เวที”การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด” ภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2548 ฝ่ายติดตามประเมินผลภายใน ส่วนกลาง จัดเวที “การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด” ในการขับเคลื่อนโครงการฯ ขึ้นที่โรงแรมเจริญธานี ปริ้นเซส จ.ขอนแก่น เพื่อพัฒนาศักยภาพของฝ่ายติดตามประเมินผลภายในจังหวัด ในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยกต์ใช้ตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนโครงการฯ…

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด

ในการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


 

.เนาวรัตน์  พลายน้อย

.ศุภวัลย์ พลายน้อย  

ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ

.ประภาพรรณ อุ่นอบ

 

         เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2548 ฝ่ายติดตามประเมินผลภายใน ส่วนกลาง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ ได้จัดเวที การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ ขึ้นที่โรงแรมเจริญธานี ปริ้นเซส จังหวัดขอนแก่น เพื่อพัฒนาศักยภาพของฝ่ายติดตามประเมินผลภายในจังหวัด ในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยกต์ใช้ตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนโครงการฯ

          ผู้เข้าร่วมมาจาก 8 จังหวัดภาคอีสาน ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย และกาฬสินธุ์ จังหวัดละ 3 คน คือ คณะกรรมการบริหารโครงการ 1 คน และฝ่ายติดตามประเมินผลภายในจังหวัด 2 คน

         

.เนาวรัตน์  พลายน้อย

          ขณะนี้โครงการฯ กำลังมีฝ่ายประเมินภายนอกจะสุ่มประเมินการทำงานเป็นบางจังหวัด เราจึงควรตรวจสอบ ประเมินการทำงานของเราก่อนที่จะมีคนมาตรวจสอบเรา ว่าไปถึงไหนแล้ว ได้ตามเป้าไหม และอีก 1 ปีที่เหลือเราควรขับเคลื่อนงานไปในทิศทางใด

          2 ปีที่ผ่านมาของการทำงานโครงการฯ อ.เนาวรัตน์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า โครงการเรามียุทธศาสตร์ แต่กิจกรรมที่ทำมีความเข้มและพลังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ยุทธศาสตร์ โครงการไม่ถูกทำให้ชัดตั้งแต่แรกทำให้มีปัญหาเรื่องความเข้าใจไม่ตรงกันและส่งผลต่อการทำงาน โครงการดำเนินงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่าง(ประชาสังคม เอ็นจีโอ หน่วยงานรัฐ เอกชนฯลฯ) จึงเป็นเรื่องยากที่จะประสานการทำงาน โครงการเรามีคอนเซ็ปการทำงานที่ยาก จึงส่งผลให้ทำงานยากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการทำงานในวัฒนธรรมที่แตกต่างจำเป็นต้องประเมินแบบระบบเปิด ที่ประเมินได้หลายทิศทาง ตรวจสอบได้หลายทิศทาง

 

ฐานคิดในการพัฒนาตัวชี้วัด

.ศุภวัลย์ พลายน้อย  ฝ่ายติดตามและประเมินผลภายใน ส่วนกลาง  ตัวชี้วัดประกอบด้วยตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และเกณฑ์ที่สะท้อนความก้าวหน้า ตัวชี้วัดที่ดีต้องเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เกณฑ์การประเมินต้องชัดเจน โปร่งใส เปิดเผย การตัดสินใจต้องยุติธรรม และการสื่อสารและข้อตกลงที่เป็นกลาง จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีที่สุด

          หวังว่าการประเมินจะเป็นสิ่งที่ยกระดับการทำงานของเราให้ดีขึ้น โดยหลักประเมินโปร่งใส ใจเป็นกลาง และสะท้อนความจริง และอย่างน้อยจังหวัดควรจะมีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการของแต่ละจังหวัด  ที่ผ่านมามีแต่ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม เราต้องเชื่อมโยงตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรมว่านำไปสู่ความสำเร็จหรือเป้าหมายโครงการได้อย่างไร

 

การใช้ประโยชน์จากการประเมินในการขับเคลื่อนโครงการ

          ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ ฝ่ายติดตามและประเมินผลภายใน ส่วนกลาง ที่ผ่านมาส่วนใหญ่งานประเมินไม่ค่อยได้เอาไปใช้ เพราะผลการประเมิน คุณภาพของงานไม่ค่อยดี และเงื่อนไขของโครงการ โครงสร้างวัฒนธรรมไม่เอื้อ คือในแง่วิธีคิดและการยอมรับ

          การใช้ประโยชน์จากการประเมินตามแนวคิดใหม่นั้น ต้องหาทางอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น สมเหตุสมผลหรือไม่  วิเคราะห์ความรู้ที่ได้ใช้ไปว่ามันเกิด มันเพียงพอหรือไม่ ต้องแสวงหาความรู้จากภายนอกมาพัฒนางานของจังหวัดและยกระดับงานที่ทำได้ดีเป็นชุดความรู้เพื่อจัดเก็บ เผยแพร่

          ในการขับเคลื่อนผลการประเมิน การประเมินภายในควรทำอย่างมีส่วนร่วม สื่อสารผลการติดตามให้รับทราบในที่ประชุมหรือผ่านสื่ออื่น มีเวทีสรุปผลการประเมินรอบปี ทีมบริหารร่วมกันกำหนดประเด็นในการถอดบทเรียนจากการประเมิน(ประเด็นสำคัญๆ) และสร้างชุดข้อเสนอแนะเพื่อการพิจารณานำข้อเสนอแนะบางประเด็นเข้าสู่แผนการทำงาน

 

          การให้ทฤษฎีจากนักวิชาการและทีมงานเป็นเพียงส่วนช่วยเสริมของเวที ที่เน้นหนักอย่างเข้มข้นคือ การปฏิบัติการตรวจสอบ ประเมินการทำงานจากตัวชี้วัดและการถอดบทเรียนของรายจังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดได้ทำงานกันอย่างขะมักเขม้น  เครียดบ้าง เข้าใจไม่ตรงกันบ้าง แต่ท้ายที่สุดหลายจังหวัดได้มองเห็นตัวเอง เข้าใจว่าสิ่งที่ทำมามันใช่หรือไม่กับงานชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ และอีกหนึ่งปีที่เหลือควรจะเดินไปในทิศทางใด

 

ข้อสังเกตจากเวที

          .ประภาพรรณ อุ่นอบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ ม.มหิดล ฝ่ายติดตามและประเมินผลภายในส่วนกลาง

          ถ้ามองด้านกระบวนการพวกเราทำได้ดี แต่พอมองไปถึงผลลัพธ์มันเกิดค่อนข้างน้อย สิ่งที่สังเกตเห็นมีอยู่ 2 ประเด็นคือ หนึ่ง พวกเราไม่เคยรู้มาก่อนว่าผลลัพธ์ที่โครงการฯ อยากบรรลุมันคืออะไร สอง เรารู้ว่าผลลัพธ์ที่อยากบรรลุมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถออกแบบให้สอดคล้องได้

          สิ่งที่อยากบอกคือ อย่าไปกังวลกับคะแนนจากตัวชี้วัดที่ได้ ให้มองคะแนนเป็นสิ่งที่บอกเหตุทำให้เราสามารถปรับโครงการเดินไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้ และเรื่องของการถอดบทเรียนให้ถอดจากประเด็นที่เราสนใจ ต้องการใช้ขับเคลื่อนงานหรือสรุปบทเรียน อาจเป็นประเด็นที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ได้

 

 


 

สัมภาษณ์พิเศษ

.เนาวรัตน์  พลายน้อย
การจัดครั้งนี้ต้องการให้ทีมประเมินจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เรียนรู้ว่าโครงการของเรามันมีสิ่งทีกำหนดว่าต้องส่งมอบอะไรบ้างหลังจบโครงการ ตอนนี้ก็เอามาประเมินมาเรียนรู้ตัวเองว่าเมื่อเดินมาได้ครึ่งโครงการแล้วนี่ เราไปได้ถึงไหนกันแล้ว เราจะได้เรียนรู้กันเอง เรียนรู้ข้ามกลุ่ม เพื่อที่จะได้
คุณวิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล จังหวัดอุบลราชธานี
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ
ท้องถิ่นน่าอยู่ มีข้อดีตรงมีการออกแบบชุดโครงการที่มีโครงการที่อยู่ภายใต้อันเดียวกันให้เอื้อโครงการไปถึงเป้าหมายอย่างเรื่องการพัฒนาศักยภาพ  การประเมินภายใน มองในส่วนของประเมิน


ปรับโครงการที่เหลืออยู่ประมาณหนึ่งปีหรือทำให้ได้คิดว่าเมื่อปีกว่าๆ ที่เหลืออยู่เราควรจะมุ่งเน้นไปที่จุดใดในเรื่องใดที่ยังไม่ได้ ส่วนเรื่องไหนที่ทำได้ดีพอสมควรแล้วจะรักษาและยกระดับกันยังไง ในการที่จะรู้ว่ามันไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้นต้องใช้ตัวชี้วัด

 

   การทำงานแบบนี้มันต้องมีระบบต้องคิดไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆ เราต้องมีเป้าหมายที่คิดอย่างละเอียดรอบครอบก่อนว่าอยากให้อะไรเกิดขึ้นและต้องมีกลไกที่มีพลังพอในการทำสิ่งที่อยากให้มันเกิดให้เกิด คือต้องคิดชัะดในการทำแต่มีกระบวนการที่ยืดหยุ่นในการเดินไปสู่เป้าหมาย เหมือนเราอยากไปบางลำพูนี่ ถ้าเราอยากมีเวลาเยอะๆ อยากชื่นชมอะไรไปเรื่อยเราก็อาจจะเดินไป ถ้าเราต้องรีบเราก็นั่งเท็กซี่ไป อาจมีหลายวิธี

    อาจารย์อยากให้กลับไปพูดคุยแล้วใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบนี้หรือแบบอื่นๆ ที่โครงการเราได้สร้างอย่าง อยากให้ทำงานโดยใช้ฐานความรู้นำ ภาพรวมสังคมจะไปได้มากถ้าหากสร้างความรู้เป็นบริโภคความรู้เป็นแล้วใช้ความรู้นำในการทำงาน การทำตัวชี้วัดนี่ก็เป็นงานแบบหนึ่งที่เป็นการสร้างและใช้ประโยชน์ความรู้ ตัวชี้วัดจะไม่มีประโยชน์ถ้าหากสร้างแล้วก็วางไว้

      อยากให้กลับไปพูดคุยกันในจังหวัดดูว่าโครงการในช่วงเวลาที่เหลืออยู่เราจะเดินไปในทิศทางที่มีเป้าหมายชัดๆ อย่างไร

ภายในเราส่วนใหญ่ในจังหวัดที่คุ้นชินกับงานพัฒนาเหมือนเป็นนักรบลุยไปทั่ว  มันไม่ได้มีอาวุธทางปัญญาเกี่ยวกับการประเมินมากเท่าไหร่ พอได้เข้ามาอบรมเรื่องการประเมินเริ่มรู้จักว่ามันมีผลลัพธ์นะที่เราต้องไปให้ถึง แล้วต้องจริงจังกับมันด้วยบอกว่าทำแล้วทำแล้วแต่มันคืออะไรก็จับต้องไม่ได้นี่มันก็คงจะไม่ไช่  มันมีเรื่องของการที่จะมาสร้างตัวชี้วัดว่ามันจะเป็นยังไงในการนำมาใช้ในการประเมินตัวเองกับการทำงาน  สิ่งเหล่านี้มันทำให้เราทำงานไปพร้อมกับการเรียนรู้ตัวเอง  เรียนรู้จังหวะการทำงานเรากำลังไปเร็วไปไหม กำลังไปช้าเกินไปหรือเปล่า  มีอะไรที่เราทำเกินไปมีอะไรที่เราทำน้อยไป  หรือไม่ทำเลย
กระบวนการประเมินการมาอบรมในแต่ละครั้งมันเป็นเหมือนการช่วยเพิ่มพูนบทเรียนจากบทที่หนึ่ง  บทที่สอง  บทที่สาม  มันก็เริ่มอยากขึ้นซับซ้อมมากขึ้น  แต่มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นเพราะโครงการมันก็ต้องเข้มข้นขึ้น สิ่งที่เริ่มทำตั้งแต่ยังไม่มีอะไรเลยมันต้องหมายความถึงการมากขึ้นเพิ่มขึ้น  เพราะฉะนั้นบทเรียนของการประเมินมันต้องเข้มข้นขึ้นตรวจสอบได้มากขึ้น  ซึ่งมันควรจะตรวจสอบตั้งแต่ตัวเราเองในฐานะคนทำงานก่อนที่จะไปบอกกับใครต่อใครได้ว่าโครงการชีวิตสาธารณะที่ทำอยู่ในแต่ละจังหวัดมันได้สร้างอะไรไว้ให้กับท้องถิ่นนั้นๆ ได้บ้าง

ชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่


ความน่าอยู่และยั่งยืนต้องเกิดจากการค้นพบตัวเอง เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมในการที่จะเปลี่ยนคุณภาพการอยู่ร่วมกันของคนให้รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักที่จะสร้างอะไรดีๆ ร่วมกัน ด้วยกระบวนการสร้างและเปลี่ยนตัวเองไปพร้อมๆ กัน

 

            การสร้างเสริมสุขภาพในมิติใหม่ ที่เชื่อมโยงมิติทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเข้าด้วยกันนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบสนับสนุน 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรม ทัศนคติ และระบบโครงสร้าง หรือสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิธีการดำเนินชีวิตของผู้คน

            ในช่วงที่ผ่านมา สสส. ได้จัดกระบวนการพัฒนาโครงการชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ ขึ้นอย่างต่อเนือง จนได้กรอบความคิดและแนวทางปฏิบัติในรูปแผนงานระยะ 3 ปี ซึ่งพร้อมดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป โดยมีสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI) เป็นองค์กรหลักผู้รับผิดชอบโครงการ

            โครงการนี้มีเป้าหมายในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับท้องถิ่น และมุ่งเน้นให้ความสำคัญแก่ภาคประชาชนในการร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดท้องถิ่น น่าอยู่และ ยั่งยืนบนฐานของ ชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง” (Healthy Public Life) โดยประกอบด้วย โครงการย่อย 4 โครงการ ที่มีความเชื่อมร้อยและสนับสนุนกันอย่างเป็นระบบ โดย 3 โครงการแรกเน้นปฏิบัติการสร้างความเคลื่อนไหวในพื้นที่แลโครงการที่ 4 เป็นโครงการสนับสนุนการถอดองค์ความรู้ในกรปฏิบัติงาน ได้แก่

            1.โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาวิถีชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่นที่น่าอยู่และยั่งยืน เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการจัดการเมืองให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีชีวิตสาธารณะ

            2.โครงการเสริมสร้างขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในประเด็นสุขภาวะ มุ่งทำให้เกิดสำนึกสาธารณะเกิดเป็นนิสัยแก่คนในสังคม โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ

            3.โครงการพัฒนาเครือข่ายเมืองน่าอยู่และศักยภาพของคนทำงาน  โดยในกระบวนการทำงานมุ่งจัดทำหลักสูตรการอบรมพื้นฐานแก่คณะทำงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินโครงการ และสร้างหลักสูตรเฉพาะกิจตามคำเรียกร้องของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย

            4.โครงการประเมินผลและสังเคราะห์ความรู้ ประชาสังคมจังหวัดกับสุขสาธารณะท้องถิ่นเป็นการติดตามกระบวนการทำงานของโครงการที่ 1-3 ทุกขั้นตอนเพื่อประเมินผลและสังเคราะห์องค์ความรู้ ทั้งเชิงเนื้อหาและกระบวนการ และสะท้อนกลับเพื่อการปรับเปลี่ยน แก้ไข และทำงานได้ทันสถานการณ์

 

สำนึกพลเมืองการพัฒนาที่ยั่งยืน

            คำว่า น่าอยู่ แฝงมิติของความเคลื่อนไหว การจัดการ และสอดคล้องกับเรื่องสุขภาพ และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และแง่มุมต่างๆ ในการใช้ชีวิตโดยตรง ที่ผ่านมาการพัฒนาประเทศเกิดขึ้นตามความอยากมีเหมือนคนอื่นๆ ที่ทันสมัย แต่เราจัดการไม่ได้ รู้จักไม่ทัน เพราะเมืองใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ในเมืองไทยขณะนี้ไม่เคยมีในชีวิตเรามากก่อน ช่องว่างตรงนี้คือโจทย์ในการทำงาน ที่ต้องเร่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และการเปลี่ยนแปลงตัวเองของประชาชน โดยทำให้เกิดสภาพที่ห้อมล้อม ชักจูง และผลักดันให้ผู้คนเข้าสู่กระบวนการร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ เพื่อเป้าหมายดีๆ ร่วมกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำให้เกิดชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง เพื่อเติมช่องว่างให้เกิดสภาพความ น่าอยู่ขึ้น ไม่ใช่เป็นการกำหนดโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
อ.ขวัญสรวง อติโพธิ

 

ผลลัพธ์ที่จะเกิดใน 3 ปี (2546-259)

            · เกิดสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด 35 จังหวัด

            · เกิดหน่วยจัดการความรู้ภาคประชาสังคมอย่างน้อย 10 จังหวัด

            · เกิดชุดความรู้การจัดการท้องถิ่นที่น่าอยู่และยั่งยืน

            · เกิดชุดความรู้การขับเคลื่อนกลไกภาคประชาสังคม ในประเด็นสุขภาพ

            · เกิดชุดคู่มือการฝึกอบรม

            · เกิดชุมชนต้นแบบการจัดการเพื่อการมีชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง

            · เกิดบุคลากรที่มีความสามารถในการขยายงานอย่างน้อย 300 คน

องค์กรดำเนินการหลัก

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

 

ภาคี

สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน ม.มหิดล, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, วิทยาลัยการจัดการสังคม, สถาบันจิตวิญญาณยกระดับ, สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน,สถาบันสลาตัน, สถาบันปฏิปัน

 


ที่มา : เอกสารรายงานประจำปี 2545 “ขบวนการเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

นพรัตน์ จิตรครบุรี : ทีมสื่อสารสาธารณะ รายงาน

19 เมษายน 2548

Be the first to comment on "เวที”การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด” ภาคอีสาน"

Leave a comment

Your email address will not be published.