เวทีวางแผนงานปี 3 โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่

วันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) จัดเวทีเตรียมความพร้อมและวางแผนงานปี 3

เวทีวางแผนงานปี 3 โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่

 

วันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2548 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) จัดเวทีเตรียมความพร้อมและวางแผนงานปี3 โดยมีคณะทำงานส่วนกลางและตัวแทนคณะทำงานจาก 35 จังหวัดในโครงการเข้าร่วมเวทีครั้งนี้

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวว่า “โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ เคลื่อนงานในประเด็นสุขภาวะทางสังคม เราใช้เวลาสามปีบ่มเพาะโครงการใน 35 จังหวัด โดยมุ่งสร้างสุขภาวะท้องถิ่น/วิถีชีวิตสาธารณะให้เข้มแข็ง ประสบการณ์ทำงานในปีที่ 1 เป็นการใช้เวลาทำความเข้าใจโครงการ เช่น การทำกิจกรรมในโครงการ ไม่ใช่การทำกิจกรรมเพื่อกิจกรรม แต่เป็นการทำกิจกรรมเพื่อยุทธศาสตร์ของโครงการ ประสบการณ์ทำงานในปีที่ 2 ของโครงการ มีประเด็นเรื่อง สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้,ศูนย์ต่อสู้เอาชนะความยากจน,เรื่องยาเสพติด,สถานการณ์ สสส.และเรื่องสึนามิ ประสบการณ์ในปีที่ 3 เราต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่โครงการจะจบลง (Landing) ประกอบกับการถูกปรับลดงบประมาณโครงการลง 43% สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำอย่างไรในปีที่3 ให้จบโครงการฯอย่างสง่างาม แสดงให้สาธารณะได้เห็นทั้งกระบวนงาน เรื่องที่ทุกพื้นที่ต้องทำคือ

1. รวบรวมทุนภูมิปัญญาเครือข่าย,ชุมชนต้นแบบ,หลักสูตร,Human mapping ว่าในจังหวัดมีใครขับเคลื่อนงาน”

2. พัฒนาโครงการฯของแต่ละจังหวัดให้เป็นรูปธรรม เช่น เรื่องมูลนิธิชุมชน ฯลฯ และโครงการรูปธรรมเสนอต่อ สสส. เนื้อหาและประเด็นขึ้นอยู่กับแหล่งที่เสนอโครงการ เช่น สุขภาวะองค์รวม,ชุมชน,สังคม สุดท้ายแล้วเราต้องร่วมมือกันให้จบโครงการฯอย่างสง่างามและก้าวต่อไปข้างหน้า

 

รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย กล่าวว่า “ผมมี 4ประเด็น 1.เมื่อโครงการลงโรงเราทำอย่างไร 2.ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร 3.เมื่อโครงการลาโรงเราคิดอย่างไร 4.ในส่วนของทีมประเมินภายใน มหิดลเราทำอะไรบ้างเมื่อโครงการฯจะจบ”

1. เมื่อเริ่มโครงการ เรามีแนวคิดกันว่า คนในสังคมเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ สุขภาวะสังคมไม่ดี เพื่อแก้ปัญหานั้น จึงเกิดโครงการขึ้นเพื่อ สร้างสำนึกสาธารณะเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่ – ชุมชนเข้มแข็งโครงการเราเป็นวิจัยและพัฒนาเพราะ เราทำให้ความรู้และการพัฒนาเนียนไปในเนื้อเดียวกัน ทำให้คนมาเรียนรู้ร่วมกัน สร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเรื่องสำนึกสาธารณะไปสู่ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

2. การดำเนินงานที่ผ่านมา เราต้องประเมินว่า คุณภาพการจัดการในโครงการเป็นอย่างไร คุณภาพผลงานตรงตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้หรือไม่

3. ต้องดำรงความมุ่งมั่น พิสูจน์ศักยภาพ ปรับแผนจังหวัดอย่างมีเป้าหมาย

4. ทีมประเมินภายในจะสรุปผลโครงการ ว่าการบรรลุผลโครงการทั้ง 3 ปีเป็นอย่างไร คือดูตั้งแต่เริ่มต้นและสรุปบทเรียนจากผลการประเมิน สนับสนุนให้จังหวัดประเมินโครงการ และนำผลการดำเนินการไปสู่การพัฒนาโครงการเป็นหน่วยจัดการความรู้จังหวัด

 

 

 

จากนั้นอ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม กล่าวว่า โครงการฯ ได้รับแรงบัลดาลใจจากหนังสือของ เดวิด แมททิวส์ เรื่องการเมืองภาคพลเมือง และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ สิ่งแรกคือการพัฒนาความมุ่งมั่นตั้งใจ วิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision) ต้องมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อท้องถิ่นตัวเอง สนทนาให้เกิดปัญญาเพื่อขยายผลการทำงาน และต้องเข้าใจระบบของโลกที่ซับซ้อน งานนี้ไม่ใช่งานที่ใช้สมองเพียงอย่างเดียว เราต้องใช้หัวใจในการทำงาน

 

 

 

 

กระบวนการสุดท้ายเป็นการแบ่งกลุ่มจังหวัดตามประเด็นงานในปีที่3 ดังนี้

1. ประเด็นเด็กและเยาวชน จ.อุบลราชธานี,เลย,เชียงราย,พิษณุโลก,ชัยภูมิ,เพชรบูรณ์,ภูเก็ต,ลำพูน

2. ประเด็นสุขภาพสังคม จ.ปัตตานี, นราธิวาส

3. ประเด็นสุขภาพ จ.อำนาจเจริญ,ตราด,กาฬสินธุ์,ชัยภูมิ,เพชรบูรณ์,ภูเก็ต,ร้อยเอ็ด,ตาก,ลพบุรี

4. ประเด็นเศรษฐกิจท้องถิ่น จ.เชียงราย,ตราด,เพชรบูรณ์,ตาก

5. ประเด็นลานสาธารณะ จ.ลำปาง,ตรัง,สุรินทร์,อุบลราชธานี,อำนาจเจริญ,เลย

6. ประเด็นสื่อท้องถิ่น (เชิงวัฒนธรรม) จ.กาฬสินธุ์,อำนาจเจริญ

7. ประเด็นการจัดการน้ำ จ.สุราษฏร์ธานี,แม่ฮ่องสอน,สมุทรปราการ,ลำพูน,ปราจีนบุรี,พะเยา,อุทัยธานี

8. ประเด็นพื้นที่สาธารณะทางอากาศ (วิทยุ) จ.สมุทรสงคราม,นครราชสีมา,เลย

9. ประเด็นภูมิปัญญา (อัตลักษณ์ท้องถิ่น) จ.ลำปาง,เชียงราย,พิษณุโลก,ภูเก็ต,ตาก,อุทัยธานี,พะเยา,แม่ฮ่องสอน,กาญจนบุรี,ลำพูน

10. ประเด็นเกษตรอินทรีย์ จ.ชัยภูมิ,นครราชสีมา,นครนายก,ประจวบคีรีขันธ์,ปราจีนบุรี

 

หลังจากได้ประเด็นงานของแต่ละจังหวัดแล้ว ทุกจังหวัดก็ต้องกลับไปทำงานตามประเด็นที่วางไว้ ในช่วงเวลาที่โครงการจะจบลงประมาณเดือนมิถุนายน 2548 และจบอย่างสง่างามแสดงให้เห็นถึงกระบวนงานและรูปธรรม สุดท้ายต้องตอบต่อสาธารณะให้ได้ว่า การทำงานภาคประชาสังคมของโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ ทิ้งท้ายและสร้างคุณค่าอะไรต่อชุมชนและสังคมไทย

 

 

สันสกฤต มุนีโมไนย รายงาน

Be the first to comment on "เวทีวางแผนงานปี 3 โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่"

Leave a comment

Your email address will not be published.