วันเสาร์ที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา เวลา 17.00 – 20.00 น. ณ ลานแพร่งภูธร (หลังสถานีกาชาด) ถ.แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน และมีการบันทึกเทปรายการ ตอน “ เมื่อแม่สอดจะเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน” เพื่อให้กลุ่มที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและหาข้อเสนอแนวทางการพัฒนา..
กองบรรณาธิการ:ทีมสื่อสารสาธารณะ
|
||||||||||||||||||
เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา เวลา 17.00 – 20.00 น. ณ ลานแพร่งภูธร (หลังสถานีกาชาด) ถ.แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน และมีการบันทึกเทปรายการ ตอน “ เมื่อแม่สอดจะเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน” เพื่อให้กลุ่มที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและหาข้อเสนอแนวทางการพัฒนา แก้ปัญหาร่วมกันของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ชม ให้ตระหนักถึงประเด็นปัญหาสาธารณะโดยเฉพาะเรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดน ในขณะที่การค้าชายแดน เป็นส่วนสำคัญของชีวิตคนแม่สอดมาช้านาน แต่ด้วยเหตุการณ์ ทางการเมืองในประเทศพม่า ผนวกความแตกต่างทางเศรษฐกิจ ทำให้แม่สอดเป็นแหล่งรองรับแรงงานต่างด้าวที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด การมีแรงงานจำนวนมากและราคาถูก ทำให้แม่สอดเป็นแหล่งลงทุนทางอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนกว่า 200 แห่ง หรือจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดตากมีมูลค่าการส่งออกของสินค้าทางอุตสาหกรรม ในจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท ต่อปี |
||||||||||||||||||
เมื่อ 19 ตุลาคม 2547 รัฐบาลมีมติให้ยกระดับ 3 อำเภอชายแดน คือ แม่สอด พบพระ และ แม่ระมาด เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งด้านการค้า การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการเกษตร ทั้งยังมุ่งหวังให้แม่สอด เป็นเมืองในเส้นทางการค้า จากเหนือจรดใต้ และ จาก ตะวันตกจรดตะวันออก ของประเทศ เพื่อสามารถ เชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านได้รอบทิศ และ ผูกโยงกับระบบเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และ ระดับโลก โดยคาดหวังว่าจะทำให้แม่สอดพัฒนา ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว การเกษตร การอุตสาหกรรม การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ฯลฯ ในขณะที่ยังมีปัญหาปัจจุบันที่ยังไม่ได้แก้ไข เช่น การปนเปื้อนของสารแคดเมียมในดิน ในน้ำ และในพืช ที่บริเวณลุ่มน้ำตาว ซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตข้าวคุณภาพสูง การไหลออกของแรงงานต่างด้าวที่มีทักษะไปยังจังหวัดอื่น กับการไหลเข้าของแรงงานใหม่ไร้ทักษะ ฯลฯ นอกจากนั้น แนวทางการพัฒนาดังกล่าว ยังเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน ไม่มั่นใจ ไม่เป็นที่ล่วงรู้ และ รับรู้ร่วมกัน และสร้างข้อสงสัยในผลกระทบหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ | ||||||||||||||||||
เวทีเสวนาครั้งนี้ มีผู้ดำเนินรายการคือ นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ จากเนชั่น แชนแนล และ อาจารย์ขวัญสรวง อติโพธิ จากสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
ในตอนท้ายของรายการอาจารย์ขวัญสรวง กล่าวว่า “ผมว่าวันนี้คนทั่วไปเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจชายแดนมากขึ้น โดยเฉพาะคนตามชายแดนน่าจะรู้น่าจะรู้นิสัยของการเป็นประตูเข้า ประตูออกผ่านกรณีแม่สอดมากขึ้น” ประเด็นเรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดนจะเกิดขึ้นอาจไม่สำคัญเท่ากับว่าถ้าเกิดขึ้นแล้วคนแม่สอดจะได้รับผลกระทบในทิศทางใด เศรษฐกิจชายแดนจะทำให้คนแม่สอดรวยไม่รู้เรื่องอย่างที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้หรือไม่ อีกไม่นานคงได้รู้กัน ติดตามรายงานกิจกรรมครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า กับรายการ บ้านเมืองเรื่องของเรา ตอน “ ตัวตนคนแม่กลอง” |
Be the first to comment on "เวทีพลเมืองไท บ้านเมืองเรื่องของเรา ตอนแม่สอดกำลังจะ…เปลี่ยนไป"