เวทีอบรม “การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personel Mastery)” ภาคเหนือ

 กระบวนการนี้เน้นหนักที่การปฏิบัติ โดยการใช้คำถามต่างๆ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้คิดทบทวนความจริงเกี่ยวกับตัวเอง ใช้วงสนทนาแลกเปลี่ยนช่วยเปิดมุมมอง ฝึกการรับฟัง และความกล้าในการแสดงความคิด

การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personal mastery)


 

ปีเตอร์ เซงเก้             เคยกล่าวไว้ว่า  ความเป็นผู้นำสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
แม่ชี เทเรซ่า          กล่าวไว้ว่า  “ทำสิ่งเล็กๆ แต่ทำด้วยความรัก”  เพราะฉนั้นการทำสิ่งเล็กๆ ด้วยความรัก ด้วยใจ สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้
อ.ชัยวัตน์ ถิระพันธุ์   การพัฒนาตนเองสู่สภาวะผู้นำ เราต้องละทิ้งความเคยชินเก่าๆ  เราต้องเข้าหาสิ่งใหม่ๆ ลองทำสิ่งใหม่ๆ   โลกวุ่นวายเท่าไหร่ เราต้องสงบมากขึ้นเท่านั้น


ข้อความข้างต้นคือคำกล่าวที่ได้หยิบยกเพื่อประกอบการฝึกอบรม “การพัฒนาสภาวะผู้นำ” เมื่อวันที่ 2-5 กันยายน 2547 ที่โรงแรมธาริน จ.เชียงใหม่ โดย อ.ชัยวัตน์ ถิระพันธุ์ เป็นวิทยากร จัดโดย สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาคม (Civicnet) ได้รับความร่วมมือจาก สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI),  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุน  มีผู้เข้าร่วมเวทีประมาณ 60 คน จาก 10 จังหวัดภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน, ตาก, พิษณุโลก,ลำพูน,อุทัยธานี,นครสวรรค์,พะเยา,เชียงราย,ลำปาง,เพชรบุรณ์)

เริ่มกระบวนการ


อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

ทุกเช้าเริ่มด้วยการนั่งสมาธิ
เพื่อทำจิตใจให้โปร่งใส
พร้อมรับกระบวนการ
           กระบวนการนี้เน้นหนักที่การปฏิบัติ โดยการใช้คำถามต่างๆ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้คิดทบทวนความจริงเกี่ยวกับตัวเอง ใช้วงสนทนาแลกเปลี่ยนช่วยเปิดมุมมอง ฝึกการรับฟัง และความกล้าในการแสดงความคิด

 

ตัวอย่างคำถามมีดังนี้

จับคู่สองคนคุยกัน
คำถาม : คุณเคยเข้าสู่ Stretch Zoone (สิ่งใหม่, แวดล้อมใหม่) โดยเจตนาบ้างหรือไม่ และมันเป็นเรื่องอะไร
: คุณมีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นเมื่อเข้าไปทำและได้ข้อคิดอะไรจากการกระทำครั้งนั้น
: มี Stretch Zoone ใหม่อะไรที่ท้าทายอยากลองและคุณจะเริ่มลงมือทำเมื่อไหร่

 

คู่เดิมคุยกัน
คำถาม : เรามีวีระบุรุษหรือวีระสตรีในดวงใจของเราบ้างไหม
: ให้ค้นหาเส้นทางของวีระบุรุษ วีระสตรี ว่าเขาต้องฟันฝ่าอะไร ทำอะไรบ้าง ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

 

 

คำถาม “ทบทวนตัวเอง”


 

“คิดด้วยใจให้ออกมาเป็นภาพแล้วพยายามใช้หัวใจคิด”

คำถาม : นึกถึงภาพอนาคตที่หัวใจปรารถนาอย่างแรงกล้า
: ภาพอนาคตที่ปรารถนามีความสำคัญ ความหมายอย่างไร
: ถ้าหากอนาคตหรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนามันเกิดขึ้นจริงมันจะเกิดผลสะเทือนอะไร อย่างไรบ้าง


นั่งนิ่งๆ แล้วคิด สัก 20 นาที

เมื่อคิดกับคำถามเสร็จให้นั่งวิเคราะห์ความเป็นจริงของตัวเองให้ทะลุ

 

 


บอกเล่าเหตุการณ์สำคัญในชีวิต

โดยการแบ่งกลุ่มละ 20 คน ให้แต่ละคนเล่าเหตุการณ์สำคัญในช่วงอายุ 5-10 ,20,30,40,50,และเลย 60 ปีขึ้นไป


 


 

เดินทางทนสอบภาวะผู้นำและชมงานศิลปะ

เพื่อซึมซับงานศิลปะ คิดและค้นหามุมมองของศิลปินที่ต่างออกไป


 

สนทนาอย่างมีสมาธิ

 

การสนทนาอย่างมีสมาธิ(ไดอะล็อก) ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ของกลุ่มเครื่อข่ายภาคเหนือที่คล้ายคลึงกัน คือการพัฒนาคน เชื่อมโยงการทำงาน ด้านมิติวัฒนธรรม สังคมเกื้อกูล เห็นความสำคัญของส่งแวดล้อมและเยาวชน

กองบรรณาธิการ : รายงาน

 

Be the first to comment on "เวทีอบรม “การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personel Mastery)” ภาคเหนือ"

Leave a comment

Your email address will not be published.