เราได้อะไรจากเวที Networking

จบลงไปแล้วกับเวทีเพิ่มศักยภาพหลักสูตร 3 การสร้างเครือข่ายที่มีพลัง (Networking ) โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ซึ่งตระเวนไปอบรม ให้กับเหล่าขุนพลชีวิตสาธารณะทั้งสี่ภาค จึงขอนำเสนอแง่คิดมุมมองของคำว่า “เครือข่าย” จากประสบการณ์ ผู้เข้ารับการอบรม ภาคอีสาน

โดย ปิยนาถ ประยูร

เมื่อวันที่ 16-19 ตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา ได้เวลาของเวทีฝึกอบรมหลักสูตร Networking ใน 7 จังหวัดภาคใต้ ของโปรแกรมวิจัยและพัฒนา โครงการชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ โดย อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ แห่งสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (Civicnet) โดยความร่วมมือของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) โดยการสนับสนุนของ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อีกครั้งของการมาพบกัน เห็นว่ามีทั้งหน้าเดิม และหน้าใหม่ๆ ซึ่งหลังจากทักทายและแนะนำตัวกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ชัยวัฒน์ ได้กล่าวถึงหนังสือสองเล่มของฟริตจ๊อป คาปร้า คือ Hidden connection และ Web of life ซึ่งในหนังสือได้กล่าวถึง ความสำคัญของเครือข่าย และวิธีคิดกระบวนระบบ (system thinking) เนื่องมาจากปัญหาในสังคมส่วนหนึ่งคือ การมองแบบแยกส่วน แล้วเรามักจะแก้ปัญหาเพราะคิดว่าเป็นปัญหาที่ง่าย เพราะมันเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งในเวทีนี้อาจารย์ชัยวัฒน์ได้ย้ำว่า

จากนั้นได้ให้ผู้เข้าประชุมกำหนดเป้าหมายหรืออุดมการณ์ ของเครือข่ายในโครงการชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ โดยให้ร่วมกันกำหนดภาพความสำเร็จของเครือข่ายฯ ในปี 2550 ว่าคืออะไรกันแน่ และหลังจากนั้นเพื่อให้แน่ใจถึงความฝัน ความต้องการจริงๆ ก็ให้ทบทวนอีกครั้งว่า “ทำไมต้องเป็นความสำเร็จนี้” และหลังจากนั้นอาจารย์ชัยวัฒน์ได้เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมฟังอีกครั้ง ในเวทีการฝึกอบรม Networking ถึงเรื่องการฟังอย่างตั้งใจ และวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การทำงาน ที่เราคิดว่าสำเร็จเมื่อ 3 ปีก่อนจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ในสถานการณ์โลกที่ซับซ้อนมากขึ้นของปัญหาต่างๆ

การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงจำต้องฝึกฝนสภาวะแห่งจิตให้ “นิ่ง” อยู่เสมอ ดังนั้น ทุกๆ ครั้งของการฝึกอบรมในตอนเช้า รวมไปถึงการครุ่นคำนึง (Reflection) พูดคุยกันในกลุ่มย่อยของทุกๆ กิจกรรม และเหนือสิ่งอื่นใดการสร้างเครือข่ายต้องไม่หลงลืม การสร้างความสัมพันธ์ดังในช่วงหนึ่งของการฝึกอบรม

“การสร้างเครือข่าย เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หลีกหนีไม่พ้นเรื่องการสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีพลังต่อปัญญา เพราะสภาพแวดล้อมที่แย่ ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของคนไม่พัฒนา…
บางอย่าง เมื่อโอกาสมาต้องขี่กระแส
บางอย่าง เมื่อเข้ามาต้องสร้างความสมดุล”

ลักษณะความสัมพันธ์ของคนต่อคนจนเกิดเป็น เครือข่าย นั้น
มีความหมายและมีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะได้ทราบในการฝึกอบรมครั้งนี้

เครือข่ายความสัมพันธ์แบบวงกลม เป็นลักษณะของการติดต่อโดยคนเพียง 2 คน

เครือข่ายความสัมพันธ์แบบซี่ล้อ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยมีผู้ประสานงาน 1 คน ประสานงานต่อไปยังคนอื่นๆ อีก 4 คน
เครือข่ายความสัมพันธ์แบบทุกทิศทาง จะคล้ายกับความสัมพันธ์แบบที่1 แต่มีการเชื่อมโยงทุกทิศทาง
เครือข่ายการทำงานแบบลูกโซ่ เป็นรูปแบบของการส่งต่อข้อมูลทางเดียว เป็นลักษณะส่งต่อเป็นทอดๆ

ในเวทีครั้งนี้ผู้เข้าร่วมในแต่ละจังหวัดยังได้ร่วมกัน วิเคราะห์สภาพการณ์ของเครือข่ายในจังหวัดตนเองว่าเป็นลักษณะและรูปแบบใดบ้าง ซึ่งหลายๆ คนบอกว่า “ช่วยให้เราได้มองเห็นการทำงานของเรามากขึ้น”

นอกจากนั้นยังได้มีการวิเคราะห์ลักษณะของเครือข่ายในจังหวัดว่า องค์ประกอบด้านคนที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆ ว่าเป็นลักษณะใดบ้าง เช่น Bridging Network (เครือข่ายความสัมพันธ์แบบหลวมๆ) จะเชื่อมโยงกันเพราะเป้าหมายตรงกัน เช่น เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ

อีกลักษณะคือ Bonding Network (เครือข่ายความสัมพันธ์แบบแน่นแฟ้น) จะเป็นเครือข่ายที่ขาดความหลากหลายเพราะมักจะเชื่อมโยงหรือประสานงาน กับคนใกล้ชิดที่มีความคิดเหมือนกัน เช่น เครือญาติ

เพราะในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นที่ใด สิ่งสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ คือ คน ดังนั้น จึงได้มีการจำแนกว่าคนที่มีความสำคัญในเครือข่ายดังนี้

Gatekeeper :
ยามเฝ้าประตู เป็นบุคคลที่มีสิทธิในการตัดสินใจ ว่าจะให้ใครพบกับใคร หรือตัดสินใจจะส่งข้อมูลที่ตนมีไปสู่คนอื่น หรือกักข้อมูลเอาไว้เอง

Pulse taker :
ผู้จับชีพจร เป็นบุคคลที่คอยสังเกตความเคลื่อนไหวต่างๆ ในเครือข่าย ทั้งในเชิงภาพรวมและรายละเอียด ตลอดจนมีบทบาทในการสะท้อน ข้อมูลดังกล่าวสู่สมาชิกในเครือข่ายเพื่อการตัดสินใจร่วมกัน

Network manager : ผู้จัดการเครือข่าย เป็นบุคคลที่เป็นตัวกลางใน การประสานและให้การบริการด้านต่างๆ แก่สมาชิกและพันธมิตรในเครือข่าย ตลอดจนดูแลระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล การย่อยข้อมูลต่างๆ และการแพร่กระจายข้อมูลสู่สมาชิก

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้เข้าร่วมในจังหวัดต่างๆ ได้มาช่วยกันวิเคราะห์เครือข่ายในจังหวัดที่ทำงานอยู่ว่า แต่ละคนนั้นมีบทบาทเป็นลักษณะใด บทบาทที่เราคิดว่าใช่นั้น จริงๆ แล้วใช่หรือไม่ อย่างไร บทบาทใดในเครือข่ายมาก แล้วในเครือข่ายของเราควรจะเพิ่มบุคคลลักษณะใดเข้ามาในเครือข่าย
บรรยากาศในการฝึกอบรมครั้งนี้ จึงเป็นบรรยากาศที่ทุกคนตั้งใจที่จะช่วยกันคิด ช่วยกันทำงานให้สิ่งที่ออกมาในเวทีสำเร็จ นั่นเป็นเพราะว่าแบบฝึกหัดแต่ละครั้งก็เป็น การสะท้อนสิ่งที่มีอยู่จริงในการทำงาน และยังได้นำสิ่งที่ช่วยกันคิดในเวทีกลับไปถ่ายทอดต่อยังเวทีอีกด้วย
ก่อนจะแยกย้ายกันกลับไปทำหน้าที่ของแต่ละคน ยังจังหวัดของตนเอง อาจารย์ชัยวัฒน์ได้เน้นย้ำเพิ่มเติมถึงการทำงานใดๆ ก็ตาม การสื่อสารส่งต่อไปยังเพื่อนๆ ในเครือข่ายและนอกเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ซึ่งอาจารย์ชัยวัฒน์ได้บอกว่า “ทำอย่างไรการให้ข้อมูลจะเป็นข้อมูลที่มีชีวิต”

การฝึกอบรมเรื่อง Networking ให้กับภาคใต้ นับเป็นการฝึกอบรมเวทีสุดท้ายของปีนี้ เช่นเดียวกับการทำงานของโครงการชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ ก็ครบรอบขวบปีหนึ่งพอดี สิ่งที่น่าสนใจสำหรับโครงการนี้นั้นจึงเป็นเรื่องของการนำความ รู้ที่ได้รับมาไปประยุกต์ใช้ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไป

Be the first to comment on "เราได้อะไรจากเวที Networking"

Leave a comment

Your email address will not be published.