เวทีประชาสังคมภาคเหนือ ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 6 – 9 พฤษภาคม 2548  ทีมสนับสนุนส่วนกลาง ร่วมกับทีมงานในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นเจ้าภาพในการ จัดเวทีประชาสังคมภาคเหนือ ครั้งที่ 3  โดยมุ่งเป้าไปที่ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ..

          เมื่อวันที่ 6 9 พฤษภาคม 2548  ทีมสนับสนุนส่วนกลาง ร่วมกับทีมงานในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นเจ้าภาพในการ จัดเวทีประชาสังคมภาคเหนือ ครั้งที่ 3   ณ โรงแรมมิตรอารีย์  อ.แม่สะเรียง  จ.แม่ฮ่องสอน   ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา ลำพูน  เชียงราย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก มีผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน  ในครั้งนี้การออกแบบกระบวนการหลักๆ ใช้แนวทางที่วางร่วมกันในการประชุมครั้งที่ 2 ที่เชียงใหม่ โดยในครั้งที่ 3 นี้มุ่งเป้าไปที่ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และบางประเด็นจะเกี่ยวข้องกับการจัดการลุ่มน้ำหลักของประเทศ     

โดยรศ.ดร.เนาวรัตน์  พลายน้อย จากทีมประเมินภายในส่วนกลาง ได้ให้ข้อสังเกตว่า

 เราต้องโยง concept ลุ่มน้ำกับประเด็นสาธารณะ ต้องคิดให้ตกผลึก(สัมมาทัศนะ) ต้องคิดให้ชัดก่อนนำไปปฏิบัติ เราสร้างสุขภาวะเชิงปัจเจก แต่โครงการภาคเหนือเป็นการสร้างสุขภาวะเชิงนโยบาย  เรื่องลุ่มน้ำถ้าไม่ผลักดันเป็นนโยบาย ก็ไม่ก่อให้เกิดผลอะไร     

จากนั้นรศ.ดร.เนาวรัตน์ ยังได้เสนอแนวทางในการผลักดันเรื่องลุ่มน้ำให้ไปถึงประเด็นร่วมของภาคเหนือ โดยการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research)  มีหัวข้อดังนี้

1. Mapping   งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องลุ่มน้ำของแต่ละจังหวัด

2. Mapping   นักวิจัยว่ามีใครทำเรื่องอะไร/มีใครเกี่ยวข้องบ้าง

3. Mapping  Local  Policy  ( นโยบายเรื่องน้ำระดับท้องถิ่น )

4. Mapping  ทุนภูมิปัญญาระดับพื้นที่เรื่องลุ่มน้ำ  (จิตวิญญาณลุ่มน้ำ บวชป่า/สืบชะตาน้ำ)

5.  สื่อสารสู่สาธารณะ

          ด้าน น.พ.พลเดช  ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาประชาสังคม ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการทำงานในประเด็นลุ่มน้ำว่า การเคลื่อนไหวต้องชัดว่าเป้าหมายเพื่ออะไร 

   1 ประเด็นอะไร  เรื่องอะไร

          – การเรียนรู้สาธารณะ (ความรู้,การสร้างความรู้,การจัดการความรู้)

– เพื่อแก้ปัญหาสาธารณะ  ให้เกิดการมีส่วนร่วมของปัญหานั้นๆ      

          – เพื่อปกป้องตัวเองจากผลกระทบ

  2 การเลือกประเด็นในการเคลื่อนไหว 

– นโยบายของรัฐ  (ต่อสู้,คัดค้าน)                                                                                           
– ปัญหาวิกฤต (สังคมรับรู้ว่าวิกฤตจริง ๆ)

          – การพัฒนาสร้างศักยภาพ  เช่น  สร้างจิตสำนึกเรื่องป่าชุมชน

– นโยบายของรัฐที่มากระทบ เช่น เครือข่ายน้ำ.เขตเศรษฐกิจพัฒนา. การจัดการน้ำ ( สังคมสัมผัสได้ง่าย )

 ตัวชี้วัด    1.ล้านแนวทางยุทธศาสตร์  ประเด็นที่เลือกต้องมีพลังทางสังคมเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ

       – ฐานทรัพยากร

       – นโยบายน้ำ- เชื่อมเรื่องป่า ( ป่าชุมชน , ลุ่มน้ำ )

 

 เวทีครั้งนี้เกิดข้อตกลงร่วมกันที่แต่ละจังหวัดในภาคเหนือต้องกลับไปเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนองานในการประชุมครั้งต่อไปที่เพชรบูรณ์ตามโจทย์ดังนี้

1.งานวิจัยที่เกี่ยวกับลุ่มน้ำ

2. ทะเบียนนักวิจัย-โดยสถาบันวิชาการ . โดยชุมชน / ท้องถิ่น

3. นโยบาย / ยุทธศาสตร์ เรื่องน้ำในระดับภาค ( จังหวัด . อำเภอ . ตำบล )

4. ทุนภูมิปัญญาลุ่มน้ำ ( เหมืองฝาย . การจัดการลุ่มน้ำ . การปันน้ำ . พิธีกรรม  . การบริการจัดการน้ำ . อนุรักษ์= ชุดความรู้

5 แผนปฏิบัติที่มีอยู่ / ทำงานเสร็จ / ดำเนินการ

6. สื่อสาธารณะ

ในการจัดเวทีครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวและการตระหนักถึงปัญหาของการจัดการลุ่มน้ำ เห็นได้ชัดเจนว่า ทีมงานแต่ละจังหวัดมีความตั้งใจที่จะร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยน และเตรียมข้อมูลในเรื่องลุ่มน้ำของจังหวัดของตนได้ดี  พบกันใหม่ครั้งหน้า ในเวทีประชาสังคมภาคเหนือครั้งที่ 4 ที่เขาค้อ  จ.เพชรบูรณ์ วันที่7 – 10 กรกฎาคมนี้     

เดินทางสำรวจลุ่มน้ำ

 

สันสกฤต  มุนีโมไนย  กองบรรณาธิการ : รายงาน

Be the first to comment on "เวทีประชาสังคมภาคเหนือ ครั้งที่ 3"

Leave a comment

Your email address will not be published.