จังหวัดตากมีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง สามารถสนองตอบต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนได้เป็นอย่างดี และการตั้งอยู่ปลายแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor) สามารถเชื่อมโยงไปยังพม่าและกลุ่มประเทศเอเชียใต้หรือเชื่อมโยงไปยัง สปป.ลาว และเวียดนามใต้…..
เรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด คณะทำงานฝ่ายประชาชนคือ ประชาคมแม่สอดและประชาคมตาก ได้ทำบทบาทในการขับเคลื่อนงานเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล สถานการณ์ปัจจุบันกับหอการค้ามาโดยตลอด ประกอบกับมีงานวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ–ท้องถิ่นน่าอยู่ (สนับสนุนโดยสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสสส.) กำลังดำเนินงานเพื่อค้นหาแนวทาง “การกำหนดอนาคตตนเองของท้องถิ่น” ผ่านประเด็นเขตเศรษฐกิจชายแดน ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยอย่างมีวิจารณญาณ(Deliberative Democracy) ซึ่งดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 หลังจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนมาหลายครั้งพบว่า ความรู้เรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดน เป็นความรู้ใหม่และกระจายอยู่ในกลุ่มคน หน่วยงานหลากหลายระดับ แต่ขาดการรวบรวม สรุป และเผยแพร่ให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจร่วม ทำให้การรับรู้ข้อมูลในหลายภาคส่วนไม่เท่ากันและไม่ทันสถานการณ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ กลไกการจัดการ ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่ยุ่งยากและซับซ้อน ต้องอาศัยการบูรณาการ ระดมพลัง ทั้งความรู้เดิม ความรูใหม่ จากบุคคล หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ประชาคมแม่สอด หอการค้าจังหวัดตาก สภาอุตสาหกรรม ชมรมสื่อมวลชนชายแดน และคณะทำงานพิจารณากำหนดแนวทางการสนับสนุนนโยบายส่งเสริมเขตเศรษฐกิจชายแดน จ.ตาก(คสศ.ตาก) ได้ร่วมกันจัดเวที “สังเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และยกระดับการทำงาน สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด” ขึ้นเพื่อรับรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการทำงานและเพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน มีผู้เข้าร่วมเวทีจากหลายภาคส่วนด้วยกันคือ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาคมจังหวัด ประชาคมอำเภอ นักวิชาการ เครือข่ายภาคีพัฒนา สื่อมวลชน นักเรียนและนักศึกษา กระบวนการในเวทีได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือช่วงแรกเป็นช่วงของการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวที โดย รองผู้ว่าฯ เชิดศักดิ์ ชูศรี ประธานคณะทำงาน คสศ.ตาก และต่อด้วยการนำเสนอสถานการณ์การรับรู้ และกิจกรรมในพื้นที่เรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดนโดยทีมประชาคมตาก ช่วงที่สองคือ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คุณนิชชรี สายประทุมทิพย์ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากไว้ดังนี้ จังหวัดตากมีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง สามารถสนองตอบต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนได้เป็นอย่างดี และการตั้งอยู่ปลายแนวเศรษฐกิจตะวันออก–ตะวันตก(East-West Economic Corridor) สามารถเชื่อมโยงไปยังพม่าและกลุ่มประเทศเอเชียใต้หรือเชื่อมโยงไปยัง สปป.ลาว และเวียดนามใต้ได้ โดยเฉพาะอำเภอแม่สอด แม่ระมาด และพบพระ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนและอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในไทยและพม่า จึงมีโอกาสพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อสนับสนุนการกระจายการพัฒนาไปยังภูมิภาคอื่นที่มีความเจริญน้อยกว่าเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ |
|||
· พื้นที่ อ.พบพระและแม่ระมาดเป็นฐานการผลิตพืชเกษตรและอุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับอำเภอแม่สอดได้สะดวก · พื้นที่มีจำนวนมากสามารถรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน · พื้นที่มีศักยภาพที่จะขยายโอการการลงทุนเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมกับเมียวดีของพม่าได้ในอนาคต 3. ความพร้อมด้านเส้นทางคมนาคมสามารถเชื่อมโยงเพื่อนบ้านครบเต็มระบบในปี 2550 · ไทย อุตสาหกรรม (เทโนโยลี,บริหาร) · พม่า แรงงาน, วัตถุดิบ |
|||
ปัจจัยภายนอก1. โครงสร้างการผลิตของจังหวัดตากหลากหลายและมีศักยภาพในการผลิตเช่น สาขาเกษตรกรรม สาขาการค้า สาขาเหมืองแร่และสาขาการบริการ 2. พื้นที่ชายแดนมีความพร้อมในการยกระดับเป็นเขตเศรษฐกิจ · พื้นฐานทางเศรษฐกิจเข้มแข็ง · มูลค่าการค้าชายแดนที่แม่สอดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2540 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 5.03 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 พันล้านบาทในปี 2546 ซึ่งเพิ่มเป็นประมาณ 2 เท่าในรอบ 7 ปี · จุดผ่านแดนถาวรแม่สอดตั้งอยู่ใกล้เมืองศูนย์กลางของพม่าและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ · แม่สอดเป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัดตาก · พื้นที่มีจำนวนมากและสามารถรองรับการพัฒนาได้ · มีแรงงานมากและค่าจ้างแรงงานต่ำ
ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาด้านการค้า มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้า–ส่งออก จัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า
ด้านท่องเที่ยว ศูนย์กลางการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวแนวอนุรักษ์ธรรมชาติและการผจญภัย
ด้านเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร
ด้านอุตสาหกรรม มีกลุ่มฐานการผลิตเดิมเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อัญมณี เครื่องประดับ
แนวคิดและแนวทางการพัฒนา1. จัดวางผังเมืองพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน · วางผังเมืองรวมและเฉพาะ · พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธาณูปการ · แก้ปัญหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชน · ศึกษาความเหมะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม · พัฒนาแนวงานสนับสนุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. สิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุน กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีและไม่ใช่ภาษี พัฒนาการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ(One Stop Services)ในเขตนิคมอุตสาหกรรมและบริเวณด่านชายแดน จัดระบบแรงงานต่างด้านแบบผ่อนปรน ปรับปรุงธุรกรรมเงินตรา ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและเชิญชานนักลงทุนจากต่างประเทศ 3. จัดตั้งกลไกการบริหารจัดการที่ดี 3 ระดับ คือ ระดับชาติ คณะกรรมการพัฒนาแนวทางการจัดตั้งและบริหารจัดการ ระดับเขตเศรษฐกิจ คณะกรรมการระดับจังหวัดโดยให้ผู้ว่า CEO เป็นประธาน ระดับนิคมอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) อำนวยความสะดวก
กรอบการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตากระยะสั้น ประกาศเขตเศรษฐกิจชายแดน โดยเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน ได้แก่ โครงข่ายถนนเชื่อมเขตเศรษฐกิจเข้าสู่พื้นที่ในประเทศ สะพานและด่านชายแดน ระยะปานกลาง–ยาว เน้นการพัฒนาระบบคมนาคมเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านให้สามารถเดินทางและขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ได้แก่การพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางแม่สอด–เมียวดี–ผาอัน–ท่าตอน–ย่างกุ้ง และพัฒนาโครงข่ายการบินระหว่างเมืองหลักกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าและส่งเสริมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ที่จะได้รับระดับประเทศ ช่วยสร้างฐานการลงทุนใหม่เพิ่ม ระดับภูมิภาคและชุมชน ช่วยป้องกันและควบคุมการพัฒนาให้เป็นไปอย่างเหมาะสม, สร้างงาน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูประโภคต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
ในเรื่องท่าทีของพม่าทางสภาพัฒนฯ ได้กล่าวไว้ว่า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาท่าทีของพม่าช่วงแรกยังแบ่งรับแบ่งสู้ แต่ช่วง 3-4 ปีหลัง พม่ามีท่าทีเชิงบวกในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น พม่ามีความต้องการในเรื่อง เม็ดเงินในการลงทุน ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและต้องการรักษาความสัมพันธ์กับไทย จีน และอินเดีย |
|||
ค้นหาสิ่งที่ขาดหายและเติมเต็มซึ่งกันและกัน
|
|||
ช่วงที่สามต่อจากการนำเสนอข้อมูลของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือการแบ่งกลุ่มย่อยโดยดูจากกลุ่มผู้เข้าร่วม แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม คือ ส่วนราชการ, พลเมืองและภาคประชาชน, สถาบันการศึกษาและนักวิชาการพื้นที่, การปกครองส่วนท้องถิ่น, การค้าและอุตสากรรม, กลุ่มสื่อและกลุ่มนักวิชาการ
เพื่อแลกเปลี่ยน ค้นหาสิ่งที่ขาดหายและเติมเต็มซึ่งกันและกัน ในสามคำถามดังนี้ 1. ความเข้าใจของท่านสิ่งที่เรียกว่า “เขตเศรษฐกิจชายแดน” คืออะไร? 1. กลุ่มของท่านเกี่ยวข้องและมีบทบาทอย่างไร 2. กลุ่มของท่านเห็นและประเมินสถานการณ์ “เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด” อย่างไร
ทุกกลุ่มมีความสนใจร่วมกันคิด และแลกเปลี่ยน ออกมาได้อย่างน่าสนใจ ถึงแม้ว่ามุมมองเกี่ยวกับเรื่อง“เขตเศรษฐกิจชายแดน” จะมีความแตกต่างและมองมาจากส่วนที่ตนเองเกี่ยงข้องก็ตาม แต่ทุกความคิดล้วนสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเวทีนี้ ความเข้าใจต่อ “เขตเศรษฐกิจชายแดน” ทุกกลุ่มเข้าใจเหมือนๆ กันคือ นโยบายของรัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีประโยชน์ร่วมกันในการใช้ทรัพยากรและแรงงาน ใช้พื้นที่ชายแดนเป็นประตูเชื่อมโยงเรื่องการค้า การท่องเที่ยว การคมนาคมและการลงทุน และเป็นเขตที่ได้รับการพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ บทบาทและความเกี่ยวข้องมีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มสื่อมองว่าสื่อควรมีบทบาทในการเสนอข่าวสารข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว, ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการนำเสนอและเป็นกระจกสะท้อนสังคม กลุ่มราชการ ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน, นำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขต่อรัฐ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของการปฏิบัติและตรวจสอบ กลุ่มพลเมืองและภาคประชาชน ช่วยเตรียมความพร้อมของประชาชนแม่สอดในด้านความคิดและจิตใจ ให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหน เพื่อเผชิญและแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กลุ่มสถาบันการศึกษาและนักวิชาการพื้นที่ บทบาทคือให้ความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน กับกลุ่มคนในวงการศึกษาทุกสถาบัน และสร้างหลักสูตรเรื่อง เขตเศรษฐกิจชายแดน กลุ่มการปกครองส่วนท้องถิ่น บทบาทคือประสานงาน ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสนับสนุนอย่างเต็มที่ กลุ่มการค้าละอุตสาหกรรม บทบาทคือผลักดันการประกาศเขตเศรษฐกิจชายแดนและประสานงานราชการ, มีส่วนร่วมในการกำหนด “ทิศทาง” เช่น กำหนดนโยบาย การกำกับดูแลการบริหารการจัดการ มาตรการการควบคุมผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม, ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย, ส่วนท้องถิ่นช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ และสร้างความเข้าใจให้ประชาชน, ส่วนของการลงทุน ชักชวนนักลงต่างพื้นที่และขยายการลงทุน ประเมินสถานการณ์และสิ่งที่เห็นเกี่ยวกับ “เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด” โดยรวมของทุกกลุ่มเห็น ดังนี้ · มีความเป็นไปได้เพราะพื้นที่เหมาะสม มีวัตถุดิบและแรงงาน · การลงทุนนักลงทุนส่วนหนึ่งยังไม่มั่นใจ · ข้อตกลงระหว่างไทยกับพม่า เปลี่ยนตามตัวผู้นำ · ระหว่างหน่วยการด้วยกันยังไม่ขัดเจน ยังว่ากันคนละเรื่องบางกลุ่มบางส่วนความรู้ไม่ละเอียด · ประชาชนไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องยังไง · อุตสาหกรรมอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต · การทะลักของแรงงานพม่า, ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการปะทะ ขัดแย้ง · เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่นโรคติดต่อ · การขายที่ดินของคนในพื้นนำไปสู่การขยาย บุกลุกที่ทำกินและการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ · อาจเกิดการเวณคืนที่ดิน เนื่องจากโครงการของรัฐ · ต้องสร้างความสัมพันธ์ทั้งสองฝังไทย–พม่า · ควรสร้างหลักสูตร การศึกษาและวิชาการ
กลุ่มนักวิชาการจากส่วนนอกพื้นที่ได้แก่ อ.ขวัญสรวง อติโพธิ, ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์, ผศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ และอ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อคิดไว้ว่า เรื่องนี้มีหลายระดับหลายแง่ หลายมุม แม่สอดหากเปรียบเทียบแล้วสามารถเอาชนะเขาได้เพราะมีแรงงานราคาถูก แต่ขณะนี้ทางข้างหน้าจะเป็นยังไง ยังคุยกันไม่ชัดว่าอุตสาหกรรมอะไรจะเข้ามา? และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนจะทำให้เกิดการไหลของแรงงาน สิ่งน่าคิดสำหรับเรื่องนี้คือ รัฐบาลพม่า–ไทย มีความแตกต่าง มีความไม่เข้าใจกันอยู่ไทยเราฝันกันไปเองหรือเปล่า, โลกยุคนี้ควบคุมกักไม่อยู่, ความมั่นคงชายแดน?, อาจเป็นเขื่อนเรียกน้ำหรือเปล่า?, เรารู้จักชายแดนดีหรือยัง? และแรงงานราคาถูกแต่พื้นที่การลงทุนแพงจะส่งผลให้เกิดการกดขี่แรงงาน
จะไปต่อร่วมกันอย่างไร การแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจร่วมจะไม่เกิดผลเลยหากไม่มีการทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นในเวทีจึงหาคนที่สมัครใจเสนอตัวเป็นผู้ประสานของกลุ่ม โดยให้ส่งรายชื่อ เบอร์ติดต่อ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำร่วมกันคือ ให้แต่ละกลุ่มเสนอความต้องการว่าจะให้ช่วยอะไรบ้าง, ใครจะทำอะไรตรงไหนบ้าง เช่น ทำความรู้กลางให้ชัด จัดเวทีเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเป็นกิจวัตร พร้อมกันนั้นประชาคมตากได้เสนอตัวในเรื่องของการให้ข้อมูลและสนับสนุนการจัดเวทีและ สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด จังหวัดตากเสนอเป็นศูนย์กลางในติดต่อการประสานงานของทุกกลุ่ม
|
|||
นพรัตน์ จิตรครบุรี : รายงาน กองบรรฯธิการ : ทีมสื่อสารสาธารณะ |
Be the first to comment on "เวทีสังเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และยกระดับการทำงาน สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด"