็นเศรษฐกิจพิเศษ หรือเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นพิเศษจากปกติ   เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเป็นแนวคิดและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ 2 ประเทศที่มีชายแดนร่วมกัน   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ   ดึงดูดนักลงทุนทั้งใน

 

โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่(HPL) กับประเด็นเขตเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า

 

     นับตั้งแต่ ครม. มีมติเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก  เมื่อ 19 ตุลาคม 2547   โครงการ HPL ได้จัดกิจ

    – กรรมเพื่อพัฒนาการรับรู้และเตรียมความพร้อมที่สำคัญ  เช่น

    การจัดเวที “เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด: เรื่องที่ต้องเรียนรู้ หรือ เพียงแต่รับรู้” เมื่อ 28 พ.ย. 2547

    การจัดเวที “สังเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และยกระดับการทำงาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก” เมื่อ 20 ธ.ค. 2547

 

กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ได้ข้อสรุปที่สำคัญ คือ

1. ความกังวลต่อผลกระทบที่จะตามมา เช่น ด้านสังคม อาจเกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของ  คนจนเมือง  สลัม  โสเภณี ยาเสพติด เกิดการทะลักเพิ่มของแรงงานข้ามชาติ ส่งผลกระทบด้านความเป็นอยู่  สุขอนามัย และอาจเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม การกดขี่แรงงาน ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดการเวนคืนที่ดิน  การขายที่ดิน  การปั่นราคาที่ดิน การบุกรุกเพื่อหาที่ทำกินใหม่ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาขยะ มลพิษ แหล่งน้ำเน่าเสีย ฯลฯ

2. ข้อค้นพบ  จากการจัดกิจกรรมหลากหลาย  พบว่า

          เขตเศรษฐกิจชายแดนเป็นเรื่องใหม่  ที่มีหลายกลุ่มเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบ  แต่ยังรู้ไม่ทั่ว  รู้ไม่ทันกัน รู้ไม่ทันสถานการณ์ ฯลฯ        

-ข้อมูล องค์ความรู้ กระจัดกระจาย ขาดการรวบรวมและจัดระบบ

3. ความตระหนักในการต้องเตรียมการตั้งรับ

          ต้องมีการจัดการเพื่อบูรณาการข้อมูล  ความรู้ และการจัดระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          ต้องมีการพัฒนาเพื่อสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและสื่อ

          ต้องมีการพัฒนากลไกและระบบการสื่อสาร      เพื่อเพิ่มช่องทางการรับรู้  เรียนรู้   แลกเปลี่ยน

4. ประเด็นสาธารณะที่ทุกภาคส่วนควรร่วมรับรู้ แลกเปลี่ยน และค้นหา

          โครงสร้างการปกครองของเขตเศรษฐกิจชายแดน   รูปแบบการจัดการเมือง กฏหมายรองรับที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นอย่างไร

          ลักษณะอุตสาหกรรม    ระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ควรเป็นอย่างไร

          เมืองบริวาร เช่น   พบพระ  แม่ระมาด  ควรเป็นอย่างไร

          อัตลักษณ์ท้องถิ่น  ความหลากหลายของเชื้อชาติ  และเผ่าพันธุ์ตลอดจนวิถีชีวิตชุมชนต่างๆ  จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

          ทำอย่างไร จึงจะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมสมานฉันท์  และมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน

          ฯลฯ

 

จัดทำโดยงานสื่อสารสาธารณะ  HPL

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา   สนับสนุนโดย…

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

(สสส.)

 


ประชาคมจังหวัดตาก

 

   ประชาคมจังหวัดตาก   คือกลุ่มคนของพลเมืองที่มาจากทุกภาคส่วน   ทั้งส่วนราชการ   ภาคพลเมือง  ภาคประชาชน   และภาคเอกชน ที่สนใจเป็นธุระเอาความห่วงใยในความเป็นไปของบ้านเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และประเทศเป็นตัวตั้ง โดยร่วมกันสร้างโอกาสและเปิดพื้นที่กลางทางปัญญาและความคิด ให้ประชาชนได้ใช้เวลาใคร่ครวญ   ครุ่นคิด    ด้วยสติปัญญาและการทำงานทางความรู้  ข้อมูลเป็นสำคัญเพื่อค้นหาแนวทาง  และทางเลือกที่หลากหลาย โดยมุ่งหวัง และปรารถนาที่จะเห็นความสุขและความสมานฉันท์ร่วมกันของสังคม อันจะนำไปสู่การยกระดับการทำงานร่วมกันของสังคม


สิ่งที่ประชาคมตากได้ริเริ่มดำเนินการ คือ

   1. เปิดเวทีให้ผู้รู้ในท้องถิ่น อาทิ หอการค้า สภา
อุตสาหกรรม ได้กระจายข้อมูลสู่สาธารณะในวงกว้าง

   2. รวบรวมข้อมูล    ข่าวสารที่เกี่ยวข้องขั้นต้น      เป็นเอกสารตั้งต้นนำสู่สาธารณะ

   3. ประสานผู้รู้ภายนอก เช่น สภาพัฒน์ฯ มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ มาแลกเปลี่ยนกับผู้รู้ในท้องถิ่น เพื่อยกระดับความรู้

   4. ติดตาม   รวบรวมข้อมูล   ความรู้   ข้อคิดเห็น   จากเวทีต่างๆ   มาสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาข้อสรุปและนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

   5. ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการของแต่ละฝ่าย รวมทั้งพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และเอื้ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้คนเชื่อมต่อความรู้  ความคิด  ความสามารถ  เกิดเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีพลัง สร้างสรรค์ และยั่งยืน

     โดยเริ่มดำเนินการในพื้นที่ศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลงก่อน    คือ อำเภอแม่สอด  อำเภอพบพระ  อำเภอแม่ระมาด และจะขยายวงออกไปสู่อำเภออื่นๆ ต่อไป

 

กระบวนงานในโครงการวิจัยชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ จังหวัดตาก (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2548)

พ.ค.-มิ.ย.47

 

เวทีทำแผนด้วยกระบวนการคิดเชิงยุทธศาสตร์   เกิดภาวะความตื่นตัวจากข้อมูล  “เมือง..จะเปลี่ยนแปลงจาก  East-West  Corridors / ปฏิญญาพุกาม  / เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ประกาศตัวเป็นประชาสังคมจังหวัดตาก

ก.ค. 47

เรียนรู้กระบวนการ  “ประชาวิจารณญาณ”

ส.ค. 47

 

พัฒนาความร่วมมือการทำงานกับสื่อท้องถิ่น – เวทีประชุมทีมประสานงาน ,  สื่อมวลชน,  หอการค้า, สภาอุตสาหกรรม, ผลิตรายการวิทยุ ฯลฯ

ก.ย.-ต.ค. 47

 

วางแผนงาน และปฏิบัติการสื่อสารกระตุ้นความสนใจ แม่สอดจะเปลี่ยนไป”    -เวทีประชุมสื่อ,  แถลงข่าว,  เผยแพร่สปอต ทางวิทยุ,  ขึ้นป้ายขนาดใหญ่,  สภากาแฟ ฯลฯ

พ.ย. 47
สรุปความก้าวหน้า,  สรุปแบบสอบถาม, จัดทำข้อมูล ฯลฯ
ธ.ค.47-ม.ค.48

 

-วงหารือเขตเศรษฐกิจชายแดนกับส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เวทีนำเสนอภาพรวมการพัฒนาจากบริษัทที่ปรึกษา (ทีม ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์)

 ศึกษาดูงานเส้นทาง แม่สอด – เมียวดี-ผาอัน

เวทีเสวนาเขตเศรษฐกิจชายแดน    “เรื่องที่ต้องเรียนรู้หรือแค่รับรู้”

 -เวทีสังเคราะห์แลกเปลี่ยนข้อมูล และยกระดับการทำงาน

 เวทีนำเข้าข้อมูลจากทีมวิชาการท้องถิ่นและทีมประชาคม

 ฯลฯ


Be the first to comment on "เมื่อแม่สอดจะเป็น…เขตเศรษฐกิจชายแดน"

Leave a comment

Your email address will not be published.